เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้ : โฮโมน วัยว้าวุ่น [荷尔蒙]

อ.อี้ hsk & patจีน

คุยหนังดูเพลง เสนอ โฮโมน วัยว้าวุ่น 荷尔蒙(héěrméng)
*มีศัพท์น่ารู้พร้อมpinyinตอนท้ายบทจ้ะ

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์ไทยเเละ ละครไทยถือได้ว่าเป็นละครระดับคุณภาพคับเเก้วในสายตาของคนจีน โดยเฉพาะเเนวFeel-good 舒畅影片 เเนวเขย่าขวัญ恐怖影片 แล้วก็ 偶像剧ละครหลังข่าว/น้ำเน่า หลายคนอาจจะงงๆว่า ไอ้ละครหลังข่าวที่มีนางร้ายตบตีเเย่งผัวชาวบ้านกันเเทบทุกตอนมันมีคุณภาพตรงไหน??? อ่ะฮ่า นี่คือมุมหนึ่งที่คนบ้านเราอาจมองไม่ออก เพราะเราดูกันตั้งเเต่เด็กจนโต ดูกันจนเอียนเเละพบว่ามันไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นเลย “แต่” เราอาจลืมไปว่า บางครั้งการหยุดอยู่กับที่ อาจเป็น “ความเสถียร” สำหรับคนบางคนก็ได้ ละครไทยในสายตาของกองเซ็นเซอร์ของจีนทีว่ากันว่าเขี้ยวที่สุดในโลก(เป็นรองเเค่คิวบากับเกาหลีเหนือกระมัง) กลับรู้สึกดีกับละครไทย เพราะคาดเดาง่าย ไม่มีเนื้อหาทางการเมืองเเอบเเผงอย่างละครจากตะวันตก ที่สำคัญนำเสนอ “ความร้ายกาจของคน” เเบบผิดคือผิด ถูกคือถูก ไม่ใช่ละครประเภทเสี้ยมให้เด็กวัยรุ่นเป็นมาเฟียหรือเสี้ยมให้คนเป็นขบฎ จะตบตีกันกี่ตลบเเต่สุดท้าย นางร้ายพวกนี้จะกรรมตามทัน นางเอกสบายเฮ อันนี้กองเซ็นเซอร์จีนชอบครับ ถือว่าเร้าใจเเต่ไม่ปลุกระดม เเถมจะกี่เรื่องโครงเรื่องก็เหมือนเดิม เป็นสไตล์ละครที่มีความเสถียรสูงมาก ^^”

ผมจำได้ดี ตอนเด็กๆ ละครต่างประเทศที่จีนยอมนำเข้าฉายในโทรทัศน์ ส่วนมากจะเป็นละครจาก บราซิล สเปน เเละ อิตาลี่ เพราะเนื้อหาง่ายๆ วนเวียนกับการชิงรักหักสวาท ตบตีกันให้ครื้นเครง เเล้วจบด้วยคนเลวรับผลกรรมไป โดยที่คนดีก็ไม่ต้องไปจองเวรอะไรให้มาก เข้าใจง่าย อย่างอิตาลีนี่ถือว่าเป็นเจ้าพ่อละครฟิวกู๊ดก็ว่าได้ เป็นเเนวเจ็บๆคันๆขำๆ ตัวละครจะเเนวเยอะ จู้จี้จุกจิ๊ก เเต่ไม่ได้มีพิษภัยอะไร เข้าใจง่าย ส่วนละครกลุ่มบราซิล อาเจนติน่า จะมาเเนวบ้านทรายทองเลย นางเอกโดนรังเเก พระเอกเป็นคุณชาย/นายทหารหน้าตาหล่อเหลา จบด้วยการเเพ้ภัยตัวเองของนางร้ายเกือบทุกเรื่อง ดูเเล้วคนจิตใจดีก็มีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป อะไรเเนวๆนี้ ส่วนละครญี่ปุ่นจะโดดเด่นในเรื่องความรันทดสู้ชีวิตหรือไม่ก็สู้กับโรคร้าย เเต่การนำเข้าละครญี่ปุ่นจะไม่เยอะ เพราะมันไม่ได้คาดเดาง่ายเหมือนละครอิตาลี/บราซิล (ส่วนละครไทย สมัยนั้นโทรทัศน์จีนยังไม่รู้จักละครไทยหรอก ตอนเด็กผมเคยดูหนังไทยเเค่สองสามเรื่อง คือ วัลลี ฉุยฉาย เเละคนเลี้ยงช้าง)
เเม้เเต่ละครเรื่องโฮโมน วัยว้าวุ่น 荷尔蒙ที่ออนเเอร์อยู่ช่วงนี้ ก็ถือเป็นละครอีกเเนวหนึ่งที่คนจีนชอบ กองเซ็นเซอร์ก็ชอบ เพราะเเตะต้องปัญหาวัยรุ่นนิดๆหน่อยๆ ไม่ถึงกับเสี้ยมให้เป็นขบฏสังคม ที่สำคัญ ไม่มีฉากโป๊เปลือยเเบบตะวันตก เเม้ว่าในเนื้อเรื่องพูดถึงเพศสัมพันธ์ก็ตาม เเต่ก็เเค่เเตะๆในเชิงสร้างสรรค์มากกว่า

เพิ่มเติมอีกนิด ความจริงภาพยนตร์ไทยเรื่อง ปิดเทอมใหญ่หัวใจว้าวุ่น ฉบับที่ฉายที่จีน ก็ใช้ชื่อภาพยนตร์ว่า 荷尔蒙 เช่นกัน และได้รับคำชมจากนักวิจารณ์จีน (นักวิจารณ์ภาพยนตร์ฝั่งจีนเขาจะเเบ่งเป็น นักวิจารณ์กับนักตำหนิ พวกนักวิจารณ์คือพวกที่เขียนถึงภาพยนตร์ในเชิงความรู้ เทคนิกการถ่ายทำ บทภาพยนตร์ การตัดต่อ การเรียบเรียง ส่วนพวกนักตำหนิคือพวกที่ทำหน้าที่เป็นตัวเเทนของ “อารมณ์คนดู” วิจารณ์ในเชิงอารมณ์และคอยจับผิด(ถ้าเห็นข้อผิดพลาดใดๆในภาพยนตร์จริง) ถึงกับมีคอลัมป์นิสต์วิจารณ์ว่า เป็นหนังFeel-good 舒畅影片ที่ไม่มีอะไรให้จับผิดเลย เพราะวัยรุ่นมันก็งงๆ บวมๆ สับสน เเบบนี้ เป็นวิธีนำเสนอที่ลงตัวดี สามารถมองข้ามความสมเหตุผลไปได้เลย ดูเเล้วสบายๆ ที่สำคัญ เป็นความฉลาดที่ใช้นักเเสดงอย่าง โซระ อาโออิ(น้องอ้อย) ในเเง่มุมที่ไม่มีผู้กำกับชาติอื่นนึกถึงเลย ส่งให้ตัวบทเเข็งเเรงน่าเชื่อถือ เพราะถ้าให้คอลัมนิสต์เลือก เขาก็คงเขวได้ง่ายๆ เพราะอยู่ดีๆเจอน้องอ้อยบนรถไฟเเบบนั้น เเล้วตลอดเนื้อเรื่องก็นำเสนอเเบบสะอาดสอ้าน ใสๆ ลงตัวดี ตอนนี้ ละครเรื่องโฮโมน วัยว้าวุ่น ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในกลุ่มวัยรุ่นจีนในโลกออนไลน์เเล้ว คงจะกลายเป็นที่ฮือฮาในหมู่วัยรุ่นจีนในไม่ช้า

คำศัพท์น่ารู้

  • 荷尔蒙 (héěrméng)โฮโมน
  • 舒畅影片 (shūchàngyǐngpiàn) / 温情影片(wēnqíngyǐngpiàn) หนังฟิวกู๊ด/ Feel-good Films
  • 恐怖影片 (kǒngbùyǐngpiàn)หนังสยองขวัญ/เขย่าขวัญ
  • 影评 (yǐngpíng)บทวิจารณ์ภาพยนตร์
  • 批评家 (pīpíngjiā)นักวิจารณ์(เชิงตำหนิ)
  • 评论家 (pínglùnjiā)นักวิจารณ์
  • 拍摄 (pāishè)การถ่ายทำ
  • 剧本 (jùběn)บท
  • 编辑 (biānjí)การเรียบเรียง
  • 剪接 (jiǎnjiē) การตัดต่อ
  • 制片 (zhìpiān)ควบคุมการผลิต(โปรดิวส์)
  • 执导 (zhídǎo)การกำกับ

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน