Category Archives: ภาษาจีนทั่วไป

ภาษาจีนที่นิยมใช้แชทบนอินเตอร์เน็ต

แชท ภาษาจีน

เสียงถือเป็นเสน่ห์ของภาษาจีน เพราะในภาษาจีนนั้นเสียงมีไม่มากแต่ตัวอักษรที่สื่อความกลับมีมากจนจำกันไม่หวาดไม่ไหว วัยรุ่นจีนที่ชื่นชอบในการแชท ก็เลยเอาตัวเลขมาแทนที่มีเสียงที่ใกล้เคียงกับตัวอักษรจีนที่ต้องการสื่อความหมาย เพื่อความสะดวกและดูเทห์ยิ่งขึ้น

ขึ้นต้นด้วยเลข 0

  • 095:你找我。เธอตามหาฉัน
  • 04551:你是我唯一。เธอคือหนึ่งเดียว(ในใจ) ของฉัน
  • 066:你来了。เธอมาแล้ว
  • 083576:你别生我气了。เธออย่าได้โกรธฉันเลย
  • 01925:你依旧爱我。 เธอยังรักฉันเหมือนเดิม(เช่นเคย)
  • 02746:你恶心死了。 เธอนี่น่าสะอิดสะเอียน เธอนี่น่าคลื่นไส้จริง
  • 0456: 你是我的。 เธอเป็นของฉัน
  • 0748:你去死吧。 เธอไปตายซะเถอะ
  • 098:你走吧。เธอไปเถอะ (ขับไล่ ไปให้พ้น)

ขึ้นต้นด้วยเลข 1

  • 12825: 你爱不爱我。เธอรักฉันไหม
  • 1314:一生一世。ตลอดชั่วชีวิต
  • 1372:一相情愿。ปราถรณาอยู่แต่ฝ่ายเดียว
  • 1392010:一生就爱你一人。ชีวิตนี้รักเธอเพียงคนเดียว
  • 1414:意思意思。ใช้เมื่อมอบของขวัญ เชิญแขกเป็นต้น แสดงออกถึงน้ำใจของเราที่มีต่อผู้อื่น
  • 145692:你是我的最爱。เธอคือคนที่ฉันรักที่สุด
  • 1474:要死去死。 อยากตายก้อไปตายเลยไป
  • 1487:你是白痴。เธอปัญญาอ่อน เธอมันโง่
  • 1573:一往情深。รำพึงรักอยู่เสมอ
  • 1711:一心一意。 รักเดียวใจเดียว
  • 18056:你不理我啦!เธอไม่สนใจ (ไม่แยแส) ฉันแล้วหรอ

ขึ้นต้นด้วยเลข 2

  • 234:爱相随。รักซึ่งกันและกัน
  • 296:爱走了。รักจากไปแล้ว
  • 246:饿死了。หิวจะตายอยู่แล้ว
  • 2627:爱来爱去。 รักไปรักมา
  • 282:饿不饿。หิวหรือยัง
  • 230:爱上你。 ฉันหลงรักเธอ ฉันตกหลมรักเธอ
  • 2137:为你伤心。 เศร้า / เสียใจเพื่อเธอ
  • 21475:爱你是幸福。 เป็นสุขแล้วที่ได้รักเธอ
  • 20609:爱你到永久。รักเธอตราบนานเท่านาน รักเธอตลอดกาล
  • 2131999:爱你想你久久久。 รักและคิดถึงอ่ะ
  • 2010000:爱你一万年。รักเธอเป็นหนึ่งหมื่นปี
  • 2925184:爱就爱我一辈子。 จะรักก็รักฉันชั่วชีวิต
    Continue reading

ศัพท์ภาษาจีนที่ยืมคำมาจากภาษาอื่น ตอนที่1 [音译]

ภาษาจีนที่ยืมคำมาจากภาษาอื่น

คำ ยืม คือ คำที่ยืมมาจากภาษาอื่น โดยเป็นการยืมมาทั้งความหมายและเสียงอ่าน ภาษาจีนมีการยืมคำมาจากภาษาอื่นมากมาย ตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น ภาษาจีนก็เริ่มมีการยืมคำมาจากภาษาของชนกลุ่มน้อย หลังจากที่ศาสนาพุทธเผยแพร่เข้าสู่ประเทศจีน ก็เริ่มปรากฎคำยืมจากภาษาสันสกฤต เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ คำยืมในภาษาจีนส่วนใหญ่มาจากภาษาตะวันตกและภาษาญี่ปุ่น

คำยืมต่าง ประเทศในภาษาจีนส่วนใหญ่ใช้การแปลทับเสียง(音译) การแปลทับเสียง หมายถึง การแปลคำของภาษาหนึ่งโดยใช้คำของอีกภาษาหนึ่งซึ่งมีเสียงเหมือนหรือใกล้ เคียงกัน การแปลเช่นนี้สะดวกและง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบและรูปแบบของคำ แค่แปลเสียงอ่านของคำออกมาก็พอ ดังนั้นเอกลักษณ์คำยืมของการแปลชนิดนี้จะเด่นชัดที่สุด เช่น

  • Brandy (บรั่นดี) แปลเป็น 白兰地 [bái lán dì]
  • Pingpong (ปิงปอง) แปลเป็น乒乓 [pīng pāng]
  • Nylon (ไนล่อน) แปลเป็น 尼龙 [ní lóng]
  • Soviet (โซเวียต) แปลเป็น 苏维埃 [sū wéi āi]
  • Sydney (ซิดนีย์) แปลเป็น 悉尼 [xī ní]
  • Chocolate (ช๊อกโกแล็ต) แปลเป็น 巧克力 [qiǎo kè lì]
  • Sofa (โซฟา) แปลเป็น 沙发 [shā fā]
  • Hacker (แฮ๊กเกอร์) แปลเป็น 黑客 [hēi kè]
  • Logic (ตรรกกะ) แปลเป็น 逻辑 [luó jí]
  • Radar (เรดาร์) แปลเป็น 雷达 [léi dá]
  • Pound (ปอนด์) แปลเป็น 磅 [bàng]
  • Copy (ก๊อปปี้) แปลเป็น 拷贝 [kǎo bèi]
  • Disco (ดิสโก้) แปลเป็น 迪斯科 [dī sī kē]
  • Bikini (บิกินี่) แปลเป็น 比基尼 [bǐ jī ní]
  • Microphone (ไมโครโฟน) แปลเป็น 麦克风 [mài kè fēng]
  • Motor (มอเตอร์) แปลเป็น 马达 [mǎ dá]
  • Cookie (คุ๊กกี้) แปลเป็น 曲奇 [qǔ qí]
  • Laser (เลเซอร์) แปลเป็น 镭射 [léi shè]

นอกจากนี้ยังมีการแปลทับเสียงพร้อมคำขยายความเพิ่ม(音译加注词) เช่น

1. Bar (บาร์เหล้า) แปลเป็น 酒吧 [jiǔ bā] คำว่า酒หมายถึง เหล้า ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน 吧เป็นคำแปลทับเสียงมาจากคำว่า bar

2. Marxism (ลัทธิมาร์กซิส) แปลเป็น 马克思主义 [mǎ kè sī zhǔ yì] คำว่า主义หมายถึง ลัทธิ ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน 马克思เป็นคำแปลทับเสียงมาจากคำว่า Marx

3. the Czar (พระเจ้าซาร์) แปลเป็น 沙皇 [shā huáng] คำว่า皇หมายถึง พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นในภาษาจีน 沙 เป็นคำแปลทับเสียงมาจากคำว่า Czar

4. Jeep (รถจี๊บ) แปลเป็น 吉普车 [jí pǔ chē] คำว่า车หมายถึง รถ ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน 吉普เป็นคำแปลทับเสียงมาจากคำว่า Jeep

5. Rifle (ปืนไรเฟิล) แปลเป็น 来福枪 [lái fú qiāng] คำว่า枪หมายถึง ปืน ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน 来福เป็นคำแปลทับเสียงมาจากคำว่า Rifle

6. Motorcycle (รถมอเตอร์ไซค์) แปลเป็น 摩托车 [mó tuō chē] คำว่า车หมายถึง รถ ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน 摩托เป็นคำแปลทับเสียงมาจากคำว่า Motor

7. Salad oil (น้ำมันสลัด) แปลเป็น 色拉油 [sè lā yóu] คำว่า油หมายถึง น้ำมัน ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน 色拉เป็นคำแปลทับเสียงมาจากคำว่า Salad

เนื่องจากสังคมจีนโดยทั่วไปมีค่านิยมว่าคำยืมภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาตะวันตกฟังดู
ทัน สมัย คำยืมภาษาต่างประเทศจึงเป็นที่ยอมรับได้ง่ายในภาษาพูดโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น ส่งผลให้ภาษาจีนบางคำกำลังค่อย ๆ ถูกคำยืมภาษาต่างประเทศทดแทน เช่น คำว่า“袖珍”[xiù zhēn],“微型”[wēi xíng] ซึ่งหมายถึง ขนาดเล็ก ในภาษาพูดปัจจุบันนิยมใช้คำว่า“迷你”[mí nǐ](Mini)แทน หรือคำว่า “饼干” ซึ่งหมายถึง ขนมปังกรอบ นิยมใช้คำว่า“克力架”(Cracker)แทน ซึ่งถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไปคงจะมีคำภาษาจีนที่ถูกคำยืมภาษาต่างประเทศทดแทน มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม อักษรจีนเลียนเสียง

อ้างอิงข้อมูลจาก : ดร.จุรี สุชนวนิช สาขาวิชาภาษาจีน

11 ประโยคภาษาจีนใช้บ่อยในชีวิตประจําวัน

ประโยคภาษาจีน ในชีวิตประจําวัน

1. 说不准 (shuō bu zhǔn) ไม่แน่ใจ บอกแน่นอนไม่ได้

ตัวอย่างเช่น มีคนถามว่า วันนี้คุณจะกลับกี่โมง แต่คุณไม่แน่ใจว่าคุณจะสามารถกลับได้กี่โมง ก็สามารถใช้คำนี้ได้

  • A: 你今天几点 回来?
    nǐ jīntiān jǐ diǎn huílái
    วันนี้คุณจะกลับมากี่โมง
  • B: 说不准,.可能会晚一点
    shuō bu zhǔn,kěnéng huì wǎn yìdiǎn
    ไม่แน่ใจ อาจจะดึกหน่อย

หรืออาจจะใช้คำว่า 说不定 (shuō bu dìng) ก็ได้นะคะ มีความหมายว่า ไม่แน่นอน เหมือนกันค่ะ

2. 原来如此 (yuán lái rú cǐ) อ๋อ..ที่แท้ก็เป็นแบบนี้นี่เอง

ใช้ในกรณีที่ เข้าใจความจริง หรือสาเหตุของเรื่องในทันที และหายข้องใจอีกต่อไป

ตัวอย่างเช่น

  • A: 她的英语说得真好啊
    tā de yīngyǔ shuō de zhēnhǎo a
    เธอพูดภาษาอังกฤษได้ดีจริงๆเลยนะเนี่ย
  • B: 她爸爸是美国人
    tā bàba shì měiguórén
    พ่อของเธอเป็นคนอเมริกาน่ะ
  • A: 原来如此
    yuán lái rú cǐ
    อ๋อ…ที่แท้ก็เป็นแบบนี้นี่เอง

หรือจะใช้คำว่า 难怪呢 (nán guài ne) อ่านว่า หนานไกว้เนอะ ที่แปลว่า มิน่าล่ะ ก็ได้นะคะ

3. 一切还好吧 (yíqiè háihǎo bā) ใช้สำหรับทักทายเพื่อน แปลว่า เป็นอย่างไรบ้าง ,ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี , สบายดีนะ

ตัวอย่างเช่น

  • A: 好久不见了 一切还好吧?
    hǎo jiǔ bú jiàn le, yíqiè háihǎo bā
    ไม่เจอกันตั้งนานแหน่ะ สบายดีหรือเปล่า?
  • B: 还行 hái xíng สบายดี

4. 回头见 (huí tóu jiàn) อีกสักครู่เจอกัน,เดี๋ยวเจอกัน

ใช้เมื่อจากกันไม่นาน ช่วงเวลาสั้นๆ

  • A: 我先去市场,一会儿就回来。
    wǒ xiān qù shì chǎng ,yí huìr jiù huí lái
    ฉันไปตลาดก่อนนะ,เดี๋ยวกลับมา
  • B: 好,回头见。
    hǎo, huí tóu jiàn
    ได้,เดี๋ยวเจอกัน

5. 吓了我一跳  (xià le wǒ yí dà tiào) แปลว่า ทำฉันตกใจหมดเลย

ตัวอย่างเช่น

  • 你进来不敲门, 吓了我一跳.
    nǐ jìnlái bù qiāomén,xià le wǒ yí tiào.
    คุณเข้ามาไม่เคาะประตู, ทำฉันตกใจหมดเลย

6. 不像话 (bú xiàng huà) แปลว่า ไม่เข้าท่า

ใช้เพื่อตำหนิการกระทำของคนที่ทำอะไรที่ขัดแย้งกับความถูกต้องทั่วๆไป

  • 他这么做,真不像话。
    tā zhème zuò ,zhēn bú xiàng huà
    เขาทำแบบนี้ ไม่เข้าท่าจริงๆ

7. 不见不散 (bú jiàn bú sàn) แปลว่า ไม่เจอไม่กลับ ต้องเจอกันให้ได้

ใช้ยืนยันการนัดหมาย, เพื่อเป็นการบอกว่ายังไงก็ต้องเจอกันให้ได้ ไม่เจอไม่กลับ

  • A: 明天六点在大学门口见。
    míngtiān liùdiǎn zài dàxué ménkǒu jiàn
    พรุ่งนี้หกโมงเจอกันที่หน้าประตูมหาวิทยาลัยนะ
  • B: 好,不见不散
    hǎo, bú jiàn bú sàn
    โอเค, ต้องเจอกันให้ได้นะ(ไม่เจอไม่กลับ)

8. 还要别的吗?(háiyào biéde ma?) ยังต้องการรับอย่างอื่นเพิ่มอีกหรือเปล่า?

เป็นประโยคที่เพื่อนๆอาจได้ยินบ่อยในร้านอาหาร หรือเวลาไปซื้อของที่จีนนะคะ

  • A: 来两杯嚓啡。
    lái liǎng bēi cā fēi。
    ขอกาแฟสองแก้วครับ
  • B: 还要别的吗?
    háiyào biéde ma?
    ต้องการรับอย่างอื่นเพิ่มอีกหรือเปล่าครับ?
    A: 不要了。
    bú yào le.
    ไม่แล้วครับ

9. 麻烦你了。(máfan nǐ le)  รบกวนคุณแล้ว, ขอโทษที่รบกวน

เป็นคำที่ใช้เพื่อแสดงความขอบคุณเมื่อต้องรบกวนหรือได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นนะคะ

  • A: 我把你的鞋带来了。
    wǒ bǎ nǐ de xié dài lái le
    ผมเอารองเท้าของคุณมาให้แล้วนะ
  • B: 谢谢,麻烦你了。
    xièxie,máfan nǐ le。
    ขอบคุณค่ะ, ขอโทษที่รบกวนนะคะ
  • A: 不用谢。
    bú yòng xiè
    ไม่เป็นไรครับ

10. 真可惜 (zhēn kěxī) แปลว่า น่าเสียดายจริงๆเลย

ประโยคนี้ใช้สำหรับมีคนชม แล้วเราต้องการแสดงความถ่อมตน หรือเขาอาจชมมากเกินไป เราสามารถพูดว่า
你过奖了. nǐ guò jiǎng le คุณชมเกินไปแล้ว

  • A : 今天 你非常漂亮.
    jīntiān nǐ fēicháng piàoliang.
    วันนี้คุณสวยมากๆเลยครับ
  • B : 你过奖了.
    nǐ guò jiǎng le
    คุณชมเกินไปแล้ว

11. 马马虎虎 mǎmǎ hūhū พอใช้ได้ , ก็งั้นๆแหละ

ใช้สำหรับแสดงความถ่อมตัว เมื่อมีคนชม หรือ ใช้ประเมินค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

  • A : 你的汉语真好。
    nǐ de hànyǔ zhēnhǎo
    ภาษาจีนของคุณดีจริงๆเลย
  • B : 马马虎虎啦
    mǎmǎ hūhū la.
    พอใช้ได้เท่านั้นเอง

เครดิต : www.thaiinchina.com

 

พระธรรม : 祈愿文 บทขอพรพระ

ขอพรพระ ภาษาจีน

ผมขออนุญาตินำ บทขอพรพระ มาเผยแพร่  ต้องขอขอบคุณเจ้าของผลงานด้วยครับ

祈愿文 [qíyuànwén] บทขอพรพระ

吉日良时 日月开泰
Jírì liáng shí rì yuè kāi tài
วันดีศรีวัน สุริยันจันทราเบิกฟ้า

吾今跪在 神坛之中
Wú jīn guì zài shén tán zhī
บัดนี้ข้าฯ คุกเข่าหน้าตั่ว (พระ)

三叩九拜 诸位圣众
ān kòu jiǔ bài zhūwèi shèng zhòng
สามหมอบเก้ากราบ ทวยเทพเทวา

祈求圣恩 雨调顺风
Qíqiú shèng ēn yǔ diào shùnfēng
ขอพรเมตตา ให้ทุกอย่างราบรื่น

大发慈悲 安慰民众
Dà fā cíbēi ānwèi mínzhòng
เมตตากรุณา ปกป้องปวงชน

救苦救难 有始无终
Jiùkǔjiùnàn yǒushǐwúzhōng
ให้พ้นทุกข์ยาก ตลอดกาล (有始无终 มีจุดเริ่มต้น แต่ไร้จุดสิ้นสุด)

四季八方 全民合同
Sìjì bāfāng quánmín hétóng
สี่ฤดูแปดทิศ ปวงประชาสามัคคี

五福临门 国泰民安
Wǔfú línmén guótàimín’ān
วาสนาถึงประตู ประเทศชาติสงบสุข  (อ่านเพิ่มเติม พร 5 ประการ [五福临门])

安康无病 寿比南山
Ānkāng wú bìng shòu bǐ nánshān
สุขภาพแข็งแรงไร้โรคา อายุยืนดุจเขาหนานซาน

才如四海 福慧圆满
Cái rú sìhǎi fú huì yuánmǎn
ความสามารถ (มากมาย) ดุจทะเลสี่คาบสมุทร สติปัญญาบริบูรณ์

发财富贵 闻名天下
Fācái fùguì wénmíng tiānxià
ร่ำรวยสูงศักดิ์ ชื่อเสียงก้องไปในใต้หล้า

家庭广大 子孙纳福
Jiātíng guǎngdà zǐsūn nàfú
ครอบครัวรุ่งเรือง ลูกหลานมีโชค

诸天仙人 经常保护
Zhū tiānxiānrén jīngcháng bǎohù
ทวยเทพทั้งปวง อารักษ์เป็นนิจ

诸佛菩萨 一切神众
Zhū fó púsà yīqiè shén zhòng
พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ และทวยเทพทั้งปวง

三世十方 遍满虚空
Sānshì shí fāng biàn mǎn xūkōng
ทั่วทั้งตรีกาลในทศทิศ แผ่ไปในท้องนภา

佛光万道 神光万丈
Fóguāng wàn dào shén guāng wànzhàng
พุทธรัศมีแผ่ไปในหมื่นทิศ เทวรัศมีซ่านไปหมื่นสาย

吾今一心 三拜叩求
Wú jīn yīxīn sān bài kòu qiú
บัดนี้ข้าฯ รวมจิตเป็นหนึ่ง สามกราบวิงวอน

一切说来 一 一如愿
Yīqiè shuō lái yīyī rúyuàn
ที่กล่าวมานี้ เป็นจริงทุกสิ่งอัน

诚心谢恩 满愿成真
Chéngxīn xiè’ēn  mǎnyuàn chéngzhēn.
น้อมจิตขอบพระทัย ที่ (ทรงเมตตา) ให้ความปรารถนาเป็นจริง.

净云道人 作文
Jìng yún dàoren zuòwén
จิ้งอฺวิ๋นเต้าเหริน ประพันธ์

己丑年夏天
Jǐchǒunián xiàtiān
ฤดูร้อน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒

ศัพท์ที่ส่าสนใจ

  • 吉日 [jírì] วันดี, วันมงคล
  • 合十 [héshí] พนมมือ, ไหว้
  • 日月 [rìyuè] ชีวิต
  • [jí] โชคดี
  • [wú]  ข้า, ตัวข้า, ข้าพเจ้า (คำโบราณ ประกอบไปด้วยอักษรสองตัวคือ 五 แปลว่า ห้า ในที่นี้หมายถึงธาตุทั้งห้าคือ ทอง 金 ไม้ 木 น้ำ 水 ไฟ 火 ดิน 土 ส่วนอักษร โข่ว 口 ตามศัพท์แปลว่าปาก ในที่นี้หมายถึง ชีวิต 生命 เมื่อเขียนรวมกันกลายเป็น 吾 เเปลว่า ฉัน หมายถึงชีวิตคนประกอบด้วยห้าธาตุนั่นเอง *ต้องขอบคุณผู้ที่อธิบายความหมายของคำนี้ด้วยครับ)
  • [guì] คุกเข่า
  • [shén] เทพ, พระเจ้า
  • [tán] แท่นบูชา
  • [kòu] คุกเข่าลงเอาหน้าผากแตะพื้น
  • 诸 [zhū] ทั้งหมด
  • 诸位 [zhūwèi] ทุกท่าน (คำที่ใช้แสดงความเคารพ)
  • [bài] ไหว้, แสดงความเคารพ
  • [tài] สงบสุข, สันติ
  • 祈求 [qíqiú] อธิฐาน, เฝ้าปรารถนา
  • 顺风 [shùnfēng] ตามลม, ราบรื่น
  • 慈悲 [cíbēi] เมตตา
  • 安慰 [ānwèi] ปลอบใจ
  • 民众 [mínzhòng] มวลชน
  • [shèng] นักบุญ,จักรพรรดิ์, สิ่งศักดิ์สิทธิ์
  • [ēn]บุญคุณ
  • 救苦救难 [jiùkǔjiùnàn] ช่วยเหลือยามทุกข์ร้อน
  • 有始无终 [yǒushǐwúzhōng] เริ่มต้นทำงานแต่ไม่สามารถไปตลอดลอดฝั่ง
  • 四季 [sìjì] สี่ฤดู
  • 八方 [bāfāng] ทั้งแปดทิศ หมายถึงทุกทิศทุกทาง
  • 全民 [quánmín] ประชาชนทั้งหมด
  • 合同 [hétóng] สัญญา
  • 安康 [ānkāng] สุขภาพแข็งแรง
  • 寿比南山 [shòubǐnánshān]มีชีวิตยืนยาว เหมือนภูเขาหนานซาน
  • 四海 [sìhǎi] สี่คาบสมุทร, ทุกประเทศ, ทั่วโลก
  • 圆满 [yuánmǎn] พึงพอใจ
  • 发财 [fācái] ร่ำรวย
  • 富贵 [fùguì] ร่ำรวยและมีเกียรติ
  • [fú] ความสุข, ศิริมงคล, โชค
  • [lín] ชิด, มาถึง, เข้าใกล้
  • 闻名 [wénmíng] มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกัน
  • 天下 [tiānxià] ใต้หล้า
  • 家庭 [jiātíng] ครอบครัว
  • 广大 [guǎngdà] กว้างขวาง
  • 子孙 [zǐsūn] ลูกหลาน
  • 纳福 [nàfú] ใช้ชีวิตอย่างรื่นเริงและสบาย
  • 天仙 [tiānxiān] เทพธิดาบนสวรรค์
  • 经常 [jīngcháng] เป็นประจำ, ทุกวัน
  • 保护 [bǎohù] คุ้มครอง
  • 菩萨 [púsà]พระโพธิสัตว์
  • 一切 [yīqiè] ทั้งหมด
  • 万丈 [wànzhàng]สูงส่ง, หรูหรา, ลึกมาก
  • 一心 [yīxīn] ต้งอกตั้งใจ
  • 一 一 [yīyī] เป็นอย่าง ๆ
  • 如愿 [rúyuàn] สมความปรารถนา
  • 诚心 [chéngxīn] จริงใจ
  • 道人 [dàoren] นักพรต, นักบวชในศาสนาเต๋า
  • 作文 [zuòwén] ประพันธ์
  • 夏天 [xiàtiān] ฤดูร้อน

 

หนังสือจีน “กฎของลูกศิษย์ 弟子规” ( Students’ Rules)

กฎของศิษย์ ภาษาจีน (弟子规)

《弟子规》การตีความ “กฎของลูกศิษย์” 读诵解释1-7

弟子规 [di zi gui] นี้เดิมชื่อว่า “คำสอนผู้เยาว์” 训蒙文 [xùn mēng wén] ประพันธ์ขึ้นโดยท่าน 李毓秀 [lǐ yù xiù] ในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644 – 1911) ต่อมานำมาเรียบเรียงรวมกับ 童蒙须知 [tóng mēng xū zhī] “ข้อควรรู้ของผู้เยาว์” ของท่านจูซี แห่งราชวงศ์ซ่ง โดยผ่านการแก้ไขเรียบเรียงใหม่โดยปราชญ์แห่งราชวงศ์ชิง ท่าน 贾存仁 [jiǎ cún rén] และเปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น 弟子规 [di zi gui] “กฏของผู้เป็นลูกศิษย์” มาตรฐานที่เป็นนักศึกษาที่ดี

弟子规 [di zi gui] นี้ เป็นกาพย์กลอนที่ให้เด็กๆท่องจำในสมัยโบราณ เพื่อให้เด็กๆเรียนรู้ภาษาจีน วัฒนธรรม และ ปลูกฝังความกตัญญู อุปนิสัยที่ดี พื้นฐานที่เป็นคนดีและแนวทางในการมีชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกับ ผู้อื่น ปลูกฝังหลักการดำรงชีวิตตามหลักของขงจื้อ (儒学 – rú xué)

(ตี้จื่อกุย) เน้นหลักคุณธรรมพื้นฐานที่ควรรู้และควรบ่มเพาะ ซึ่งใช้อักษรสามตัวในหนึ่งวรรค มีสัมผัสทางภาษาที่งดงาม เหมาะที่จะศึกษาเรียนรู้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กๆและเยาวชนทั้งหลายซึ่งคุณธรรมเหล่านี้กำลังจางหายไปจากสังคม ไทยไป มากขึ้นทุกที หากผู้ใดนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตตนเอง อย่างน้อยตนเองย่อมมีคุณค่า ครอบครัวสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานและชีวิตของตน

弟子规 [di zi gui] ได้แบ่งออกเป็น 7 หมวดใหญ่ๆดังนี้

  1. 入则孝 [rù zé xiào] กตัญญู
  2. 出则梯 [chū zé tī]  พี่น้องปรองดอง
  3. 谨 [jǐn] สำรวมระวัง
  4. 信 [xìn] ถือสัจจะ
  5. 泛爱众 [fàn ài zhòng] รักใคร่มวลชน
  6. 亲仁 [qīn rén]  เข้าใกล้ผู้มีคุณธรรม
  7. 余力学文 [yú lì xué wén] มีกำลังเหลือศึกษาหาความรู้
ตี้จื่อกุย เป็นคำสอนของนักปราชญ์ขงจื่อ และปราชญ์ท่านอื่นๆ
ก่อนอื่นให้กตัญญูเชื่อฟังต่อบิดามารดา ครูอาจารย์ นักปราชญ์ เคารพพี่ๆ
และรองลงมาคือ ประพฤติตนให้อยู่ในกรอบระเบียบอย่างเคร่งครัด
ทำตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือของผู้อื่น มีมิตรภาพ
รักและห่วงใยผู้อื่น และใกล้ชิดกับผู้มีคุณธรรม
นอกจากนี้ให้หาโอกาสศึกษาวัฒนธรรม และแสวงหาความรู้ต่างๆ
https://youtu.be/0sJp3upw7xI
《弟子規》总叙 [zǒng xù]

弟子规 圣人训 首孝弟 次谨信
[dì zǐ guī shèng rén xùn shǒu xiào tì cì jǐn xìn]

泛爱众 而亲仁 有余力 则学文
[fàn ài zhòng ér qīn rén yǒu yú lì zé xué wén]

1.入则孝 [rù zé xiào] กตัญญู

父母呼 应勿缓 父母命 行勿懒 [fù mǔ hū yìng wù huǎn fù mǔ mìng xíng wù lǎn]

父母教 须敬听 父母责 须顺承 [fù mǔ jiào xū jìng tīng fù mǔ zé xū shùn chéng]

冬则温 夏则清 晨则省 昏则定 [dōngzéwēn xiàzéqìng chénzéxǐng hūnzédìng]

出必告 反必面 居有常 业无变 [chū bì gào fǎn bì miàn jū yǒu cháng yè wú biàn]

事虽小 勿擅为 苟擅为 子道亏 [shì suī xiǎo wù shàn wéi gǒu shàn wéi zǐ dào kuī]

物虽小 勿私藏 苟私藏 亲心伤 [wù suī xiǎo wù sī cáng gǒu sī cáng qīn xīn shāng]

亲所好 力为具 亲所恶 谨为去 [qīn suǒ hǎo lì wéi jù qīn suǒ è jǐn wéi qù]

身有伤 贻亲忧 德有伤 贻亲羞 [shēn yǒu shāng yí qīn yōu dé yǒu shāng yí qīn xiū]

亲爱我 孝何难 亲憎我 孝方贤 [qīn ài wǒ xiào hé nán qīn zēng wǒ xiào fāng xián]

亲有过 谏使更 怡吾色 柔吾声 [qīn yǒu guò jiàn shǐ gèng yí wú sè róu wú shēng]

谏不入 悦复谏 号泣随 挞无怨 [jiàn bù rù yuè fù jiàn hào qì suí tà wú yuàn]

亲有疾 药先尝 昼夜侍 不离床 [qīn yǒu jí yào xiān cháng zhòu yè shì bù lí chuáng]

丧三年 常悲咽 居处变 酒肉绝 [sàng sān nián cháng bēi yàn jū chǔ biàn jiǔ ròu jué]

丧尽礼 祭尽诚 事死者 如事生 [sàng jìn lǐ jì jìn chéng shì sǐ zhě rú shì shēng]

2. 出则梯 [chū zé tī] พี่น้องปรองดอง

兄道友 弟道恭 兄弟睦 孝在中 [xiōngdàoyǒu dìdàogōng xiōngdìmù xiàozàizhōng]

财物轻 怨何生 言语忍 忿自泯 [cáiwùqīng yuànhéshēng yányǔrěn fènzìmǐn]

或饮食 或坐走 长者先 幼者后 [huòyǐnshí huòzuòzǒu zhǎngzhěxiān yòuzhěhòu]

长呼人 即代叫 人不在 己即到 [zhǎnghūrén jídàijiào rénbùzài jǐjídào]

称尊长 勿呼名 对尊长 勿见能 [chēngzūnzhǎng wùhūmíng duìzūnzhǎng wùxiànnéng]

路遇长 疾趋揖 长无言 退恭立 [lùyùzhǎng jíqūyī zhǎngwúyán tuìgōnglì]

骑下马 乘下车 过犹待 百步余 [qíxiàmǎ chéngxiàjū guòyóudài bǎibùyú]

长者立 幼勿坐 长者坐 命乃坐 [zhǎngzhělì yòuwùzuò zhǎngzhězuò mìngnǎizuò]

尊长前 声要低 低不闻 却非宜 [zūnzhǎngqián shēngyàodī dībùwén quèfēiyí]

进必趋 退必迟 问起对 视勿移 [jìnbìqū tuìbìchí wènqǐduì shìwùyí]

事诸父 如事父 事诸兄 如事兄 [shìzhūfù rúshìfù shìzhūxiōng rúshìxiōng]

3. 谨 [jǐn] สำรวมระวัง

朝起早 夜眠迟 老易至 惜此时 [zhāoqǐzǎo yèmiánchí lǎoyìzhì xīcǐshí]

晨必盥 兼漱口 便溺回 辄净手 [chénbìguàn jiānshùkǒu biànniàohuí zhéjìngshǒu]

冠必正 纽必结 袜与履 俱紧切 [guānbìzhèng niǔbìjié wàyǔlǚ jùjǐnqiè]

置冠服 有定位 勿乱顿 致污秽 [zhìguānfú yǒudìngwèi wùluàndùn zhìwūhuì]

衣贵洁 不贵华 上循分 下称家 [yīguìjié búguìhuá shàngxúnfèn xiàchènjiā]

对饮食 勿拣择 食适可 勿过则 [duìyǐnshí wùjiǎnzé shíshìkě wùguòzé]

年方少 勿饮酒 饮酒醉 最为丑 [niánfāngshào wùyǐnjiǔ yǐnjiǔzuì zuìwéichǒu]

步从容 立端正 揖深圆 拜恭敬 [bùcōngróng lìduānzhèng yīshēnyuán bàigōngjìng]

勿践阈 勿跛倚 勿箕踞 勿摇髀 [wùjiànyù wùbǒyǐ wùjījù wùyáobì]

缓揭帘 勿有声 宽转弯 勿触棱 [huǎnjiēlián wùyǒushēng kuānzhuǎnwān wùchùléng]

执虚器 如执盈 入虚室 如有人 [zhíxūqì rúzhíyíng rùxūshì rúyǒurén]

事勿忙 忙多错 勿畏难 勿轻略 [shìwùmáng mángduōcuò wùwèinán wùqīnglüè]

斗闹场 绝勿近 邪僻事 绝勿问 [dòunàochǎng juéwùjìn xiépìshì juéwùwèn]

将入门 问孰存 将上堂 声必扬 [jiāngrùmén wènshúcúnjiāngshàngtáng shēngbìyáng]

人问谁 对以名 吾与我 不分明 [rénwènshuí duìyǐmíng wúyǔwǒ bùfēnmíng]

用人物 须明求 倘不问 即为偷 [yòngrénwù xūmíngqiú tǎngbùwèn jíwéitōu]

借人物 及时还 后有急 借不难 [jièrénwù jíshíhuán hòuyǒují jièbùnán]

4. 信 [xìn] ถือสัจจะ

凡出言 信为先 诈与妄 奚可焉 [fánchūyán xìnwéixiān zhàyǔwàng xīkěyān]

话说多 不如少 惟其是 勿佞巧 [huàshuōduō bùrúshǎo wéiqíshì wùnìngqiǎo]

奸巧语 秽污词 市井气 切戒之 [jiānqiǎoyǔ huìwūcí shìjǐngqì qièjièzhī]

见未真 勿轻言 知未的 勿轻传 [jiànwèizhēn wùqīngyán zhīwèidì wùqīngchuán]

事非宜 勿轻诺 苟轻诺 进退错 [shìfēiyí wùqīngnuò gǒuqīngnuò jìntuìcuò]

凡道字 重且舒 勿急疾 勿模糊 [fándàozì zhòngqiěshū wùjíjí wùmóhū]

彼说长 此说短 不关己 莫闲管 [bǐshuōcháng cǐshuōduǎn bùguānjǐ mòxiánguǎn]

见人善 即思齐 纵去远 以渐跻 [jiànrénshàn jísīqí zòngqùyuǎn yǐjiànjī]

见人恶 即内省 有则改 无加警 [jiànrénè jínèixǐng yǒuzégǎi wújiājǐng]

唯德学 唯才艺 不如人 当自砺 [wéidéxué wéicáiyì bùrúrén dāngzìlì]

若衣服 若饮食 不如人 勿生戚 [ruòyīfú ruòyǐnshí bùrúrén wùshēngqī]

闻过怒 闻誉乐 损友来 益友却 [wénguònù wényùlè sǔnyǒulái yìyǒuquè]

闻誉恐 闻过欣 直谅士 渐相亲 [wényùkǒng wénguòxīn zhíliàngshì jiànxiāngqīn]

无心非 名为错 有心非 名为恶 [wúxīnfēi míngwéicuò yǒuxīnfēi míngwéiè]

过能改 归于无 倘□饰 增一辜 [guònénggǎi guīyúwú tǎngyǎnshì zēngyìgū]

5. 泛爱众 [fàn ài zhòng] รักใคร่มวลชน

凡是人 皆须爱 天同覆 地同载 [fánshìrén jiēxūài tiāntóngfù dìtóngzài]

行高者 名自高 人所重 非貌高 [xìnggāozhě míngzìgāo rénsuǒzhòng fēimàogāo]

才大者 望自大 人所服 非言大 [cáidàzhě wàngzìdà rénsuǒfú fēiyándà]

己有能 勿自私 人所能 勿轻訾 [yǐyǒunéng wùzìsī rénsuǒnéng wùqīngzī]

勿谄富 勿骄贫 勿厌故 勿喜新 [wùchǎnfù wùjiāopín wùyàngù wùxǐxīn]

人不闲 勿事搅 人不安 勿话扰 [rénbùxián wùshìjiǎo rénbùān wùhuàrǎo]

人有短 切莫揭 人有私 切莫说 [rényǒuduǎn qièmòjiē rényǒusī qièmòshuō]

道人善 即是善 人知之 愈思勉 [dàorénshàn jíshìshàn rénzhīzhī yùsīmiǎn]

扬人恶 即是恶 疾之甚 祸且作 [yángrénè jìshìè jízhīshèn huòqiězuò]

善相劝 德皆建 过不规 道两亏 [shànxiāngquàn déjiējiàn guòbùguī dàoliǎngkuī]

凡取与 贵分晓 与宜多 取宜少 [fánqǔyǔ guìfēnxiǎo yǔyíduō qǔyíshǎo]

将加人 先问己 己不欲 即速已 [jiāngjiārén xiānwènjǐ jǐbúyù jísùyǐ]

恩欲报 怨欲忘 报怨短 报恩长 [ēnyùbào yuànyùwàng bàoyuànduǎn bàoēncháng]

待婢仆 身贵端 虽贵端 慈而宽 [dàibìpú shēnguìduān suīguìduān cíérkuān]

势服人 心不然 理服人 方无言 [shìfúrén xīnbùrán lǐfúrén fāngwúyán]

6. 亲仁 [qīn rén] เข้าใกล้ผู้มีคุณธรรม

同是人 类不齐 流俗众 仁者希 [tóngshìrén lèibùqí liúsúzhòng rénzhěxī]

果仁者 人多畏 言不讳 色不媚 [guǒrénzhě rénduōwèi yánbúhuì sèbúmèi]

能亲仁 无限好 德日进 过日少 [néngqīnrén wúxiànhǎo dérìjìn guòrìshǎo]

不亲仁 无限害 小人进 百事坏 [bùqīnrén wúxiànhài xiǎorénjìn bǎishìhuài]

7. 余力学文 [yú lì xué wén] มีกำลังเหลือศึกษาหาความรู้

不力行 但学文 长浮华 成何人 [búlìxíng dànxuéwén zhǎngfúhuá chénghérén]

但力行 不学文 任己见 昧理真 [dànlìxíng bùxuéwén rènjǐjiàn mèilǐzhēn]

读书法 有三到 心眼口 信皆要 [dúshūfǎ yǒusāndào xīnyǎnkǒu xìnjiēyào]

方读此 勿慕彼 此未终 彼勿起 [fāngdúcǐ wùmùbǐ cǐwèizhōng bǐwùqǐ]

宽为限 紧用功 工夫到 滞塞通 [kuānwéixiàn jǐnyònggōng gōngfūdào zhìsètōng]

心有疑 随札记 就人问 求确义 [xīnyǒuyí suízhájì jiùrénwèn qiúquèyì]

房室清 墙壁净 几案洁 笔砚正 [fángshìqīng qiángbìjìng jīànjié bǐyànzhèng]

墨磨偏 心不端 字不敬 心先病 [mòmópiān xīnbùduān zìbújìng xīnxiānbìng]

列典籍 有定处 读看毕 还原处 [lièdiǎnjí yǒudìngchù dúkànbì huányuánchù]

虽有急 卷束齐 有缺坏 就补之 [suīyǒují juànshùqí yǒuquēhuài jiùbǔzhī]

非圣书 屏勿视 蔽聪明 坏心志 [fēishèngshū bǐngwùshì bìcōngmíng huàixīnzhì]

勿自暴 勿自弃 圣与贤 可驯致 [wùzìbào wùzìqì shèngyǔxián kěxúnzhì]

อ้างอิงจาก https://www.oknation.net/blog/songlink/2009/10/28/entry-1

ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

  • 叙 [xù] บรรยาย
  • 总 [zǒng] สรุป
  • 弟子 [dìzǐ] ลูกศิษย์, เด็ก
  • 规 [guī] กฎ
  • 训 [xùn] อบรมสั่งสอน
  • 则 [zé] แบบอย่าง
  • 首 [shǒu] อันดับแรก, ก่อนอื่น
  • 孝 [xiào] กตัญญูรู้คุณ, ซึ่งรับผิดชอบต่อหน้าที่,เชื่อฟัง,ซื่อสัตย์
  • 弟 [dì] น้องชาย
  • 次 [cì] ครั้ง, ลำดับที่
  • 信 [xìn] เชื่อ, ข่าวสาร
  • 圣人 [shèngrén] นักปราชญ์
  • 有余 [yǒuyú] มีเหลือ
  • 谨 [jǐn] ระมัดระวัง, ละเอียดรอบคอบ
  • 父母 [fùmǔ] พ่อแม่
  • 须 [xū] จะต้อง
  • 责 [zé] ตำหนิ
  • 顺 [shùn] คล้อยตาม
  • 承 [chéng] รับเอาไว้
  • 敬 [jìng] เคารพ
  • 清晨 [qīngchén] เช้าตรู่
  • 冬 [dōng] หนาว
  • 昏 [hūn] ค่ำ
  • 温 [wēn] อบอุ่น
  • 定 [dìng] แน่นอน
  • 居 [jū] ที่พัก
  • 虽 [suī] แม้
  • 擅 [shàn] โดยพลการ, ทำตามใจ
  • 苟 [gǒu] เรื่อยเปื่อย อะไรก็ได้
  • 亲爱 [qīn’ài] ที่รัก
  • 昼夜 [zhòuyè] ตลอดเวลา, กลางวันและกลางคืน
  • 死者 [sǐzhě] ผู้ตาย
  • 兄弟 [xiōngdì] พี่น้อง
  • 财物 [cáiwù] ทรัพย์สมบัติ
  • 言语 [yányu] ภาษา
  • 饮食 [yǐnshí] อาหารและเครื่องดื่ม
  • 长者 [zhǎngzhě] ผู้อาวุโส
  • 不在 [bùzài] ไม่อยู่
  • 尊长 [zūnzhǎng] ผู้อาวุโส
  • 下马 [xiàmǎ] ลงจากม้า
  • 下车 [xiàchē] ลงรถ
  • 此时 [cǐshí] ทันที
  • 漱口 [shùkǒu] บ้วนปาก
  • 净手 [jìngshǒu] ไปห้องน้ำ
  • 定位 [dìngwèi] อยู่กับที่
  • 污秽 [wūhuì] สกปรกไม่สะอาด
  • 饮酒 [yǐnjiǔ] ดื่มเหล้า
  • 最为 [zuìwéi] มากที่สุด
  • 从容 [cōngróng] สุขุม เยือกเย็น
  • 端正 [duānzhèng] ตั้งตรง, เป็นปกติ, ถูกต้อง,ปรับปรุงให้ถูกต้อง
  • 恭敬 [gōngjìng] เคารพ
  • 转弯 [zhuǎnwān] เลี้ยวโค้ง
  • 畏难 [wèinán] กลัวความยากลำบาก
  • 入门 [rùmén] เรียนรู้หลักวิชาเบื้องต้น
  • 分明 [fēnmíng] กระจ่างชัด
  • 用人 [yòngren] ใช้คน
  • 不问 [bùwèn] ละเลย
  • 人物 [rénwù] ลักษณะรูปร่าง
  • 及时 [jíshí] ทันเวลา
  • 不如 [bùrú] สู้ไม่ได้
  • 市井 [shìjǐng] ตลาด
  • 进退 [jìntuì] เดินหน้าถอยหลัง
  • 模糊 [móhu] เบลอ
  • 内省 [nèixǐng] การสำรวจและวิเคราะห์จิตใจของตน
  • 衣服 [yīfu] เสื้อผ้า
  • 益友 [yìyǒu] เพื่อนดี
  • 无心 [wúxīn] ไม่มีกะจิตกะใจ
  • 有心 [yǒuxīn] มีใจ
  • 归于 [guīyú] เป็นของ
  • 凡是 [fánshì] ทุกอย่าง, ทั้งหมด
  • 自大 [zìdà] อวดดี
  • 自私 [zìsī] เห็นแก่ตัว
  • 不安 [bù’ān] ไม่สงบสุข
  • 道人 [dàoren] เต้าหยิน, นักบวชในศาสนาเต๋า
  • 相劝 [xiāngquàn] ชักชวน, คำแนะนำ, ข้อคิดเห็น, ความเห็น
  • 何人 [hérén] ใคร
  • 读书 [dúshū] อ่านหนังสือ
  • 为限 [wéixiàn] จำกัด
  • 用功 [yònggōng] ขยัน
  • 工夫 [gōngfu] ทักษะ, แรงงาน, เวลา
  • 札记 [záhjì] บันทึกการอ่าน
  • 墙壁 [qiángbì] กำแพง
  • 不端 [bùduān] ไม่เหมาะสม, น่าอับอาย
  • 不敬 [bùjìng] ไม่เคารพ
  • 典籍 [diǎnjí] คัมภีร์โบราณ
  • 还原 [huányuán] กลับสู่สภาพเดิม
  • 聪明 [cōngmíng] ฉลาด

คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经

คัมภีร์สามอักษร ภาษาจีน

เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน

โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล

หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ

คู่ ที่ 1    人之初,性本善。คู่ที่ 1

3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน
3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา

คู่ ที่ 2    性相近,习相远。

3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง
3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน

คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน

อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย

บางระบบอย่างฝรั่ง มีทั้งที่เชื่อแบบนี้ กับพวกที่เชื่อว่าทุกคนเกิดมาเลว จึงต้องมีการศึกษา และศาสนา มาควบคุม ให้คนเป็นคนดึ

กับอีกพวก บอกว่า คนเราเกิดมาไม่ดีไม่ชั่ว

อักษรจีนสามอักษร
人之初,性本善。性相近,习相远。
苟不教,性乃迁。教之道,贵以专。
昔孟母,择邻处。子不学,断机杼。
窦燕山,有义方。教五子,名俱扬。
养不教,父之过。教不严,师之惰。

子不学,非所宜。幼不学,老何为。
玉不琢,不成器。人不学,不知义。
为人子,方少时。亲师友,习礼仪。
香九龄,能温席。孝于亲,所当执。
融四岁,能让梨。弟于长,宜先知。

首孝悌,次见闻。知某数,识某文。
一而十,十而百。百而千,千而万。
三才者,天地人。三光者,日月星。
三纲者,君臣义。父子亲,夫妇顺。
曰春夏,曰秋冬。此四时,运不穷。

曰南北,曰西东。此四方,应乎中。
曰水火,木金土。此五行,本乎数。
十干者,甲至癸。十二支,子至亥。
曰黄道,日所躔。曰赤道,当中权。
赤道下,温暖极。我中华,在东北。

寒燠均,霜露改。右高原,左大海。
曰江河,曰淮济。此四渎,水之纪。
曰岱华,嵩恒衡。此五岳,山之名。
古九州,今改制。称行省,三十五。
曰士农,曰工商。此四民,国之良。

曰仁义,礼智信。此五常,不容紊。
地所生,有草木。此植物,遍水陆。
有虫鱼,有鸟兽。此动物,能飞走。
稻粱菽,麦黍稷。此六谷,人所食。
马牛羊,鸡犬豕。此六畜,人所饲。

曰喜怒,曰哀惧。爱恶欲,七情具。
青赤黄,及黑白。此五色,目所识。
酸苦甘,及辛咸。此五味,口所含。
膻焦香,及腥朽。此五臭,鼻所嗅。
匏土革,木石金。丝与竹,乃八音。

曰平上,曰去入。此四声,宜调协。
高曾祖,父而身。身而子,子而孙。
自子孙,至玄曾。乃九族,人之伦。
父子恩,夫妇从。兄则友,弟则恭。
长幼序,友与朋。君则敬,臣则忠。

此十义,人所同。当顺叙,勿违背。
斩齐衰,大小功。至缌麻,五服终。
礼乐射,御书数。古六艺,今不具。
惟书学,人共遵。既识字,讲说文。
有古文,大小篆。隶草继,不可乱。

若广学,惧其繁。但略说,能知原。
凡训蒙,须讲究。详训诂,明句读。
为学者,必有初。小学终,至四书。
论语者,二十篇。群弟子,记善言。
孟子者,七篇止。讲道德,说仁义。

作中庸,子思笔。中不偏,庸不易。
作大学,乃曾子。自修齐,至平治。
孝经通,四书熟。如六经,始可读。
诗书易,礼春秋。号六经,当讲求。
有连山,有归藏。有周易,三易详。

有典谟,有训诰。有誓命,书之奥。
我周公,作周礼。著六官,存治体。
大小戴,注礼记。述圣言,礼乐备。
曰国风,曰雅颂。号四诗,当讽咏。
诗既亡,春秋作。寓褒贬,别善恶。

三传者,有公羊。有左氏,有谷梁。
古圣著,先贤传,注疏备,十三经。
左传外,有国语,合群经,数十五。
注疏备,十三经,惟“大戴”,疏未成。
经既明,方读子。撮其要,记其事。

五子者,有荀扬。文中子,及老庄。
经子通,读诸史。考世系,知始终。
自羲农,至黄帝。号三皇,居上世。
唐有虞,号二帝。相揖逊,称盛世。
夏有禹,商有汤。周文武,称三王。

夏传子,家天下。四百载,迁夏社。
汤伐夏,国号商。六百载,至纣亡。
周武王,始诛纣。八百载,最长久。
周辙东,王纲坠。逞干戈,尚游说。
始春秋,终战国。五霸强,七雄出。

嬴秦氏,始兼并。传二世,楚汉争。
高祖兴,汉业建。至孝平,王莽篡。
光武兴,为东汉。四百年,终于献。
魏蜀吴,争汉鼎。号三国,迄两晋。
宋齐继,梁陈承。为南朝,都金陵。

北元魏,分东西。宇文周,与高齐。
迨至隋,一土宇。不再传,失统绪。
唐高祖,起义师。除隋乱,创国基。
二十传,三百载。梁灭之,国乃改。
梁唐晋,及汉周。称五代,皆有由。

炎宋兴,受周禅。十八传,南北混。
辽与金,皆称帝。元灭金,绝宋世。
舆图广,超前代。九十年,国祚废。
太祖兴,国大明。号洪武,都金陵。
迨成祖,迁燕京。十六世,至崇祯。

权阉肆,寇如林。李闯出,神器焚。
清世祖,膺景命。靖四方,克大定。
由康雍,历乾嘉。民安富,治绩夸。
道咸间,变乱起。始英法,扰都鄙。
同光后,宣统弱。传九帝,满清殁。

革命兴,废帝制。立宪法,建民国。
古今史,全在兹。载治乱,知兴衰。
史虽繁,读有次。史记一,汉书二。
后汉三,国志四。兼证经,参通鉴。
读史者,考实录。通古今,若亲目。

口而诵,心而惟。朝于斯,夕于斯。
昔仲尼,师项橐。古圣贤,尚勤学。
赵中令,读鲁论。彼既仕,学且勤。
披蒲编,削竹简。彼无书,且知勉。
头悬梁,锥刺股。彼不教,自勤苦。

如囊萤,如映雪。家虽贫,学不辍。
如负薪,如挂角。身虽劳,犹苦卓。
苏老泉,二十七。始发愤,读书籍。
彼既老,犹悔迟。尔小生,宜早思。
若梁灏,八十二。对大廷,魁多士。

彼既成,众称异。尔小生,宜立志。
莹八岁,能咏诗。泌七岁,能赋棋。
彼颖悟,人称奇。尔幼学,当效之。
蔡文姬,能辩琴。谢道韫,能咏吟。
彼女子,且聪敏。尔男子,当自警。

唐刘晏,方七岁。举神童,作正字。
晏虽幼,身已仕。有为者,亦若是。
犬守夜,鸡司晨。苟不学,曷为人。
蚕吐丝,蜂酿蜜。人不学,不如物。
幼而学,壮而行。上致君,下泽民。

扬名声,显父母。光于前,裕于后。
人遗子,金满籯。我教子,唯一经。
勤有功,戏无益。戒之哉,宜勉力。

 

สำนวนจีน : 锄禾日当午,汗滴禾下土,谁知盘中餐,粒粒皆辛苦. [李绅]

สำนวนปลูกข้าว ภาษาจีน

作    者:李绅

锄禾日当午,汗滴禾下土。
Chú hé rì dāng wǔ, hàn dī hé xià tǔ.
ปลูกข้าวกลางแสงแดด หยาดเหงื่อหยดลงดิน

谁知盘中餐,粒粒皆辛苦!
Shéi zhī pán zhōngcān, lì lì jiē xīnkǔ!
ใครรู้ในจานข้าว ทุกเม็ดล้วนลำบาก

รู้จัก 五脏六腑,奇恒之府 กับ https://cmed.hcu.ac.th

อวัยวะภายใน ภาษาจีน

ทฤษฏีอวัยวะตัน-อวัยวะกลวง (脏腑学说)

ตามทฤษฎีแพทย์จีนแบ่งอวัยวะออกเป็น 2 พวกคือ

1. อวัยวะภายในตันทั้ง 5(五脏)ได้แก่ ตับ (肝) หัวใจ (心) ม้าม (脾) ปอด (肺) ไต ( 肾) อวัยวะภายในทั้งห้า จัดว่าเป็น阴 มีหน้าที่สร้างและเก็บสารจำเป็น แต่ไม่ทำหน้าที่กำจัด สะสมสารจำเป็นของชีวิตและควบคุมการไหลเวียนของพลังลมปราณและเลือด นอกจากนี้ยังนับรวมถุงหุ้มหัวใจ(心包)ด้วยเป็นอวัยวะตันอีกชนิดหนึ่ง

2. อวัยวะกลวงทั้ง 6 (六腑)ได้แก่ ถุงน้ำดี (胆) ลำไส้เล็ก (小肠) กระเพาะอาหาร (胃) ลำไส้ใหญ่ (大肠) กระเพาะปัสสาวะ (膀胱) และซานเจียว (三焦) อวัยวะกลวงทั้งห้า จัดว่าเป็น阳ทำหน้าที่เกียวกับการย่อย ดูดซึมและขับถ่าย

3. อวัยวะกลวงพิเศษทั้ง 6(奇恒之府)ได้แก่ สมอง (脑) ไขสันหลัง (髓) กระดูก (骨) เส้นเลือด (脉) ถุงน้ำดี (胆) มดลูก (女子胞) เนื่องจากภายในมีลักษณะกลวงเหมือนอวัยวะกลวง และทำหน้าที่เก็บสะสมสารจำเป็นและลมปราณเหมือนอวัยวะตันจึงเรียกว่าเป็น อวัยวะกลวงพิเศษทั้งหก และจัดว่าเป็น阴

อวัยวะตันและกลวงจะแบ่งเป็นยิน-หยาง และจะมีความสัมพันธ์เป็นคู่ๆ โดยมีเส้นลมปราณเชื่อมโยงอยู่ระหว่างคู่กัน กล่าวคือ ตับคู่กับถุงน้ำดี หัวใจคู่กับลำไส้เล็ก ม้ามคู่กับกระเพาะอาหาร ปอดคู่กับลำไส้ใหญ่ ไตคู่กับกระเพาะปัสสาวะ เยื่อหุ้มหัวใจกับซานเจียว

ตับ มีหน้าที่

1. 藏血,调节血量 สะสมเลือด และปรับปริมาณเลือดให้คงที่ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวเลือดจากตับจะไหลไปยังเส้นลมปราณต่างๆ เพื่อสนองความต้องการของร่างกาย เมื่อร่างกายหยุดพักเลือดจะไหลกลับมาสะสมในตับ

2. 主流泄แผ่ซ่านลมปราณให้ทั่วถึงตลอดภายในร่างกาย ช่วยควบคุมการไหลเวียนของลมปราณและเลือด และของเหลวในร่างกายให้เป็นไปอย่างสมดุล ตลอดจนควบคุมในด้านจิตใจและอารมณ์

3. 主筋,其华在爪ตับกำหนดเส้นเอ็นและเล็บ เพราะต้องอาศัยเลือดมาหล่อเลี้ยง

4. 开窍于目ตาเป็นประตูของตับ เพราะต้องอาศัยเลือดมาหล่อเลี้ยง

5. ตับสัมพันธ์กับถุงน้ำดี

ถ้าตับผิดปกติจะมีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่นความโกรธและอารมณ์ผันผวนได้ ปวดเสียวแน่นสีข้าง ตาแห้ง มองไม่ชัด มองไม่เห็นตอนกลางคืน ตาจะบวมแดง สู้แสงไม่ได้น้ำตาไหล ลมตับมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ตาลาย ลิ้นสั่น ร่างกายแขนขาชา กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริว จุกแน่นใต้ลิ้นปี่เพราะพลังตับถูกขัดขวาง

หัวใจ มีฐานะเป็นตัวนำของอวัยวะภายในทั้งหมด (五脏六腑之大主)และทำงานร่วมกับ “ถุงหุ้มหัวใจ” หน้าที่ของหัวใจมีหน้าที่ดังนี้คือ

1. 主血脉กำหนดชีพจร ควบคุมการไหลเวียนของเลือด สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆทั่วร่างกาย

2. 主神志ควบคุมความรู้สึกนึกคิดและจิตใจกหัวใจ แล้วแตกแขนงกระจายไปทั่วร่างกาย ที่ใบหน้ามีเส้นเลือดมากมาย ดังนั้นสีของใบหน้าสามารถบอกถึงการทำงานของหัวใจ ว่าหัวใจมีแรงสูบฉีดเลือดและมีปริมาณเลือดเพียงพอหรือเปล่า

3. 舌为心之苗窍 ลิ้นเป็นอวัยวะเชื่อมโยงหัวใจอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเลือดและลมปราณไหลเวียนผ่านหัวใจส่งไปหล่อเลี้ยงที่ลิ้น โดยเฉพาะที่ปลายลิ้น

4. สัมพันธ์กับลำไส้เล็ก

ถ้าหัวใจผิดปกติจะมีอาการสีหน้าซีดเผือก ลิ้นซีด ชีพจรเบาไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น หายใจขัด เหงื่อออก พบในเลือกหรือพลังหัวใจไม่พอ ด้านสติสัมปชัญญะถ้าเลือดหัวใจไม่พอจะนอนไม่หลับ ฝัน ตกใจ ขี้ลืม ถ้าพลังมากเกินจะกระวนกระวาย นอนหลับไม่สนิท

ม้าม เป็นส่วนสำคัญของพลังหยางในร่างกาย หน้าที่ของม้ามมีดังนี้คือ

1. 主运化, 生血ควบคุมการย่อยและดูดซึมสารอาหาร อาหารเมื่อถูกย่อยที่กระเพาะอาหารแล้วม้ามจะลำเลียงสารจำเป็นไปสู่ปอดเพื่อ ส่งไปทั่วร่างกาย และสารจำเป็นที่ได้จะเป็นพื้นฐานในการสร้างเลือด ม้ามยังทำหน้าที่ปรับดุลการใช้และขับถ่ายของเหลวในร่างกายอีกด้วย ถ้าม้ามชื้น(พร่อง)จะเกิดการคั่งน้ำหรือท้องร่วงได้ เนื่องจากม้ามชอบแห้งกลัวชื้น (喜燥恶湿)

2. 主统血ควบคุมการไหลเวียนเลือด ให้ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือด ถ้าม้ามพร่องจะมีเลือดออกง่าย มีจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง ประจำเดือนมาก

3. 脾气主升ลมปาณม้ามแผ่กระจายขึ้นบน ลำเลียงสารจำเป็นของเหลวไปยังปอด เพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ยึดเหนี่ยวอวัยวะให้อยู่ตำแหน่งปกติ

4. 在体合肌肉、主四肢, 其华在唇ม้ามดูดซึมและส่งสารอาหารมาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อและแขนขาให้เจริญแข็ง แรง รวมถึงริมฝีปากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อเช่นเดียวกัน

5. 脾开窍于口 ปากเป็นประตูของม้าม การรับประทานอาหาร การรับรู้รสชาติของอาหาร

6. สัมพันธ์กับกระเพาะอาหาร

ถ้าม้ามมีความผิดปกติจะเกิดอาการ อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเดิน ขาดอาหาร ผอม อ่อนเพลีย ริมฝีปากซีด บวมหรือท้องมาน ลิ้นเป็นฝ้าหนา ดีซ่าน ปัสสาวะเป็นเลือด ตกเลือดหรือประจำเดือนมามากเกินไป มดลูกหย่อน ทวารหนักโผล่ หรือเกิดอาการหยางพร่องคือจะมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ชอบร้อน กลัวเย็น หน้าและริมฝีปากซีด ชีพจรอ่อน

ปอด หน้าที่ของปอดมีดังนี้คือ

1. 主气,司呼吸ควบคุมลมปราณ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ควบคุมการหายใจ

2. 主宣发与肃降 ควบคุมการแผ่กระจายของลมปราณ โดยแผ่กระจายขึ้น กระจายออกข้างนอกลงล่าง ช่วยให้เลือดและลมปราณไหลเวียนพาสารอาหารและน้ำไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย และช่วยขับของเสียส่วนเกินต่างๆออกทางลมหายใจ ทางเหงื่อ และขับถ่ายของเสียออกทางทวาร

3. 通调水道ควบคุมการลำเลียงของเหลวในร่างกายให้เป้นไปอย่างสมดุลกัน 4. 在体合皮,其华在毛สัมพันธ์กับผิวหนังและขน การขับเหงื่อและการต่อต้านอิทธิพลจากภายนอก ความร้อน เย็น ชื้น ลม ต่างๆที่เป็นปัจจัยให้เกิดโรค

5. 在窍为鼻จมูกเป็นประตูของปอด เนื่องจากจมูกเป็นทางผ่าเข้าออกของลมหายใจ และรับกลิ่น

6. สัมพันธ์กับลำไส้ใหญ่ พลังปอดเคลื่อนที่ลงล่างทำหน้าที่ช่วยลำไส้ใหญ่ขับถ่ายของเสียและดูดซึมของ เหลว ถ้าลำไส้ใหญ่เสียหน้าที่ ทำให้พลังปอดถูกขัดขวาง ลงล่างไม่ได้จะเกิดอาการหอบหืด ถ้าปอดมีความผิดปกติจะเกิดอาการไอหอบ ไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือดจากปอดร้อนหรือยินพร่อง อาการทางจมูกเป็นหวัด คัดจมูก เลือดกำเดาออก คันคอ หน้าบวม หนังตาบวม แขนขาบวม อาจเกิดจากพลังปอดถูกขัดขวาง

ไต มีหน้าที่ดังนี้

1.肾藏精,主人体的生长发育与生殖เก็บสารจำเป็นของชีวิต ทั้งด้านการกำเนิดชีวิต และการดำรงชีวิต เกี่ยวกับการเผาผลาญ การสันดาปในร่างกาย (metabolism) จะหล่อเลี้ยงและไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ไตสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและการสืบพันธ์

2. 主水液ควบคุมการไหลเวียนและสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกาย น้ำเสียที่ไม่มีประโยชน์หรือมีมากเกินจะถูกส่งไปที่กระเพาะปัสสาวะและขับออก ไปเป็นปัสสาวะ ทำให้ม้ามลำเลียงของเหลวได้เป็นปกติ

3. 主纳气สัมพันธ์กับการหายใจของปอด ไตเป็นผู้รับลมปราณที่เคลื่อนที่ลงมาจากปอด ทำให้หายใจเข้าออกสะดวก มีจังหวะสม่ำเสมอ

4. 肾主骨、生髓、通于脑,齿为骨之余,其华在发สารจำเป็นของไตสร้างสมองและ ไขสันหลัง เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน เลี้ยงบำรุงเส้นผมและขน ถ้าไตแข็งแรงจะทำให้พละกำลังดีและสมองเป็นปกติ

5. 开窍于耳及二阴 หูเป็นประตูของไต เกี่ยวข้องกับการได้ยิน และยังเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และการขับถ่ายปัสสาวะกับอุจจาระ

6. สัมพันธ์กับกระเพาะปัสสาวะ

ถ้าไตผิดปกติจะมีอาการบวม คือการคั่งค้างของของเหลวในร่างกาย อุจจาระปัสสาวะจากไตหยางพร่อง ทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ท้องร่วง ไตยินพร่อง ทำให้ปัสสาวะน้อย ท้องผูก มีความผิดปกติของการสืบพันธ์เป็นหมัน น้ำอสุจิเคลื่อน กามตายด้าน ปวดหลัง ปวดเอว เฉื่อย ซึม อ่อนเพลีย ขี้ลืม เมื่อยเอว มือเท้าอ่อนไม่มีแรง อ่อนเปลี้ย ร้อนอุ้งมืออุ้งเท้า คอแห้ง

ถุงน้ำดี (胆) 胆主决断มีหน้าที่เก็บน้ำดี ทำหน้าที่ร่วมกับตับ กำหนดการตัดสินใจ หมายถึงความสามารถในจิตสำนึกในการตัดสินปัญหา ถุงน้ำดีจัดเป็นอวัยวะพิเศษโดยไม่เชื่อมโยงกับภายนอกโดยตรง ถ้าถุงน้ำดีผิดปกติจะมีอาการดีซ่าน ผิวเหลือง ตาเหลือง มึนงง การรับรสในปากเลวลง ปวดสีข้าง อาเจียนเป็นน้ำดี โกรธง่าย หลับไม่สนิทและฝันร้าย หนาวๆร้อนๆ

ลำไส้เล็ก(小肠) 小肠受盛化物,分别清浊รับอาหารบางส่วนผ่านจากกระเพาะอาหารมา แล้วส่งไปยังม้าม และส่งส่วนที่เหลือจากการย่อยไปยังลำไส้ใหญ่หรือกระเพาะปัสสาวะเพื่อขับถ่าย ออกจากร่างกาย ถ้าลำไส้เล็กผิดปกติจะกระทบกระเทือนการลำเลียงของเหลว จะเกิดอาการเบาขัดหรือท้องเสีย ลำไส้เล็กสัมพันธ์กับหัวใจ ถ้าไฟหัวใจมากเกินไปทำให้มีเลือดออกในอุจจาระหรือปัสสาวะได้

กระเพาะอาหาร (胃) 胃主受纳, 胃主降浊, 胃气主降ทำหน้าที่รับและย่อยอาหารต่างๆ จนได้”สารจำเป็น” มีความสัมพันธ์กับม้าม ถ้ากระเพาะอาหารมีความผิดปกติจะมีอาการสะอึก หายใจเสียงดัง อาเจียน ท้องผูก

ลำไส้ใหญ่ (大肠) 大肠主传导 หน้าที่คือรับสิ่งที่ผ่านการย่อยจากลำไส้เล็ก ดูดซึมและขับถ่าย ถ้าลำไส้ใหญ่ผิดปกติจะมีอาการท้องร่วง บิด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรือท้องผูก

กระเพาะปัสสาวะ(膀胱) 膀胱储存小便,排泄小便ทำหน้าที่รับและขับถ่ายปัสสาวะ โดยอาศัยไต ถ้ากระเพาะปัสสาวะถูกกระทบกระเทือนจะเกิดอาการปัสสาวะคั่ง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ถ่ายปัสสาวะมาก เบาเป็นเลือด

ซานเจียว(三焦) 三焦是对元气和水液运行通道, 对人体某些内脏功能系统的概括 เป็นทางผ่านของของเหลว จากส่วนบนตั้งแต่ปอด หัวใจและหัว ลงมาส่วนกลางคือกระเพาะอาหารและม้าม ส่งต่อไปยังส่วนล่างคือตับ ไต และอวัยวะเพศ เพื่อขจัดของเสียออกจากร่างกาย เป็นแนวคิดหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์โรค

ภาษาจีนกับสำเนียงภาษาจีนกลาง (汉语与普通话)

汉语与普通话

ภาษาจีนกับสำเนียงภาษาจีนกลาง (汉语与普通话)

汉语(hànyŭ) แปลว่าภาษาจีน 汉(hàn) เป็นชื่อของชนชาติฮั่น (汉族 hànzú)หรือเรียกว่าชาวฮั่น (ซึ่งในปัจจุบันคนจีน 92 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวฮั่น) ส่วน 语(yǔ) แปลว่าภาษา ดังนั้นคำว่า 汉语(hànyŭ) จึงเป็นการเรียกตามชื่อของชนชาติฮั่น นอกจากชื่อนี้แล้ว ภาษาจีนยังใช้อีกสองชื่อบ่อย คือ 华语(huáyǔ 华 เป็นชื่อที่เรียกชาวจีนโดยรวม) หรือ 中国话 ( zhōngguóhuà 中国 แปลว่าประเทศจีน ส่วน 话 แปลว่า คำพูดหรือภาษา)

เนื่องจากประเทศจีนมีแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบกับชาวฮั่นมีประวัติการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ที่สลับซับซ้อนในช่วง 2,000 กว่าปี่ที่ผ่านมานี้ ดังนั้นในปัจจุบันนี้สำเนียงภาษาจีนของชาวฮั่นที่กระจายอยู่ทั่วไปในประเทศ จีนมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้เลย โดยทั่วไปแล้วสำเนียงที่ใช้อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน เปอร์เซ็นต์ในการเข้าใจกันก็จะสูง ยิ่งห่างกันไกลยิ่งพูดจากันไม่เข้าใจ อย่างเช่นสำเนียงปักกิ่งกับสำเนียงกวางตุ้ง แทบจะสื่อการกันไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว
ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน นี้ มีอุปสรรคมากมายในด้านการสื่อสารระหว่างคนจีน(ชาวฮั่น)ด้วยกันโดยตลอด จึงมีความพยายามที่จะให้คนต่างสำเนียงเรียนรู้การใช้สำเนียงเดียวกันที่เป็น ที่เข้าใจของทุกฝ่าย เมื่อถึงสมัยราชวงศ์หมิง ( 明朝 ค.ศ. 1368-1644 ตอนกลาง)ได้มีคำว่า 官话 (guānhuà  官 แปลว่า ราชการ 官话 จึงเป็นชื่อที่เรียกสำเนียงที่นิยมใช้ในหมู่ข้าราชการ) เกิดขึ้น ซึ่งก็คือสำเนียงปักกิ่ง สาเหตุทีนิยมใช้ในกันในบรรดาข้าราชการก็เป็นเพราะว่า ข้าราชการมีโอกาสรับตำแหน่งทั้งในกรุงปักกิ่งและต่างถิ่น รวมทั้งมีโอกาสบ่อยมากที่จะสัมผัสกับผู้คนต่างสำเนียง จึงมีความจำเป็นต้องใช้สำเนียงที่ง่ายต่อการเข้าใจของผู้คนทั่วไป กล่าวได้ว่า 官话 เป็นสัญลักษณ์ของการก่อตัวขึ้นของสำเนียงภาษจีนที่เป็นที่เข้าใจร่วมกัน ของคนจีน(ชาวฮั่น)ทั่วประเทศ

พอเข้าสู่สมัยราชวงศ์ชิง  (清朝 ค.ศ.1616-1911) ตอนปลาย เริ่มมีการรณรงค์ให้ใช้สำเนียงปักกิ่งอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยมีการเสนอให้เปลี่ยนคำว่า 官话 เป็น 国语 (guóyǔ 国 แปลว่า ประเทศ 国语 จึงแปลว่า ภาษาหรือสำเนียงประจำชาติ)ซึ่งเป็นการเรียงชื่ออย่างเป็นทางการสำหรับ สำเนียงภาษาจีนมาตราฐาน

ปี ค.ศ. 1924 รัฐบาลจีนคณะชาติได้ทำการกำหนดและประกาศใช้ระบบการออกเสียงของ 国语 โดยยึดถือสำเนียงปักกิ่งเป็นสำเนียงมาตรฐาน คือภาษาจีนกลางหรือภาษาจีนแมนดาริน ( “แมนดาริน” มาจากคำว่า Mandarin ของภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นชื่อที่ฝรั่งเรียกสำเนียงปักกิ่งในช่วงปลายสมัยราชวงค์ชิง) และในปี ค.ศ. 1926 ได้เริ่ม “ขบวนการรณรงค์ให้ใช้ภาษาจีนกลาง”

ปี ค.ศ.1955 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เปลี่ยนชื่อ 国语 ให้เป็น 普通话 ( แปลว่า สามัญ ธรรมดา หรือทั่วไป 普通话 จึงหมายถึงสำเนียงภาษาจีนที่ใช้ได้ทั่วไป หรือสำเนียงภาษาจีนกลาง แต่ในปัจจุบันนี้ไต้หวันและคนจีนในอีกหลายประเทศยังคงนิยมใช้คำว่า 国语 เหมือนเดิม) โดยกำหนดนิยามของภาษาจีนกลางให้รอบคอบและชัดเจนมากขึ้น ซึ่งใช้มาตรฐาน 3 ข้อดังนี้

1.ใช้สำเนียงปักกิ่งเป็นมาตราฐานในด้านการออกเสียง
นับ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน(元朝 ค.ศ.1206-1368) ปักกิ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของจีนมาโดยตลอด สำเนียงปักกิ่งได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง จึงมีบทบาทและอิทธิพลมากกว่าสำเนียงอื่น ๆ

2.ใช้ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือของจีนเป็นมาตรฐานในด้านการใช้คำศัพท์
ประชากร ที่ใช้ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือของจีน (ซึ่งรวมสำเนียงปักกิ่ง) มีจำนวนมากที่สุด กล่าวคือ ชาวฮั่นมี 73 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปใช้ภาษานี้และกระจายไปอยู่ทั่วประเทศจีน

3.ใช้วรรณกรรมที่เขียนด้วยภาษาจีนยุคปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับเป็นมาตรฐานด้านไวยการณ์
ก่อน สมัยราชวงศ์ถัง (唐朝 ค.ศ.618-907) ภาษาเขียนของภาษาจีนยังใช้ภาษาจีนโบราณประมาณ 2,000 ปีก่อน หลังจากนั้นถึงจะหันมาใช้ภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาพูดในยุคนั้นมาเป็นภาษา เขียน (白话文) ในการประพันธ์วรรณกรรมและในสมัยราชวงศ์ซุ่ง (宋朝 ค.ศ.960-1297) กับราชวงศ์หยวน วรรณกรมรูปแบบใหม่นี้ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นมาจนกลายเป็นกระแสหลักของภาษาเขียนในยุคดังกล่าว ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงกับราชวงศ์ชิง วรรณกรรมรูปแบบใหม่นี้เผยแพร่และเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง จนกระทั้งมีการพัฒนาและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงสมควรยึดถือวรรณกรรมรูปแบบนี้เป็นมาตรฐานในทางด้านไวยากรณ์

สิ่ง ที่สมควรจะชี้แจงก็ืคือ สำเนียงภาษาจีนกลางไม่ได้เท่ากับสำเนียงปักกิ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสำเนียงภาษาจีนกลางมีการตัดเสียงพิเศษบางเสียง และคำศัพท์พิเศษบางส่วนจากสำเนียงปักกิ่งออกไป

นับตั้งแต่เริ่ม มีการรณรงค์ให้ใช้สำเนียงภาษาจีนกลางอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบันนี้ เวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วเกือบร้อยปี และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในช่าวประมาณ 30 ปีที่ผ่านมานี้ สังคม เศรษฐกิจ และการคมนาคมของจีนได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การศึกษาของคนจีนโดยส่วนรวมเริ่มดีขึ้น ในขณะเดียวกันสื่อชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์หรือวิทยุ ล้วนแต่ใช้ภาษาจีนกลาง ได้เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวันของคนจีนทั่วไป จึงส่งผลให้คนจีนพี่พูดภาษาจีนกลางเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนสามารถฟังเข้าใจภาษาจีนกลางได้ แต่คนที่พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัดยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ชนบท ทางภาคใต้ หรือบริเวณที่ห่างไกลความเจริญ หรือแม้กระทั้งในเมือง ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปยังคงมีจำนวนไม่น้อยที่พูดภาษาจีนกลางไม่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่เคยหรือไม่ค่อยได้มีโอกาสพูดภาษา จีนกลาง โดยยังคงใช้แต่สำเนียงภาษาท้องถิ่นของตนเองอยู่ตลอดเวลา

อย่าง ไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสำเนียงภาษาจีนของคนจีนในแต่ละพื้นที่จะต่างกันมาก และยังมีคนจำนวนมากพูดภาษาจีนกลางไม่ได้ (ฟังได้อย่างเดียว) แต่ยังโชคดีที่คนจีนทั้งหมดใช้ระบบการเขียน ระบบเดียวกัน เมื่อพูดคุยกันไม่เข้าใจก็เขียนเอา นี่คือเหตุการณ์ที่พบเห็นบ่อยคนชินตาในสมัยก่อน แต่คงจะกลายเป็นอดีตไปในอีกไม่นานเมื่อทุกคนสามารถพูดภาษาจีนกลางได้

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.dict2u.com