Category Archives: เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้

เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้ : โฮโมน วัยว้าวุ่น [荷尔蒙]

อ.อี้ hsk & patจีน

คุยหนังดูเพลง เสนอ โฮโมน วัยว้าวุ่น 荷尔蒙(héěrméng)
*มีศัพท์น่ารู้พร้อมpinyinตอนท้ายบทจ้ะ

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์ไทยเเละ ละครไทยถือได้ว่าเป็นละครระดับคุณภาพคับเเก้วในสายตาของคนจีน โดยเฉพาะเเนวFeel-good 舒畅影片 เเนวเขย่าขวัญ恐怖影片 แล้วก็ 偶像剧ละครหลังข่าว/น้ำเน่า หลายคนอาจจะงงๆว่า ไอ้ละครหลังข่าวที่มีนางร้ายตบตีเเย่งผัวชาวบ้านกันเเทบทุกตอนมันมีคุณภาพตรงไหน??? อ่ะฮ่า นี่คือมุมหนึ่งที่คนบ้านเราอาจมองไม่ออก เพราะเราดูกันตั้งเเต่เด็กจนโต ดูกันจนเอียนเเละพบว่ามันไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นเลย “แต่” เราอาจลืมไปว่า บางครั้งการหยุดอยู่กับที่ อาจเป็น “ความเสถียร” สำหรับคนบางคนก็ได้ ละครไทยในสายตาของกองเซ็นเซอร์ของจีนทีว่ากันว่าเขี้ยวที่สุดในโลก(เป็นรองเเค่คิวบากับเกาหลีเหนือกระมัง) กลับรู้สึกดีกับละครไทย เพราะคาดเดาง่าย ไม่มีเนื้อหาทางการเมืองเเอบเเผงอย่างละครจากตะวันตก ที่สำคัญนำเสนอ “ความร้ายกาจของคน” เเบบผิดคือผิด ถูกคือถูก ไม่ใช่ละครประเภทเสี้ยมให้เด็กวัยรุ่นเป็นมาเฟียหรือเสี้ยมให้คนเป็นขบฎ จะตบตีกันกี่ตลบเเต่สุดท้าย นางร้ายพวกนี้จะกรรมตามทัน นางเอกสบายเฮ อันนี้กองเซ็นเซอร์จีนชอบครับ ถือว่าเร้าใจเเต่ไม่ปลุกระดม เเถมจะกี่เรื่องโครงเรื่องก็เหมือนเดิม เป็นสไตล์ละครที่มีความเสถียรสูงมาก ^^”

ผมจำได้ดี ตอนเด็กๆ ละครต่างประเทศที่จีนยอมนำเข้าฉายในโทรทัศน์ ส่วนมากจะเป็นละครจาก บราซิล สเปน เเละ อิตาลี่ เพราะเนื้อหาง่ายๆ วนเวียนกับการชิงรักหักสวาท ตบตีกันให้ครื้นเครง เเล้วจบด้วยคนเลวรับผลกรรมไป โดยที่คนดีก็ไม่ต้องไปจองเวรอะไรให้มาก เข้าใจง่าย อย่างอิตาลีนี่ถือว่าเป็นเจ้าพ่อละครฟิวกู๊ดก็ว่าได้ เป็นเเนวเจ็บๆคันๆขำๆ ตัวละครจะเเนวเยอะ จู้จี้จุกจิ๊ก เเต่ไม่ได้มีพิษภัยอะไร เข้าใจง่าย ส่วนละครกลุ่มบราซิล อาเจนติน่า จะมาเเนวบ้านทรายทองเลย นางเอกโดนรังเเก พระเอกเป็นคุณชาย/นายทหารหน้าตาหล่อเหลา จบด้วยการเเพ้ภัยตัวเองของนางร้ายเกือบทุกเรื่อง ดูเเล้วคนจิตใจดีก็มีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป อะไรเเนวๆนี้ ส่วนละครญี่ปุ่นจะโดดเด่นในเรื่องความรันทดสู้ชีวิตหรือไม่ก็สู้กับโรคร้าย เเต่การนำเข้าละครญี่ปุ่นจะไม่เยอะ เพราะมันไม่ได้คาดเดาง่ายเหมือนละครอิตาลี/บราซิล (ส่วนละครไทย สมัยนั้นโทรทัศน์จีนยังไม่รู้จักละครไทยหรอก ตอนเด็กผมเคยดูหนังไทยเเค่สองสามเรื่อง คือ วัลลี ฉุยฉาย เเละคนเลี้ยงช้าง) Continue reading

กีฬา ปาคัวร์ [跑酷] ในภาษาจีน

อ.อี้ hsk & patจีน

ภาษาจีนคำละวัน เช้านี้ เสนอคำว่า 跑酷 (pǎokù)

跑酷 (pǎokù) คำนี้ เป็นทั้งคำเเปลเเละคำทับศัพท์ ของคำว่า Parkour(ปาคัวร์) หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Free Running ถือว่าเป็นกีฬาท้าโลก (Extreme Sports) ประเภทหนึ่ง คิดค้นโดยนายเดวิด เบล ชาวฝรั่งเศส โดยมีเเรงบันดาลใจจากพ่อที่เป็นนักดักเพลิงที่ต้องเสี่ยงตายปีนตึกสูงกู้ภัยอยู่เสมอ ผสมผสานจากจิตนาการในฉากเเอ็คชั่นของเฉินหลิง成龙(chéng lóng) จนกลายเป็นศิลปะParkour(ปาคัวร์) ซึ่งมีความหมายว่า ศิลปะเเห่งการเคลื่อนไหว เหล่านักกีฬาปาร์คัวร์จะสรรหาทำเลตามตึกสูง กระโดดเด้งดึ๋งข้ามจากตึกหนึ้่งไปอีกตึกหนึ่งอย่างสนุกสนาน ถ้าคุณลองสังเกตุตามหลังคาหรือมุมตึกย่านราชเทวีจนถึงสุขุมวิท อาจเห็นล่องรอยของพวกเขา ผุดๆโผล่ๆ ช่วงบ่ายๆเย็นๆก็ได้ ในบ้านเรา ก็มีทีมฟรีรันนิ่งที่มีชื่อเสียงระดับโลกอยู่ทีมหนึ่ง คือ Farang(ฝรั่ง) นั่นเอง มีสมาชิกคนสำคัญ(น่าจะเป็นคนก่อตั้งทีมด้วยมั้ง) คือคุณอนัน อันวา นั่นเอง ได้ข่าวว่าทีมนี้ฝีไม้ลายมือไม่ธรรมดา คว้าเเชมป์ระดับโลกมาเเล้วหลายรางวัลอีกต่างหาก

คำศัพท์อื่นๆ

  • 极限运动 (jíxiànyùndòng) กีฬาท้าโลก/เอ็กซ์ตรีมสปอร์ต
  • 滑板 (huábǎn) สเก็ตบอร์ด
  • 单板滑雪 (dānbǎnhuáxuě) สโนว์บอร์ด 单板=กระดานแผ่นเดียว 滑雪=สกี
  • 宽板滑水 (kuānbǎnhuáshuǐ) เวคบอร์ด
  • 迷彩漆弹 (mícǎiqīdàn) เพ้นท์บอล
  • 直排滑轮 (zhípáihuálún) อินไลน์สเก็ต/อินไลน์(บ้านเรามักเรียกว่า โรลเลอร์เบรด ซึ่งความจริงแล้ว โรลเลอร์เบรดเป็น อินไลน์ฯยี่ห้อหนึ่ง)
  • 冲浪 (chōnglàng) โต้คลื่น/กระดานโต้คลื่น
  • 特技飞行 (tèjìfēixíng) การบินผาดโผน
  • 极限烫衣 (jíxiàntàngyī) Extreme Ironing หรือ รีดผ้าท้าโลก 0_o” 555 งงละสิว่ามันคือกีฬาบ้าอะไร เป็นกีฬาสุดเพี้ยนน้องใหม่ในตระกูลกีฬาท้าโลกครับ วิธีเล่นไม่มีอะไรมาก สรรหาวิธีพิลึกพิลั่นที่สุดเท่าที่คุณนึกออก เพื่อรีดผ้า เช่น รีดผ้าบนขอบเหว รีดผ้าขณะโดดร่ม(ก่อนร่มกางด้วยนะ) รีดผ้าในบ่อจระเข้ รีดผ้าขนาดขี่จักรยาน(ไม่เชื่อลองถามน้องกูเกิลเลย เดี่ยวนี้!) หรือแม้กระทั่งรีดผ้าบนปากปล่องภูเขาไฟ ถามว่า ทำไปทำไม? ไม่ต้องถาม เพราะมันคือ Extreme sports ไงเล่า o(>,,<)o ไม่รู้ว่ะ เเล้วเเต่ปุ๊!!

…สวัสดี

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้ : คำเฉพาะที่เกี่ยวกับ สาขาคอมพิวเตอร์ / นิเทศศาสตร์ / เทคโนโลยีการสื่อสาร

อ.อี้ hsk & patจีน

คำเฉพาะที่เกี่ยวกับ สาขาคอมพิวเตอร์ / นิเทศศาสตร์ / เทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ชีวิตประจำวันใช้บ่อยเเละควรรู้

  • 计算机科学与技术系 (jìsuànjī kēxuéyǔjìshùxì) วิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
  • 多媒体设计 (duōméitǐ shèjì) ส่วนมัลติมิเดียดีไซน์
  • 电脑 (diànnǎo) เป็นภาษาพูด ส่วน 计算机 (jìsuànjī) เป็นภาษาเขียน เเปลว่า คอมพิวเตอร์/เครื่องคำนวณ(คิดเลข) ก็ได้
  • 计算机图形 (jìsuànjī túxíng) คอมพิวเตอร์กราฟิก

คำอื่นๆที่ใช้บ่อยก็จะมี 复杂网络(fùzáwǎngluò)คอมเพล็กเน็ตเวิร์ค

  • 信息技术 (xìnxījìshù) เทคโนโลยีสารสนเทศ/IT (แต่คนไต้หวันกับฮ่องกงมักจะเรียก 资讯科技(zīxùnkējì)
  • 社交网络 (shèjiāowǎngluò) โซเชียลเน็ตเวิร์ค
  • 平面设计 (píngmiànshèjì)กราฟฟิคดีไซน์(ออกแบบเรขศิลป์)
  • 计算机动画 (jìsuànjīdònghuà) คอมพิวเตอร์ อนิเมชั่น
  • 三维动画 (sānwéidònghuà) 3D อนิเมชั่น
  • 传媒设计 (chuánméishèji) คอมมูนิเคชั่นดีไซน์/การออกแบบนิเทศศิลป์(ครอบคลุมสื่อทุกสาขา ตั้งแต่ ภาพยนตร์/วีดีทัศน์/สิ่งพิมพ์/การอัดเสียง/วิทยุและโทรทัศน์ บางสถาบันมีเรียนด้านกลิ่นและสมองด้วย)
  • 视觉传达设计 (shìjuéchuándáshèji) วิชวลคอมมูนิเคชั่นดีไซน์/บ้านเราเรียกเทคโนโลยีเพื่อออกแบบนิเทศศิลป์ (ตอบสนองสื่อทางสายตาเป็นหลัก)

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้ : หลากหลายความหมายกับคำว่า 开

อ.อี้ hsk & patจีน

ภาษาจีนคำละวัน วันนี้ เสนอคำว่า 开(kāi) เปิด ควบคุม ยิง เริ่ม …

  • 开炮 (kāipào) ยิงปืนใหญ่
  • 开枪 (kāiqiāng) ยิงปืน
  • 开火 (kāihuǒ) เปิดฉากยิงกัน / ยิงโจมตี
  • 开门 (kāimén) เปิดประตู
  • 开窗 (kāichuāng) เปิดหน้าต่าง
  • 开张 (kāizhāng) เปิดกิจการ
  • 开车 (kāichē) ขับรถ
  • 开机器 (kāijīqì) เดินเครื่อง / ควบคุมเครื่องจักร
  • 开工 (kāigōng) เริ่มงาน
  • 开拓 (kāituò) บุกเบิก
  • 开场 (kāichǎng) เริ่มการแข่งขัน/เริ่มการแสดง
  • 开关 (kāiguān) สวิทช์เปิดปิด

ใช้เป็นคำคุณศัพท์ก็ได้นะครับ

  • 开水 (kāishuǐ) น้ำต้มสุก / น้ำที่ผ่านการต้มแล้ว
  • 煮开了(zhǔkāile) ต้มจนสุก/ต้มจนเดือด
  • 热开水 (rèkāishuǐ) น้ำร้อน
  • 凉开水 (liángkāishuǐ) น้ำเย็น

ปล.น้ำเดือดนิยมใช้คำว่า 滚水 (gǔnshuǐ) / 滚开水 (gǔnkāishuǐ) ;โดยนิยามในทางวิทยาศาสตร์แล้ว 开水 (kāishuǐ) หมายถึง น้ำที่เย็นตัวลงตามธรรมชาติหลังจากที่ผ่านจุดเดือดไปแล้ว

สวัสดี (-/i\-)
ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้ : วันอาทิตย์ (ตอนที่2) [周日]

อ.อี้ hsk & patจีน

เกร็ดมังกร ตอน วันอาทิตย์ (ตอนที่2) 周日(zhōurì)

ตอนที่แล้ว ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับที่มาของคำว่า礼拜(lǐbài)และ星期(xīngqī) ซึ่งมีความหมายว่า สัปดาห์ทั้งคู่ คำว่าวันอาทิตย์ในภาษาจีนจึงสามารถใช้ตั้งแต่คำว่า 星期日(xīngqīrì) 星期天(xīngqītiān) 礼拜日(lǐbàirì) จนถึง礼拜天(lǐbàitiān)และยังทิ้งท้ายไว้ว่า คำที่แปลว่าสัปดาห์ ในภาษาจีนยังมีอีกคำหนึ่ง นั่นคือคำว่า 周日(zhōurì)

สำหรับคนที่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่น จะรู้ว่าอักษรคันจิ(อักษรฮั่นในระบบภาษาญี่ปุ่น) คำว่า周(zhōu)แปลว่า “สัปดาห์” แสดงว่า คำว่า周日(วันอาทิตย์) ในภาษาจีนได้รับอิทธิพลจากภาษาญี่ปุ่นใช่หรือไม่? คำตอบคือ ใช่เลยครับ แต่ก็ไม่เชิง…? เอ๊ะ มันยังไงกัน

เรื่องมีอยู่ว่า ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ชาวจีนก็เริ่มใช้ระบบการนับวันแบบ7วันต่อหนึ่งสัปดาห์ โดยรับอิทธิพลทั้งจากศาสนาพุทธจากอินเดียและโหราศาสตร์แบบเปอร์เชียด้วย ซึ่งยังเป็นที่ ถกเถียงกันอยู่ว่า อินเดียกับเปอร์เชีย ใครเข้ามาก่อนกัน
จากคัมภีร์โหราศาสตร์ฉบับพระโพธิสัตว์มันชูศรีและทวยเทพ《文殊师利菩萨及诸仙所说吉凶时日善恶宿曜经》 แปลและเรียบเรียงโดยพระอาจารย์ปู้คง不空 (สมัยราชวงศ์ถัง) ได้อธิบายหลักวันทั้ง7 ที่ว่าด้วย 七曜者(qīyàozhě)เทพทั้งเจ็ดแห่งดวงดาว (พระอาทิตย์ พระจันทร์…พระเสาร์) และลูกศิษย์ของพระอาจารย์ปู้คงได้เพิ่มเติมเชิงอรรถภายหลังว่า 夫七曜者,所为日月五星下直人间,一日一易,七日周而复始 เทพทั้งเจ็ด หมายถึง พระอาทิตย์และพระจันทร์และอีก5พระดวงดาว ลงมาจุติ สลับหมุนเวียนวันต่อวัน รอบละเจ็ดวัน คำว่ารอบ คือ 周 นั่นเอง แต่ในสมัยราชวงศ์ถัง พจนานุกรมจีนยังไม่ได้กำหนดคำว่า “สัปดาห์” เป็นคำที่ชาวบ้านและหมอดูเรียกกันเอง รู้กันเอง เมื่อสืบทอดไปถึงญี่ปุ่นอักษร周 ถึงจะถูกเพิ่มความหมายว่า “สัปดาห์”
แล้วคำว่า周日วันอาทิตย์ในภาษาญี่ปุ่น กลับมาถูกใช้อย่างแพร่หลายในภาษาจีนได้อย่างไร? คำตอบคือ เกิดขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์ชิงและรัฐบาลแมนจูเลีย(รัฐบาลหุ่นเชิดของลัทธิเผด็จการทหารของญี่ปุ่น) เรื่องของสงครามและการรุกรานจีน ขอไม่พูดถึงในบทความนี้ เดี๋ยวจะน้ำตาท่วมจอ เลือดนองคีบอร์ดกันเสียเปล่าๆ Continue reading

เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้ : ริดสีดวง [痔]

อ.อี้ hsk & patจีน

ภาษาจีนคำละวัน ตอน ฉันมี…ริดสีดวง痔(zhì) แอร๊ยยยย???

เป็นภาพที่ชินตามากครับ เมื่อเราเดินไปตามถนนข้าวสารหรือตามแหล่งท่องเที่ยว ฝรั่งหลายคนจะมีเสื้อยืดลายกิ๊บเก๋เป็นอักษรจีน บางทีก็เป็นรอยสักตามตัวบ้าง บ้างก็เท่ระเบิดเถิกเทิง แต่บ้างก็เฟลผุดๆก็มีให้เห็นกันบ่อยไป ก็เคยสงสัยครับว่ามันเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะพี่ฝรั่งเขากะเอาฮาแต่แรกแล้วหรือว่าเกิดความเข้าใจผิดอะไรสักอย่าง? เอาแค่ที่ผมเคยเจอกับตัวนะครับ เนื่องด้วยตอนม.ปลาย เคยทำงานพิเศษอยู่มาบุญครอง มีเพื่อนเป็นช่างสักลายและเจาะหูเจาะลิ้นเจาะสะดือเจาะทุกอย่างในโลก ปรากฏว่า สิ่งทีเกิดขึ้นทุกอาทิตย์คือ พี่ช่างสักต้องเดินมาหาผม เพื่อให้ผมช่วยดูว่าอักษรจีนที่ฝรั่งต้องการให้สักลงบนร่างกาย มีความหมายถูกต้องไหม? เช่นคำยอดนิยมหลายคำที่มักสับสนก็คือคำว่า

  • 志(zhì) ปณิธาน/ความแน่วแน่
  • 挚(zhì) ความจริงใจ
  • 智(zhì) ปัญญา
  • 豸(zhì) ความศักดิ์สิทธิ์(มาจากคำว่า 獬豸(xièzhì)สัตว์วิเศษคล้ายกิเลนแต่มีเขาแหลมกลางหน้าผาก เป็นตัวแทนของกฏหมายและการลงโทษ)

ฝรั่งหลายคนจะเอามาเเต่เสียงอ่าน(พินอิน拼音) ผมก็ต้องถามให้เเน่ใจว่า คำนี้ เสียงอ่านนี้ คำเเปลนี้ใช่หรือไม่ เอาให้เเน่ แล้วบางครั้งไม่รู้ว่าพี่ฝรั่งเขาไปเอามาจากไหน กลายเป็นคำว่า 痔(zhì) …เอ่อม…คำนี้แปลว่า ริดสีดวงทวาร ย่อมาจากคำว่า 痔疮(zhìchuāng) อึ๋ย… ผมว่าฝรั่งคนนั้นต้องไปจำมาจากเสื้อยืดแบบในภาพแน่ๆเลย -___-“ ภาษาจีนมีคำพ้องเสียงเยอะครับ ต้องระวัง ยังดีนะครับ ในรูปภาพที่แนบมา เด็กฝรั่งคนนี้แค่ใส่เสื้อลายสกรีนคำว่า “ริดสีดวงทวาร” ส่วนฝรั่งที่สักคำนี้ลงบนร่างกายไปแล้วก็…คงต้องไว้อาลัย ณ ที่นี้

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

ภาษาจีนกับวิชายุทธ์ (บู๊) [武]

กำลังภายใน ภาษาจีน

ภาษาจีนคำละวัน วันนี้ 武(wǔ) ยุทธ์ (บู๊)

  • 武侠 (wǔxiá) จอมยุทธ์
  • 武林 (wǔlín) ยุทธภพ
  • 江湖 (jiānghú) ยุทธภพ

โอ๊ะโอว ทำไมคำว่ายุทธภพมีสองคำ ต้องอธิบายหน่อยแล้ว เรื่องมีอยู่ว่า:

คำว่ายุทธภพ คนโบราณใช้คำว่า 武林(wǔlín) คำว่า 武 คือการยุทธ์/การต่อสู้ 林คือ ป่า แต่มีความหมายที่สองว่า “วงการ” ส่วนคำว่า 江湖(jiānghú) ความจริงแล้วเป็นคำแสลงในหมู่มาเฟียฮ่องกง แปลว่าวงการนักเลงมาเฟีย แต่ท่านกิมย้ง 金庸(jīnyōng) ได้หยิบยืมคำว่า 江湖(jiānghú) คำนี้มาใช้ในนิยายของตัวเอง ด้วยเหตุนี้ ในผลงานนิยายกำลังภายในของกิมย้ง 金庸(jīnyōng) คำว่ายุทธภพจะใช้คำว่า 江湖 (jiānghú) แทนที่จะเป็นคำว่า 武林(wǔlín) ตามบันทึกประวัติศาสตร์ ที่ทำเช่นนี้ไม่ใช่ว่าท่านกิมย้งขาดความเข้าใจหรือไม่รู้ประวัติศาสตร์หรอก แต่เป็นเทคนิคการสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง นั่นคือการสร้าง “จักรวาลคู่ขนาน” ของตัวเองขึ้น เพื่อปลดปล่อยจิตนาการของตัวเองอย่างเต็มที่ โดยที่ยังคงรักษาเค้าโครงและมนต์ขลังแบบยุคสมัยนั้นๆไว้

บางท่านอาจไม่ค่อยเข้าใจคำว่า จักรวาลคู่ขนาน ก็เลยสาธิตให้ดูกันนะครับ  เช่น พี่อี้เป็นอาจารย์สอนภาษาจีนยืนสอนนักเรียนอยู่หน้าชั้น แต่ในจักรวาลคู่ขนานอีกแห่งหนึ่งที่พี่อี้หรือคนอื่นจิตนาการขึ้น พี่อี้ในวัยเดียวกันก็มีบทบาทอื่น เช่น เป็นจอมยุทธ์ที่กำลังต่อสู้กับเหล่าร้าย อะไรงี้ พูดง่ายๆคือการเขียนนิยาย โดจิน 同人小说(tóngrénxiǎoshuō) นั่นเอง หรือแม้แต่พวก มาเวลคอมมิคและดีซีคอมมิค ก็เช่นกัน อย่างในมาเวลคอมมิค สงครามโลกครั้งที่สองกองทัพนาซีกลายเป็นพวกนักวิทยาศาสตร์จิตวิปลาส ส่วนพระเอกเป็นกับตันอเมริกันผู้สง่างามอะไรงี้ ส่วนในนิยายจีน จักรวาลก็ถูกยึดครองโดยเหล่าจอมยุทธ์ที่มีกำลังภายในนั่นเอง จะเป็นหมัดเทพเจ้าดาวเหนือ ดราก้อนบอล วูล์ฟเวอรีน ฮัลค์ ก๊วยเจ๋ง เตียบ่อกี้ มันก็คือกันครับ เป็นบทบาทของใครบางคนที่ถูกจำลองขึ้นในจักรวาลคู่ขนาน เพื่อความความพริ้วไหวในการอ่านชม ประมาณนั้น
สวัสดี (-/i\-)

ศัพท์จีนกำลังภายใน

  • 平行宇宙 (píngxíng yǔzhòu) จักรวาลคู่ขนาน Parallel universes
  • 多重宇宙 (duōzhòng yǔzhòu) จักรวาลเชิงซ้อน / พหุภพ Multiverse
  • 武器 (wǔqì) อาวุธ
  • 武力 (wǔlì) กำลังอาวุธ
  • 武装 (wǔzhuāng) ติดอาวุธ/อาวุธครบมือ
  • 武术 (wǔshù) วรยุทธ์
  • 功夫 (gōngfu) ความชำนาญ/ความแก่กล้า/ฝีมือ
  • 轻功 (qīnggōng) วิชาตัวเบา
  • 内功 (nèigōng) กำลังภายใน

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

*โดจิน (同人 doujin) คือ การ์ตูนที่ผู้อ่านวาดขึ้นมาเอง โดยมีเนื้อหาอ้างอิงมาจากมังงะหรืออานิเมะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นหลัก แต่เนื้อเรื่องไม่ตรงกับต้นฉบับเดิม จะเป็นเนื้อเรื่องที่ผู้วาดแต่งขึ้นมาเองตามความชอบส่วนตัว

เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้ : เกร็ดมังกร ตอน วันอาทิตย์ ตอนที่1

อ.อี้ hsk & patจีน

เกร็ดมังกร ตอน “วันอาทิตย์”

星期日(xīngqīrì) 星期天(xīngqītiān) 礼拜日(lǐbàirì) 礼拜天(lǐbàitiān) คำว่าวันอาทิตย์ เขียนแบบไหนถึงจะถูกต้องที่สุด? เชื่อว่านักเรียนส่วนใหญ่ต่างก็เคยสับสนกับคำๆนี้ เพราะในภาษาจีน คำว่าวันอาทิตย์เขียนได้ตั้งสี่แบบ เอ๊ะ ไม่ใช่แค่สี่ ยังมีคำว่า 周日ซึ่งก็แปลว่าวันอาทิตย์เหมือนกัน ฉะนั้นในภาษาจีนจึงมีคำว่าวันอาทิตย์ตั้ง 5 แบบ โอว…พระ…

เรื่องมันเป็นแบบนี้ครับ ต้องอธิบายคำว่า 星期(xīngqī) กับ 礼拜(lǐbài)ก่อน
คำว่า星期(xīngqī) แปลว่า สัปดาห์ คำศัพท์คำนี้เกิดจากคำว่า星(xīng)ดวงดาว + 期(qī)รอบ/ระยะ รวมความหมายว่า รอบของดวงดาว เป็นระบบการนับวันที่เกิดจากชาวบาบิโลน (ประมาณ600-700ปีก่อนคริสตกาล) ชาวบาบิโลนบูชาดวงดาว
เชื่อว่า มีเทพประจำดวงดาว 7 องค์คอยสับเปลี่ยนหมุนเวียนดูแลโลกอยู่ โดยเริ่มจาก เทพแห่งสุริยะ เทพแห่งจันทรา
เทพแห่งอังคาร .พุธ พฤหัสฯ ศุกร์ และเสาร์ตามลำดับ จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกวันในสัปดาห์นับแต่นั้นมา ฉะนั้นคำว่าวันอาทิตย์ตามระบบบาบิโลนนี้จึงเรียกว่า星期日(xīngqīrì) นั่นเอง และระบบนี้ถูกสืบทอดโดยชาวกรีก-โรมัน และแพร่กระจายไปทั่วโลก ในประเทศไทย เชื่อว่าเราได้รับอิทธิพลจากภาษาอินเดีย ซึ่งอินเดียโบราณก็ได้รับอิทธิพลมาจากชาวโรมันอีกที ส่วนในประเทศจีน ระบบวันแบบเรียกชื่อตามดวงดาว ได้รับอิทธิพลมาจากมุสลิมที่เดินทางมาจากทางเปอร์เซีย

คำว่า礼拜(lǐbài)แปลว่า พิธีกราบไหว้/พิธีนมัสการ ซึ่งหมายถึงการนมัสการพระเจ้า แบบชาวคริสต์นั่นเอง เป็นวันที่พระเยซูคริสต์ฟื้นจากความตาย ตรงกับวันอาทิตย์ตามระบบนับวันแบบดั้งเดิม(บาบิโลน) ชาวคริสต์จึงเรียกวันอาทิตย์星期日(xīngqīrì) ว่า วันนมัสการ礼拜天(lǐbàitiān) นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ คำภาษาจีนที่ใช้เรียกวันอาทิตย์แบบดั้งเดิมคือ คำว่า 星期日(xīngqīrì) วันจันทร์(ตามระบบบาบิโลน) และ 礼拜天(lǐbàitiān) วันนมัสการพระเจ้า(ตามระบบไบเบิล) ส่วนในยุคปัจจุบัน สองคำนี้ถูกใช้ปนกันและใช้อย่างแพร่หลายอีกต่างหาก จึงยากที่จะไปบังคับว่า คำไหนถูกต้องที่สุด เอาเป็นว่า โดยหลักภาษาจีนแล้ว ใช้ได้หมดครับ ตั้งแต่星期日 星期天 礼拜日 礼拜天 ส่วนที่มาที่ถูกต้องตามประวัติศาสตร์ก็เรียนรู้ไว้เพื่อประดับความรู้ก็พอครับ

อ๊ะๆๆ เกือบลืม ยังมีคำว่า 周日 เอาไว้คราวหน้าจะเล่าให้ฟังครับ เพราะตั้งใจไว้ว่าจะเขียนสั้นๆครั้งละ 1 หน้ากระดาษA4 อ่านกันแบบอิ่มพอดีๆน่ะครับ เจอกันครั้งหน้า สวัสดี ( -/i\- )

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

搞 และ 弄 ใช้ต่างกันอย่างไร

อ.อี้ hsk & patจีน

เมื่อไหร่ใช้ 搞 เมื่อไหร่ใช้ 弄

搞 [gǎo] ใช้ได้สองความหมายคือ

1.หมายถึง ทำ(พูดเเบบกันเอง ประมาณว่า ทำบ้าทำบอ …/ ยุ่งอยู่กับ…) ฉะนั้นบางครั้งไม่เหมาะที่จะใช้พูดกับผู้ใหญ่ นิยมใช้เเบบกันเองมากกว่า / บางครั้งเวลาผู้พูดรู้สึกรำคาญก็ใช้คำว่า 搞 ได้ เช่น

  • 你在搞什么?[nǐ zài gǎo shénme?] นี่คุณทำอะไรของคุณเนี่ย?
  • 你搞什么鬼?[Nǐ gǎo shénme guǐ?]  ทำบ้าอะไรของเอ็งวะ?
  • 别搞了,我都看烦了。[bié gǎole, wǒ dōu kàn fánle.] เลิกทำซะที ผมชักจะรำคาญเเล้วนะ

2 เเปลว่า ทำงานเกี่ยวกับ…. ทำงานด้าน….

  • 我搞原油。[wǒ gǎo yuányóu.] ผมทำงานด้านน้ำมันดิบ
  • 我搞了三年化学。[wǒ gǎole sān nián huàxué] ผมทำด้านเคมีมาสามปี

ส่วนคำว่า [nòng] เเปลว่า ง่วนอยู่กับ…ตลอดเวลา หมกมุ่นอยู่กับ... (มักหมายถึงเรื่องหยุมหยิม) เช่น

  • 妹妹在弄她的毛衣。[mèimei zài nòng tā de máoyī] น้องสาวกำลังง่วนอยู่กับการถักเสื้อไหมพรม (วุ่นอยู่กับเสื้อไหมพรมตลอดเวลา)

ในภาษาพูด คำว่า 弄 ยังสามารถใช้ในความหมายของการ หา จัดหา เตรียม  เช่น

  • 我给你弄点吃的吧。[wǒ gěi nǐ nòng diǎn chī de ba] ผมหาอะไรให้คุณกินหน่อยดีกว่า ( หาในที่นี้หมายถึง จัดมา จัดให้ เตรียมให้)
  • 这玩意儿你哪儿弄来的? [zhè wányì er nǐ nǎ’er nòng lái de?] ไอ่ของชิ้นนี้คุณหามาจากไหนเนี่ย? (ในที่นี้หมายถึง ได้มา)

玩意儿 [wányìr] เป็นภาษาพูดของคำว่าสิ่งของ เหมือนในภาษาไทยเรามีว่า ไอ่ของชิ้นนี้ ของพรรณนั้น ไ อ้ นี่… เป็นคำที่ฟังเป็นกันเอง เเต่บางครั้งก็ไม่สุภาพเพราะกันเองจนเกินไป

แถมท้ายคำว่า “ซอย” ในภาษาจีน

  • 弄堂 [nòngtáng] (เรียกย่อๆว่า 弄 nòng) หมายถึง ซอยที่เกิดจากห้องเเถวเล็กๆมาเรียงรายกัน ฉะนั้น พวกซอยที่สองข้างมีเเต่กำเเพงหรือ ต้นไม้จึงไม่นับว่าเป็น 弄堂
  • 里 [lǐ]  ก็เเปลว่า ซอยเช่นกัน เเละเป็นซอยที่เป็นเเหล่งชุมชน

สองคำข้างต้นเป็นคำว่า “ซอย” ในภาษาถิ่น เหมือนคำว่า 胡同 hútòng ของปักกิ่ง ซึ่งเป็นภาษาถิ่น

  • 巷 [xiàng] คำนี้เเปลว่าซอย ใช้เป็นภาษาทั่วๆไป

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

ความหมายของ 看书, 念书, 读书

อ.อี้ hsk & patจีน

ภาษาจีน ตอน 看书, 念书, 读书

看书kan4shu1 念书nian4shu1 เเละ 读书du2shu1
ทั้งสามคำมีส่วนที่เหมือนกันคือ สามารถเเปลเป็นคำว่า อ่านหนังสือได้ เเต่ลักษณะของการ”อ่าน” นั้นมีน้ำหนักเเละขอบเขตต่างกันเล็กน้อย

เเละความหมายนอกเหนือจาก อ่านหนังสือ เเล้ว คำว่า 念书 เเละ 读书 ยังมีขอบเขตความหมายถึง การเรียนหนังสือ

  • 看书 คำว่า 看 เเปลว่า ดู/อ่าน สังเก็ตที่ตัวอักษรมีคำว่า 目(ตา) 看书 คือ ดูหนังสือ
  • 念书 คำว่า 念 เเปลว่า อ่าน(อย่างตั้งใจ) ตัวอักษร 念 ประกอบด้วย 今 เเละ 心(ขณะนี้+ใจ) ฉะนั้นคำว่า 念书 คืออ่านหนังสือด้วยความตั้งใจ
  • 读书 คำว่า 读 เเปลว่า อ่าน(อ่านออกเสียง) สังเกตตัวอักษรใช้หมวดนำ 讠(ภาษา/วาจา) คำว่า 读书 จึงมีความหมายว่าอ่านหนังสือ(อ่านเเบบออกเสียง)

คำจีนที่มีความหมายว่าเรียนหนังสือมีดังต่อไปนี้

  • 念书 เรียนหนังสือ
  • 读书 เรียนหนังสือ
  • 上学 ไปโรงเรียน/เรียนหนังสือ
  • 学习 เรียน / ศึกษา (ใช้เป็นภาษาเขียนหรือพูดก็ได้)
  • 就学 ศึกษา(ใช้เป็นภาษาเขียน)

สามคำเเรกมักใช้เป็นภาษาพูดส่วนคำที่สี่เเละห้าเป็นภาษาเขียน

ตัวอย่างประโยคที่มีความหมายคล้ายเเต่ไม่เหมือนกัน

  • 我在大学读书。ผมเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย
  • 爸爸在听我读书 พ่อกำลังฟังผมอ่านหนังสือ
  • 我在泰国念书三年了。ผมเรียนหนังสือที่ไทยสามปีเเล้ว
  • 明天考试,今天我得念书。พรุ่งนี้สอบ วันนี้ผมควรจะต้องอ่านหนังสือ
  • 看书太多会伤眼睛。อ่านหนังสือมากเกินไปจะเป็นภัยต่อสายตา (ประโยคนี้ใช้ 看 เพราะสัมพันธ์ภาคเเสดงของประโยคที่เน้นว่า เป็นภัยต่อดวงตา 伤眼睛)
  • 读太大声嗓子不好。อ่านเสียงดังเกินไปคอจะไม่ดี(เจ็บคอ) ประโยคนี้คำว่า อ่านหนังสือ ใช้ 读 (อ่านออกเสียง) เพราะสัมพันธ์กับภาคเเสดงที่ว่า เจ็บคอ
  • 多念书成绩好。 อ่านหนังสือมากผลการเรียนดี

ประโยคนี้คำว่าอ่านหนังสือ ใช้ 念 (อ่านด้วยใจ/อ่านอย่างตั้งใจ) เพราะผลการเรียนที่ดีเกิดจากการอ่านหนังสืออย่างตั้งใจ (ไม่ใช่เพียงอ่านด้วยตา หรือ อ่านออกเสียง เเต่ต้องมี “ใจ”ในการอ่านด้วย)

ของเเถม

ภาษาจีนนั้นมีไวยากรณ์ที่ไม่ซับซ้อน เเต่ มีการเเบ่งน้ำหนัก เเละ ขอบเขตความหมายของคำศัพท์หลายระดับ ทุกภาษามีทั้งจุดที่ง่ายเเละจุดที่ยากที่ต่างกันไป สำหรับผู้เริ่มต้น ผมเเนะนำว่า ไม่ว่าเราจะเรียนภาษาอะไรก็ตาม เริ่มต้นจากจุดที่ง่ายของภาษานั้น เเละ จุดที่เราชอบ เเล้วเราจะเรียนภาษานั้นอย่างมีความสุขเเละสำเร็จในที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้เราเรียนภาษาหนึ่งสำเร็จไม่ใช่ความขยันเเละการท่องจำอย่างหักโหม เเต่ ความสุขความสนุก ต่างหากที่สำคัญกว่า (เหมือนเล่นเกม เกมไหนไม่สนุกหรือคนเล่นหาความสนุกจากเกมนั้นไม่ได้ เกมนั้นจะไม่มีใครพิชิตได้ เพราะเบื่อก่อน เกมที่ถูกพิชิตเเปลว่าเป็นเกมที่ทำให้คนเล่นสนุก ภาษาก็เหมือนกัน)

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน