ศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศ
- 大气层 [dàqìcéng] ชั้นบรรยากาศ (The atmosphere)
- 大气层是地球生命的保护伞。 ชั้นบรรยากาศคือเกราะป้องกันชีวิตบนโลกมนุษย์
- 地球上90%的臭氧气体集中在距离地面 20 公里至 50 公里的大气层中。 90%ของก๊าซโอโซนจะรวมตัวกันอยู่ห่างจากพื้นผิวโลก 20-50 กิโลเมตรของชั้นบรรยากาศ
- 臭 氧 [chòuyǎng] โอโซน(O3) (ozone) เป็นแก๊สซึ่งประกอบด้วยอะตอมของออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นเกาะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ต (UV) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โอโซนเป็นแก๊สที่ไม่มีเสถียรภาพ มีอายุอยู่ในอากาศได้เพียง 20 – 30 สัปดาห์แล้วสลายตัว โอโซนเกิดจากแก๊สออกซิเจน (O2) ดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว(O2 -uv-> O + O ) จากนั้นออกซิเจนอะตอมเดี่ยวรวมตัวกับโมเลกุลของแก๊สออกซิเจน ทำให้เกิดโอโซน(O + O2 -uv-> O3)
โอโซน (O3) มีความสามารถดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเล็ต แต่จะสลายตัวเมื่อกระทบกับแสงแดด (visible light) เกิดเป็นแก๊สออกซิเจน และออกซิเจนอะตอมเดี่ยว(O3 -v-> O2 + O) และเมื่อออกซิเจนเดี่ยว(O)รวมตัวกับโอโซนอีกครั้ง จะให้ผลผลิตเป็นแก๊สออกซิเจนออกมา(O + O3 --> 2O2) - 臭氧层 [chòuyǎngcéng] บรรยากาศชั้นโอโซน (ozone layer )
- 对流层 [duìliúcéng] บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ (troposphere)
- 同温层 [tóngwēncéng] บรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ (stratosphere)
- 全球变暖 [quánqiú biànnuǎn] ภาวะโลกร้อน (global warming)
- 全球暖化 [quánqiúnuǎnhuà] ภาวะโลกร้อน (global warming) -Taiwan and Hong Kong
- 紫外线 [zǐwàixiàn] รังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet ray)
- 氟氯化炭 [fúlǜ huàtàn] สาร CFC (chlorofluorocarbon) นอกจากนี้ยังมีคำเรียกอื่นๆ อีกหลายคำเช่น
氟氯烃 [fúlǜtīng] สาร CFC
氟氯碳化物 [fúlǜ tànhuàwù] สาร CFC
氯氟化碳 [lǜfú huàtàn] สาร CFC - 无氟 [wúfú] ปลอดสาร CFC
- 无氟空调 [wúfú kòngtiáo] เครื่องปรับอากาศที่ปลอดสาร CFC
- 无氟冰箱 [wúfú bīngxiāng] ตู้เย็นที่ปลอดสาร CFC
- 制冷剂, 冷媒 [zhìlěngjì, lěngméi] สารทำความเย็น
- 制冷剂/冷媒R134a
- 制冷剂/冷媒F12
- 制冷剂/冷媒R22
- 无氟制冷剂 [wúfú zhìlěngjì] สารทำความเย็นที่ปราศจากสาร CFC
- 臭氧层破洞 [chòuyǎngcéng pòdòng] หลุมโอโซน
- 辐射 [fúshè] แผ่รังสี/การแผ่รังสี (radiate/radiation)
- 地面 [dìmiàn] พื้นผิวโลก
- 元凶 [yuánxiōng] ตัวการสำคัญ(ที่กระทำผิด,ผู้ร้าย)
- 汽车保养店 [qìchē bǎoyǎngdiàn] ร้านซ่อมบำรุงรถยนต์
- 加冷媒 [jiālěngméi] เพิ่ม/เติมสารทำความเย็น
- 空调的冷媒 [kòngtiáo delěngméi] สารทำความเย็นเครื่องปรับอากาศ
- 耗材 [hàocái] วัสดุสิ้นเปลือง --> 零件耗材 อะไหล่สิ้นเปลือง
- 挥发 [huīfā] ระเหย (evaporate)
- 经年累月 [jīngnián lěiyuè] เป็นเวลานานปี
- 累积 [lěijī] สะสม
- 照射 [zhàoshè] ฉายแสง/ส่องแสง
- 氯原子 [ lǜyuánzǐ] คลอรีนอะตอม
- 过氧化 [guòyǎnghuà] เปอร์ออกไซด์ (peroxide)
- 过氧化氯 [guòyǎnghuà lǜ] คลอรีนเปอร์ออกไซด์
- 分解 [fēnjiě] แตกออก, แยกออก
- 腐蚀管线 [fǔshí guǎnxiàn] กัดกร่อนท่อ
- 蒙特娄公约 [méngtè lóugōngyuē] การประชุมมอลทรีออล
- 蒙特娄议定书 [méngtèlóu yìdìngshū] ข้อตกลงมอลทรีออล (Montreal Protocal)
- 息息相关 [xīxīxiāngguān] สัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น
- 喷雾罐 [pēnwù guàn] กระป๋องสเปรย์
- 瓦斯 [wǎsī] แก๊ส
- 保障 [bǎozhàng] ประกันความปลอดภัย/หลักประกัน
บทบาทของโอโซน
โอโซน(臭氧 chòuyǎng)มีสองบทบาท คือเป็นทั้งพระเอกและผู้ร้ายในตัวเดียวกันขึ้นอยู่ว่าวางตัวอยู่ที่ใด โอโซนเป็นแก๊สพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีสมบัติเป็นแก๊สเรือนกระจกดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ทำให้บรรยากาศมีอุณหภูมิสูง และดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเล็ตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (对流层 duìliúcéng โทรโพสเฟียร์) เกิดจากการเผาไหม้มวลชีวภาพ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ เครื่องจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนอยู่ในหมอกควัน เมื่อโอโซนอยู่ในบรรยากาศชั้นล่างหรือบนพื้นโลกจะให้โทษมากกว่าให้คุณ เนื่องจากเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นคำพูดที่ว่า “ไปสูดโอโซนให้สบายปอด” จึงเป็นความเข้าใจผิด
*** โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ (同温层 tóngwēncéng สตราโตสเฟียร์) โอโซนในธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซนส่วนใหญ่ในชั้นสตราโตสเฟียร์รวมตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ระยะสูงประมาณ 20 – 50 กิโลเมตร ทำหน้าที่กรองรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง(皮肤癌 pífūái มะเร็งผิวหนัง) ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็กเช่นแบคทีเรียจะถูกฆ่าตาย
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCs)
สารประกอบ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (氯氟烃 lǜfútīng ) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “CFC” เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการดูดความเย็นและมีอายุยืนยาวสลายตัวยาก CFC เป็นสารที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ทำความเย็น เช่น ตู้เย็น(冰箱 bīngxiāng) เครื่องปรับอากาศ(空调 kòngtiáo) และสเปรย์(喷射剂 pēnshèjì) โดยมีองค์ประกอบเป็น คลอรีนฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมีความสามารถในการทำลายโอโซน CFC ชอบทำปฏิกิริยากับสารอื่น
เมื่อ CFC ลอยตัวสูงขึ้นและดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอมเดี่ยว (Cl) และทำปฏิกิริยากับโอโซน (O3) ทำให้เกิดคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และแก๊สออกซิเจน (O2) เขียนเป็นสูตรได้เป็น Cl + O3 --> ClO + O2
ถ้าหากคลอรีน 1 อะตอมทำลายโอโซน 1 โมเลกุล ได้เพียงครั้งเดียวก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ทว่าคลอรีน 1 อะตอม สามารถทำลายโอโซน 1 โมเลกุลได้นับพันครั้ง เนื่องจากเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว แล้วทำให้เกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนี้จึงเป็นการทำลายโอโซนอย่างต่อเนื่อง ดังที่แสดงในภาพด้านบน
การลดลงของโอโซน
นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจว่าชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์คติกบริเวณขั้วโลกใต้เบาบางลงมาก เนื่องจากกระแสลมพัดคลอรีนเข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม – กันยายน พอถึงเดือนตุลาคมขั้วโลกใต้กลายเป็นฤดูร้อน แสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ทำให้คลอรีนอะตอมอิสระแยกตัวออกมาทำปฏิกิริยากับโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน ซึ่งเรียกว่า “รูโอโซน” (Ozone hole) ดังจะเห็นในรูปถ่ายจากดาวเทียมในภาพที่ 3 ว่าชั้นโอโซนในปี พ.ศ.2541 มีความบางกว่าในปี พ.ศ.2522
(หมายเหตุ: ขั้วโลกเหนือไม่เกิดปรากฎการณ์รูโอโซน เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ จึง
ไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์)
การเกิดปรากฏการณ์รูโอโซนเป็นอันตรายมากต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่เบื้องล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดขึ้นเหนือเมืองใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น นานาชาติจึงทำความร่วมมือภายใต้ “ข้อตกลงมอลทรีออล” (Montreal Protocol) ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปลายศตวรรษที่แล้วเพื่อที่จะยกเลิกการใช้สาร CFC ในอุตสาหกรรม โดยยินยอมใช้สารชนิดอื่นที่ราคาแพงกว่าแต่ไม่ทำลายโอโซน แต่อย่างไรก็ตามสาร CFC ก็ยังคงลอยตกค้างอยู่ในบรรยากาศอีกหลายทศวรรษกว่าจะสลายตัวไป
อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.lesa.biz/earth/global-change/ozone-depletion