กฎเหล็กในการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์พินอิน และการออกเสียงในภาษาจีนที่ต้องจำให้ได้
- สระเดี่ยวภาษาจีนของเสียงอ่าน มีอยู่ 6 ตัว a, e, i, o, u, ü (a ตัวแรกออกเสียงปากกว้างมากที่สุด ไปหาตัวสุดท้าย ǚ ออกเสียงปากเล็กที่สุด) ตัวอย่างเช่น 所以 [suǒyǐ] คำว่า suǒ เราจะใส่วรรณยุกต์บนตัว o เพราะ สระ o อยู่ลำดับก่อนสระ u
- เมื่อพินอินมีคำสระ ui หรือ iu ติดกันอยู่ ให้ใส่วรรณยุกต์บนตัวหลัง เช่น 对[duì] และ 六[liù] จะต้องใส่เสียงอ่านบนตัวหลังของ ui และ iu สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า ก่อนที่จะเป็น 对[duì] และ 六[liù] ที่มีพินอิน 3 ตัว สมัยก่อนจะมีพินอินสี่ตัว คือ [duoi] และ [lieu] มาก่อน ซึ่ง[duoi] จะเขียนวรรณยุกต์บนตัว o และ [lieu] จะเขียนวรรณยุกต์บนตัว e ดังนั้นเมื่อพินอินเหลือ 3 ตัว คำอ่านก็เลยอยู่หลัง i และ u แทน
- เมื่อใส่วรรณยุกต์บนสระ i ไม่ต้องเขียน จุด บนตัว i เช่น 历史 [ lì shǐ] เป็นต้น
- อักษรจีนเสียงเบา ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ เช่น 桌子 [zhuō zi] , 妈妈 [mā ma] เป็นต้น
- เมื่ออักษรจีนสองตัวติดกันเป็นเสียง 3 ทั้งคู่ เวลาอ่าน ตัวอักษรตัวแรกจะอ่านเป็นเสียง 2 แทน แต่เวลาเขียนวรรณยุกต์ ตัวอักษรจีนตัวแรกก็ยังคงใส่วรรณยุกต์เป็นเสียงเสียงสามเหมือนเดิม เช่น 所以 [suǒ yǐ] ⟶ [suó yǐ], 你好 [nǐ hǎo]⟶ [ní hǎo], 很久 [hěn jiǔ] ⟶ [hén jiǔ] เป็นต้น
- อักษรจีน 不 โดยปกติจะอ่านเสียงสี่ [bù] เช่น 不好 [bùhǎo] แต่เมื่ออักษรที่ติดกันเป็นเสียงสี่ 不 จะเปลี่ยนเสียงเป็นเสียงสองแทน [bú] เช่น 不要 [bú yào], 不是 [bú shì] เป็นต้น
- อักษร 一 ปกติออกเสียงเป็น [yī] แต่สามารถเปลี่ยนเป็นเสียง [yí] หรือ [yì]
- 一 อ่านเป็นเสียง [yī] เมื่ออยู่ในประโยคเกี่ยวกับที่อยู่ หรือวันที่ เช่น 2011年1月11日 [èr líng yīyī nián yī yuè shíyī rì] , 311 [sānbǎi yīshíyī] เป็นต้น
- 一 อ่านเป็นเสียง [yí] เมื่อตามด้วยคำที่ออกเสียงสี่ เช่น 一片 [yí piàn], 一样 [yí yàng] เป็นต้น
- 一 อ่านเป็นเสียง [yì] เมื่อตามด้วยคำที่ออกเสียงอื่นๆ เช่น 一双 [yì shuāng], 一条 [yì tiáo] เป็นต้น