การใช้ “在/正/正在”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ถ้าเราต้องการพูดว่า “กริยา หรือการกระทำ” นั้น “กำลังเกิดขึ้น หรือกำลังดำเนินอยู่” (คล้าย continue tense หรือ progressive tense) ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า “动作行为的进行”

โดยหลักๆ จะมีกริยาวิเศษณ์ (副词) อยู่ 2 + 1 ตัว ที่ใช้บอกว่า “กริยา หรือการกระทำนั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่” คือ

“在”, ” 正”, “正在” กริยาวิเศษณ์ 3 ตัวนี้ แปลเหมือนกันหมด คือ “กำลัง” (ทำกริยานั้นอยู่) โดยจะวางอยู่หน้ากริยา (动词) เพื่อทำหน้าที่ขยาย หรือบอกให้รู้ว่า “กริยานั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่”

ข้อแตกต่าง และรายละเอียดปลีกย่อยในการใช้งาน คือ

1. ถ้าต้องการเน้น “เวลา” ที่กริยานั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่ จะใช้ “正”

2. ถ้าต้องการเน้น “สภาพ” หรือ “สภาวะ” ที่กริยานั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่ จะใช้ “在”

3. ถ้าต้องเน้นทั้งสองอย่าง คือทั้ง “เวลา” และ “สภาวะ” ที่กริยานั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่ ก็จะใช้ “正在”

4. รูปประโยคที่ใช้กัน มักประกอบด้วยคำเสริมท้ายกริยา “着” เพื่อบอกให้รู้ว่ากริยากำลัีงเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่ และน้ำเสียงเสริมท้ายประโยค “呢” คืออยู่ในรูป

[“在/正/正在” + (คำกริยา) + “着” + (กรรม) + “呢”]

ทั้งนี้ ถ้าใช้ “正” มักจะมี “着” และ “呢” ประกอบด้วยเสมอ แต่ถ้าเป็น “在” หรือ “正在” จะมี หรือไม่มี “着” หรือ “呢” ก็ได้

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • 他在听音乐 (呢)。 — เขากำลังฟังดนตรี (เน้นสภาวะ “การฟังเพลง หรือดนตรี” ที่กำลังดำเนินอยู่)
  • 爸爸正洗着澡呢。– พ่อกำลังอาบน้ำ (เน้นเวลา ณ ขณะนั้นว่า พ่อ “กำลังอาบน้ำ” อยู่)
  • 妈妈正在做饭。 — แม่กำลังทำอาหาร (เน้นทั้งเวลา และสภาวะที่แม่ “กำลังทำอาหาร” อยู่)

5. กริยาที่อยู่หลัง “正” โดยทั่วไปจะไม่เป็นคำกริยาอย่างเดียวโดดๆ คือจะมีส่วนประกอบอื่นตามมาด้วย เช่น มี “着”, มี “呢” (ดูข้อ 4.), มีกรรม หรือมีส่วนเสริมประเภท “来” หรือ “去” (ที่เรียกว่า “趋向补语”) เช่น

  • 他正吃。 (ประโยคแบบนี้เราจะไม่พูด … มันฟังดูแปลกๆ) แต่จะพูดว่า
  • 他正吃着呢。หรือ
  • 他正吃着饭呢。
  • 他们正跑来。

6. ข้อแตกต่าง (เล็กๆ) ระหว่าง “在” กับ “正” คือเมื่อ “在” เน้นสภาวะ ในขณะที่ “正” เน้นเวลา ดังนั้น กริยา หรือการกระทำที่มีลักษณะต่อเนื่องค่อนข้างกินเวลา หรือใช้เวลานาน มักจะใช้ “在” เป็นส่วนใหญ่ เช่น

  • 他们在研究这个问题。 — พวกเขากำลังศึกษาวิจัยปัญหานี้อยู่ (กริยา “ศึกษาวิจัย” ค่อนข้างใช้เวลายาวนาน จึงควรใช้ “在” มากกว่า “正”)

** และ “在” จะครอบคลุมเวลาในอดีตด้วย (เกิดขึ้นแล้ว และดำเนินต่อเนื่องถึงปัจจุึบัน)

** แต่ “正” จะหมายถึง “เวลา ณ ปัจจุบัน” ที่กำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่เป็นหลัก (ดูตัวอย่างประโยค ข้อ 3.)

7. “在/正/正在” จะไม่ใช่กับกริยาบางประเภท เช่น “是”, “有”, “认识” เป็นต้น เช่น

  • 她正是学生。– เขา (ผู้หญิง) กำลังเป็นนักเรียน (ประโยคนี้ใช้ “正”, “在” หรือ “正在” ไม่ได้ เพราะมันผิด)

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้บุพบท (介词) “给” (ตอนที่ 2)

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้ “给”

“给” เมื่อเป็นบุพบท (介词) จะมี ความหมาย ดังนี้

1.มีความหมายเหมือนบุพบท “向”、“对”、“朝” ทั้งนี้ กรรมที่ตามหลังบุพบท “给” จะเป็นผู้รับผลของกริยา/การกระทำนั้น เช่น

  • 你应该给她赔礼道歉去。

2.หมายถึง “替” (ทำ (แทน))、“为” (wèi) เป้าหมาย (对象) หรือกรรมของบุพบท คือผู้ได้รับผล (หรือบริการ) ของกริยานั้น เช่น

  • 医生给我动了手术。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
  • 老师正在给学生们上课。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
  • 我给你当翻译吧。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
  • 你去邮局的话,能不能给我寄一封信? (ความหมายเดียวกับ “替”)
  • 王老师病了,今天我给他代课。 (ความหมายเดียวกับ “替”)

3.มีความหมายของ “被” กรรมของบุพบท คือผู้กระทำกริยานั้น เช่น

  • 那本书给他借走了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)
  • 树给大风吹到了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)
  • 我的钱包给人偷走了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)

ทั้งนี้ ถ้า “给” หมายถึง “替” 、“为” (wèi) (ข้อ 2.) หรือ “被” (ข้อ 3.)

*** “给” ต้องวางไว้หน้าคำกริยาเท่านั้น

4. นอกจากนั้น “给” ยังใช้เป็นคำเสริม (助词) ได้ด้วย โดย “给” จะวางไว้หน้าคำกริยา หมายถึง (สิ่งของนั้น) ถูกกระทำ (被动) หรือเป็นคำเสริมน้ำเสียง (助词语气) เพื่อเป็นการเน้นโดยใช้น้ำเสียงก็ได้ เช่น

  • 屋子给打扫干净了。(ถูกกระทำ)
  • 这件事你就给办一下吧。(เป็นคำเสริมน้ำเสียง – จะสังเกตเห็นว่ากรณีนี้ “给” ตามด้วยคำกริยาโดยตรงได้เลย)

5. ตำแหน่งของ “给” มีวิธีการวาง “给” อยู่ 3 ตำแหน่ง

ลองดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้กันก่อน

  • 给他奇一封信 (หน้าคำกริยา) = 寄给他一封信 (หลังคำกริยา) = 奇一封信给他 (หลังกรรม)
  • 给他打一个电话 (หน้าคำกริยา) = 打给他一个电话 (หลังคำกริยา) = 打一个电话给他 (หลังกรรม)
  • 给他留一个纸条 (หน้าคำกริยา) = 留给他一个纸条 (หลังคำกริยา) = 留一个纸条给他 (หลังกรรม)

(ตัวอย่างข้างบน “给” สามารถวางไว้ตรงไหนก็ได้ โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน)

  • แต่ไม่ใช่ทุกกรณีที่สามารถวางตำแหน่งของ “给” ไว้ตรงไหนก็ได้ (ทั้ง 3 ตำแหน่ง) โดยที่ความหมายยังเหมือนเดิม เพราะเราต้องดูว่าคำกริยา (ในประโยค) มีความหมายอย่างไรด้วย
  • ซึ่งโดยหลักทั่วไป (หลักที่ใช้กับคำกริยาส่วนใหญ่) “给” มีวิธีการใช้ หรือตำแหน่งในการวางอยู่ 2 ตำแหน่ง (คือหน้าคำกริยา กับหลังคำกริยา) ตามที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ (ดูเนื้อหาตอนที่ 1)

ลองมาดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ (ถ้าวางหน้าคำกริยา หรือหลังกรรม (แล้วแต่กรณี) ความหมายจะเปลี่ยนไป)

  • 卖给他一件衣服 (หลังคำกริยา) = 卖一件衣服给他 (หลังกรรม)
  • 交给他五十块钱 (หลังคำกริยา) = 交五十块钱给他 (หลังกรรม)
  • 给他买一本书 (หน้าคำกริยา) = 买一本书给他 (หลังกรรม)
  • 给他打一件毛衣 (หน้าคำกริยา) = 打一件毛衣给他 (หลังกรรม)

6. (ส่วนนี้เป็นรายละเอียดเพิ่มเติม) มีคำกริยาบางคำไม่สามารถตามด้วยกรรมคู่ (双宾语) โดยตรง ต้องมี “给” แทรกกลาง (ระหว่างคำกริยากับกรรม) ตรงกันข้ามกับคำกริยาบางคำที่สามารถตามด้วยกรรมคู่ หรือคำที่ทำหน้าที่ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน (ที่เรียกว่า 兼语) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องมี “给”เช่น

  • 我不愿给他添麻烦 。(ต้องมี “给他”)
  • 他 (给我) 教我踢足球。(ไม่ต้องมี “给我” – ในวงเล็บยกตัวอย่างให้เห็น ถ้ามีจะเป็นประโยคที่ผิด)
  • 小李 (给他) 告诉他这个消息。(ไม่ต้องมี “给他” – ในวงเล็บยกตัวอย่างให้เห็น ถ้ามีจะเป็นประโยคที่ผิด)

(คราวหน้ามาต่อกันด้วยเรื่องของ “和”)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

อ่านต่อ การใช้บุพบท(介词)“对”、“跟”、“给” ตอนที่ 1

การใช้บุพบท(介词)“对”、“跟”、“给” ตอนที่ 1

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้บุพบท (介词) “对”、”跟”、”给” (ตอนที่ 1)

โดยทั่วไป บุพบท (介词) ในภาษาจีน (ตามด้วย “กรรมของบุพบท”) จะวางอยู่หน้าคำกริยา หรือภาคแสดง ทำหน้าที่ขยายภาคแสดง (ที่เรียกว่า 状语) ซึ่งอยู่ในรูป

(对 / 跟 / 给 + กรรม) + คำกริยา หรือภาคแสดง

การใช้บุพบท “对”、”跟”、”给”

1. บุพบท 3 ตัวนี้ ใช้แทนกันได้ในบางกรณี เพื่อบอก/แสดงเป้าหมาย (对象)ของกริยา/การกระทำ เช่น

  • 他对/跟/给我使了一个眼色。
  • 把你的想法对/跟/给大家说一说。

แต่บุพบท 3 คำนี้ ก็ยังมีความแตกต่างกันในด้านความหมาย หรือจุดที่ต้องการเน้น (ดูข้อ 2.)

2. ถ้าต้องการเน้น/สื่อความหมายที่ต่างกัน ในกรณีเช่นนี้ บุพบท 3 คำนี้จะใช้แทนกันไม่ได้ กล่าวคือ

  • “对” (ต่อ) จะเน้น หรือหมายถึงการเผชิญหน้ากับเป้าหมาย หรือแสดงถึงสภาพ/สภาวะของเป้าหมายที่เกิดจากกริยา/การกระทำนั้น”跟” (กับ, และ) จะเน้น หรือหมายถึงเป้าหมาย (เช่น คน หรือสิ่งของ) มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง หรือร่วมกระทำกริยา/การกระทำนั้น
  • “给” (ให้) จะเน้น หรือหมายถึงเป้าหมาย เป็นผู้รับผลของกริยา/การกระทำ

ตัวอย่างเช่น

  • 这种方法的学习对我很有帮助。(วิธีการศึกษาแบบนี้มีส่วนช่วย (มีประโยชน์) ต่อ (การเรียนของ) ฉัน)
  • 我对你抱有大的希望。(ฉันคาดหวัง (มีความหวัง) ต่อตัวเธอมาก)
  • 他不想跟我见面。(เขาไม่อยากพบหน้า (กับ) ฉัน)
  • 这份计划还需要跟老师商量商量。(แผนงานนี้ยังต้องปรึกษากับอาจารย์)
  • 你给小李去个电话吧。(คุณโทรศัพท์ให้กับเสียวหลี่หน่อย)
  • 他要把自己的全部知识才能献给科学事业。(เขาต้องการนำความรู้ความสามารถทั้งหมดทุ่มเท (เสียสละ) ให้กับงานด้านวิทยาศาสตร์

3. ถ้าต้องการสื่อความหมายถึงความสัมพันธ์ในเชิงการปฏิบัติ (รักษา) ระหว่างคน หรือสิ่งของ ต้องใช้ “对” เท่านั้น กรณีนี้ “对” มีความหมายเน้นในเชิงการปฏิบัติ (การกระทำ) ในทิศทางเดียว เช่น หมอรักษาคนไข้

  • 你是什么人我不管,我只知道我是医生,我要对病人负责。
  • 听说他对你很有意思,你呢?

4. ถ้าต้องการเน้นกริยา/การกระทำมีความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือกันทำ (กริยา/การกระทำนั้น) หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันน ต้องใช้ “跟” เท่านั้น

ประโยคที่ใช้ “跟” ในบางกรณี คำกริยาจะมีลักษณะของการทำกริยา/การกระทำร่วมกัน เช่น  商量 (ปรึกษา), 讨论 (ถกเถียง), 谈话 (พูดคุย, เจรจา), 见面 (พบหน้า), 聊天儿 (คุย (เล่น)), 联系 (ติดต่อ), 交涉 (ติดต่อเจรจา), 交涉 (ก่อกวน)

และ (ในประโยคที่ใช้ “跟”) มักจะมีส่วนประกอบอื่น (มักเป็นกริยาวิเศษณ์) ที่บอกถึงการร่วมกันทำกริยา/การกระทำ (ทำด้วยกัน) เช่น 一起, 一块儿, 一同 (พร้อมกัน, ด้วยกัน), 一道 (ด้วยกัน)

  • 我去跟他交涉,你们在这儿等着。
  • 这是我跟他一起完成的课题。

5. ถ้าต้องการแสดงถึงผู้รับผลของกริยา/การกระทำ ต้องใช้ “给” เท่านั้น เช่น

  • 听说前不久他还给你写了一封信。
  • 我们的责任就是给老人们送温暖、送关怀。
  • 我要给他一点颜色看看。

6. ส่วนข้อสังเกต (ข้อแตกต่าง) ในด้านไวยากรณ์ของการใช้บุพบท 3 ตัวนี้ คือ

  • โดยทั่วไป (“给” + กรรมของบุพบท) สามารถวางไว้ได้ 2 ตำแหน่ง คือหน้าคำกริยา หรือหลังคำกริยา
  • ส่วนบุพบท “对”、”跟” ต้องวางไว้หน้าคำกริยาเท่านั้น

เช่น

  • 我给他送一封信。หรือ 我送给他一封信。
  • 王师傅亲自给他做示范。
  • 他对我有意见。
  • 老师们对工作很负责任。
  • 他跟这件事没关系。
  • 我跟他很要好。

สำหรับบุพบท “给” มีรายละเอียด (เพิ่มเติม) ที่จะขยายความต่อแยกต่างหากในตอนต่อไป

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

อ่านต่อ การใช้บุพบท (介词) “给” (ตอนที่ 2)

ไวยากรณ์จีน : “起来” กับ “出来” — การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่6

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

เรื่องสุดท้ายของ “趋向补语” ที่นำมาฝากกันคราวนี้ คือ “起来” กับ “出来”

1.“起来” (ขึ้นมา) หมายถึงทิศทางของกริยา/การกระทำขึ้นข้างบน (จากล่างสู่บน, จากที่ต่ำสู่ที่สูง)

“出来”(ออกมา) หมายถึงทิศทางของกริยา/การกระทำจาก (ข้าง) ในสู่ (ข้าง) นอก, กริยาเข้าใกล้ตัวผู้พูด เช่น

  • 太阳升起来了 (พระอาทิตย์ขึ้นมาแล้ว)
  • 站起身来 (ยืนขึ้นมา)
  • 从教室里出来 ( ออกจากห้องเรียนมา)
  • 拿出一本书来 (หยิบสมุดออกมาหนึ่งเล่ม)

2. นอกจากความหมายพื้นฐานในข้อ 1. แล้ว “起来” กับ “出来”ยังใช้ในความหมายอื่น หรือความหมายเพิ่มเติม (ที่ขยายจากความหมายพื้นฐาน) อีก คือ

“起来”มักใช้ในความหมายว่า “กริยาได้เริ่มต้น และดำเนินต่อไป” เช่น

  • 干起来了 (ลงมือทำกันแล้ว)
  • 下起雨来 (ฝนตกแล้ว)
  • 天亮了起来 (ฟ้าสว่างแล้ว)

“出来”มักมีความหมายว่า “กริยาได้ปรากฏขึ้นมาเท่านั้น ”

  • 认出他来了 (จำเขาได้แล้ว)
  • 猜不出来 (เดาไม่ออก)

3. ถ้าต้องการบอกว่า “จำได้”, “นึกได้” (ในสิ่งที่เคยรู้, เคยจำได้ (ความจำในสมอง) แต่ได้ลืมไป ต่อมาจำขึ้นมาได้) ต้องใช้ว่า“想起来”(จำได้, นึกได้) เช่น

  • 我想起来了,她叫王欣。 (ฉันจำได้แล้ว เธอชื่อหวังซิน)
  • 对不起,实在想不起来了。 (ขอโทษครับ นึกไม่ออกไม่ออกจริงๆ)

แต่ถ้าต้องการบอกว่า “คิดออก” หรือเดิมสิ่ง (ที่คิดออก) นั้น ไม่มีอยู่ในสมอง แต่ได้คิดออกมาจนได้สิ่ง (ความคิด, วิธีการ ฯลฯ) นั้น ต้องใช้ว่า“想出来”(คิดออก) เช่น

  • 这是他想出来的好办法。(นี่คือวิธีการที่ดีที่เขาคิดออกมา)

4. อีกคู่หนึ่งที่ใช้บ่อย คือ“看起来” และ “看得出来”

“看起来”หมายถึงการคาดการณ์, คาดเดา, คำนวณ หรือประเมินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, เรื่องใดเรื่องหนึ่ง “看起来” มักใช้เป็นคำ (ข้อความ) แทรก (插入语) ไว้ในประโยค (ส่วนใหญ่ไม่ต้องแปล) เช่น

  • 看起来,她不会来了。 (ดูไปแล้ว เธอไม่น่าจะมาแล้ว)
  • 看起来,这件事还挺复杂的。(ดูไปแล้ว เรื่องนี้ซับซ้อนทีเดียว)

“看得出来”หมายถึงสภาพ, สภาวะที่เกิดจากความรู้สึก หรือการตรวจสอบสังเกต (ของผู้พูด) “看得出来”มักทำหน้าที่เป็นภาคแสดง (谓语) ในประโยค (ส่วนใหญ่ไม่ต้องแปล) เช่น

  • 看得出来,你很富于同情心。 (ดูคุณเป็นคนเห็นอกเห็นใจคนอื่นมาก)
  • 看得出来,她心里并不痛快。(ดู (เหมือน) เธอไม่มีความสุข)

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese (Files)

ไวยากรณ์จีน : “起” กับ “上” — การบอก/แสดงทิศทางของกริยาการกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่5

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“起” กับ “上”  สองคำนี้จะหมายถึงทิศทางของกริยา/การกระทำขึ้นไปด้านบนเหมือนกัน แต่ใช้แทนกันไม่ได้

ข้อแตกต่าง คือ

1.   “起” (ตามที่เคยอธิบายไปแล้ว) จะมีความหมายเพียงแค่ว่ากริยา/การกระทำเริ่มจากล่างขึ้นบน, จากที่ต่ำขี้นสู่ที่สูงเท่านั้น ไม่ได้บอกว่ากริยา/การกระทำขึ้นไปถึง (ขึ้นไปสู่) สถานที่ใด กรรมของคำกริยามักเป็นสิ่งของ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ เช่น

  • 升起五星红旗 (ธงแดง 5 ดาว (ถูกชักลอย) ขึ้นมา)
  • 飘起雪花 (เกล็ด (ละออง) หิมะลอยขึ้นมา)
  • 抬起头 (เงยหน้า (ศรีษะ) ขึ้น)
  • 举起胳膊 (ยกแขนขึ้น)

2.  “上” จะต้องบอกว่ากริยา/การกระทำนั้นไปถึง (ไปสู่) สถานที่ใด กรรมจึงมักเป็นสถานที่ (แต่สถานที่อาจจะละได้ ถ้าเป็นที่เข้าใจกัน) เช่น

  • 爬上树 (ปีนขึ้นต้นไม้)
  • 登上山顶 (ปีนขึ้นยอดเขา)
  • 骑上单车 ((ขึ้น) ขี่จักรยาน)

นอกจากนั้น “起” กับ “上” ยังมีความหมายว่ากริยา/การกระทำเริ่มต้นขึ้น และดำเนินต่อไป ข้อแตกต่าง คือ

เมื่อใช้ “起” จะเน้นที่ความต่อเนื่องของกริยา/การกระทำเริ่มต้นขึ้น และดำเนินอยู่ เช่น

  • 他们愉快地唱起了歌。 (พวกเขาเริ่มร้องเพลงอย่างมีความสูงขึ้นมา)

ส่วน “上” จะเน้นที่กริยา/การกระทำเข้าสู่สภาพ หรือสถานการณ์นั้น ดังนั้น จึงมักมีคำว่า “已经” อยู่ในประโยคเสมอ เช่น

  • 他们已经干上了,我们也开始吧。 (พวกเขาลงมือกันแล้ว พวกเขาก็เริ่มต้นกันเถอะ)

(คราวหน้าจะมาดูระหว่าง “起来” กับ “出来” กัน)

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “起” กับ “起来” การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่4

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

วันนี้มาต่อกันด้วยเรื่องเดิม คือ 趋向补语 (4) อีก 2 ตัว คือ “起” กับ “起来”

1. “起” กับ “起来” 2 คำนี้มีความหมาย 3 อย่าง คือ

  • กริยา/การกระทำขึ้นสู่บน (ขี้นสู่ที่สูง)
  • กริยาเริ่มต้นขึ้น และดำเนินต่อไป
  • และ รวบรวม หรือเก็บรวมเข้าไว้ด้วยกัน (聚拢、集中)

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • 他站起身来,头也不回走出门去。(เขาลุกขึ้นยืน ไม่แม้แต่หันหัว (กลับมา) ก็เดินออกจากประตูไป — กริยาขึ้นสู่บน)
  • 大家热烈地讨论了起来。(ทุกคนถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน/กระตือรือล้นขึ้นมา — กริยาเริ่มต้นขึ้น และดำเนินต่อไป)
  • 把这些筷子一把一把抽起来。(เอาตะเกียบพวกนี้เก็บรวมขึ้นมาทีละ กำทีละกำ — กริยารวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน)

2. ข้อแตกต่างระหว่าง “起” กับ “起来” คือ

เมื่อใช้ “起来” ความต่อเนื่อง (หรือการดำเนินไป) ของกริยา/การกระทำจะชัดเจนกว่าการใช้ “起” และการเสร็จสิ้นของเป้าหมาย หรือผลลัพธ์ (目的、结果) ของกริยา/การกระทำจะชัดเจนกว่าการใช้ “起”

ลองเปรียบเทียบความแตกต่างดู เช่น

  • 他把包提了起来。 (เขาถือกระเป๋าขึ้นมา — ความต่อเนื่อง/ผลลัพธ์ของกริยาชัดเจนกว่า)
  • 他提起包就走。 (เขาถือกระเป๋าขึ้นแล้วก็เดินไป)
  • 把你的东西收起来! (เก็บของของแกขึ้นมา — ความต่อเนื่อง/ผลลัพธ์ของกริยาชัดเจนกว่า)
  • 收起你的东西! (เก็บของของแกซะ)

3. ข้อแตกต่างอีกประการ คือ

“起” จะวางอยู่กลางประโยค หรือกลางประโยคของกริยาที่แสดงความต่อเนื่องติดกัน (紧凑) ของกริยา/การกระทำอีกตัวหนึ่ง (หมายถึงกริยาตัวหลังจะเกิดต่อเนื่องกับกริยาตัวแรกทันที) และหลังคำกริยาต้องตามด้วยกรรม (宾语) เช่น

  • 他抬不起胳膊了。 (เขายกแขนไม่ขึ้นแล้ว — 起 วางอยู่กลางประโยค, มี 胳膊 เป็นกรรม)
  • 市中心建起一座立交桥。 (ใจกลางเมืองสร้างสะพานลอยขึ้นมาหนึ่งแห่ง — 起 วางอยู่กลางประโยค, มี 立交桥 เป็นกรรม)
  • 他捡起一块石头扔了过去。 (เขาหยิบหินขึ้นมาหนึ่งก้อนแล้วเขวี้ยงข้ามไป — 起 วางอยู่กลางประโยค, มี 石头 เป็นกรรม)

“起来” มักวางไว้ท้ายประโยค หรือใช้ในประโยคที่กริยาไม่แสดงความต่อเนื่องติดกัน (非紧凑) ของกริยา/การกระทำ (อีกตัวหนึ่ง) เช่น

  • 他站起来了。 (เขายืนขึ้นมา)
  • 他接过钱来,一张一张点了起来。 (เขารับเงินมา เริ่มนับทีละใบ ทีละใบ)
  • 老王点起烟,慢慢地抽了起来。 (เหล่าหวังจุดบุหรี่ เริ่มสูบอย่างช้าๆ — ประโยคแรกใช้ 起 วางไว้กลางประโยค ต่อเนื่องไปกริยาประโยคหลังที่ใช้ 起来)

4. นอกจากนั้น “起来” ยังมีความหมายถึงสภาวะหนึ่งสภาวะใดเริ่มต้นขึ้น และดำเนินต่อไป ซึ่ง (การบอก หรือแสดงสภาวะนั้น) มักจะเป็นคำคุณศัพท์ (形容词) ดังนั้น จึงไม่ต้องมีกรรม (คำคุณศัพท์ตามด้วยกรรมไม่ได้) เช่น

  • 看到他,我不由得紧张起来。 (พอเห็นเขา ฉันก็อดที่จะตื่นเต้นขึ้นมาไม่ได้ — 紧张 เป็นคำคุณศัพท์)
  • 天渐渐地冷了起来。 (อากาศค่อยๆ หนาวขึ้นมา — 冷 เป็นคำคุณศัพท์)

เดี๋ยวมาต่อเรื่องของ “起” กับ “上” เป็นเรื่องสุดท้ายของวันนี้กัน

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “起来” กับ “下去” — การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่3

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ความหมายของ “起来” กับ “下去”

สองคำนี้จะวางหลังคำกริยา (ทำหน้าที่เป็นบทเสริมบอกทิศทาง หรือ 趋向补语) เพื่อบอกสภาวะของเวลาที่แน่นอน

ข้อแตกต่าง คือ

1. “起来” จะหมายถึงกริยา/การกระทำเริ่มต้นขึ้น หรือสภาวะใดสภาวะหนึ่งเริ่มปรากฏขึ้น และดำเนินต่อไป เช่น

  • 孩子大哭起来。(เด็กร้องขึ้นมา)
  • 他又忙起来了。(เขาเริ่มยุ่งอีกแล้ว)

2. ส่วน “下去” จะบอกแค่ว่ากริยา/การกระทำ หรือสภาวะใดสภาวะหนึ่งกำลังดำเนินอยู่เท่านั้น (ไม่มีความหมายของการเริ่มต้นขึ้น) เช่น

  • 你接着说下去。(คุณพูดต่อไปเลย)

 

“起来” กับ “下去” มีข้อแตกต่างอีกประการ คือเมื่อใช้กับคำคุณศัพท์ (形容词) โดย  “起来” มักใช้กับคำคุณศัพท์ที่เป็นบวก ส่วน “下去” มักใช้กับคำคุณศัพท์ที่เป็นลบ เช่น

  • 好起来 (ดีขึ้น)
  • 亮起来 (สว่างขึ้น)
  • 富裕起来 (ร่ำรวยขึ้น)
  • 暗下去 (มืดลง)
  • 坏下去 (แย่ลง)
  • 软弱下去 (อ่อนแอปวกเปียกลง)

คราวหน้าเราจะดูกันต่อระหว่าง “起来” กับ “出来” และ “上” กับ “起”

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “起来”กับ“上来” การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่2

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

 

(มาต่อกันเลย) คราวที่แล้วพูดถึงไวยากรณ์พื้นฐานของการบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำ คราวนี้จะมาดู 趋向补语 [qūxiàng bǔyǔ] ที่มีความหมาย และวิธีการใช้จริงที่ซับซ้อนขึ้นมาอีกขั้น

จะเริ่มจากคู่ของ “起来” กับ “上来” กันก่อน

趋向补语  สองคำนี้ แปลง่ายๆ ตามความหมายพื้นฐาน คือ

  • “起来” (ลุกขึ้นมา)
  • กับ “上来” (ขี้นมา)

ทั้ง 2 คำล้วนแสดงถึงกริยา/การกระทำเริ่มจากล่างขึ้นบน, จากที่ต่ำขี้นสู่ที่สูง แต่ 2 คำนี้ใช้แทนกันไม่ได้

1.  ข้อแตกต่าง คือ “起来” จะบอกแค่เพียงว่ากริยา/การกระทำเริ่มจากล่างขึ้นบน, จากที่ต่ำขี้นสู่ที่สูงเท่านั้น ไม่ได้บอกว่ากริยา/การกระทำขึ้นไปถึง (ขึ้นไปสู่) สถานที่ใด กรรมของคำกริยามักจะละไว้ในฐานที่เข้าใจ หรืออาจจะเป็นสิ่งของ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ เช่น

  • 飞起来了 (บินขึ้นไปแล้ว – รู้ว่าบินขึ้นไปบนไหน)
  • 坐起来 (นั่งลงมา – รู้ว่านั่งลงบนไหน)
  • 站起身来 (ยืนขึ้นมา – คำว่า 身 เป็นที่เข้าใจว่า คือร่างกาย, สามารถละการแปลความหมายได้)
  • 端起碗来 (ยกชามมา)

นอกจากความหมายพื้นฐานข้างต้น “起来” ยังมีความหมายว่า กริยา/การกระทำ หรือสภาวะใดสภาวะหนึ่ง เริ่มต้น และดำเนินอยู่ (“上来” ไม่ใช้ในความหมายนี้) เช่น

  • 大家都笑起来 (ทุกคนหัวเราะขึ้นมา)
  • 脸红了起来 (หน้าเริ่มแดงขึ้นมา)
  • 看起电视来 (เริ่มดูโทรทัศน์)

2. ส่วนการใช้ “上来” จะต้องบอกว่ากริยา/การกระทำนั้นไปถึง (ไปสู่) สถานที่ใด กรรมจึงมักเป็นสถานที่ (แต่สถานที่อาจจะละได้ ถ้าเป็นที่เข้าใจกัน) เช่น

  • 跑上楼来 (วิ่งขึ้นตึกมา)
  • 走上台来 (เดินขึ้นเวทีมา)
  • 爬上来了 (ปีนขึ้นมาแล้ว – ละสถานที่ เช่น ภูเขา เพราะเป็นที่เข้าใจกัน)

“上来” ยังหมายถึง (กริยา/การเคลื่อนไหว) จากสถานที่ไกลเข้าหาสถานที่ใกล้ (“起来” ไม่มีวิธีใช้แบบนี้) เช่น

  • 他们追上来了。(พวกเขาไล่ (กวด) ตามมาแล้ว)
  • 敌人包围上来了。(ศัตรูปิดล้อมเข้ามาแล้ว)

นอกจากนั้น “上来” ยังมีความหมายถึงประสบความสำเร็จในการตอบ (คำถาม) ได้, ทำได้, รู้คำตอบ, จำได้ เป็นต้น (มักใช้เกี่ยวกับภาษา) (“起来” ไม่มีวิธีใช้แบบนี้) เช่น

  • 全答上来了。(ตอบคำถามได้ถูกหมด)
  • 我叫不上来他的名字了。(ฉันเรียกชื่อเขาไม่ได้ หมายถึงจำขื่อเขาไม่ได้)

คราวหน้าจะมาดูต่อระหว่าง “起来” กับ “下去”

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่1

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 (1)

1. คำกริยา “来” และ “去” ถ้านำมาวางหลังคำกริยา (บางคำ) ก็จะกลายเป็นบทเสริมคำกริยา (补语) เพื่อบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำ บทเสริมแบบนี้เรียกว่า 简单趋向补语 ซึ่งจะอยู่ในรูป

1.1 动词 (คำกริยา) + 来 ==> ใช้เมื่อทิศทางของกริยา/การกระทำ เข้าหา (เข้าใกล้) ตัวผู้พูด เช่น

  • 下来 (ลงมา)
  • 进来 (เข้ามา)
  • 上来 (ขึ้นมา)

1.2 动词 (คำกริยา) + 去 ==> ใช้เมื่อทิศทางของกริยา/การกระทำ ออกจาก (ออกห่าง) ตัวผู้พูด เช่น

  • 下去 (ลงไป)
  • 进去 (เข้าไป)
  • 上去 (ขึ้นไป)

ถ้าคำกริยามีกรรมเป็นสถานที่ (处所) จะต้องวางกรรมไว้หลังคำกริยา (动词) หน้า 来/去 เช่น

  • 我们进屋去吧。(พวกเราเข้าห้องกันเถอะ)

ถ้าคำกริยามีกรรมเป็นสิ่งของ (事物) จะวางกรรมไว้หน้า หรือหลัง 来/去 ก็ได้ เช่น

  • 我买来了一本书。 หรือ 我买了一本书来。 (ฉันซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่ง)

2. บทเสริมแสดงทิศทางของกริยา หรือการกระทำอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า 复合趋向补语 จะอยู่ในรูป

2.1 คำกริยา (动词) + (คำกริยาแสดงทิศทาง + 来) ==> ใช้เมื่อทิศทางของกริยา/การกระทำ เข้าหา (เข้าใกล้) ตัวผู้พูด เช่น

  • 上来 (ขึ้นมา)
  • 下来 (ลงมา)
  • 进来 (เข้ามา)
  • 出来 (ออกมา)
  • 回来 (กลับมา)
  • 过来 (ข้ามมา)
  • 起来 (ขึ้นมา)

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • 他跑回家来了。 (เขาวิ่งกลับบ้านมาแล้่ว)
  • 我买回来一本书。 (ฉันซื้อหนังสือกลับมาเล่มหนึ่ง)

2.2 คำกริยา (动词) + (คำกริยาแสดงทิศทาง + 去) ==> ใช้เมื่อทิศทางของกริยา/การกระทำ ออกจาก (ออกห่าง) ตัวผู้พูด เช่น

  • 上去 (ขึ้นไป)
  • 下去 (ลงไป)
  • 进去 (เข้าไป)
  • 出去 (ออกไป)
  • 回去 (กลับไป)
  • 过去 (ข้ามไป)

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • 他走出公园去了。 (เขาเดินออกจากสวนสาธารณะไปแล้ว)

และถ้ากรรมเป็นสถานที่ (处所) จะต้องวางกรรมไว้หน้า 来/去 เช่น

  • 他走进图书馆去了。 (เขาเดินเข้าห้องสมุดไปแล้ว)

ถ้ากรรมเป็นสิ่งของ (事物) จะวางกรรมไว้หน้า หรือหลัง 来/去 ก็ได้ เช่น

  • 他带回来一只箱子。 หรือ 他带回一只箱子来。 (เขานำกล่องกลับมา)

นอกจากนั้น ถ้าคำกริยาไม่มีกรรม “了” จะวางไว้หลังคำกริยา หน้าบทเสริม หรือวางไว้ท้ายประโยคก็ได้ เช่น

  • 一下课,同学们就跑了出去。
  • หรือ 一下课,同学们就跑出去了。(พอเลิกเรียน พวกนักเรียนก็วิ่งออกไป)

แต่ถ้ากรรมเป็นสถานที่ (处所) “了” ควรวางไว้ท้ายประโยค เช่น

  • 他走下楼去了。 (เขาเดินลงจากตึกไปแล้ว)

ถ้ากรรมเป็นสิ่งของ (事物) “了” ควรวางไว้หลังบทเสริม หน้ากรรม (กรรมอยู่หลังสุด) เช่น

  • 我给你买回来了一件衣服。 (ฉันซื้อเสื้อกลับมาให้เธอหนึ่งตัว)

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นไวยากรณ์พื้นฐานเกี่ยวกับการบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำ จะสังเกตว่าเมื่อแปลความหมายก็เป็นการแปลตรงตัวง่ายๆ

(บทความถัดไป) เราจะมาดู 趋向补语 (简单趋向补语 และ 复合趋向补语 มักนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า 趋向补语) ที่มีความหมาย และวิธีการใช้จริงที่ซับซ้อนขึ้นมาอีกขั้น โดยจะเปรียบเทียบวิธีใช้ และความแตกต่างของ 趋向补语 กันเป็นคู่ๆ ดู

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ภาษาจีน ความสวยงาม 美丽 กับ 漂亮

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“美丽” กับ “漂亮” 2 คำนี้มีความหมายเหมือนกัน (ในบางกรณี) 美丽 ก็คือ “น่าดู”, “สวยงาม”, “งดงาม” หรือ “漂亮” นั่นเอง

ข้อแตกต่างสำคัญ คือ

1. ในแง่ความหมาย และประเภทของคำ

  • “美丽” เป็นคำคุณศัพท์ (形容词) แปลว่า “สวยงาม”, “งดงาม”, “ดูดี” ฯลฯ ความหมายในภาษาจีน คือ “好看的” เป็นความรู้สึกที่เมื่อได้เห็นแล้วเกิดความสุขใจ หรือมีความสุข (快感) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “beautiful”
  • ส่วน “漂亮” เป็นคำกริยา (动词) หมายถึง “好看” หรือ “美观” แปลว่า “สวยงาม”, “งดงาม”, “ดูดี”, “หน้าตาดี”, “หล่อเหลา” เช่นกัน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “beautiful”, “pretty”, “gook-looking”, “handsome”

เราสามารถใช้ทั้ง 2 คำนี้กับคน, การแต่งกาย, สิ่งของ, สถานที่ หรือสภาพแวดล้อมได้ทั้งคู่แต่เมื่อใช้กับคน

  • “美丽” จะใช้กับเพศหญิงเท่านั้น
  • ส่วน “漂亮” ใช้ได้ทั้งเพศหญิง และเพศชาย “漂亮” เมื่อใช้กับเพศชายจะหมายถึง “หล่อเหลา” หรือ handsome นั่นเอง

** “漂亮” ยังมีอีกความหมายหนึ่ง คือ “โดดเด่น”, “ยอดเยี่ยม” (splendid, remarkable) หรือ “出色” ในภาษาจีน มักใช้กับการบรรยายการกีฬา, การแข่งขัน, ภาษา, การกระทำ เป็นต้น (美丽ไม่ใช้ในความหมายนี้)

** “美丽” ยังหมายถึง “สูงส่ง”, “ดีงาม” มักใช้ขยาย หรือบรรยายคุณสมบัติของสิ่งของ, คุณธรรม หรือจริยธรรมของคน เช่น 美丽动人的传说 (漂亮 ไม่ใช้ในความหมายนี้)

2. ในแง่ไวยกรณ์

  • “美丽” สามารถเป็นบทขยายนาม (定语) โดยต้องมี 的 อยู่ด้วยเสมอ, ภาคแสดง (谓语) และบทเสริม (补语) แต่ไม่สามารถซ้ำคำ (重叠) ได้
  • ส่วน “漂亮” สามารถเป็นบทขยายนาม (定语), ภาคแสดง (谓语), บทเสริม (补语) และสามารถซ้ำคำ (重叠) เป็น 漂漂亮亮ได้

ลองมาดูตัวอย่างประโยคกัน

  • 她是个美丽/漂亮的姑娘。ใช้กับผู้หญิง, เป็นบทขยายนาม (定语)
  • 这儿的风景美丽极了。ใช้กับสถานที่, เป็นภาคแสดง (谓语)
  • 她长得很漂亮/美丽。ใช้กับผู้หญิง, เป็นบทเสริม (补语)
  • 他长得很漂亮。ใช้美丽ไม่ได้ เพราะใช้กับผู้ชาย, เป็นบทเสริม (补语)
  • 这么漂亮的衣服在哪儿买的?ใช้กับสิ่งของ, เป็นบทขยายนาม (定语)
  • 这辆车真漂亮。ใช้กับสิ่งของ, เป็นภาคแสดง (谓语)
  • 她今天打扮得漂漂亮亮。ใช้กับการแต่งกาย, เป็นบทเสริม (补语) และซ้ำคำ (重叠)

“漂亮” ถ้าหมายถึง “出色” หรือ “โดดเด่น”, “ยอดเยี่ยม” จะใช้เป็นบทขยายนาม (定语) และบทเสริม (补语) เท่านั้น

  • 战士们打了一个漂亮仗。เป็นบทขยายนาม (定语)
  • 马纳的汉语说得很漂亮。เป็นบทเสริม (补语)
  • 这个球进得真漂亮!เป็นบทเสริม (补语)

3. ในแง่เซ้นส์ หรือความรู้สึกทางภาษา (语感)

เซ้นส์ทางภาษาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก (ถ้าไม่ใช่คนจีน หรือเจ้าของภาษา) แต่ก็สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยการสังเกต และการศึกษาเรียนรู้เยอะๆ ระหว่าง 2 คำนี้ คือ

  • “美丽” มักใช้กับทัศนียภาพ, วิว,ทิวทัศน์ต่างๆ (นอกจากใช้กับผู้หญิง)
  • ส่วน “漂亮” มักใช้กับเสื้อผ้า, เครื่องประดับ, สิ่งของ, อาคาร เป็นต้น (นอกจากใช้กับคน (ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง))

“美丽” เป็นความสวยงาม, งดงามที่แฝงไว้ด้วยความเคร่งขรึม, สง่างาม, ยิ่งใหญ่ ถ้าใช้ “美丽” ผู้พูด และผู้ฟังจะมีความรู้สึกเหล่านี้แฝงอยู่ ส่วน “漂亮” ไม่แฝงความรู้สึกทำนองนี้

สุดท้าย “美丽” มักใช้ในภาษาเขียน (ภาษาพูดก็ใช้ได้) ส่วน “漂亮” มักใช้ในภาษาพูด

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese