Tag Archives: สำนวนสุภาษิตจีน

นิทานสุภาษิต : ดึงต้นกล้าให้โต [拔苗助长]

สุภาษิตจึน

拔苗助长 [bámiáozhùzhǎng] ดึงต้นกล้าให้โต

拔 [bá] ดึง
苗 [miáo] หน่อ ต้นกล้า
助 [zhù] ช่วย
长 [zhǎng] เติบโต

กาลครั้งหนึ่ง(古时候) เมื่อย่างเข้าฤดูหว่านไถ มีชาวนารัฐซ่ง (宋国) ผู้หนึ่งที่มีนิสัยใจร้อน ภายหลังหว่านกล้าลงนาเรียบร้อย เขาก็เฝ้ารอคอยโดยหวังว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วๆ

ดังนั้น ทุกๆวันเขาจะไปนั่งที่ทุ่งนา และเฝ้าคิดว่าเหตุใด ต้นกล้า(禾苗) เหล่านี้จึงเติบโต(长得) ช้าเหลือเกิน(太慢) จนอดรนทนไม่ไหว(心里很着急) เขาจึงพยายามขบคิดหาวิธีการที่จะทำให้ต้นกล้าโตเร็วกว่าเดิม

สุดท้ายจึงคิด “วิธีที่ดีที่สุด” ออกมาได้ นั่นคือ ใช้มือดึงให้ต้นกล้าโผล่พ้นดินขึ้นมามากขึ้น(动手把禾苗一株株地往上拔高一节) ซึ่งเมื่อมองดูจะคล้ายต้นกล้าเติบโตและสูงขึ้นกว่าที่เป็น

หลังจากปฏิบัติการตามวิธีที่คิดได้มาทั้งวันจนเสร็จสิ้น เขาพอใจผลงานของตนเองเป็นอันมาก จึงเดินทางกลับไปพักผ่อนที่บ้าน และเมื่อถึงบ้าน(回到家里) เขาจึงเล่าให้คนในครอบครัวฟังว่า(对家里的人说) “วันนี้ข้าทำงานเหนื่อยเหลือเกิน(今天可把我累坏了) แต่ก็คุ้มค่าเพราะช่วยทำให้ต้นข้าวโตเร็วขึ้นมาอีกหลายข้อเลย” (我一下子让禾苗长高了许多)

เมื่อบุตรชายของเขาได้ฟัง(他的儿子听了) ก็รีบวิ่งไปที่ทุ่งนา(连忙跑到田里去看) เพื่อดูผลงานของผู้เป็นบิดา แต่ทว่า…สิ่งที่พบคือ ต้นกล้านั้นได้เหี่ยวเฉาตายเต็มท้องทุ่งนา(田里的禾苗全部枯萎了)

ภายหลัง “拔苗助长 [bámiáozhùzhǎng] ดึงต้นกล้าให้โต” ใช้เปรียบเทียบกับการพยายามฝืนกฏเกณฑ์(违背规律) ธรรมชาติ(事物都有自己的规律) หรือการรีบร้อนเร่งให้งานใดๆสำเร็จโดยใช้วิธีที่ผิด(蛮干) จนก่อให้เกิดผลเสียหายตามมา(就必然受到惩罚)

枯萎 [kūwěi] เหี่ยวเฉา แห้งเหี่ยว
寓意 [yùyì]  เรื่องสอนใจ
惩罚 [chéngfá] ลงโทษ
蛮干 [mángàn] การกระทำที่มุทะลุ Continue reading

สุภาษิตจีน : วาดรูปแป้งทอดแก้ความหิวโหย [画饼充饥]

สุภาษิตจึน

画饼充饥 [huàbǐngchōngjī] : วาดรูปแป้งทอดแก้ความหิวโหย

画 [huà] วาดภาพ
饼 [bǐng] แป้งทอด
充 [chōng] เติมเต็ม
饥 [jī] หิวโหย

“ฮว่าปิ่งชงจี” คำแปล วาดรูปแป้งทอดแก้ความหิวโหย

ในสมัยสามก๊ก มีชายผู้หนึ่งนามว่า หลูอี้ว์(卢毓 [lúyù]) ซึ่งรับราชการอยู่ในรัฐเว่ย และเนื่องจากเขาได้คอยเสนอแนวคิดในการปกครองที่เป็นประโยชน์ต่ออ๋องเว่ยเหวิ นตี้มากมาย ดังนั้นท่านอ๋องจึงให้ความสำคัญกับเขาอย่างยิ่ง และแต่งตั้งเขาเป็นอัครเสนาบดี

ครั้งหนึ่ง อ๋องเว่ยเหวินตี้กล่าวกับหลูอี้ว์ว่า “รัฐของเราจะมีผู้มีความสามารถมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการคัดเลือกของท่าน จงอย่าเลือกใช้คนที่ชื่อเสียง เพราะผู้ที่มีชื่อเสียงก็เปรียบเสมือนการวาดรูปแป้งทอดลงบนพื้นดิน ได้แต่มองดูไม่สามารถกิน ”

หลูอี้ว์ ตอบว่า “อาศัยเพียงชื่อเสียงไม่สามารถวัดความสามารถของผู้ใดก็จริงแต่ก็สามารถทำให้ ค้นพบผู้ที่มีความสามารถ เพราะคนเราเมื่อมีความสามารถ พฤติกรรมดีก็เป็นธรรมดาที่ย่อมมีชื่อเสียง ซึ่งเราไม่ควรมองข้ามพวกเขาไป ดังนั้นข้าพเจ้าเห็นว่าสิ่งสำคัญคือต้องทดสอบพวกเขา ว่าพวกเขามีความสามารถจริงหรือไม่ ทว่าตอนนี้ไม่มีระบบการสอบเพื่อคัดเลือกคนมีความสามารถ แต่อาศัยเพียงชื่อเสียงของผู้นั้นในการมอบตำแหน่งให้พวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง ” 

อ๋องเว่ยเหวินตี้เห็นด้วยกับความเห็นของ หลูอี้ว์ และกำหนดให้มีการใช้ระบบการสอบเพื่อเข้ารับราชการ

ปัจจุบัน “画饼充饥 [huàbǐngchōngjī]” ใช้เพื่อเปรียบเทียบกับการวาดมโนภาพขึ้นในใจเพื่อปลอบโยนตนเอง

นิทานสำนวนสุภาษิตจีน: วาดงูเติมขา [画蛇添足]

วาดงูเติมขา

画蛇添足 [huà shé tiān zú] วาดงูเติมขา

有个楚国贵族,在祭祀过祖宗后,把一壶祭酒赏给门客们喝。门客们拿着这壶酒,不知如何处理。他们觉得,这么多人喝一壶酒,肯定不够,还不如干脆给一个人喝,喝得痛痛快快还好些。可是到底给谁好呢?于是,门客们商量了一个好主意,就是每个人各自在地上画一条蛇,谁先画好了这壶酒就归谁喝。大家都同意这个办法。

门客们一人拿一根小棍,开始在地上画蛇。

有一个人画得很快,不一会儿,他就把蛇画好了,于是他把酒壶拿了过来。正待他要喝酒时,他一眼瞅见其他人还没把蛇画完,他便十分得意地又拿起小棍,边自言自语地说:“看我再来给蛇添上几只脚,他们也未必画完。”边说边给画好的蛇画脚。
不料,这个人给蛇画脚还没完,手上的酒壶便被旁边一个人一把抢了过去,原来,那个人的蛇画完了。

这个给蛇画脚的人不依,说:“我最先画完蛇,酒应归我喝!”

那个人笑着说:“你到现在还在画,而我已完工,酒当然是我的!”

画蛇脚的人争辩说:“我早就画完了,现在是趁时间还早,不过是给蛇添几只脚而已。”

那人说:“蛇本来就没有脚,你要给它添几只脚那你就添吧,酒反正你是喝不成了!”
那人毫不客气地喝起酒来,那个给蛇画脚的人却眼巴巴看着本属自己而现在已被别人拿走的酒,后悔不已。
有些人自以为是,喜欢节外生枝,卖弄自己,结果往往弄巧成拙,不正像这个画蛇添足的人吗?

——————————
画蛇添足 [huà shé tiān zú] : วาดงูเติมขา

画 [huà] วาด
蛇 [shé] งู
添 [tiān] เติม, เพิ่ม
足 [zú] เท้า(ขา)

ในสมัยสงครามระหว่างรัฐ(จั้นกั๋ว) มีครอบครัวครอบครัวหนึ่งในรัฐฉู่ เมื่อทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษแล้วมักจะมอบสุราให้กับผู้ที่มาช่วยงานเป็นการ ตอบแทน 1 ไห แต่ในความเป็นจริงแล้วสุรา 1 ไหมีปริมาณน้อยเกินไป หากแบ่งให้ทุกคนดื่มต่างก็ดื่มได้ไม่เต็มที่ ไม่สู้ดื่มเพียงคนเดียว

ผู้ที่มาช่วยงานผู้หนึ่งจึงออกความเห็นว่า “เพื่อความเป็นธรรม เอาอย่างนี้ดีกว่า พวกเราวาดรูปงูแข่งกัน ใครวาดเสร็จก่อนก็ได้สุราไหนั้นไป”

คนอื่นๆ ต่างเห็นด้วย จึงพากันวาดรูปงูลงบนพื้น สักพักมีคนผู้หนึ่งวาดเสร็จก่อน แต่เมื่อเขามองไปรอบๆ เห็นคนอื่นยังคงก้มหน้าก้มตาวาดกันอยู่ เขาจึงกระหยิ่มใจ และคิดว่าเพื่อเป็นการแสดงให้คนอื่นเห็นว่าตนวาดภาพเร็วมาก หากวาดขาเติมลงไปในรูปงูของตนเองอีก 4 ข้างก็ยังทัน คิดได้ดังนั้นจึงวาดต่อ แต่วาดยังไม่ทันเสร็จ มีคนอีกผู้หนึ่งวาดรูปงูเสร็จแล้ว และเดินไปหยิบไหสุรามาถือไว้ก่อนใคร ทั้งยังเดินมากล่าวกับชายที่เติมขาให้งูว่า
“ท่านจะมัวเติมขาให้งูไปทำไม ในเมื่อความจริงงูไม่มีขา งูที่มีขาย่อมไม่ใช่งู”

หลังจากกล่าวจบก็ดื่มสุราไหนั้นจนหมดเกลี้ยง นั่นคือที่มาของสุภาษิต “ฮว่าเสอเทียนจู๋” หรือ “วาดงูเติมขา”

ปัจจุบันใช้เพื่อเปรียบเทียบกับการทำสิ่งที่เกินจำเป็น เกินพอดี ไม่มีเหตุผล ซึ่งนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังเสียเวลา และอาจจะทำให้เรื่องราวเลวร้ายลงไปอีกด้วย

楚国 [chǔguó] รัฐฉู่
贵族 [guìzú] ผู้ดีมีตระกูล
祭祀 [jìsì] เซ่นไหว้
祖宗 [zǔzōng] บรรพบุรุษ
门客 [ménkè] ปัญญาชนที่เหล่าขุนนางเลี้ยงไว้เป็นที่ปรึกษา
不知 [bùzhī] ไม่รู้
如何 [rúhé] อย่างไร
处理 [chǔlǐ] จัดการ
觉得 [juéde] รู้สึก, คิด
这么 [zhème] แบบนี้
肯定 [kěndìng] ตกลงกัน
不够 [bùgòu] ไม่เพียงพอ
干脆 [gāncuì] ตรงไปตรงมา
个人 [gèrén] แต่ละคน
痛快 [tòngkuài] มีความสุข
还好 [háihǎo] ไม่เลว
可是 [kěshì] แต่
到底 [dàodǐ] สุดท้าย, ที่สุด
于是 [yúshì] ดังนั้น
商量 [shāngliáng] ปรึกษากัน
主意 [zhǔyì] ความคิดเห็น
就是 [jiùshì] ก็คือ
各自 [gèzì] ต่างคนต่าง
大家 [dàjiā] ทุกคน
同意 [tóngyì] เห็นด้วย
这个 [zhègè] อันนี้
办法 [bànfǎ] วิธีการ
开始 [kāishǐ] เริ่ม
不一 [bùyī] แตกต่างจาก
把酒 [bǎjiǔ] ยกแก้วเหล้าขึ้น
过来 [guòlái] เข้ามา
喝酒 [hējiǔ] ดื่มเหล้า
瞅见 [chǒujiàn] มองเห็น
其他 [qítā] คนอื่นๆ
十分 [shífēn] มั่นใจเต็มที่, อย่างแน่นอน
得意 [déyì] ภาคภูมิใจ
自言自语 [zìyánzìyǔ] พูดกับตัวเอง
未必 [wèibì] ทำไมไม่
不料 [bùliào] ไม่ได้คาดคิด
酒壶 [jiǔhú] กาเหล้า
旁边 [pángbiān] ด้านข้าง
过去 [guòqu] เอาไป
原来 [yuánlái] ต้นตอ
那个 [nàge] อันนั้น
完了 [wánliǎo] เสร็จ, จบ
不依 [bùyī] ไม่ยอม
最先 [zuìxiān] ก่อนใคร
现在 [xiànzài] ตอนนี้, ขณะนี้
完工 [wángōng] งานเสร็จ
当然 [dāngrán] อย่างแน่นอน
争辩 [zhēngbiàn] ถกเถียง
时间 [shíjiān] เวลา
不过 [bùguò] เพียงแต่
而已 [éryǐ] เท่านั้นเอง
本来 [běnlái] ต้นแบบ
没有 [méiyǒu] ไม่มี
反正 [fǎnzheng] อย่างไรก็ตาม
不成 [bùchéng] ไม่สำเร็จ
毫不 [háobù] ไม่เลย
客气 [kèqi] สุภาพ, ถ่อมตน
眼巴巴 [yǎnbābā] ตาปริบๆ
自己 [zìjǐ] ตัวเอง
别人 [biérén] คนอื่น
后悔 [hǒuhuǐ] เสียใจ
不已 [bùyǐ] ไม่หยุด
有些 [yǒuxiē] บางส่วน, บ้าง
自以为是 [zìyǐwéishì] ตัวเองคิดว่าใช่
喜欢 [xǐhuān] ชอบ
节外生枝 [jiéwàishēngzhī] มีปัญหาแทรกซ้อนขึ้นมา
卖弄 [màinong] แสดงฝีมือโอ้อวด
结果 [jiéguǒ] ผลลัพธ์
往往 [wǎngwǎng] มักจะ
弄巧成拙 [nòngqiǎochéngzhuō] ทำเป็นอวดเก่งสุดท้ายก็ผูกมัดตัวเอง

อ้างอิงคำแปลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : ป๋อเล่อเลือกม้า [伯乐相马]

สุภาษิตจึน

伯乐相马 [bólèxiāngmǎ]

ป๋อเล่อเซี่ยงหม่า(伯乐相马) : ป๋อเล่อเลือกม้า

伯乐 [bólè] คำเรียกคนคัดสรรม้าศึกในสมัยโบราณ
相 [xiāng] เลือก
马 [mǎ] ม้า
伯乐相马 [bólèxiāngmǎ] ป๋อเล่อเลือกม้า

เชื่อกันว่าในสรวงสวรรค์มีเซียนวิเศษที่ทำหน้าที่ดูแลอาชาแห่งสวรรค์ ส่วนในโลกมนุษย์ก็มีผู้ที่มีความสามารถในการคัดเลือกยอดอาชาเช่นกัน โดยบุคคลเหล่านี้จะถูกเรียกว่า “ป๋อเล่อ”

ป๋อเล่อคนแรกในประวัติศาสตร์ มีชื่อเดิมว่า ซุนหยัง เป็นคนสมัยชุนชิว และเนื่องจากว่าเขามีความรู้เรื่องม้าอย่างลึกซึ้ง โดดเด่น ทำให้ผู้คนต่างพากันเรียกเขาว่าป๋อเล่อ แทนชื่อจริง

วันหนึ่ง เขาได้รับมอบหมายจากอ๋องรัฐฉู่ ให้ไปซื้อหาม้าห้อพันลี้ ซึ่งมีฝีเท้าจัดเป็นเลิศในแผ่นดินมาถวายเป็นมาศึก ป๋อเล่อตอบตกลงโดยกล่าวกับท่านอ๋องว่า
“อันว่ายอดอาชาในแผ่นดิน มีจำนวนนับได้ การเสาะหาคงไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้เวลา ดังนั้นขอให้ท่านอ๋องใจเย็นๆ ” กล่าวจบจึงออกเดินทางไปเสาะหาม้าที่เหมาะสมทันที

ป๋อเล่อเดินทางไปยังหลายรัฐหลายประเทศ แม้แต่ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นกำเนิดยอดอาชา อย่างรัฐเอียน(燕) และรัฐเจ้า(赵) แต่ก็ไม่ปรากฏม้าที่มีลักษณะต้องประสงค์

วันหนึ่งขณะที่เดินทางกลับจากการไปเสาะหาม้ายังรัฐฉี ป๋อเล่อพลันพบเห็นม้าตัวหนึ่งกำลังออกแรงลากเกวียนบรรทุกเกลืออยู่อย่างยาก ลำบาก มันหอบหายใจเสียงดัง และมีท่าทางอิดโรยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยความที่ป๋อเล่อมีชีวิตผูกพันกับม้ามาโดยตลอด ทำให้เขารู้สึกสงสารและเข้าไปหาม้าตัวนั้น

เมื่อม้าพบเห็นป๋อเล่อเข้ามาใกล้ พลันเงยหน้า เบิ่งตาจ้องมอง พร้อมกับร้องออกมาด้วยเสียงดังกังวาน ราวกับจะบอกอะไรกับเขา ในครานั้นเองป๋อเล๋อได้แยกแยะจากเสียงร้องของเจ้าม้าบบรทุกเกลือ และพบว่า นี่เองคือสุดยอดอาชาที่เขาปรารถนา

ป๋อเล่อจึงกล่าวกับเจ้าของม้าในขณะนั้นว่า
“ม้าตัวนี้หากวิ่งอยู่ในสนามรบ ฝีเท้าของมันจักไม่มีม้าตัวใดเทียบเทียมได้ แต่หากนำมาบรรทุกของ มันกลับไม่อาจเปรียบกับม้าธรรมดาๆ ตัวอื่น ท่านมิสู้มอบมันให้กับเราเถิด”

เจ้าของม้าได้ยินก็เข้าใจว่าป๋อเล่อนั้นช่างโง่เขลา เนื่องจากที่ผ่านมา ม้าตัวนี้แทบไม่มีแรงลากเกวียน แถมยังกินจุ และมีขาที่ผอมราวกับไม้ฟืน จึงรีบตกลงขายให้กับโป๋เล่อไป

ป๋อเล่อนำม้ากลับมายังรัฐฉู่ ขณะที่กำลังเดินเข้าสู่ที่ประทับของท่านอ๋อง ป๋อเล่อก็กล่าวเบาๆ กับม้าว่า
“ข้าหาเจ้านายที่คู่ควรมาให้เจ้าแล้ว” ม้าราวกับเข้าใจคำพูดของป๋อเล่อ พลันดีดขาหน้าขึ้นตะกุยอากาศ พร้อมทั้งร้องเสียงดังกังวาน จนกระทั่งท่านอ๋องได้ยินเสียง และรีบออกมาชมดู

ป๋อเล่อเมื่อพบท่านอ๋องก็กล่าวว่า
“ข้าน้อยนำยอดอาชากลับมาแล้ว ท่านโปรดพิจารณาดู”

ฝ่ายท่านอ๋องเมื่อเห็นม้ามีลักษณะทึ่มทื่ออย่างยิ่ง ก็รู้สึกผิดหวัง เข้าใจว่าโดนป๋อเล่อหลอก จึงกริ้วและตรัสกับป๋อเล่อว่า
“ข้าใช้ท่านหาม้า ก็เพราะเชื่อว่าท่านมีความสามารถ แต่ท่านกลับนำตัวอะไรไม่รู้มาให้ข้า ดูท่าทางมันแล้วขนาดเดินเฉยๆ ยังยาก จะให้ขี่ลงสนามรบคงเป็นไปไม่ได้”

ป๋อเล่อรีบกล่าวว่า “ม้าตัวนี้ลักษณะทึ่มทื่อก็เพราะมันผ่านความยากลำบากมามาก แต่หากเจ้าของดูแลเอาใจใส่ ข้าน้อยรับรองว่าไม่เกินครึ่งเดือนมันจะกลับคืนสู่ลักษณะที่แท้จริง ”

เมื่อได้ฟัง ท่านอ๋องมิได้เชื่อเท่าใดนัก แต่ก็ให้ทหารนำม้าไปดูแลอย่างดี ป้อนอาหารชั้นดีให้มันกิน จนกระทั่งเวลาผ่านไปไม่นาน มันก็กลับคืนสู่ลักษณะของยอดอาชา ยามที่ท่านอ๋องขึ้นขี่ เพียงใช้แส้กระตุ้นเบาๆ มันก็พุ่งทะยานไปมากกว่า 100 ลี้

ต่อมามันได้กลายเป็นม้าศึกคู่กายอ๋อง และอ๋องรัฐฉู่ก็กลับมาให้ความนับถือในตัวป๋อเล่อดังเดิม

ป๋อเล่อเซี่ยงหม่า ปัจจุบันใช้เปรียบเปรยถึงผู้ที่มีสายตาแหลมคมในการคัดสรรคนดีมีฝีมือ

อ้างอิงจาก www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : คนเมืองฉี่กังวลว่าฟ้าจะถล่ม [杞人忧天]

สุภาษิตจึน

杞人忧天 [qǐrényōutiān] : คนเมืองฉี่กังวลว่าฟ้าจะถล่ม

ในสมัยอดีตกาล รัฐฉี่(สมัยโจว ปัจจุบันอยู่ในมณฑลหูหนาน) มีชายผู้หนึ่งเป็นคนขี้ขลาดตาขาว และสติไม่ค่อยสมประกอบ เขามักจะขบคิดอยู่กับปัญหาแปลกประหลาด และเป็นปัญหาที่เมื่อเอาไปถามใครก็ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเป็นคำถามที่ไร้สาระ หาแก่นสารไม่ได้

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเขารับประทานอาหารค่ำเสร็จแล้ว ก็ถือพัดออกไปนั่งอยู่ที่หน้าประตูบ้าน และรำพึงรำพันกับตัวเองว่า

“ถ้าวันใดวันหนึ่ง ฟ้าถล่มลงมา แล้วเราจะทำยังไงดีนะ จะหนีก็คงหนีไม่ทัน ต้องโดนฟ้าทับตายอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่แน่ๆ”

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เขาก็เอาแต่วิตกกังวลอยู่กับปัญหานี้ เพื่อนฝูงเมื่อเห็นว่าสติเขาเริ่มฟั่นเฟือนลงไปทุกวันๆ หน้าตาก็เศร้าหมองอมทุกข์ ก็ต่างเป็นห่วงเป็นใย และช่วยกันเตือนสติชายผู้นี้ว่า

“เพื่อน ท่านอย่างมานั่งวิตกกังวลกับปัญหาแบบนี้เลย ท้องฟ้าไม่มีทางถล่มลงมาหรอก หรือถ้าสมมติว่าฟ้าถล่มลงมาจริง ก็ไม่ใช่เรื่องที่ท่านเพียงคนเดียวมาขบคิดวิเคราะห์แล้วสามารถแก้ไขได้ เพราะใต้ฟ้าก็ไม่ได้มีท่านเพียงคนเดียว ปล่อยวางเสียเถอะ”

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะตักเตือนหรือปลอบใจอย่างไร ชายชาวเมืองฉี่ผู้นี้ก็ไม่เชื่อ ยังคงวิตกกังวลกับปัญหานี้ต่อไป

ต่อมา คนยุคหลังได้นำเรื่องเล่านี้มาตั้งเป็นสุภาษิต ฉี่เหรินโยวเทียน แปลตรงตัวคือ คนเมืองฉี่กังวลต่อฟ้า โดยในเรื่องคือคนเมืองฉี่กลัวฟ้าถล่ม ใช้เปรียบเทียบผู้ที่มัววิตกกังวลอยู่กับเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ หรือเรื่องที่ไม่มีที่มาที่ไป ไร้สาระ
sugarcane 发表于 2008-5-10 12:24

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : สุนัขจิ้งจอกแอบอ้างบารมีเสือ [狐假虎威]

สุภาษิตจึน

狐假虎威 [hújiǎhǔwēi] สุนัขจิ้งจอกแอบอ้างบารมีเสือ

ในสมัยจั้นกั๋ว(สงครามระหว่างรัฐ) เมื่อครั้งที่รัฐฉู่เข้มแข็งถึงที่สุด อ๋องฉู่เซวียน(楚宣王)เกิดความคลางแคลงใจว่า เหตุใด ทุกรัฐในแดนเหนือจึงได้กลัวเกรงแม่ทัพซีซู่(奚恤)ซึ่งเป็นแม่ทัพใต้บังคับ บัญชาของพระองค์นัก พระองค์จึงได้สอบถามปัญหานี้กับบรรดาขุนนางข้างกายของพระองค์
มีขุนนางนามว่า เจียงอี่ว์ (江乙)มิได้ตอบคำถามอ๋องรัฐฉู่โดยตรง แต่กลับเล่านิทานเรื่องหนึ่งถวายพระองค์ เรื่องมีอยู่ว่า

กาลครั้งหนึ่ง มีเสือตัวใหญ่อาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ด้วยความหิว จึงออกมาหาอาหาร และได้พบกับสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งกำลังเดินอยู่ในป่าลึก จึงได้ตะครุบเพื่อหวังกินเป็นอาหาร แต่ธรรมชาติของสุนัขจิ้งจอกนั้นมีความกลิ้งกลอก เพื่อความอยู่รอดมันจึงชิงกล่าวกับเสือว่า
“แกรู้หรือเปล่าว่าข้าเป็นใคร ข้าได้รับคำสั่งจากสวรรค์ให้มาดูแลควบคุมสัตว์ต่างๆบนโลกนี้ ถ้าแกกินข้าก็เท่ากับขัดคำสั่งสวรรค์ ต้องโดนสวรรค์ทำโทษแน่นอน”

เมื่อเสือได้ยินดังนั้นก็หยุดชะงัก ในใจเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พอเห็นดังนั้นจิ้งจอกได้ทีจึงรียพูดต่อว่า
“ถ้าเจ้าไม่เชื่อ เดี๋ยวเดินตามหลังข้ามา แล้วคอยดูว่าพอสัตว์ต่างๆพบข้า พวกมันต่างก็กลัวจนหัวหดหรือไม่ ” เสือได้ฟังก็เห็นว่าวิธีนี้ไม่เลว จึงเดินตามจิ้งจอกไป

ดังนั้นจิ้งจอกเดินนำ เสือเดินตาม เมื่อไปที่ไหน สัตว์น้อยใหญ่เห็นเข้าก็แตกฮือ หนีกระเจิดกระเจิง จิ้งจอกยิ่งกระหยิ่มยิ้มย่อง ส่วนเสือเห็นดังนั้นก็เริ่มเกรงจิ้งจอกขึ้นมา โดยไม่รู้เลยว่าสัตว์ต่างๆ ไม่ได้กลัวหมาจิ้งจอก แต่วิ่งหนีตนต่างหาก

แม้ว่าแผนการของจิ้งจอกจะสำเร็จ แต่ที่มันสามารถมีชีวิตต่อไปได้ก็ด้วยการหยิบยืมอำนาจของเสือมาใช้ทั้งสิ้น มิใช้ด้วยบารมีของตนเองแต่อย่างใด
เล่าถึงตรงนี้ ขุนนางเจียงอีว์จึงสรุปว่า ที่รัฐแดนเหนือกลัวแม่ทัพซีซู่ ก็เป็นเพราะกำลังทหารทั้งหมดของท่านอ๋องอยู่ในมือเขา หรือกล่าวได้ว่า ที่ผู้คนกลัวคือบารมีของท่านอ๋อง หาใช่ตัวตนของแม่ทัพซีซู่ไม่

นี่คือที่มาของสุภาษิต “狐假虎威”

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : ถอยให้ 90 ลี้ [退避三舍]

สุภาษิตจึน

退避三舍 [tuìbìsānshě] ถอยให้ 90 ลี้

春秋时候,晋献公听信谗言,杀了太子申生,又派人捉拿
申生的弟弟重耳。重耳闻讯,逃出了晋国,在外流忘十几年。
经过千幸万苦,重耳来到楚国。
楚成王认为重耳日后必有大作为,就以国群之礼相迎,待他如上宾。
一天,楚王设宴招待重耳,两人饮洒叙话,气氛十分融洽。
忽然楚王问重耳:“你若有一天回晋国当上国君,该怎么报答
我呢?”重耳略一思索说:“美女待从、珍宝丝绸,大王您有的
是,珍禽羽毛,象牙兽皮,更是楚地的盛产,晋国哪有什么珍
奇物品献给大王呢?”楚王说:“公子过谦了。话虽然这么说,
可总该对我有所表示吧?”重耳笑笑回答道:“要是托您的福。
果真能回国当政的话,我愿与贵国友好。

假如有一天,晋楚国之间发生战争,我一定命
令军队先退避三舍(一舍等于三十里),如果还不能得到您的
原谅,我再与您交战。”
四年后,重耳真的回到晋国当了国君,就是历史上有名的晋文公。
晋国在他的治理下日益强大。
公元前633年,楚国和晋国的军队在作战时相遇。晋文公
为了实现他许下的诺言,下令军队后退九十里,驻扎在城濮。
楚军见晋军后退,以为对方害怕了,马上追击。晋军利用楚军
骄傲轻敌的弱点,集中兵力,大破楚军,取得了城濮之战的胜利。
故事出自《左传•僖公二十二年》。

成语“退避三舍”比喻不与人相争或主动让步。


春秋 [chūnqiū] ยุคชุนชิว
时候 [shíhòu] ช่วงเวลา
听信 [tīngxìn] เชื่อว่า
谗言 [chányán] คำพูดที่ใส่ร้าย
太子 [tàizǐ] เจ้าชาย
捉拿 [zhuōná] จับ, จับกุม
弟弟 [dìdi] น้องชาย
耳闻 [ěrwén] ได้ยินว่า
外流 [wàiliú] ไหลออกนอก
经过 [jīngguò] ผ่าน
来到 [láidào] มาถึง
认为 [rènwéi] เข้าใจว่า
日后 [rìhòu] ในอนาคต
作为 [zuòwéi] การกระทำ
如上 [rúshàng] ดังกล่าวมา
一天 [yītiān] ทั้งวัน
设宴 [shèyàn] จัดงานเลี้ยงรืืนเริง
招待 [zhāodài] ต้อนรับ
气氛 [qìfēn] บรรยากาศ
十分 [shífēn] เต็มไปด้วย
融洽 [róngqià] ซึ่งกลมเกลียวกัน
忽然 [hūrán] ทันใดนั้น
国君 [guójūn] กษัตยิ์
报答 [bàodá] ตอบแทน
思索 [sīsuǒ] คิดหาคำตอบ
珍宝 [zhēnbǎo] เพชรนิลจินดา
丝绸 [sīchóu] ผ้าไหม
大王 [dàwáng] ราชา
有的是 [yǒudéshì] มีจำนวนมาก
羽毛 [yǔmáo] ขนนก
象牙 [xiàngyá] งาช้าง
盛产 [shèngchǎn] ผลิตมากมาย
珍奇 [zhēnqí] แปลกและล้ำค่า
物品 [wùpǐn] สิ่งของ
过谦 [guòqiān] ถ่อมตัวเกินไป
虽然 [suīrán] แม้ว่า
有所 [yǒusuǒ] ค่อนข้าง
表示 [biǎoshì] แสดงให้เห็น
回答 [huídá] ตอบ
果真 [guǒzhēn] จริงๆ
回国 [huíguó] กลับประเทศ
当政 [dāngzhèng] อยู่ในอำนาจ
友好 [yǒuhǎo] เพื่อนสนิท
假如 [jiǎrú] สมมติว่า
之间 [zhījiān] ตรงกลาง
发生 [fāshēng] เกิดขึ้น
战争 [zhànzhēng] สงคราม
一定 [yīdìng] แน่นอน
命令 [mìnglìng] คำสั่ง
军队 [jūnduì] กองกำลังทหาร, กองทัพ
退避三舍 [tuìbìsānshě] ถอย 90 ลี้ (เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา)
等于 [děngyú] เท่ากับ
如果 [rúguǒ] ถ้าหากว่า
不能 [bùnéng] ไม่สามารถ
得到 [dédào] ได้รับ
原谅 [yuánliàng] ให้อภัย
交战 [jiāozhàn] ทำสงครามกัน
真的 [zhēnde] จริงๆ, แท้จริง
历史 [lìshǐ] ประวัติศาสตร์
有名 [yǒumíng] มีชื่อเสียง
治理 [zhìlǐ] ปกครอง, บริหาร
日益 [rìyì] ดียิ่งขึ้นทุกๆวัน
强大 [qiángdà] ยิ่งใหญ่, เกรียงไกร
公元前 [gōngyuánqián] ก่อนคริสต์ศักราช
作战 [zuòzhàn] ทำสงครามกัน
相遇 [xiāngyù] พบ, เผชิญหน้า
为了 [wèile] เพื่อ
实现 [shíxiàn] เป็นจริง
诺言 [nuòyán] สัญญา
下令 [xiàlìng] ออกคำสั่ง
后退 [hòutuì] ถอดกลับ
驻扎 [zhùzhá] ตั้งมั่น
对方 [duìfāng] ฝ่ายตรงข้าม
害怕 [hàipà] กลัว
马上 [mǎshàng] ทันที
追击 [zhuījī] รุกไล่โจมตี
利用 [lìyòng] ประยุกต์ใช้
骄傲 [jiāo’ào] ความภาคภูมิใจ, หยิ่งผยอง
轻敌 [qīngdí] ประมาทข้าศึก
弱点 [ruòdiǎn] จุดอ่อน
集中 [jízhōng] รวมศูนย์
兵力 [bīnglì] กำลังทหาร
取得 [qǔdé] ได้รับ
胜利 [shènglì] ชัยชนะ
故事 [gùshi] เรื่องราว
出自 [chūzì] มาจาก
成语 [chéngyǔ] สุภาษิต
主动 [zhǔdòng] การเริ่มดำเนินการ
让步 [ràngbù] ยอมอ่อนข้อให้

สุภาษิตจีน : ต้นไม้ใบหญ้าล้วนเป็นกองทหารทั้งสิ้น [草木皆兵]

สุภาษิตจึน

草木皆兵 [cǎomùjiēbīng] 草木皆兵 [cǎomùjiēbīng] : ต้นไม้ใบหญ้าล้วนเป็นกองทหารทั้งสิ้น

草 [cǎo] หญ้า
木 [mù] ไม้
皆 [jiē] ทั้งหมด
兵 [bīng] ทหาร

คริสศตวรรษที่ 383 รัฐเฉียนฉิน (ฉินยุคก่อน) ภายใต้การปกครองของอ๋องฝูเจียนซึ่งควบรวมดินแดนทางตอนเหนือเกือบทั้งหมด ได้นำกองทัพทหารและม้าราว 9 แสนลงใต้เพื่อโจมตีรัฐตงจิ้น(จิ้นตะวันออก) อ๋องแห่งตงจิ้น แต่งตั้งเซี่ยสือและเซี่ยเสวียน 2 พี่น้องเป็นแม่ทัพ นำกำลังพลราว 8 หมื่นเข้าต้าน

อ๋องฝูเจียน เชื่อมั่นว่าทัพของตนต้องได้ชัยชนะอน่นอน เนื่องจากกองทัพจิ้นขณะนั้นทั้งอ่อนแอ และมีจำนวนทหารน้อยกว่ารัฐฉินมากนัก อ๋องฝูเจียนตั้งทัพอยู่ที่เมืองโซ่วหยัง (ปัจจุบันคือเมืองโซ่วในมณฑลอันฮุย) และได้ส่งคนผู้หนึ่ง นามว่าจูซี่ว์เดินทางไปยังรัฐจิ้นเพื่อส่งข่าวข่มขวัญแม่ทัพเซี่ยสือ

จูซี่ว์นั้นเดิมเป็นชาวตงจิ้น อดีตมีตำแหน่งถึงเจ้าเมืองนายทัพรักษาการเมืองโซ่วหยังซึ่งเป็นอดีตเชลยศึก ของเฉียนฉิน ปัจจุบันถูกชุบเลี้ยงเป็นขุนนางในพระราชสำนักในตำแหน่งอาลักษณ์ แต่ด้วยความภักดีต่อรัฐตงจิ้น ดังนั้นเมื่อเขาพบกับแม่ทัพเซี่ย และรายงานความตามที่อ๋องรัฐฉินสั่งมาเรียบร้อยแล้ว จึงแนะนำให้กองทัพจิ้น ถือโอกาสตอนที่กำลังหนุนของทัพฉินยังไม่มา เข้าจู่โจมเมืองลั่วเจี้ยนก่อน แม่ทัพเซี่ยเห็นด้วยจึงนำกองกำลังจู่โจม ผลคือได้ชัยชนะกลับมาทำให้กองทหารจิ้นคึกคักอักโข ดังนั้นจึงเดินทัพมาตั้งค่าย ณ อีกฝั่งของริมน้ำเฝยสุ่ย (ปัจจุบันคือแม่น้ำเฝย สาขาแม่น้ำหวยเหอทางภาคกลางของมณฑลอันฮุยในปัจจุบัน)

เมื่อฝูเจียนได้รับข่าวว่าทหารจิ้นชนะและมาตั้งค่าย ณ อีกฝั่งของริมน้ำเฝยสุ่ย ก็ตกใจมากและรีบขึ้นไปมองดูจากบนกำแพงเมือง เมื่อมองไปไกลๆ เห็นกองทหารจิ้น ตั้งค่ายอย่างเป็นระบบระเบียบ มั่มคงยิ่งนัก จนอ๋องฝูเจียนลอบชมเชยเบาๆ

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่ออ๋องรัฐฉินมองขึ้นไปยังยอดเขาปากงซาน คลับคล้ายว่าคลาคล่ำไปด้วยกองทหารจิ้นที่กำลังโบกสะบัดธงแห่งชัยชนะ ซึ่งหากเพ่งดูอย่างละเอียดนั่นเป็นเพียงต้นไม้ใบหญ้าที่กำลังไหวเอนไปมาไม่ มีทหารจิ้นแม้สักผู้เดียว แต่อ๋องฝูเจียนตาฝาด พลันเห็นเป็นกองทัพที่แสนจะเข้มแข็งและทรงพลานุภาพ จึงเกิดความตระหนกอย่างยิ่ง จนต้องกล่าวออกมาว่า
“นี่คือกองทัพอันยิ่งใหญ่ เหตุใดจึงกล่าวว่ากองทัพจิ้นอ่อนแอ?”

หลังจากนั้นไม่นาน อ๋องฝูเจียนก็สั่งกองทหารทำทีเป็นถอยทัพเพื่อให้กองทัพจิ้นข้ามมารบกันที่ ฝั่งน้ำด้านนี้ โดยวางแผนว่าเมื่อทหารจิ้นข้ามมาถึงกลางน้ำ ฝ่ายกองทัพฉินก็จะลงมือโจมตีทันที

แต่เนื่องจากทหารเฉียนฉินบางส่วนได้รับฟังคำกล่าวปากต่อปากว่าทหารจิ้นเข้ม แข็งยิ่งนักจึงเกิดความกลัว พอมีคำสั่งถอยทัพ ก็หันหลังวิ่งหนีไปจริงๆ ประกอบกับเมื่อทัพจิ้นยกข้ามมา จูซี่ว์ ได้ตะโกนว่า “ทัพฉินแพ้แล้วๆ” ทำให้กองทหารฉินที่อยู่เบื้องหลังเห็นเพียงแต่ทหารกองหน้าวิ่งหนีกลับเข้ามา และได้ยินคำกล่าวนั้นต่างปักใจเชื่อว่าเป็นจริงจึงวิ่งหนีเอาตัวรอดด้วย

ผลของการสู้รบรัฐเฉียนฉินจึงพ่ายแพ้ให้กับตงจิ้นอย่างราบคาบ

การศึกครั้งนี้ เป็นการศึกครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์จีน โดยเรียกว่า “เฝยสุ่ยจือจั้น” หรือ “การศึกที่แม่น้ำเฝย” เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการศึกที่ใช้คนน้อยชนะคนมาก คนอ่อนแอชนะคนเข้มแข็ง

ภายหลัง “เฉ่ามู่เจียปิง” หรือ เหมาว่าต้นไม้ใบหญ้าต่างเป็นทหารศัตรู ถูกนำมาเป็นสุภาษิต ใช้เปรียบเทียบกับอาการกลัวเกินกว่าเหตุ กลัวจนแทบไม่เป็นผู้เป็นคน

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : ธนูลับทำร้ายคน [暗箭伤人]

สุภาษิตจึน

暗箭伤人[ànjiànshāngrén] อ้านเจี้ยนซางเหริน(暗箭伤人) : ธนูลับทำร้ายคน

暗 [àn] แปลว่า มืด หรือ ไม่เปิดเผย
箭 [jiàn] แปลว่า ธนู
伤 [shān] แปลว่า ทำร้าย
人 [rén] แปลว่า คน

สมัยชุนชิว อ๋องรัฐเจิ้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐฉี และรัฐหลี่ว์ วางแผนที่จะทำสงครามกับรัฐสี่ว์ (รัฐสี่ว์เป็นรัฐเล็กๆ ปัจจุบันคือเมืองสี่ว์ชางในมณฑลเหอหนาน ส่วนรัฐเจิ้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐสี่ว์ )

ปีหนึ่งในช่วงฤดูร้อน เดือนห้า อ๋องเจิ้งทำการทดสอบความเข้มแข็งของกองทหาร โดยการให้มีการแข่งขันชิงรถม้า ระหว่างแม่ทัพเก่าแก่นามว่า หยิ่งซูเข่า กับแม่ทัพวัยหนุ่มนาม กงซุนจื่อตู ฝ่ายหยิ่งซู่เข่า แม้จะสูงวัยกว่า แต่เป็นแม่ทัพแกล้วกล้ามีกำลังเข้มแข็ง เมื่อมือจับรถม้าได้ก็วิ่งลากออกไปด้วยความรวดเร็ว ส่วนกงซุนจื่อตู ซึ่งปกติไม่เห็นผู้อื่นอยู่ในสายตา มีความมั่นใจในตัวเองสูง เห็นดังนั้นจึง รีบไล่ตาม แต่เมื่อไล่ตามมาถึงถนนใหญ่ หยิ่งซูเข่าก็ลับหายไม่ทิ้งร่องรอย ทำให้กงซุนจื่อตูแค้นใจเป็นอันมาก

เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง เดือนเจ็ด อ๋องเจิ้งมีคำสั่งให้ไปโจมตีรัฐสี่ว์ ทหารเจิ้งบุกตีเข้าไปจนถึงเมืองหลวงของรัฐสี่ว์ หยิ่งซูเข่ารบด้วยความกล้าหาญ วิ่งนำกองทัพปีนขึ้นกำแพงเมืองเป็นคนแรก กงซุนจื่อตูเห็นดังนั้นแล้วก็คิดอิจฉาความเข้มแข็งของหยิ่งซูเข่าประกอบกับ ความแค้นเรื่องชิงรถมาที่ผ่านมา เขาจึงอาศัยช่วงชุลมุนลอบยิงธนูใส่แม่ทัพอาวุโสจนถึงแก่ความตาย
เนื่องจากความชุลมุนในสงคราม ทำให้แม่ทัพ และทหารเจิ้งต่างพากันคิดว่าแม่ทัพหยิ่งซูเข่าโดนทหารรัฐสี่ว์ฆ่าตาย จึงเกิดเพลิงแค้นบุกตีเมืองหลวงสี่ว์จนราบคาบ ทำให้อ๋องรัฐสี่ว์หนีตายไปหลบยังรัฐเว่ย

เหตุการณ์ “ใช้ธนูลอบทำร้ายคน” ภายหลังได้มีการนำมาเป็นคำเปรียบเทียบกับแผนการ หรือพฤติกรรมลอบทำร้ายผู้อื่น
sugarcane 发表于 2008-5-10 12:33

五十步笑百步(泰语)
อู่สือปู้เสี้ยวไป่ปู้ (五十步笑百步) : วิ่ง 50 ก้าวหัวเราะเยาะวิ่ง 100 ก้าว

ครั้งหนึ่งในสมัยสงครามระหว่างรัฐ(战国 : จั้นกั๋ว) ปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง เมิ่งจื่อ(孟子) ได้เข้าสนทนากับ อ๋องเหลียงฮุ่ย(梁惠王) แห่งรัฐเว่ย(魏国)

อ๋องเหลียงฮุ่ยมีปัญหาที่คิดไม่ตรง จึงตรัสถามเมิ่งจื่อว่า
“เราทุ่มเทแรงกายแรงใจปกครองแผ่นดิน ดูแลราษฎรเป็นอย่างดี คราวหนึ่งราษฎรด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเกิดอัคคีภัย เราก็สั่งอพยพผู้คนไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แล้วยังแจกข้าวสารอาหารแห้งแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งถ้าราษฎรด้านตะวันออกของแม่น้ำเกิดภัย เราก็จะกระทำเยี่ยงนี้เช่นกัน ส่วนรัฐเพื่อนบ้านอื่นๆ ไม่เห็นอ๋องรัฐใดทุ่มเทแรงใจปกครองแผ่นดินเช่นที่เรา แล้วทำไมราษฎรของรัฐอื่นก็ยังมากเท่าเดิมไม่เคยลดน้อยลง ขณะเดียวกับทำไมราษฎรของรัฐเราก็กลับมีจำนวนน้อยเท่าเดิม ไม่เพิ่มขึ้นเลย ทั้งๆที่เราพยายามดูแลอย่างดี นั่นเป็นเพราะเหตุใด”

เมิ่งจื่อกล่าวตอบว่า
“เนื่องด้วยท่านอ๋องชอบทำสงคราม ดังนั้นโปรดให้ข้าพเจ้าเปรียบเปรยเรื่องนี้กับการทำสงครามเถิด…

ในสงคราม ย่อมมีทหารที่รักตัวกลัวตาย หากทหารเหล่านั้นกำลังวิ่งหนีทหารทัพข้าศึก โดยผู้ที่วิ่งหนีบางคนวิ่งเร็ว วิ่งไปได้ 100 ก้าว บางคนวิ่งช้าวิ่งไปได้เพียง 50 ก้าว แต่คนที่วิ่งไปได้เพียง 50 ก้าวกลับหัวเราะเยาะคนวิ่ง 100 ก้าวว่าเป็นคนรักตัวกลัวตายกว่า ทั้งๆ ที่จุดประสงค์ของการวิ่งก็คือหลบหนี เช่นกัน แถมตนเองยังวิ่งช้ากว่าด้วยซ้ำไป เช่นนี้ท่านอ๋องคิดว่าถูกต้องหรือไม่”

อ๋องเหลียงฮุ่ยตรัสตอบทันทีว่า
“นั่นย่อมไม่ถูกต้อง เพราะไม่ว่าจะวิ่งไปได้กี่ก้าวก็ถือว่าจิตใจขลาดเขลา ต้องการหลบหนีเช่นกัน ยอมมีความผิดทั้งคู่”

เมิ่งจื่อได้ยินเช่นนั้นจึงกล่าวว่า
“ในเมื่อท่านอ๋องเข้าในเหตุผลข้อนี้ ก็ย่อมที่จะเข้าใจว่า ทำไมราษฎรของรัฐอื่นก็ยังมากเท่าเดิมไม่เคยลดน้อยลง ขณะเดียวกับทำไมราษฎรของท่านก็กลับมีจำนวนน้อยเท่าเดิม ไม่เพิ่มขึ้นเลย นั่นเพราะ แม้ว่าท่านจะดูแลประชากรดีกว่ารัฐใกล้เคียงอยู่บ้าง แต่ท่านก็ชื่นชมการทำสงครามเช่นเดียวกับอ๋องรัฐอื่นๆ ซึ่งไม่ว่าที่ใด การสงครามย่อมทำให้ผู้คนลำบากยากแค้น ฉะนั้นราษฏรของท่านและราษฏรรัฐอื่นย่อมประสบชะตากรรมเดียวกัน ท่านเองย่อมมีส่วนบกพร่องเช่นเดียวกับอ๋องรัฐเพื่อนบ้าน ” 

ปัจจุบันสุภาษิต “อู่สือปู้เสี้ยวไป่ปู้(五十步笑百步)” หรือ วิ่ง 50 ก้าวหัวเราะเยาะวิ่ง 100 ก้าว หมายถึงผู้ที่มีความผิดหรือข้อบกพร่องเช่นเดียวกับผู้อื่นแม้ว่าจะเบากว่า เล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรหัวเราะเยาะหรือประนามผู้อื่นเพราะถึงอย่างไรตนเองก็ผิดหรือมี ข้อบกพร่องเช่นเดียวกัน

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : สุราเปรี้ยวขายไม่ออก [酒酸不售]

สุภาษิตจึน

酒酸不售 [jiǔsuānbúshòu] จิ่ว ซวน ปู๋ โซ่ว(酒酸不售) : สุราเปรี้ยวขายไม่ออก

จากบันทึกในหนังสือ “หานเฟยจื่อ ไว่ฉู่ซัวโย่วซั่ง”

รัฐซ่ง มีคนผู้หนึ่งขายสุรา ค้าขายอย่างยุติธรรม ทั้งยังต้อนรับขับสู้ลูกค้าด้วยมารยาทอันดียิ่ง หนำซ้ำสุราที่นี่ก็รสชาติยอดเยี่ยม ดีกรีสูง ทว่ากิจการการค้าของเขากลับไม่ดีนัก สุราขายไม่ออก นานวันเข้าสุราเก่าเก็บก็มีรสเปรี้ยวหมดทั้งสิ้น

คนผู้นี้ขบคิดไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะเหตุใดสุราจึงขายไม่ออก จึงได้เชิญ หยังเชี่ยน ซึ่งเป็นผู้อาวุโสในหมู่บ้านมาปรึกษา

ผู้เฒ่าแซ่หยังบอกว่า “สุนัขบ้านเจ้าดุเกินไป” คนขายสุราได้ฟังก็งุนงงมากขึ้น และถามกลับว่า “สุนัขดุ เกี่ยวอะไรกับขายสุราไม่ออกหรือ?” ผู้เฒ่าหยังตอบว่า “สุนัขดุ ลูกค้าย่อมกลัวจนไม่อยากเข้าร้าน เพราะบางคนก็ใช้เด็กน้อยกำเงิน หิ้วไห เพื่อมาซื้อสุรา มาเจอสุนัขดุกระโจนเข้าใส่เช่นนี้ ทุกคนต่างพากันเข็ดขยาด แบบนี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สุราที่นี่ไม่มีคนซื้อจนเปรี้ยวไปหมดแล้ว”

จากเรื่องเล่าข้างต้น ร้านสุราเปรียบได้กับประเทศ มีผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม มีแนวทางในการปกครองประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองพร้อมที่จะกราบทูลฮ่องเต้ แต่น่าเสียดายที่ข้างกายฮ่องเต้รายล้อมไปด้วยขุนนางโฉด ที่เปรียบดังสุนัขดุพร้อมจะขย้ำหากใครแหยมเข้าไป ทำให้บ้านเมืองขาดคนดีมีความสามารถเข้ามาช่วยพัฒนา

สุราขายไม่ออกจนรสชาติเปลี่ยนเป็นเปรี้ยว เดิมทีใช้เปรียบเทียบกับ ขุนนางโฉดที่พยายามเท็จทูลความเท็จต่อฮ่องเต้ เพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้มีความรู้มีคุณธรรมมาทำงานให้บ้านเมือง ภายหลังใช้เปรียบเทียบกับการหมดหนทางค้าขาย หรือการทำงานใดๆ ที่ใช้คนไม่เหมาะสมกับงาน

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html