คลิปวีดีโอท่องเที่ยว ดอยกากผี (แหล่งท่องเที่ยวใกล้ดอยวาวี)
เรียนจีนบนดอย แต่คุณภาพระดับพื้นราบ
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ เอกรัตน์ บรรเลง
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( ตุลาคม 2552)
“เหล่าซือห่าว…”
เสียงเจื้อยแจ้วลอยคละเคล้ากับสายหมอกยามเช้าบนยอดดอยวาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นเหมือนเสียงนาฬิกาปลุก ที่คนพื้นถิ่นคุ้นเคยมานานกว่า 50 ปี
โดยเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ที่ลูกหลานสมาชิกกองพล 93 แห่งก๊กมินตั๋งในอดีต จะตื่นกันตั้งแต่เช้าตรู่ก่อน 05.30 น. เพื่อเข้าเรียนภาษาจีนที่โรงเรียนกวงฟูวิทยาคม โรงเรียนสอนภาษาจีนที่ก่อตั้งมานานเกือบ 60 ปี บนพื้นที่เชิงเขาสูงของดอยวาวีแห่งนี้
พวกเขาและเธอเหล่านี้สมัครใจที่จะเข้ามาเรียนภาษาจีนที่นี่จนถึง 6.50 น. ก่อนจะกลับไปเปลี่ยนชุดนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนสามัญตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการในเวลา 08.00-16.00 น. และกลับมาที่โรงเรียนกวงฟูอีกรอบในเวลา 17.30-20.30 น.
ส่วนวันเสาร์ เด็กๆ เหล่านี้จะงดกิจกรรมเที่ยวเล่นเพื่อเข้าห้องเรียนภาษาจีน ตั้งแต่ 08.00-15.00 น.
ทำให้รอบสัปดาห์ เด็กนักเรียนบนดอยวาวีจะมีเวลาเที่ยวเล่น-ทำกิจกรรมเหมือนเด็กทั่วไป เฉพาะวันอาทิตย์วันเดียวเท่านั้น
อำนวย ภักดีไพศาล หรือเหยิน เซียะ ชิง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกวงฟูวิทยาคม ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย บอกกับผู้จัดการ 360 ํ ว่าลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนบนดอยวาวี จะถูกส่งมาเรียนภาษาจีนที่นี่ บางส่วนก็จะมีชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่เริ่มเห็นความสำคัญของภาษาจีนมาร่วมเรียนด้วย
โรงเรียนกวงฟูวิทยาคมเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวง ศึกษาธิการ อยู่ในกำกับของ สพท.เขต 2 เชียงราย เปิดสอนภาษาจีนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของไต้หวันทั้งหมด
เป็น 1 ใน 100 กว่าโรงเรียนสอนภาษาจีนในภาคเหนือตอนบน ที่เครือข่ายกองพล 93 ในอดีตก่อตั้งขึ้นตามถิ่นฐานที่อยู่ และได้รับอนุญาตจากทางการไทย โดยในเขตเชียงรายมีอยู่ 62 โรง, เชียงใหม่ 36 โรง และแม่ฮ่องสอน อีก 5-6 โรงเรียน
แต่ละปีกระทรวงศึกษาธิการของไต้หวันจะให้การสนับสนุนเรื่องหนังสือ-ตำรา เรียนภาษาจีนให้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีเงินทุนจากองค์กรการกุศลต่างๆ อีกไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท เข้ามาช่วยอีกทางหนึ่ง เนื่องจากโรงเรียนสอนภาษาจีนเหล่านี้ไม่ได้รับงบประมาณรายหัวจากกระทรวง ศึกษาธิการของไทย ทำให้โรงเรียนเหล่านี้ต้องอาศัยเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ เพื่อให้สามารถจัดเก็บค่าเล่าเรียนได้ในราคาต่ำ เฉลี่ยปีละประมาณ 1-3 พันบาทต่อคน
โดยโรงเรียนสอนภาษาจีนในเครือข่ายกองพล 93 ที่รับการสนับสนุนจากไต้หวันเหล่านี้ ก็จะใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของไต้หวัน ที่เรียนภาษาจีนกลางตามแบบอักษรเต็ม
ที่มีมากกว่า 30,000 ตัว แตกต่างจากการเรียนภาษาจีนตามแบบแผ่นดินใหญ่ หรือปักกิ่ง ที่ปัจจุบันจะใช้ตัวย่อประมาณ 2,300 กว่าตัวเข้ามาใช้
เหยิน เซียะซิง ย้ำว่าการเรียนภาษาจีนตามแบบอักษรดั้งเดิม หรือเต็มรูปแบบจะทำให้สามารถอ่านตัวย่อของจีนแผ่นดินใหญ่ได้ด้วย นอกจากนี้อักษรตัวเต็มยังมีพลัง และถ่ายทอดศิลปะที่สืบทอดกันมานานหลายพันปีได้ดีกว่าด้วย
เฉพาะสำหรับโรงเรียนกวงฟูฯ ดูเหมือนจะพัฒนาไปได้เร็วกว่าโรงเรียนสอนภาษาจีนในเครือข่ายกองพล 93 อื่นๆ เมื่อได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณเพิ่มเติมจากมูลนิธิมหาโพธิ์ ที่มีพระอาจารย์ปัญญาแห่งสภาสงฆ์จีนโลก ซึ่งได้รับสัญชาติไทยแล้ว
ทำให้กวงฟูฯ สามารถขยับขยายจากอาคารที่เป็นกระต๊อบ มุงจาก จนซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองได้ สร้างอาคารถาวรเต็มพื้นที่เชิงเขาติดชุมชนวาวี และเข้าเงื่อนไขขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนที่จะยื่นขอ Work Permit ให้กับครูอาสาจากไต้หวัน มาสอนที่โรงเรียนได้โดยตรง เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนในสังกัดได้
จนถึงปัจจุบันโรงเรียนกวงฟูวิทยาคมมีนักเรียนมากกว่า 2 พันคน มีครูทั้งที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน-ครูอาสาจากไต้หวัน รวม 40 กว่าคน
ไม่เพียงเท่านั้นกวงฟูวิทยาคม ยังเปิดหลักสูตรเรียนภาษาจีนภาคฤดูร้อน รองรับกระแสความต้องการเรียนภาษาจีนในไทยที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1-30 เมษายนของทุกปี โดยเปิดสอนภาษาให้กับคนทั่วไป ในราคาคนละ 8,000 บาท (รวมค่าที่พัก-อาหาร)
อำนวยรับรองว่า 1 เดือนเต็มนี้ โรงเรียนสามารถสอนให้ผู้เรียนพูด อ่าน เขียนภาษาจีนได้อย่างแน่นอน โดยตลอดทั้งวันทั้งคืนของวันจันทร์-เสาร์ จะพูดกันแต่ภาษาจีน ส่วนวันอาทิตย์ โรงเรียนจะจัดโปรแกรมทัศนศึกษานอกสถานที่ให้
“6 ปีที่เปิดคอร์สภาคฤดูร้อน มีผู้สนใจมาเรียนจากทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากภูเก็ต กรุงเทพฯ ขอนแก่น ฯลฯ บางคนมีอายุ 70 กว่าปีก็เข้ามาเรียน เพื่อนำกลับไปใช้ติดต่อค้าขายกับชาวจีนที่มีอยู่ทั่วโลก”
แตกต่างจากโรงเรียนสอนภาษาจีนเครือข่ายกองพล 93 อื่นๆ เช่น โรงเรียนซิงหัว ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง ที่มีหยาง เผิงเสี้ยว หรือสมพงษ์ ชีวินวนตระกูล เป็นอาจารย์ใหญ่
หยาง เผิงเสี้ยว บอกกับผู้จัดการ 360 ํ ผ่านชิง เหวินฉุ่ย (วรรณา แซ่จัง) ที่มาทำหน้าที่ล่าม ว่าซิงหัวก่อตั้งมาแล้ว 45 ปี โดยนายพลต้วน ซีเหวิน บนที่ดินส่วนหนึ่งของสุสานชาวจีนบนดอยแม่สลอง เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนเรียนรู้ภาษาบรรพบุรุษ จะได้ติดต่อสื่อสารกันได้
ซึ่งยุคแรกก็เป็นเหมือนโรงเรียนสอนภาษาจีนทุกแห่งในไทยที่ถูกกดดันจาก เจ้าหน้าที่รัฐ จนหลายครั้งต้องหลบไปสอนกันในศาลเจ้า วัด หรือมัสยิด ฯลฯ
แต่หลังจากลูกหลานกองพล 93 ได้รับการช่วยเหลือจากเครือข่ายก๊กมินตั๋งในต้หวัน ทั้งด้านการศึกษาต่อในไต้หวัน และงบประมาณสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อปี 2521 (ค.ศ.1978) ทำให้โรงเรียนสอนภาษาจีนพลิกฟื้นสถานะขึ้นมาได้มากขึ้น
นอกจากนี้บรรดาศิษย์เก่าที่เข้าไปมีบทบาททางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ต่างก็กลับมาให้การสนับสนุน ทั้งนายกสมาคมหยุนหนัน-ไทย และอดีตนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ ที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนซิงหัวกับเขา เป็นต้น ทำให้แต่ละโรงเรียนเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาจีนให้ดียิ่งขึ้น โดยในปี 2525 เคยมีนักเรียนมากที่สุดถึง 1,500 คน
ส่วนวรรณาที่เป็นล่าม เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนซิงหัวคนหนึ่ง ที่ได้แสดงความสามารถด้านภาษาจีนจนเรียนจบมหาวิทยาลัยรามคำแหง เอกภาษาจีนได้ภายใน 2 ปีครึ่ง
ปัจจุบันโรงเรียนซิงหัว มีนักเรียน 550 คน เรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีครูเพียง 12 คน ทั้งที่จริงต้องมีไม่น้อยกว่า 18 คน แถมปีที่แล้วโรงเรียนซิงหัวยังต้องเสียครูสอนภาษาจีนจากพม่าและอื่นๆ ถึง 4 คน ด้วยปัจจัยหลายอย่างทั้งเรื่องที่พัก-ใบอนุญาตทำงาน รวมถึงแหล่งจ้างงานที่อื่นที่ดีกว่า
อำนวย ภักดีไพศาล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกวงฟูวิทยาคม และสมพงษ์ ชีวินวนตระกูล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนซิงหัว บอกในทำนองเดียวกันว่า จีนแผ่นดินใหญ่เคยส่งเจ้าหน้าที่มาหารือหลายครั้ง พร้อมกับยื่นข้อเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งเรื่องทุน-อุปกรณ์การเรียน การสอน-หนังสือ แก่โรงเรียนในเครือข่าย 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน จำนวน 100 กว่าโรง ภายใต้เงื่อนไขให้ใช้หลักสูตรของจีนแผ่นดินใหญ่
“เราปฏิเสธไป เพราะใช้หลักสูตรไต้หวันสอนมานานแล้ว”
อย่างไรก็ตาม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสอนภาษาจีนทั้ง 2 แห่งสะท้อนความเป็นไปของการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ขณะนี้ ถือว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มีโรงเรียนสอนภาษาจีนมากกว่า 2,000 โรง รวมถึงบราซิล กลุ่มประเทศแอฟริกาใต้ และเกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ ที่นิยมเรียนภาษาจีนกันมากขึ้น ขณะที่ไทยทั้งประเทศขณะนี้มีอยู่ 500 กว่าโรงเท่านั้น
“ตอนประชุมตัวแทนโรงเรียนจีนทั่วโลกที่ไทเปไม่กี่ปีก่อน ผมต้องยกมือหลายครั้งกว่าจะได้สิทธิ์แสดงความเห็น เพราะไม่ทันตัวแทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่เดินทางมาร่วมประชุมกันหลายพันคน” เหยิน เซียะซิง หรืออำนวย แห่งโรงเรียนกวงฟูฯ กล่าว
เหยิน เซียะ ซิง ย้ำว่า ตอนนี้รัฐบาลไทยต้องการสนับสนุนให้มีการเรียนภาษาจีนมากขึ้น แต่ดูเหมือนจะช้าไป เมื่อเทียบกับกระแสความตื่นตัวเรื่องนี้ในหลายประเทศทั่วโลก
การเรียนพิเศษภาษาจีนกลางภาคฤดูร้อน-หนาว
เนื่องจากทางโรงเรียนได้เห็นความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญกับภาษาจีน
จึง ได้จัดการสอนพิเศษภาคฤดูร้อน-หนาวขึ้น หลักสูตรที่ทำการสอนเป็นหลักสูตรจีนกลางไต้หวัน(ภาษาจีนตัวเต็ม) ในวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ เมษายน ของทุกปี และ
ภาคฤดูหนาว ในวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ ตุลาคม ของทุกปี
รับสมัครนักเรียนที่มีอายุ ๑๐ ปีขึ้นไป และจัดสอนตามความตามระดับของแต่ละบุคคล
ทั้งบุคคลที่ไม่มีพื้นฐาน บุคคลที่มีพื้นฐาน บุคคลที่เคยเรียนมาก่อน
วิชาที่เปิดสอนในภาคฤดูร้อน-หนาวมีดังนี้ :
1.สนทนาภาษาจีนกลาง การออกเสียงภาษาจีนกลาง
2.สุภาษิตจีน
3.กลอนสุภาพจีน
4.การเขียนภาษาจีน
5.การร้องเพลงภาษาจีน
เนื่องจากนักเรียน นักศึกษาที่เข้าเรียนมีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน
ทางโรงเรียนจึงได้เปิดสอนเป็นระดับที่ต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ดังนี้
高級班 ระดับสูง
1、 五百字說華語 สนทนาภาษาจีนกลาง๕๐๐คำ
2、 注音(拼音)จู้ยิน(พินยิน)
3、 成語(謎語、諺語)สุภาษิตจีน
4、 唐詩 กลอนสุภาพจีน
5、 華語(閱讀、造句、日記)ภาษาจีนกลาง(การอ่าน แต่งประโยค บันทึกประจำวัน)
6、 歌唱 ร้องเพลงจีน
7、 戶外教學 กิจกรรมการเรียนนอกห้องเรียน
中級班 ระดับกลาง
1、五百字說華語 สนทนาภาษาจีนกลาง๕๐๐คำ
2、 注音(拼音)จู้ยิน(พินยิน)
3、 成語(謎語、諺語)สุภาษิตจีน
4、 唐詩 กลอนสุภาพจีน
5、 華語(閱讀、筆順、造句)ภาษาจีนกลาง(การอ่าน แต่งประโยค บันทึกประจำวัน)
6、 歌唱 ร้องเพลงจีน
7、 戶外教學 กิจกรรมการเรียนนอกห้องเรียน
初級班 ระดับต้น
1、五百字說華語 สนทนาภาษาจีนกลาง๕๐๐คำ
2、 注音(拼音)จู้ยิน(พินยิน)
3、 日常用語 สุภาษิตจีน
4、 華語(閱讀、筆順、造句)ภาษาจีนกลาง(การอ่าน แต่งประโยค บันทึกประจำวัน)
5、 歌唱 ร้องเพลงจีน
6、 戶外教學 กิจกรรมการเรียนนอกห้องเรียน
7、 唐詩 กลอนสุภาพจีน
เวลาเรียน
จันทร์-เสาร์ 9.00 น. – 16.00 น.
วันเสาร์ 19.00 น. มีกิจกรรมให้นักเรียนสรุปและนำเสนอผลการเรียนรู้
วันอาทิตย์ กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน ทางโรงเรียนจะนำนักเรียนไป
ทัศนศึกษาตามสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวจ.เชียงราย
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 8,000 บาท
– หอพักพิเศษรวม 2 คน 3 คน 4 คน มีห้องน้ำในตัวพร้อมเครื่องทำน้ำอู่น
– มีอาหาร 3 มื้อ
สนใจติดต่อ :
ที่อยู่:No 53 Moo1 BanWawee Maesuey Chiangrai Thailand
หมายเลขโทรศัพท์:084-8052137 , 089-6361236
(อาจารย์อำนวย ภักดีไพศาล ผู้อำนวนการโรงเรียนกวงฟูวิทยาคม)
Fax:053-760124
สมัครเรียนภาษาจีน เดือน เมษายน 2556 สนทนาภาษาจีนกลาง 500 คำ
จะต้องส่งใบสมัครที่ไหนอย่างไรขอคำแนะนำด้วยค่ะ
ด้วยความเคารพ อย่างสูงค่ะ
เข้าดูรายเอียดตามลิงค์นี้ครับ
https://khung-fu.blogspot.com/2009/11/blog-post_24.html