Category Archives: ไวยากรณ์ภาษาจีน 语法

การใช้ “只是”、”不过”、”可是”、”但是” และ “然而”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“只是”、”不过”、”可是”、”但是” และ “然而” ทั้งหมด เป็นคำสันธาน (连词)

ใช้เชื่อมข้อความ (ประโยคย่อย, อนุประโยค) ที่มีความสัมพันธ์แบบ 转折 (หมายถึงข้อความ (ประโยค) ส่วนหน้า และส่วนหลัง มีความสัมพันธ์แบบหักมุม, ตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกัน)

ข้อแตกต่าง และวิธีการใช้คำสันธานเหล่านี้ คือ

1. ในแง่น้ำหนัก (ความหนักเบา) ของความหมายของความสัมพันธ์แบบ 转折

  • “只是”、”不过” — สื่อ หรือบอกความหมายของความสัมพันธ์แบบ 转折 น้อย (เบา)
  • ส่วน “可是”、”但是”、”然而” — สื่อ หรือบอกความหมายของความสัมพันธ์แบบ 转折 มาก (หนัก หรือชัดเจน) โดยเฉพาะ “然而” สื่อความหมายของความสัมพันธ์แบบ 转折 มาก (หนัก) ที่สุด

ถ้าเรียงลำดับน้ำหนัก (ความหนักเบา) ของ (ความหมายของ) ความสัมพันธ์แบบ 转折 จากมาก (หนัก) ไปหาน้อย (เบา) จะเป็น ดังนี้

  • 然而 > 但是 > 可是 > 不过 > 只是

2. ในแง่การใช้งาน “只是”、”可是” มักใช้ในภาษาพูด “不过”、”但是” ใช้ทั้งในภาษาพูด และภาษาเขียน ส่วน “然而” เป็นภาษาจีนโบราณ (文言) ใช้ในภาษาเขียนเป็นหลัก

3. “只是” ใช้เสริมความ, ขยายความ หรืออธิบายข้อความ (หรือประโยค) ที่อยู่ข้างหน้า ส่วน “不过” ใช้เสริมความ, ขยายความในบางกรณีได้ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น

  • 我早想来你这儿看看,只是没有时间。(เสริมความ)
  • 老师很欣赏你的才干,不过他还是希望你在下面多锻炼锻炼。(เสริมความ)

ส่วน “可是”、”但是”、”然而” สื่อ หรือบอกความขัดแย้ง, ตรงกันข้ามของข้อความ (ประโยค) ส่วนหน้า และส่วนหลัง (ดังนั้น) ความสำคัญ หรือสาระที่ (ผู้พูด) ต้องการสื่อจะอยู่ที่ข้อความ หรือประโยคหลัง เช่น

  • 这菜看上去不怎么样,可是吃起来却挺不错。(บอกความขัดแย้ง, ตรงกันข้าม)
  • 她的声音虽然不大,但是却很坚决。(บอกความขัดแย้ง, ตรงกันข้าม)
  • 试验多次被迫停止,然而他们并不灰心。(บอกความขัดแย้ง, ตรงกันข้าม)

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเป็นการเสริมความ, ขยายความ หรืออธิบายข้อความ (หรือประโยค) จะใช้ “可是”、”但是”、”然而” ไม่ได้

และถ้าเป็นการสื่อ หรือบอกความขัดแย้ง หรือตรงกันข้ามกัน (ของข้อความ หรือประโยคส่วนหน้า และส่วนหลัง) จะใช้ “只是” ไม่ได้ (ดูตัวอย่างข้างบน)

4. คำที่ใช้ร่วมกัน (เข้าคู่กัน)

เมื่อใช้ “只是”、”不过” น้ำเสียงที่สื่อออกมาจะเบา, ไม่ชัดเจนตรงไปตรงมา (เป็นการสื่ออย่างอ้อมๆ หรือนุ่มนวล) ดังนั้น จะไม่ใช้ร่วมกับ “虽然” และ “却” (ข้อความ หรือประโยคส่วนหน้าจะไม่ใช้ “虽然” และประโยคส่วนหลังจะไม่ใช้ “却”) เช่น

  • 我其实很想去看看那个展览,只是太忙。
  • 她的脾气一向很大,不过现在好多了。

ส่วน “可是”、”但是” น้ำเสียงที่สื่อออกมาจะหนัก, ชัดเจน, ตรงไปตรงมา ดังนั้น มักจะใช้ร่วมกับ “虽然” และ “却” หรือ “还” เช่น

  • 他虽然很忙,可是还是抽出时间来医院看你。
  • 实验虽然被迫停止,但是他并没有停止研究。

ส่วน “然而” ถึงแม้น้ำเสียงจะสื่อความสัมพันธ์แบบ 转折 ชัดเจน แต่ (โดยทั่วไป) จะไม่ใช้ร่วมกับ “虽然” เช่น

  • 条件确实很差,然而没有一个被它吓倒。

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“点儿” กับ “些” จำนวนไหนมากกว่า จำนวนไหนน้อยกว่า

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“点儿” กับ “些” เป็นคำลักษณนาม (量词) ทั้งคู่ ทั้งสองคำ หมายถึงจำนวนที่ไม่แน่นอน “จำนวนหนึ่ง”

ระหว่าง “点儿” กับ “些” ในแง่จำนวน “点儿” จะมีจำนวนน้อยกว่า “些” เช่น

  • 去商店买了点儿吃的。
  • 去商店买了些吃的。
  • 我还有点儿事要跟你商量呢。
  • 我还有些事要跟你商量呢。

“点儿” กับ “些” เมื่อใช้ร่วมกับ “这/那” หรือ “这么/那么” จะกลายเป็นคำสรรพนามชี้เฉพาะ ความหมายของทั้ง 2 คำนี้จะแตกต่างกัน คือ

1.ในด้านความหมาย

1.1 “这些/那些” หมายถึง “จำนวนหนึ่ง” (มากกว่าหนึ่ง แต่ไม่ระบุจำนวนที่แน่นอน) แต่ไม่ได้สื่อ หรือบอกว่าเป็นจำนวน “มาก” หรือ “น้อย” เช่น

  • 这些礼物是送给谁的?
  • 把那些书发给大家。

1.2 “这点儿/那点儿”นอกจากหมายถึงจำนวนน้อยแล้ว ยังเป็นการเน้นจำนวนที่ “น้อยมาก” อีกด้วย เช่น

  • 这点儿饭够谁吃呀?
  • 那点儿活一会儿就干完了。

1.3 “这么些/那么些” ใช้เมื่อผู้พูดต้องการเน้นจำนวนที่ “มาก” เช่น

  • 这么小的车哪儿能坐下这么些人啊?
  • 今天要洗那么些衣服啊。

1.4 “这么点儿/那么点儿” ใช้เมื่อผู้พูดต้องการเน้นจำนวนที่ “น้อยมากๆ” เช่น

  • 这么点儿作业也嫌多,还想不想学了?
  • 怎么就来了那点儿人啊,不是说有十几个人吗?

2.ในด้านการใช้งาน หรือไวยากรณ์

2.1 “点儿” กับ “些” เมื่อวางหลังคำคุณศัพท์ (形容词) หรือคำกริยา (บางคำ) (动词) จะทำหน้าที่เป็นบทเสริม หรือ 补语 หมายถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง (แล้วแต่กรณี) กรณีนี้ “点儿” กับ “些” สามารถใช้แทนกันได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกัน “些” จะมีความหมาย “หยาบ” กว่า “点儿” เล็กน้อย (หมายถึง “些” ให้ความรู้สึกไม่ชัดเจนเท่า “点儿”) เช่น

  • 贵了点儿/贵了些
  • 高兴点儿/高兴些
  • 放松点儿/放松些
  • 注意点儿/注意些

2.2 หน้า “点儿” สามารถมี “一”、“半” อยู่ได้ หรืออยู่ในรูป “一点儿”、“半点儿” โดยจะใช้ในรูปปฏิเสธ เป็นการเน้นการปฏิเสธทั้งหมด เช่น

  • 爸爸最近忙不过来,一点儿时间也没有。
  • 你怎么半点儿信心也没有?

2.3 “点儿” สามารถใช้ในรูปซ้อนคำ และข้างหน้ามี “一” หรืออยู่ในรูป “一点点儿” หมายถึงจำนวนน้อยมากๆ ได้ด้วย เช่น

  • 就这么一点点儿东西,够我们吃吗?
  • 我只会一点点儿汉语。

2.4 หน้า “些” สามารถมีคำ เช่น “好”、“老” อยู่ได้ หรืออยู่ในรูป “好些”、“老些” หมายถึงจำนวนมาก หรือ “多” นั่นเอง เช่น

  • 外面来了好些人。
  • 吃了好些东西。

2.5 นอกจากนั้น “些” ยังสามารถวางหลัง “某” โดยทำหน้าที่เป็นบทขยายนาม หรือ 定语 ได้ด้วย หมายถึงจำนวนที่ไม่ระบุชัดแน่นอน เช่น

  • 某些公司 (บริษัทบางแห่ง)
  • 某些地区 (บางพื้นที่, พื้นที่บางแห่ง)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “一点儿” กับ “有点儿”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ลองมาเปรียบเทียบการใช้ “一点儿” กับ “有点儿” กันดู

1.“一点儿” ประกอบด้วย จำนวน หรือเลข (数词) “一” + ลักษณนาม (量词) “点儿” อยู่ในรูปโครงสร้าง “一” + “ 点儿” หมายถึง “จำนวนที่ไม่แน่นอน (จำนวนหนึ่ง)” (หรือ “(จำนวน) นิดหน่อย”, “เล็กน้อย” ก็ได้) ใช้ขยายคน หรือสิ่งของ หรือเป็น 定语 นั่นเอง เช่น

  • 买一点儿水果。 (ซื้อผลไม้นิดหน่อย — จำนวนหนึ่ง)
  • 学一点儿汉语。 (เรียนภาษาจีนกลางนิดหน่อย)
  • 做一点儿吃的。 (ทำอะไรกินเล็กน้อย)

ส่วน “有点儿”เป็นกริยาวิเศษณ์ (副词) หมายถึง “เล็กน้อย” (稍微) ใช้ขยายคน หรือสิ่งของไม่ได้ แต่ใช้ขยายคำคุณศัพท์ หรือคำกริยา ที่เรียกว่า 状语 นั่นเอง เช่น

  • 有点儿高兴。 (ดีใจนิดหน่อย)
  • 有点儿生气。 (โกรธเล็กน้อย)

2.“一点儿” มักวางหลังคำคุณศัพท์ จะอยู่ในรูป หรือโครงสร้าง “形容词 +(一)点儿” เช่น

  • 你来得早了(一)点儿。
  • 这件衣服贵了(一)点儿。
  • 人多了(一)点儿。

ส่วน “有点儿” วางไว้หน้าคำคุณศัพท์ ในรูป หรือโครงสร้าง “有点儿 + 形容词” เช่น

  • 你来得有点儿早了。
  • 这件衣服有点儿贵。
  • 人有点儿多。

3.ในประโยคเปรียบเทียบ (“比”子句) จะใช้ได้แต่ “一点儿” เท่านั้น เช่น

  • 我比你胖一点儿。
  • 这间屋子比那间大一点儿。

4.“有点儿” มักใช้ในการเลือก (หรือเปรียบเทียบ) ระหว่างคุณสมบัติของสิ่งของ หรือกริยา (การกระทำ) ในความหมายไม่พึงพอใจ, ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ (不如意的事情) ดังนั้น คำคุณศัพท์ (形容词) หรือคำกริยา (动词) มักเป็นคำที่มีความหมายในเชิงลบ (消极意义或贬义)

แต่ “一点儿” ไม่มีข้อจำกัดนี้ หมายถึงจะใช้กับคำคุณศัพท์ (形容词) หรือคำกริยา (动词) ที่มีความหมายในเชิงลบ หรือเชิงบวกก็ได้ เช่น

  • 有点儿笨。 (โง่นิดหน่อย — คุณศัพท์ด้านลบ)
  • 有点儿难。 (ยากเล็กน้อย — คุณศํพท์ด้านลบ)
  • 有点儿紧张。 (ซีเรียสเล็กน้อย — คุณศัพท์ด้านลบ)
  • 高兴(一)点儿。 (ดีใจนิดหน่อย — คุณศัพท์ด้านบวก)
  • 这个学生笨了(一)点儿。 (โง่นิดหน่อย — คุณศัพท์ด้านลบ)
  • 别紧张,轻松(一)点儿。 (ผ่อนคลาย, สบายๆ นิดหน่อย — คุณศัพท์ด้านบวก)

5.เมื่อใช้ในรูป หรือโครงสร้าง “有点儿 + 不 + 形容词/动词” คำคุณศัพท์ (形容词) หรือคำกริยา (动词) จะเป็นคำที่มีความหมายในเชิงบวก (积极意义或褒义) เช่น

  • 有点儿不舒服。
  • 有点儿不高兴。
  • 有点儿不懂事。
  • 有点儿不讲道理。

6.“一点儿” และ “有点儿” สามารถใช้เป็นกริยาวิเศษณ์ (副词) ได้ทั้งคู่ แต่ความหมายต่างกัน กล่าวคือ “一点儿” จะใช้ในรูปปฏิเสธ หรือใช้กับคำปฏิเสธ เช่น “不”、“没(有)” เป็นต้น เท่านั้น หมายถึง “ปฏิเสธโดยสิ้นเชิง, ปฏิเสธทั้งหมด” และมักใช้ร่วมกับกริยาวิเศษณ์ “也”、“都”

ส่วน “有点儿” จะใช้ในรูป (ความหมาย) ปฏิเสธ หรือรูปบอกเล่าธรรมดาก็ได้ มีความหมายว่า “เล็กน้อย” เช่น

  • 一点儿也不紧张。
  • 他一点儿也不知道这件事。
  • 有点儿没听懂。
  • 有点儿不高兴。
  • 她总有点儿担心。
  • 妈妈有点儿生气了。

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “以为” กับ “认为”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“以为” กับ “认为” สองคำนี้ เป็นคำกริยา (动词) ทั้งคู่ หมายถึง “ทัศนคติ”, “ความคิดเห็น” ฯลฯ ที่มีต่อคน หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ 2 คำนี้ ใช้แทนกันไม่ได้

“以为” มี 2 ความหมาย

  • ความหมายแรก เหมือนกับ “认为” คือหมายถึง  “คิดว่า”, “เห็นว่า”, “เชื่อว่า” , “มีทัศนคติว่า” ฯลฯ (แต่ถึงแม้ทั้ง 2 คำนี้ จะแปล หรือมีความหมายเหมือนกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันในแง่ความหมาย (นัยยะ) และการใช้งานด้วย — ดูรายละเอียดส่วนถัดไป)
  • ความหมายที่ 2 ของ “以为” หมายถึง ความคิดหรือความเห็นที่  “เข้าใจผิด” (ไปจากความจริง หรือข้อเท็จจริง)”

รายละเอียดปลีกย่อยในข้อแตกต่างของ 2 คำนี้ คือ

1.”以为” เป็น “ความคิด” หรือ “ทัศนคติ” ที่เน้นในแง่อัตวิสัย (主观) เป็นความคิดเห็นเฉพาะบุคคล (มากกว่า) ด้วยเหตุนี้ น้ำเสียงของ “以为” จึงไม่เป็นการยืนยันหนักแน่นชัดเจน

แต่ “认为” เป็น “ความคิด”, “ความเห็น”, “ทัศนคติ” ที่เกิดจากการศึกษาวิเคราะห์, การทำความเข้าใจเป็นพื้นฐาน น้ำเสียงของ “认为” จีงมีความหนักแน่นชัดเจนกว่า เช่น

  • 我以为这样做多少会有些问题。
  • 我认为,人是不能脱离社会而生存的。

*** “认为” สามารถใช้กับเหตุการณ์ หรือเรื่องที่มีความสำคัญ หรือเรื่องทั่วๆ ไปก็ได้ ส่วน “以为” มักจะใช้กับเรื่องทั่วๆ ไปเท่านั้น

ประธาน (主语) ของ “认为” จะเป็น (ความคิดเห็น, ทัศนคติของ) คนๆ เดียว (ส่วนบุคคล) หรือคนบางคนก็ได้ หรือจะเป็น (ความคิดเห็น, ทัศนคติของ) กลุ่มคน, หมู่คณะ, ที่ประชุม (เช่น มติของที่ประชุม, ความคิดเห็นของที่ประชุม), พรรคการเมือง หรือประเทศ ฯลฯ ก็ได้

ส่วนประธาน (主语) ของ “以为” โดยทั่วไปจะเป็น (ความคิดเห็น, ทัศนคติของ) คนๆ เดียว (ส่วนบุคคล) หรือคนบางคนเท่านั้น เช่น

  • 我认为它不会支持讷的。(“我” เป็นประธาน)
  • 大家都认为你做代表比较合适。(“大家” เป็นประธาน)
  • 我们国家历来认为:每个国家都有自己的主权,任何一个国家都不能干涉别国的内政。(“我们国家” เป็นประธาน)
  • 我还以为你不喜欢这本小说呢。(“我” เป็นประธาน)
  • 大家都以为你不来呢。(“大家” เป็นประธาน)

2.”以为” ยังหมายถึง (ความคิดเห็น, ทัศนคติ, การวิเคราะห์, การคาดเดา ฯลฯ) ที่ไม่ถูกต้อง, ไม่รอบด้าน หรือไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง พูดง่ายๆ คือ “เข้าใจผิด” นั่นเอง เช่น

  • 我还以为你早到了呢。
  • 朋友都以为我们俩的关系很好,其实不是那么回事。

ในแง่การใช้งาน หรือโครงสร้างของประโยคประโยคที่ใช้ “以为” มักจะประกอบด้วยประโยคย่อยที่มีความขัดแย้ง (หรือตรงข้าม) กัน คือประโยคแรกจะบอกถึงความคิดเห็น, ทัศนคติที่ผิดไปจากความจริง (ความเข้าใจผิด) ส่วนประโยคหลังจะบอก หรือแสดงถึงความจริง หรือข้อเท็จจริงว่า คืออะไร เช่น

  • 他以为我懂汉语,其实我一句汉语也不会说。
  • 我还以为你会生气呢,没想到你这么高兴。

หรือในบางกรณี ถ้าผู้พูด และผู้ฟังเข้าใจชัดเจน ก็อาจจะพูด หรือกล่าวถึงเฉพาะประโยคย่อยประโยคใดประโยคหนึ่งก็ได้ (ไม่จำเป็นต้องพูด หรือกล่าวถึงประโยคที่ 2) เช่น

  • 我以为你不想去呢。(เข้าใจผิดว่าไม่ไป แต่จริงๆ ไป)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “其实” กับ “实在”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“其实” กับ “实在”

  • “其实” เป็นทั้งกริยาวิเศษณ์ (副词) และคุณศัพท์ (形容词) หมายถึง “โดยข้อเท็จจริง”, “ตามความเป็นจริง”, “ความจริง” ตรงกับคำว่า “事实上”
  • “实在” เป็นกริยาวิเศษณ์ (副词) อย่างเดียว แปลว่า “แท้จริง (แล้ว)”, “(เป็น) จริง”, “จริงๆ ” และนอกจากนั้น “实在” ยังมีความหมายเหมือนกับ “其实” (ดูความหมายข้างบน) อีกด้วย

ข้อแตกต่าง คือโดยทั่วไป ในประโยคส่วนใหญ่ เรามักจะใช้ “其实” ส่วน “实在” มักจะใช้วางไว้หน้าคำคุณศัพท์ เพื่อทำหน้าที่เป็นบทขยาย (状语)

ส่วน “其实” สามารถวางไว้หน้าคำคุณศัพท์ เพื่อทำหน้าที่เป็นบทขยาย (状语) และยังสามารถวางไว้ต้นประโยคของอนุประโยคที่สอง (ประโยคย่อย) เป็นการบอกความสัมพันธ์แบบขัดแย้ง หรือตรงกันข้าม (转折) ได้ด้วย เช่น

  • 你说都懂了,其实并没懂,所以练习都做错了。(ประโยคนี้ใช้ “实在” ไม่ได้)
  • 你看他像中国人,其实他是日本人。(ประโยคนี้ใช้ “实在” ไม่ได้)
  • 他为人实在,所以大家都愿意跟他接近。(ประโยคนี้ใช้ “其实” ไม่ได้)
  • 实在抱歉,我下午有事,不能陪你去。(ประโยคนี้ใช้ “其实” ไม่ได้)

คำ หรือวลีที่มักพอเห็นบ่อยๆ เช่น

  • 其实/实在不难。
  • 其实/实在挺好。
  • 其实/实在不是。
  • 实在的本领。
  • 心眼儿实在。
  • 为人实在。
  • 实在太好了。
  • 实在抱歉。

และ “实在” ยังสามารถใช้ในประโยคอุทานได้ด้วย เช่น

  • 你能带我去,实在太好了!

หมายเหตุ “实在” (shí zai) (วรรณยุกต์เสียง 4) เป็นคำคุณศัพท์ (形容词) ใช้ในภาษาพูด หมายถึง (ทำงาน) ได้ดี, มีฝีมือ, เอาจริงเอาจัง และยังหมายถึง (นิสัยคน) ซื่อๆ ได้อีกด้วย เช่น

  • 你干活儿做得多实在。

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “的”、”地” และ “得” — 3 คำนี้ (บางที) ก็ชวนปวดหัวเหมือนกัน

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“的”、”地” และ “得”  ทั้ง 3 คำนี้ ล้วนเป็นคำเสริมโครงสร้าง (结构助词) และออกเสียงเหมือนกันหมด คือ “de” ต่างกันตรงวิธีการใช้งาน

1. “的” เป็นคำเสริมโครงสร้าง หรือเครื่องหมายของบทขยายนาม (定语) โดย “的” จะวางอยู่หลังบทขยายนาม เพื่อบอกให้รู้ว่า คำ หรือวลีที่อยู่ข้างหน้า “的” คือบทขยายนาม (定语) หรือขยายคำนาม (รวมถึงคำที่มีคุณสมบัติเหมือนคำนาม) หรือจะเรียกว่า “中心语” ที่อยู่ข้างหลัง (ก็ได้)  โดยมีโครงสร้างการเรียงลำดับคำ ดังนี้

  • “บทขยายนาม (定语) + 的 + คำที่ถูกขยาย หรือ 中心语”

ตัวอย่างเช่น

  • 老师的书。
  • 学生的本子。
  • 我的朋友。
  • 明天的会议。
  • 谁的钥匙。

2. “地” เป็นคำเสริมโครงสร้าง หรือเครื่องหมายของบทขยายภาคแสดง (状语) โดย “地” จะวางอยู่หลังบทขยายภาคแสดง (谓语) (เช่น คำกริยา หรือคำคุณศัพท์) เพื่อบอกให้รู้ว่า คำ หรือวลีที่อยู่ข้างหน้า “地” คือบทขยายภาคแสดง (状语) หรือคำที่มีคุณสมบัติเหมือนภาคแสดง (谓语) หรือจะเรียกว่า 中心语 (ก็ได้เหมือนกัน) ที่อยู่ข้างหลัง โดยมีโครงสร้างการเรียงลำดับคำ ดังนี้

  • “บทขยายภาคแสดง (状语) + 地 + คำที่ถูกขยาย หรือ 中心语”

ตัวอย่างเช่น

  • 满满地站起来。
  • 认真地想。

3. “得” เป็นคำเสริมโครงสร้าง หรือเครื่องหมายของบทเสริม (补语) โดย “得” จะวางอยู่หน้าบทเสริม เพื่อบอกให้รู้ว่า คำ หรือวลีที่อยู่หลัง “得” คือบทเสริม (补语) ทั้งนี้ คำที่อยู่หน้า “得” มักจะเป็นภาคแสดง หรือคำที่มีคุณสมบัติเหมือนภาคแสดง (谓语) โดยมีโครงสร้างการเรียงลำดับคำ ดังนี้

  • “ภาคแสดง (谓语) + 得 + คำเสริม (补语)”

ตัวอย่างเช่น

  • 做得好。
  • 做得不(太)好。
  • 好得很。
  • 打得不错。
  • 打扫得干干净净。
  • 忙得连饭都顾不上吃了。
  • 他气得浑身直发抖。

*** นอกจากนั้น “得” ยังสามารถวางอยู่หลังคำกริยา หรือระหว่างคำกริยา (谓语) กับบทเสริม (补语) เพื่อแสดงถึงความเป็นไปได้ (可能) ได้อีกด้วย เช่น 听得懂、听不懂 (รูปปฏิเสธ)

4. ที่กล่าวมา (3. ข้อ) ข้างต้น เป็นวิธีการใช้งานพื้นฐาน หรือทั่วไป นอกจากนั้น ยังอาจมีบางกรณีที่มีการใช้งาน “的”、”地”และ “得” ที่ซับซ้อน หรือปนกันได้ ดังนี้

4.1

  • “คำคุณศัพท์ (形容词) + 的/地 + คำกริยา (动词)”

โครงสร้างนี้ อาจใช้ “的” หรือ “地” ก็ได้ ขึ้นกับว่า คำ หรือวลีนั้น ทำหน้าที่อะไรในประโยค กล่าวคือถ้าทำหน้าที่เป็นภาคประธาน (主语) หรือบทกรรม (宾语) ก็ต้องใช้ “的” แต่ถ้าทำหน้าที่เป็นภาคแสดง (谓语) ก็ต้องใช้ “地” ตัวอย่างเช่น

  • 他科学地论证了这一原理。(”论证” เป็นภาคแสดง)
  • 他对这一原理进行了科学的论证。(”论证” เป็นบทกรรม)

4.2

  • “คำกริยา (动词) + 的/得 + คำ หรือวลีที่มีคุณสมบัติ หรือทำหน้าที่เหมือนภาคแสดง (谓词性词或词语)”

โครงสร้างนี้ อาจใช้ “的” หรือ “得” ก็ได้ ขึ้นกับว่า คำ หรือวลีนั้น ทำหน้าที่อะไรในประโยค กล่าวคือถ้า คำกริยา (动词) + de ทำหน้าที่เป็นภาคประธาน (主语) ก็ต้องใช้ “的” แต่ทำหน้าที่เป็นภาคแสดง (谓语) ก็ต้องใช้ “得”

  • 她唱的很动听。(”唱的” เป็นภาคประธาน)
  • 她唱得很动听。(”唱得很动听” เป็นส่วนหนึ่งของภาคแสดง)
  • 老师说的很有道理。(”说的” เป็นภาคประธาน)
  • 老师说得很有道理。(”说得很有道理” เป็นส่วนหนึ่งของภาคแสดง)

*** นอกจากนั้น “的” ยังสามารถวางหลังคำนาม, คำสรรพนาม, คำคุณศัพท์ หรือวลี ฯลฯ โดยละ หรือไม่จำเป็นต้องมีคำที่ถูกขยาย หรือ 中心语 โครงสร้างคำแบบนี้มีคุณสมบัติ หรือทำหน้าที่เหมือนคำนามคำหนึ่ง เช่น

  • 马路上骑自行车的特别多。
  • 这些东西,好的放在这儿,怀的,把它扔掉。

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “越 …… 越 ……”และ“越来越 ……”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“越 …… 越 ……” และ “越来越 ……” เป็นรูปแบบวลี หรือประโยคที่ใช้บ่งบอกการเพิ่มขึ้นของระดับ (degree หรือ level) ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ในแง่ความหมาย “越 ……越 ……” และ “越来越 ……” มีความหมายคล้ายกัน กล่าวคือ

  • “越 … A … 越 … B …” หมายถึงระดับหรือ degree ของ B เปลี่ยนแปลงตาม A (ขึ้นอยู่กับ A)
  • “越来越 ……” หมายถึงระดับหรือ degree ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงตาม “เวลา” ที่เปลี่ยนแปลง

เช่น

  • 雨越下越大。(ฝนยิ่งตกยิ่งหนัก) (雨——下,雨——大)
  • 雨越来越大。(ฝนยิ่งมา (ยิ่งตก) ยิ่งหนัก) (雨——大)

ในแง่ไวยากรณ์ หรือการใช้งาน “越 …… 越 ……” และ “越来越 ……” มีความแตกต่างกัน คือ

1. ประธาน (主语) ของ “越 …… 越 ……” อาจจะเป็นสิ่งเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้ กล่าวอีกอย่างคือจะมีประธานตัวเดียว หรือสองตัวก็ได้ แต่ “越来越 ……” จะมีประธานได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น เช่น

  • 雨越下越大。(ประธาน คือ 雨)
  • 声音越大,我越听不清楚。(ประธาน คือ 声音 และ 我)
  • 他在学习上越来越有进步了。(ประธาน คือ 他)
  • 天越来越爽了。(ประธาน คือ 天)

2. “越 …… 越 ……” โดยทั่วไปจะมีโครงสร้าง หรือรูปแบบเป็น

  • “越 ( + 动/形) + 越 ( +动/形)”

และถ้าประธาน (主语) เป็นคนละสิ่งกัน ยังสามารถใช้ในรูปแบบ “越 ( + 形) + 越 ( + 形)” ได้ด้วย เช่น

  • 他的足球越打越好。(越 + 动, 越 + 形)
  • 大家越听越觉得有意思。(越 + 动, 越 + 动)
  • 生活水平越好,生活费用越高。(ประธานคนละตัว, 越 +形, 越 + 形)

ส่วน “越来越 ……” จะอยู่ในรูปแบบ

  • “越来越 + 形 (คุณศัพท์)/心里动词 (คำกริยาเกี่ยวกับอารมณ์, ความรู้สึก, ความนึกคิด)” เท่านั้น

หมายความว่า โดยทั่วไป “越来越 ……” จะไม่ใช้กับกริยาทั่วไป เช่น

  • 物价越来越贵了。(贵 — 形)
  • 百姓的生活水平越来越高了。(高 — 形)
  • 妈妈越来越担心。(担心 — 心里动词)
  • 他越来越喜欢汉语了。(喜欢 — 心里动词)

*** ประโยคต่อไปนี้ เราจะไม่พูด หรือใช้กัน เพราะ “越来越 ……” จะไม่ใช้กับกริยาทั่วไป

  • 风越来越刮大了。(刮 — กริยาทั่วไป)
  • 雨越来越下。(下 — กริยาทั่วไป)
  • 越来越学习。(学习 — กริยาทั่วไป)

3. เมื่อใช้ “越来越 ……” หมายถึงว่าผู้พูดต้องการเน้นการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มขึ้น/ลดลง) ตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ความหมาย (หรือนัยยะ) ของประโยคที่ต้องการเน้นค่อนข้างชัดเจน และท้ายประโยคมักจะมีคำเสริมน้ำเสียง “了”

ส่วน “越 …… 越 ……” จะเน้นการการเปลี่ยนแปลงของระดับ หรือ degree เท่านั้น ท้ายประโยคโดยทั่วไปจะไม่มี “了” เช่น

  • 他越来越不理解我了。
  • 这个人越看越面熟。

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้ “在/正/正在”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ถ้าเราต้องการพูดว่า “กริยา หรือการกระทำ” นั้น “กำลังเกิดขึ้น หรือกำลังดำเนินอยู่” (คล้าย continue tense หรือ progressive tense) ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า “动作行为的进行”

โดยหลักๆ จะมีกริยาวิเศษณ์ (副词) อยู่ 2 + 1 ตัว ที่ใช้บอกว่า “กริยา หรือการกระทำนั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่” คือ

“在”, ” 正”, “正在” กริยาวิเศษณ์ 3 ตัวนี้ แปลเหมือนกันหมด คือ “กำลัง” (ทำกริยานั้นอยู่) โดยจะวางอยู่หน้ากริยา (动词) เพื่อทำหน้าที่ขยาย หรือบอกให้รู้ว่า “กริยานั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่”

ข้อแตกต่าง และรายละเอียดปลีกย่อยในการใช้งาน คือ

1. ถ้าต้องการเน้น “เวลา” ที่กริยานั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่ จะใช้ “正”

2. ถ้าต้องการเน้น “สภาพ” หรือ “สภาวะ” ที่กริยานั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่ จะใช้ “在”

3. ถ้าต้องเน้นทั้งสองอย่าง คือทั้ง “เวลา” และ “สภาวะ” ที่กริยานั้นกำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่ ก็จะใช้ “正在”

4. รูปประโยคที่ใช้กัน มักประกอบด้วยคำเสริมท้ายกริยา “着” เพื่อบอกให้รู้ว่ากริยากำลัีงเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่ และน้ำเสียงเสริมท้ายประโยค “呢” คืออยู่ในรูป

[“在/正/正在” + (คำกริยา) + “着” + (กรรม) + “呢”]

ทั้งนี้ ถ้าใช้ “正” มักจะมี “着” และ “呢” ประกอบด้วยเสมอ แต่ถ้าเป็น “在” หรือ “正在” จะมี หรือไม่มี “着” หรือ “呢” ก็ได้

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • 他在听音乐 (呢)。 — เขากำลังฟังดนตรี (เน้นสภาวะ “การฟังเพลง หรือดนตรี” ที่กำลังดำเนินอยู่)
  • 爸爸正洗着澡呢。– พ่อกำลังอาบน้ำ (เน้นเวลา ณ ขณะนั้นว่า พ่อ “กำลังอาบน้ำ” อยู่)
  • 妈妈正在做饭。 — แม่กำลังทำอาหาร (เน้นทั้งเวลา และสภาวะที่แม่ “กำลังทำอาหาร” อยู่)

5. กริยาที่อยู่หลัง “正” โดยทั่วไปจะไม่เป็นคำกริยาอย่างเดียวโดดๆ คือจะมีส่วนประกอบอื่นตามมาด้วย เช่น มี “着”, มี “呢” (ดูข้อ 4.), มีกรรม หรือมีส่วนเสริมประเภท “来” หรือ “去” (ที่เรียกว่า “趋向补语”) เช่น

  • 他正吃。 (ประโยคแบบนี้เราจะไม่พูด … มันฟังดูแปลกๆ) แต่จะพูดว่า
  • 他正吃着呢。หรือ
  • 他正吃着饭呢。
  • 他们正跑来。

6. ข้อแตกต่าง (เล็กๆ) ระหว่าง “在” กับ “正” คือเมื่อ “在” เน้นสภาวะ ในขณะที่ “正” เน้นเวลา ดังนั้น กริยา หรือการกระทำที่มีลักษณะต่อเนื่องค่อนข้างกินเวลา หรือใช้เวลานาน มักจะใช้ “在” เป็นส่วนใหญ่ เช่น

  • 他们在研究这个问题。 — พวกเขากำลังศึกษาวิจัยปัญหานี้อยู่ (กริยา “ศึกษาวิจัย” ค่อนข้างใช้เวลายาวนาน จึงควรใช้ “在” มากกว่า “正”)

** และ “在” จะครอบคลุมเวลาในอดีตด้วย (เกิดขึ้นแล้ว และดำเนินต่อเนื่องถึงปัจจุึบัน)

** แต่ “正” จะหมายถึง “เวลา ณ ปัจจุบัน” ที่กำลังเกิดขึ้น หรือดำเนินอยู่เป็นหลัก (ดูตัวอย่างประโยค ข้อ 3.)

7. “在/正/正在” จะไม่ใช่กับกริยาบางประเภท เช่น “是”, “有”, “认识” เป็นต้น เช่น

  • 她正是学生。– เขา (ผู้หญิง) กำลังเป็นนักเรียน (ประโยคนี้ใช้ “正”, “在” หรือ “正在” ไม่ได้ เพราะมันผิด)

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้บุพบท (介词) “给” (ตอนที่ 2)

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้ “给”

“给” เมื่อเป็นบุพบท (介词) จะมี ความหมาย ดังนี้

1.มีความหมายเหมือนบุพบท “向”、“对”、“朝” ทั้งนี้ กรรมที่ตามหลังบุพบท “给” จะเป็นผู้รับผลของกริยา/การกระทำนั้น เช่น

  • 你应该给她赔礼道歉去。

2.หมายถึง “替” (ทำ (แทน))、“为” (wèi) เป้าหมาย (对象) หรือกรรมของบุพบท คือผู้ได้รับผล (หรือบริการ) ของกริยานั้น เช่น

  • 医生给我动了手术。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
  • 老师正在给学生们上课。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
  • 我给你当翻译吧。 (ความหมายเดียวกับ “为” )
  • 你去邮局的话,能不能给我寄一封信? (ความหมายเดียวกับ “替”)
  • 王老师病了,今天我给他代课。 (ความหมายเดียวกับ “替”)

3.มีความหมายของ “被” กรรมของบุพบท คือผู้กระทำกริยานั้น เช่น

  • 那本书给他借走了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)
  • 树给大风吹到了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)
  • 我的钱包给人偷走了。 (ความหมายเดียวกับ “被”)

ทั้งนี้ ถ้า “给” หมายถึง “替” 、“为” (wèi) (ข้อ 2.) หรือ “被” (ข้อ 3.)

*** “给” ต้องวางไว้หน้าคำกริยาเท่านั้น

4. นอกจากนั้น “给” ยังใช้เป็นคำเสริม (助词) ได้ด้วย โดย “给” จะวางไว้หน้าคำกริยา หมายถึง (สิ่งของนั้น) ถูกกระทำ (被动) หรือเป็นคำเสริมน้ำเสียง (助词语气) เพื่อเป็นการเน้นโดยใช้น้ำเสียงก็ได้ เช่น

  • 屋子给打扫干净了。(ถูกกระทำ)
  • 这件事你就给办一下吧。(เป็นคำเสริมน้ำเสียง – จะสังเกตเห็นว่ากรณีนี้ “给” ตามด้วยคำกริยาโดยตรงได้เลย)

5. ตำแหน่งของ “给” มีวิธีการวาง “给” อยู่ 3 ตำแหน่ง

ลองดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้กันก่อน

  • 给他奇一封信 (หน้าคำกริยา) = 寄给他一封信 (หลังคำกริยา) = 奇一封信给他 (หลังกรรม)
  • 给他打一个电话 (หน้าคำกริยา) = 打给他一个电话 (หลังคำกริยา) = 打一个电话给他 (หลังกรรม)
  • 给他留一个纸条 (หน้าคำกริยา) = 留给他一个纸条 (หลังคำกริยา) = 留一个纸条给他 (หลังกรรม)

(ตัวอย่างข้างบน “给” สามารถวางไว้ตรงไหนก็ได้ โดยที่ความหมายไม่เปลี่ยน)

  • แต่ไม่ใช่ทุกกรณีที่สามารถวางตำแหน่งของ “给” ไว้ตรงไหนก็ได้ (ทั้ง 3 ตำแหน่ง) โดยที่ความหมายยังเหมือนเดิม เพราะเราต้องดูว่าคำกริยา (ในประโยค) มีความหมายอย่างไรด้วย
  • ซึ่งโดยหลักทั่วไป (หลักที่ใช้กับคำกริยาส่วนใหญ่) “给” มีวิธีการใช้ หรือตำแหน่งในการวางอยู่ 2 ตำแหน่ง (คือหน้าคำกริยา กับหลังคำกริยา) ตามที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ (ดูเนื้อหาตอนที่ 1)

ลองมาดูตัวอย่างประโยคต่อไปนี้ (ถ้าวางหน้าคำกริยา หรือหลังกรรม (แล้วแต่กรณี) ความหมายจะเปลี่ยนไป)

  • 卖给他一件衣服 (หลังคำกริยา) = 卖一件衣服给他 (หลังกรรม)
  • 交给他五十块钱 (หลังคำกริยา) = 交五十块钱给他 (หลังกรรม)
  • 给他买一本书 (หน้าคำกริยา) = 买一本书给他 (หลังกรรม)
  • 给他打一件毛衣 (หน้าคำกริยา) = 打一件毛衣给他 (หลังกรรม)

6. (ส่วนนี้เป็นรายละเอียดเพิ่มเติม) มีคำกริยาบางคำไม่สามารถตามด้วยกรรมคู่ (双宾语) โดยตรง ต้องมี “给” แทรกกลาง (ระหว่างคำกริยากับกรรม) ตรงกันข้ามกับคำกริยาบางคำที่สามารถตามด้วยกรรมคู่ หรือคำที่ทำหน้าที่ 2 อย่างในเวลาเดียวกัน (ที่เรียกว่า 兼语) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องมี “给”เช่น

  • 我不愿给他添麻烦 。(ต้องมี “给他”)
  • 他 (给我) 教我踢足球。(ไม่ต้องมี “给我” – ในวงเล็บยกตัวอย่างให้เห็น ถ้ามีจะเป็นประโยคที่ผิด)
  • 小李 (给他) 告诉他这个消息。(ไม่ต้องมี “给他” – ในวงเล็บยกตัวอย่างให้เห็น ถ้ามีจะเป็นประโยคที่ผิด)

(คราวหน้ามาต่อกันด้วยเรื่องของ “和”)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

อ่านต่อ การใช้บุพบท(介词)“对”、“跟”、“给” ตอนที่ 1

การใช้บุพบท(介词)“对”、“跟”、“给” ตอนที่ 1

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้บุพบท (介词) “对”、”跟”、”给” (ตอนที่ 1)

โดยทั่วไป บุพบท (介词) ในภาษาจีน (ตามด้วย “กรรมของบุพบท”) จะวางอยู่หน้าคำกริยา หรือภาคแสดง ทำหน้าที่ขยายภาคแสดง (ที่เรียกว่า 状语) ซึ่งอยู่ในรูป

(对 / 跟 / 给 + กรรม) + คำกริยา หรือภาคแสดง

การใช้บุพบท “对”、”跟”、”给”

1. บุพบท 3 ตัวนี้ ใช้แทนกันได้ในบางกรณี เพื่อบอก/แสดงเป้าหมาย (对象)ของกริยา/การกระทำ เช่น

  • 他对/跟/给我使了一个眼色。
  • 把你的想法对/跟/给大家说一说。

แต่บุพบท 3 คำนี้ ก็ยังมีความแตกต่างกันในด้านความหมาย หรือจุดที่ต้องการเน้น (ดูข้อ 2.)

2. ถ้าต้องการเน้น/สื่อความหมายที่ต่างกัน ในกรณีเช่นนี้ บุพบท 3 คำนี้จะใช้แทนกันไม่ได้ กล่าวคือ

  • “对” (ต่อ) จะเน้น หรือหมายถึงการเผชิญหน้ากับเป้าหมาย หรือแสดงถึงสภาพ/สภาวะของเป้าหมายที่เกิดจากกริยา/การกระทำนั้น”跟” (กับ, และ) จะเน้น หรือหมายถึงเป้าหมาย (เช่น คน หรือสิ่งของ) มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง หรือร่วมกระทำกริยา/การกระทำนั้น
  • “给” (ให้) จะเน้น หรือหมายถึงเป้าหมาย เป็นผู้รับผลของกริยา/การกระทำ

ตัวอย่างเช่น

  • 这种方法的学习对我很有帮助。(วิธีการศึกษาแบบนี้มีส่วนช่วย (มีประโยชน์) ต่อ (การเรียนของ) ฉัน)
  • 我对你抱有大的希望。(ฉันคาดหวัง (มีความหวัง) ต่อตัวเธอมาก)
  • 他不想跟我见面。(เขาไม่อยากพบหน้า (กับ) ฉัน)
  • 这份计划还需要跟老师商量商量。(แผนงานนี้ยังต้องปรึกษากับอาจารย์)
  • 你给小李去个电话吧。(คุณโทรศัพท์ให้กับเสียวหลี่หน่อย)
  • 他要把自己的全部知识才能献给科学事业。(เขาต้องการนำความรู้ความสามารถทั้งหมดทุ่มเท (เสียสละ) ให้กับงานด้านวิทยาศาสตร์

3. ถ้าต้องการสื่อความหมายถึงความสัมพันธ์ในเชิงการปฏิบัติ (รักษา) ระหว่างคน หรือสิ่งของ ต้องใช้ “对” เท่านั้น กรณีนี้ “对” มีความหมายเน้นในเชิงการปฏิบัติ (การกระทำ) ในทิศทางเดียว เช่น หมอรักษาคนไข้

  • 你是什么人我不管,我只知道我是医生,我要对病人负责。
  • 听说他对你很有意思,你呢?

4. ถ้าต้องการเน้นกริยา/การกระทำมีความสัมพันธ์ในลักษณะร่วมมือกันทำ (กริยา/การกระทำนั้น) หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันน ต้องใช้ “跟” เท่านั้น

ประโยคที่ใช้ “跟” ในบางกรณี คำกริยาจะมีลักษณะของการทำกริยา/การกระทำร่วมกัน เช่น  商量 (ปรึกษา), 讨论 (ถกเถียง), 谈话 (พูดคุย, เจรจา), 见面 (พบหน้า), 聊天儿 (คุย (เล่น)), 联系 (ติดต่อ), 交涉 (ติดต่อเจรจา), 交涉 (ก่อกวน)

และ (ในประโยคที่ใช้ “跟”) มักจะมีส่วนประกอบอื่น (มักเป็นกริยาวิเศษณ์) ที่บอกถึงการร่วมกันทำกริยา/การกระทำ (ทำด้วยกัน) เช่น 一起, 一块儿, 一同 (พร้อมกัน, ด้วยกัน), 一道 (ด้วยกัน)

  • 我去跟他交涉,你们在这儿等着。
  • 这是我跟他一起完成的课题。

5. ถ้าต้องการแสดงถึงผู้รับผลของกริยา/การกระทำ ต้องใช้ “给” เท่านั้น เช่น

  • 听说前不久他还给你写了一封信。
  • 我们的责任就是给老人们送温暖、送关怀。
  • 我要给他一点颜色看看。

6. ส่วนข้อสังเกต (ข้อแตกต่าง) ในด้านไวยากรณ์ของการใช้บุพบท 3 ตัวนี้ คือ

  • โดยทั่วไป (“给” + กรรมของบุพบท) สามารถวางไว้ได้ 2 ตำแหน่ง คือหน้าคำกริยา หรือหลังคำกริยา
  • ส่วนบุพบท “对”、”跟” ต้องวางไว้หน้าคำกริยาเท่านั้น

เช่น

  • 我给他送一封信。หรือ 我送给他一封信。
  • 王师傅亲自给他做示范。
  • 他对我有意见。
  • 老师们对工作很负责任。
  • 他跟这件事没关系。
  • 我跟他很要好。

สำหรับบุพบท “给” มีรายละเอียด (เพิ่มเติม) ที่จะขยายความต่อแยกต่างหากในตอนต่อไป

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

อ่านต่อ การใช้บุพบท (介词) “给” (ตอนที่ 2)