Category Archives: เรียนภาษาจีนกับ Gunth Lpnm

คำสับสนระหว่าง “冰凉” และ “冰冷”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศช่วงนี้ที่อยู่ๆ ก็เปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็น (ค่อนหนาว) Love Chinese ตอนนี้ขอนำเสนอคำที่เกี่ยวข้องกับความเยือกเย็น, หนาวเย็น 2 คำ คือ

“冰凉” [bīngliáng] และ “冰冷” [bīnglěng] เป็นคำคุณศัพท์ (形容词) ทั้งคู่ และต่างก็แปลว่า “เย็นเยือก”, “เยือกเย็น” หรือ “เยือกเย็น (เหมือนน้ำแข็ง)” ฯลฯ รวมทั้งมีวิธีการใช้ (ในแง่ไวยากรณ์) ที่ (แทบจะ) เหมือนกัน

โดยทั่วไป เราใช้ “冰凉” และ “冰冷” บรรยายสภาพ “ความหนาวเย็น”, “อุณหภูมิต่ำ” ฯลฯ

ข้อแตกต่างระหว่าง 2 คำนี้ คือ

1. “冰凉” [bīngliáng] มักใช้เน้นความรู้สึก “เยือกเย็น” ที่อวัยวะ หรือร่างกายคนรับรู้ (สัมผัส) ได้โดยตรง “冰凉” มักใช้บรรยายสิ่งที่เป็นรูปธรรม สัมผัส หรือจับต้องได้ เช่น น้ำฝน, อวัยวะ หรือสิ่งของทั่วไปๆ เป็นต้น (แต่ก็มีบางกรณีที่ใช้บรรยายสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกได้ด้วย) ตัวอย่างเช่น Continue reading

ความหมายของ 选 และ 挑 ใช้แทนกันได้หรือไม่

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

选 [xuǎn] และ 挑 [tiāo] ต่างก็หมายถึง “เลือก” ใช้แทนกันได้ในบางกรณี โดยเฉพาะในภาษาพูด ใช้แทนกันได้
选 ใช้ในภาษาเขียน หรือพูดก็ได้ ส่วน “挑” ใช้ในภาษาพูดเท่านั้น

  • 挑选 [tiāo​xuǎn]  เลือก
  • 挑来挑去 [tiāolái tiāoqù] เลือกไปเลือกมา
  • 挑剔 [tiāotì]  ใช้บรรยายคนที่จู้จี้จุกจิก ขี้บ่น เรื่องเยอะ ประมาณนี้
  • 挑毛病 [tiāo máobìng] ใช้บรรยายคนที่ชอบจับผิด หรือหาข้อบกพร่องของคนอื่น เป็นต้น
  • 选举 [xuǎnjǔ] เลือกตั้ง
  • 选手 [xuǎnshǒu] ผู้เข้าแข่งขัน, ผู้เล่น
  • 选拔 [xuǎnbá] คัดเลือก
  • 当选 [dāngxuǎn] ผู้ที่ได้รับการเลือก

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : ข้อแตกต่างระหว่าง 娶,嫁,结婚

แต่งงาน ในภาษาจีน

การแต่งงานในภาษาจีน

ถ้าสังเกตตัวอักษรจีนของ 2 คำนี้ให้ดี ก็จะเข้าใจความหมาย และวิธีใช้ได้ถูกต้อง

娶 [qǔ] ส่วนบนเป็นตัวบอกเสียง qǔ และความหมายด้วย คือ “รับเอามา” ส่วนล่าง คือผู้หญิง เป็นตัวบอกความหมายว่าเกี่ยวข้องกับเพศหญิง娶 จึงหมายถึง (ผู้ชาย) ตบแต่งภรรยา, แต่งผู้หญิง, แต่งเมีย เพราะฉะนั้น กรรมของ 娶 ก็จะต้องเป็นผู้หญิง หรือหมายถึงเพศหญิง เช่น

  • 他想娶她。(เขาต้องการตบแต่งเธอ (เป็นภรรยา))
  • 他要娶那个女孩。(เขาต้องการแต่งงานกับเด็กสาวคนนั้น)
  • หรือ 娶妻 (แต่งภรรยา) เป็นต้น

ส่วน 嫁 [jià] ประกอบด้วยตัวอักษร 女 (ผู้หญิง) และ 家 (บ้าน) หมายถึง แต่งผู้หญิงเข้าบ้าน อักษรตัวนี้จึงหมายถึง (ผู้หญิง) แต่งงาน รูปง่ายสุดที่ใช้กัน คือ 嫁给 (แต่งให้กับใคร) กรรมข้างหลังก็ต้องเป็นผู้ชาย เช่น

  • 她嫁给他了。(เธอแต่งให้เขาแล้ว)

ตัวอย่างประโยคอื่นๆ

  • 嫁一个会爱你女儿的男人。(แต่งให้กับชายหนุ่มที่รักลูกสาวของคุณ)
  • 嫁一个像他一样的男人。(แต่งให้กับชายหนุ่มที่เหมือนเขา)

ส่วน 结婚 [jiéhūn]  ก็แปลว่า “แต่งงาน” เช่นเดียวกัน แต่เป็น 离合动词 (ต้องเข้าใจก่อนว่า 离合动词 เป็นคำกริยาประเภทไหน และมีวิธีการใช้อย่างไร ถึงจะใช้ได้ถูกต้อง) พูดอย่างง่ายๆ เลย 离合动词 เป็นคำกริยาที่พยางค์แรกเป็นคำกริยา ส่วนพยางค์หลังเป็นกรรม (คำนาม) ของกริยาตัวแรก เพราะฉะนั้น คำกริยาประเภทนี้จะมีกรรมไม่ได้อีกแล้ว ถ้าต้องมีกรรม (เพิ่มเติม — ส่วนใหญ่เป็นคน) ต้องอาศัยบุพบทเข้ามาเป็นตัวช่วย โดยวางหน้าคำกริยา ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำกริยา (หรือภาคแสดง) … พอเข้าใจหรือเปล่า (อาจจะยากไป เพราะเป็นการอธิบายผ่านหน้าจอ) มาดูตัวอย่างประโยคกันดีกว่า

  • 你为什么要结婚呢?
  • 那就跟我结婚!(แต่งงานกันฉันแล้วกัน — กรรม 我 วางหน้า 结婚 โดยมีบุพบท 跟)

ปูลู ประโยคตัวอย่าง (ส่วนใหญ่) ขอยืมมาจาก 百度 (ให้เครดิตไว้หน่อย)

ตัวอย่างเพิ่มเติม

  • 星期日弟弟要结婚,弟弟娶茉莉,茉莉嫁给我的弟弟。 วันอาทิตย์น้องชายจะแต่งงาน น้องชายแต่งงานกับมะลิ มะลิแต่งงานกับน้องชายของฉัน

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

อ่านเพิ่มเติม …การหมั้น [订婚]

รู้จักกับ ปฏิทินจีน (Chinese calendar)

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“ปฏิทินจีน” หรือที่เรามักจะกันทั่วไปว่าเรียกว่า “ปฏิทินจันทรคติ” จริงๆ มีเรียกอยู่ด้วยกันหลายชื่อ คือ

  • “夏历” หรือ “ปฏิทินราชวงศ์เซี่ย” ที่เรียกแบบนี้ เพราะเป็นปฏิทินที่คิดค้นพัฒนาขึ้น และเริ่มมีใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ย (2,100 – 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ถ้านับถึงปัจจุบัน ปฏิทินนี้ก็มีอายุเก่าแก่ตกทอดกันมาถึงเกือบ 4,000 ปีทีเดียว เราจึงเรียกปฏิทินนี้ได้อีกอย่างว่า
  • “旧历” หรือ “ปฏิทินเก่า” เพราะอายุอานามอันเก่าแก่ (มาก) ของมันนั่นเอง และเรายังเรียกปฏิทินนี้ว่า
  • “农历” หรือ “ปฏิทินการเกษตร” เพราะเป็นปฏิทินที่คิดขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเป็นหลัก

“农历” หรือ “ปฏิทินการเกษตร”  จัดเป็น “阴阳历” แบบหนึ่ง คือใช้ทั้งการหมุนรอบโลกของดวงจันทร์ (จันทรคติ) และการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก (สุริยคติ) มานับคำนวณเป็นจำนวนวันของเดือน และปี

  • “ปฏิทินจีน” หรือ “ปฏิทินการเกษตร” นี้ ในส่วนของปฏิทินจันทรคติ (“阴历” หรือ “太阴历”) ถ้าเป็นปีธรรมดา (“平年”) จะมี 12 เดือน*** เดือนใหญ่ (“大月”) มี 30 วัน เดือนเล็ก (เดือนน้อย)  (“小月”) มี 29 วัน (เดือนไหนเป็นเดือนใหญ่ หรือเดือนเล็กจะไม่เหมือนกันในแต่ละปี) โดยทั้งปีจะมีจำนวนวันเท่ากับ 354 หรือ 355 วัน ซึ่งจำนวนวันในแต่ละปีโดยเฉลี่ยจะน้อยกว่าในส่วนของปฏิทินสุริยคติ (“阳历”,“太阳历” หรือ “太阳年”) ประมาณ 11 วัน ทำให้ทุกๆ 19 ปี จะมี (การจัด) เดือนอธิกมาส (“闰月”) 7 เดือน ปีที่มีเดือนอธิกมาสนี้จะมีจำนวนวัน (ในหนึ่งปี) ทั้งหมด 383 หรือ 384 วัน Continue reading

การใช้คำกริยา “使”、”令”、”让” และ “叫”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้คำกริยา “使”、”令”、”让” และ “叫”

(สำหรับเนื้อหาตอนนี้ ขอตอบแบบสั้นๆ พอได้ความรู้เบื้องต้นไว้ก่อน ทั้งนี้ เนื้อหาบางเรื่องที่ถาม อย่างเช่นเรื่องนี้ จริงๆ ต้องใช้เวลาอธิบายเยอะพอสมควร และถ้ามีหนังสือเรียนประกอบ และเป็นการอธิบายในห้องเรียน (น่า) จะทำความเข้าใจได้ง่ายกว่า … สำหรับตรงนี้ก็เอาพอทำความเข้าใจเบื้องต้นไว้ก่อนแล้วกัน)

1. “使” หมายถึง “ใช้” (使用) เช่น

  • 使了两千块钱。
  • 他跟我使了一个眼色。

2. “使” มีความหมายเหมือน “让” กับ “叫” ในกรณีที่หมายถึง”ทำให้” (致使) สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น หรือเป็นอย่างไร เช่น

  • 这首歌使我想起了童年时代的生活。

ซึ่งถ้าประธานเป็น “คน” จะใช้ “让” หรือ “叫” แต่ถ้าประธานเป็น “วัตถุสิ่งของ” จะใช้ “使” เช่น

  • (我)让你久等了。
  • 大热天使我出了一身汗。

ในกรณีที่หมายถึง “ทำให้” (致使) ก็สามารถใช้ “令” ได้เช่นเดียวกัน แต่กรรม (หรือ兼语 – ดูความหมายของ 兼语 ส่วนถัดไป) ของ “令” จะต้องเป็น “คน”เท่านั้น ซึ่งการใช้ “令” ในความหมายนี้ จะสื่อถึงการเป็นผู้ “ถูกกระทำ” หรือ passive voice ค่อนข้างชัดเจน โดยมีความหมายถึงสาเหตุ หรือเงื่อนไขหนึ่งทำให้ (令) เกิดอารมณ์ ความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น เช่น

  • 这个消息令人激动。
  • 令人惊讶。
  • 令人失望。

ทั้งนี้จะสังเกตเห็นว่า ส่วนประกอบหลัง “令人” (ซึ่งมักเป็นคำกริยา) จะมีกริยาวิเศษณ์ เช่น “很” ขยายอีกไม่ได้

3. ถ้าหมายถึง “ขอร้อง” (祈求) หรือ “สั่ง” (命令;使令) ให้ใครทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องใช้ “让” หรือ “叫” จะใช้ “使” ไม่ได้ เช่น

  • 老师让/叫大家发表意见。
  • 你去叫她快点儿来。(ประโยคนี้ “叫” ไม่ได้แปลว่า “เรียก”แต่แปลว่า “สั่ง”)

ในกรณีที่หมายถึง”สั่ง” (命令;使令) ถ้าใช้ “令” ส่วนใหญ่จะใช้ได้ในกรณีที่หมายถึงผู้บังคับบัญชา หรือเจ้านาย “สั่ง” ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น

  • 学校令他退学。

ประโยคตามตัวอย่างต่างๆ ด้านบน เรียกว่า 兼语句 คือประโยคที่มีโครงสร้างดังนี้

  • 主语 + 使令动词(叫、让、请等)+ 兼语(宾语/主语) + 动词 + 宾语

兼语 หมายถึงคำที่ทำหน้าที่เป็นทั้งกรรม (宾语) และประธาน (主语) ในขณะเดียวกัน หมายถึงเป็นกรรมของกริยาตัวแรก (使令动词) ในขณะเดียวกัน ก็เป็นประธานของกริยา (动词) ตัวหลัง ดูตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น

  • 老师叫我回答问题。
  • 我请一位老师教我汉语。

เอาพอเข้าใจก่อน จริงๆ “使”、”叫”、”让” รวมทั้ง “被” ยังมีวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นบุพบทอีกด้วย (มีโอกาสค่อยมาว่ากัน)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : 冷, 凉, 寒冷, 暖和, 温暖, 凉爽 และ 凉快

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ต่อเนื่องจาก “冰凉” และ “冰冷” คราวนี้เราจะมาดูคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ หรืออากาศอีกหลายๆ คำ

เริ่มจาก “冷” และ “凉”

1.  “冷” (หนาว) และ “凉” (เย็น) เป็นคำคุณศัพท์ และหมายถึงอุณหภูมิต่ำทั้งคู่ ซึ่งถึงแม้ 2 คำนี้จะใช้บรรยายสภาพ (อากาศที่มี) อุณหภูมิต่ำเหมือนกัน แต่ 2 คำนี้ ก็ใช้แทนกันไม่ได้

“冷” มักใช้กับการบรรยายสภาพอากาศเป็นหลัก เป็นความรู้สึก หรือรับรู้ (ความหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำ) โดยไม่จำเป็นต้องแตะต้อง หรือสัมผัสโดยตรง (ก็รับรู้ได้) เช่น

  • 冷空气。
  • 今天真冷。
  • 冷得浑身发抖。

ส่วน “凉” ก็หมายถึงอุณหภูมิต่ำเช่นเดียวกัน แต่ (มักจะ) เป็นการรับรู้ หรือสัมผัสกับสิ่งของนั้นโดยตรง จึงจะรับรู้ถึงความเย็น อุณหภูมิต่ำของสิ่งของนั้นๆ เช่น

  • 他的脸真凉。
  • 茶凉了。
  • 游泳池的水太凉了。

นอกจากนั้น “凉” ยังใช้บรรยายสภาพอากาศได้เช่นเดียวกับ “冷” แต่อุณหภูมิของ “凉” (เย็น) จะสูงกว่า “冷” (หนาว) ลองเปรียบเทียบประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ Continue reading

การใช้ “做” กับ “作” ทำ, กระทำ (กริยาหรือสิ่งของเรื่องราวต่างๆ) ฯลฯ

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

คำว่า “做” และ “作” — 2 คำนี้ เป็นคำกริยาทั้งคู่ ออกเสียงเหมือนกัน คือ zuò บางครั้งก็ใช้แทนกัน (โดยความหมายไม่เปลี่ยน) ได้อีกด้วย เช่น

  • 叫做、做文章、做诗 จะใช้ว่า
  • 叫作、作文章、作诗 ก็ได้

แต่ 2 คำนี้ก็ยังมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน คือ

  • “做” หมายถึง ทำ (กริยา หรือสิ่งของ) มักใช้กับสิ่งของที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ (เช่น ตัดเย็บเสื้อผ้า,ทำอาหาร, ทำผม, ทำเฟอร์นิเจอร์), เขียน หรือแต่งบทความ (หรืองานเขียนต่างๆ), ผลิต, ทำงาน, เป็น (บทบาท, อาชีพ), กลายเป็น, จัดงาน หรือจัดกิจกรรม, ใช้เป็น, เป็น (มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน) เป็นต้น
  • “作” หมายถึง สร้าง (ทำให้เกิด,ก่อให้เกิด), เขียน หรือแต่ง (บทความ, งานเขียน ฯลฯ), แสร้งทำ, เป็น หรือใช้เป็น, รู้สึก เป็นต้น โดย “作” มักใช้กับสิ่งที่เป็นนามธรรมมากกว่า

ข้อแตกต่างอีกประการ คือ “作” เป็นคำโบราณ มีความเป็นภาษาเขียนมากกว่า ส่วน “做” มีความเป็นภาษาพูดมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ถ้าเป็นสำนวนซึ่งมีการใช้คำที่ใช้ (หรือเข้า) คู่กันอย่างเจาะจงชัดเจนแน่นอน มักจะใช้ “作” เช่น 装模作样

และนอกจาก “作” จะเป็นคำกริยาแล้ว ยังใช้เป็นคำนามได้อีกด้วย เช่น 大作、成名之作、稀世杰作

--> ในแง่ไวยากรณ์ โดยทั่วไป กรรมของ “做/作” มักเป็นคำนาม(名词) หรือคำกริยา(动词)กล่าวอีกอย่าง “做/作” จะวางอยู่หน้าคำนาม หรืออยู่ในรูป

  • “做/作 + 名词宾语” (มีกรรม(宾语)เป็นคำนาม)  (ดูตัวอย่างคำ ส่วนท้าย)
  • “做/作 + 动词宾语”  เช่น 做宣传、做解释、作废

นอกจากนั้น หลัง “做/作” ยังอาจจะมีบทเสริม(补语)ได้ด้วย เช่น 做一下、做不了、做完了、做不完、做好了、做出来了、作得不错、作过、作着、作了半个月 เป็นต้น

ตัวอย่างคำเช่น

  • 做菜
  • 做饭
  • 做头发
  • 做衣裳
  • 做家具
  • 做材料
  • 做作业
  • 做事
  • 做工
  • 做工作
  • 做活儿
  • 做买卖
  • 做生意
  • 做翻译
  • 做戏
  • 做梦
  • 做作
  • 做法
  • 做到
  • 做人
  • 做主
  • 作主 (ใช้ได้ทั้งสองคำแต่นิยมเขียนว่า 作主 มากกว่า)
  • 做伴(儿)
  • 做东
  • 做客
  • 作客 (ใช้ได้ทั้งสองคำ แต่นิยมเขียนว่า 作客 มากกว่า)
  • 做官
  • 做媒
  • 做美
  • 作美 (ใช้ได้ทั้งสองคำแต่นิยมเขียนว่า 作美 มากกว่า)
  • 做朋友
  • 做父亲
  • 做生日
  • 做寿
  • 做礼拜
  • 当做
  • 当作 (ใช้ได้ทั้งสองคำ แต่นิยมเขียนว่า 当作 มากกว่า)
  • 小题大做
  • 做贼心虚
  • 一鼓作气
  • 作画
  • 作文
  • 作文章
  • 作曲
  • 作废
  • 作弊
  • 作罢
  • 作者
  • 作家
  • 作风
  • 作怪
  • 作对
  • 作恶
  • 作为
  • 作用
  • 认贼作父
  • 装模作样
  • 装腔作势

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ความแตกต่างระหว่าง 丰富, 富裕, 富有 และ 丰盛

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

วันนี้มา “ปล่อยของ” อีกชุด (และจะทยอยปล่อยออกมาอีกเป็นระลอกๆ)

丰富、富裕、富有、丰盛 เป็นคำคุณศัพท์ (形容词) ทั้งหมด

หมายถึงอุดมสมบูรณ์, มั่งมี, มีเหลือมากพอ, เหลือกินเหลือใช้, ล้นเหลือ, ร่ำรวย, มีเงินมีทอง, ล่ำซำ ฯลฯ คำเหล่านี้ ถึงแม้จะมีความหมายคล้ายคลึง หรือใกล้เคียงกัน แต่ก็ใช้แทนกันไม่ได้ มาว่ากันทีละตัวเลย

1.丰富 [fēngfù] (อุดมสมบูรณ์) เน้น “ความอุดมสมบูรณ์” ในแง่มีเป็น “จำนวน” มาก และหลากหลาย “ประเภท” ใช้บรรยายได้ตั้งแต่ทรัพย์สินเงินทอง เนื้อหารายการ เนื้อหาหนังสือ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความคิด จินตนาการ อามรณ์ ความรู้สึก ฯลฯ เช่น

  • 丰富的经验
  • 知识非常丰富
  • 丰富多彩
  • 丰富的神话

คำตรงข้ามของ 丰富 [fēngfù] อุดมสมบูรณ์ คือ 缺乏 [quēfá] ขาดแคลน 、贫乏 [pínfá] ขาดแคลน  และ 匮乏 [kuìfá] ขาดแคลน

丰富 นอกจากเป็นคำคุณศัพท์ ยังเป็นคำกริยา (动词) ได้ด้วย เมื่อเป็นคำกริยาจะหมายถึง ทำให้ร่ำรวย, ทำให้อุดมสมบูรณ์, เพิ่มพูน เป็นต้น กรรมของกริยา 丰富 ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่นามธรรม (จับต้องไม่ได้) (แต่ก็ใช้กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ด้วย) เช่น

  • 我想参加一些活动,丰富自己的经验。

2.富裕 [fùyù] (มั่งคั่งบริบูรณ์) เน้น “ความอุดมสมบูรณ์” ในแง่มีมาก มีเหลือกินเหลือใช้ ไม่ขาดแคลน หรือร่ำรวย มั่งคั่งบริบูรณ์นั่นเอง มักใช้บรรยายมาตรฐาน หรือระดับชีวิตความเป็นอยู่ เช่น

  • 富裕社会
  • 富裕生活

3.富有 [fùyǒu] (มั่งมี) เน้นความ “เป็นเจ้าของ”  หรือ “มี” วัตถุสิ่งของในปริมาณ หรือจำนวนมาก ใช้ได้ทั้งกับทรัพย์สินเงินทอง (จับต้องได้) และสิ่งที่เป็นนามธรรม สื่อความหมายในด้านบวก ทั้งนี้ 富有 นิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่า เช่น

  • 富有经验
  • 富有魅力
  • 富有生命力

คำตรงข้ามของ 富有 [fùyǒu] ความมั่งมี คือ 贫穷 [pínqióng] ความยากจน

富有ใช้เป็นคำกริยาได้ (เช่นเดียวกับ 丰富) หมายถึง “มีเป็นจำนวน หรือปริมาณมาก” ฯลฯ ทั้งนี้ กรรมของ 富有 โดยทั่วไปจะต้องเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม (จับต้องไม่ได้) เช่น

  • 富有冒险精神
  • 富有民族特色
  • 富有的银行家

4.丰盛 [fēngshèng] (มากมายหลายอย่าง, มากมายหลากหลาย) ใช้เฉพาะกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ และนิยม (หรือส่วนใหญ่) ใช้กับอาหารการกินเท่านั้น สื่อถึงการมีอาหารการกิน “มาก” และ “ดี” หรือ “อุดมสมบรูณ์” เช่น

  • 丰盛的酒宴

คำตรงข้ามของ 丰盛 [fēngshèng] อุดมสมบูรณ์ คือ 贫乏 [pínfá] ขาดแคลน

ลองดูตัวอย่างประโยคกัน

  • 这本书的内容非常丰富。(เนื้อหาหนังสือ)
  • 中国人正在富裕起来,购买力越来越高。(มาตรฐาน/ระดับชีวิตความเป็นอยู่)
  • 这家公司的老板很富有。(ทรัพย์สินเงินทอง)
  • 昨天的晚会非常丰盛。(อาหารการกิน)

ตัวอย่างประโยค และวลีั (เพิ่มเติม) จาก 百度

  • 中国有丰富  的自然资源。
  • 我们生活在一个富裕的社会中。
  • 你到底有多富有啊?
  • 丰盛的自助晚餐

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้ 在/到/于 +(เวลา/สถานที่ ฯลฯ)

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

เมื่อไรควรใช้บุพบท “在 / 到 /于” นอกจากขึ้นกับความหมายของประโยค (หรือสิ่งที่ผู้พูดต้องการสื่อออกไป) แล้ว ยังขึ้นกับความคุ้นเคยในการใช้งานอีกด้วย

เรามาแยกดูบุพบท 3 ตัวนี้ทีละตัวกัน

1.在/到 + (เวลา)

  • 在 +(เวลา) — เวลาในที่นี้ หมายถึงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ หรือการกระทำกริยานั้นขึ้น
  • 到 +(เวลา) — เวลาในที่นี้ หมายถึงเหตุการณ์ หรือกริยาเกิดขึ้นจนถึงเวลาที่ระบุ หรือดำเนินต่อเนื่องจนถึงเวลาใดเวลาหนึ่ง
  • 在/到 +(เวลา)เมื่อไว้ในประโยคจะวางหน้าภาคแสดง (谓语)(หรือ 动词 — คำกริยา)ทำหน้าที่เป็นบทขยายภาคแสดง(状语)หรือจะวางหลังภาคแสดง (谓语)(หรือ 动词 — คำกริยา)ทำหน้าที่เป็นบทเสริมท้ายภาคแสดง(补语) ก็ได้

เขียนเป็นรูปโครงสร้างให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ คือ

  • 在/到 +(เวลา)+ 谓语(动词)หรือ
  • 谓语(动词)+ 在/到 +(เวลา)

ทั้งนี้ เมื่อ 在 +(เวลา)วางหลัง 谓语(动词)ทำหน้าที่เป็น 补语 ของคำกริยา (动词)ที่อยู่ข้างหน้า มักเป็นคำกริยาที่ไม่เน้น หรือปรากฏกริยาอาการ, การกระทำ หรือการเคลื่อนไหวชัดเจน

ส่วนกรณีของ 到 +(เวลา)วางหลัง 谓语(动词)ทำหน้าที่เป็น 补语 ของคำกริยา (动词)ที่อยู่ข้างหน้า มักเป็นคำกริยาที่เน้น หรือปรากฏกริยาอาการ, การกระทำ หรือการเคลื่อนไหวชัดเจน เช่น

  • 我们在下周就要期末考试了。(วางหน้า 考试)
  • 他在1967年(出)生的。(วางหน้า(出)生)
  • 他(出)生在1967年的。(วางหลัง(出)生)
  • 他生在秋天。(วางหลัง 生)
  • 我把会议安排在明天早上。(วางหลัง 安排)
  • 到冬季,天气比现在更冷。(วางหน้า 比)
  • 我们一直干活干到凌晨两点才干完。(วางหลัง 干)

จะเห็นได้ว่า เมื่อใช้กับเวลา 在 +(เวลา)และ 到 +(เวลา) บุพบท 2 คำนี้ ไม่สามารถใช้แทนกันได้ เพราะทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไป เช่น Continue reading

การกล่าวคำขอบคุณภาษาจีน 谢, 谢谢 หรือ 感谢

คำขอบคุณ ภาษาจีน

คำขอบคุณในภาษาจีน 谢, 谢谢 หรือ 感谢

ถ้าใครได้เคยคบหาเป็นเพื่อนกับคนจีน หรือมีเพื่อนเป็นคนจีน (จริงๆ) จะรู้ หรือสังเกตว่าคนจีนไม่นิยมพูดคำว่า “ขอบคุณ”, “ขอบใจ” หรือ “谢谢” บ่อยๆ เพราะคนจีนถือว่า ถ้าเป็นเพื่อนกันแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเกรงใจ หรือรักษามารยาทกันมากนัก (แต่คนจีนรุ่นใหม่กลับนิยมพูดคำว่า “谢谢” เพราะได้รับอิทธิพลตามวัฒนธรรมตะวันตกนั่นเอง)

คำว่า “ขอบใจ”, “ขอบคุณ” หรือ “ขอบพระคุณ” ฯลฯ ในภาษาจีนที่เราคุ้นเคยกันดี คือคำว่า “谢”、”谢谢” และ “感谢”
Love Chinese ตอนนี้จะมาทำความเข้าใจ (เพิ่มขึ้นนิดนึง) ในวิธีการใช้คำเหล่านี้กัน

  • “谢谢” [xièxiè] ใช้เมื่อแสดงการขอบใจ (ขอบคุณ) ด้วย “คำพูด” หรือ “วาจา” มักใช้เป็นคำพูด หรือการพูดตามมารยาท แต่จะไม่ใช้ในการบอกเล่า (หรือบรรยาย) เพื่อแสดงการขอบใจ (ขอบคุณ) เหมือนคำว่า “谢” หรือ “感谢”
  • “谢” [x] จะใช้ในการบอกเล่า (หรือบรรยาย) เพื่อแสดงการขอบใจ (ขอบคุณ) เป็นส่วนใหญ่
  • “感谢” [gǎnxiè] นอกจากใช้แสดงการขอบใจ (ขอบคุณ) ด้วย “คำพูด” หรือ “วาจา” แล้ว (เหมือน “谢谢”) ยังใช้ในกรณีของ “การให้ของขวัญ” หรือ “พฤติกรรม การกระทำ” ต่างๆ (เช่น การให้ความช่วยเหลือ, สนับสนุน) เพื่อแสดงการขอบใจ (ขอบคุณ) ได้ด้วย นอกจากนั้น “感谢” ยังใช้ในการบอกเล่า (หรือบรรยาย) เพื่อแสดงการขอบใจ (ขอบคุณ) เช่นเดียวกับคำว่า “谢” ได้ด้วย Continue reading