Category Archives: เรียนภาษาจีนกับ Gunth Lpnm

ข้อแตกต่างระหว่าง 冰凉 และ 冰冷 และวิธีใช้งาน

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

เพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศช่วงนี้ที่อยู่ๆ ก็เปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็น (ค่อนหนาว) Love Chinese ตอนนี้ขอนำเสนอคำที่เกี่ยวข้องกับความเยือกเย็น, หนาวเย็น 2 คำ คือ

“冰凉” [bīngliáng] และ “冰冷” [bīnglěng] เป็นคำคุณศัพท์ (形容词) ทั้งคู่ และต่างก็แปลว่า “เย็นเยือก”, “เยือกเย็น” หรือ “เยือกเย็น (เหมือนน้ำแข็ง)” ฯลฯ รวมทั้งมีวิธีการใช้ (ในแง่ไวยากรณ์) ที่ (แทบจะ) เหมือนกัน

โดยทั่วไป เราใช้ “冰凉” และ “冰冷” บรรยายสภาพ “ความหนาวเย็น”, “อุณหภูมิต่ำ” ฯลฯ

--> ข้อแตกต่างระหว่าง 2 คำนี้ คือ

1. “冰凉” [bīngliáng] มักใช้เน้นความรู้สึก “เยือกเย็น” ที่อวัยวะ หรือร่างกายคนรับรู้ (สัมผัส) ได้โดยตรง “冰凉” มักใช้บรรยายสิ่งที่เป็นรูปธรรม สัมผัส หรือจับต้องได้ เช่น น้ำฝน, อวัยวะ หรือสิ่งของทั่วไปๆ เป็นต้น (แต่ก็มีบางกรณีที่ใช้บรรยายสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกได้ด้วย) ตัวอย่างเช่น

  • 冰凉的雨点。
  • 冰凉的海水。
  • 冰凉的石头。
  • 冰凉的手脚。
  • 冰凉的果汁,喝起来挺舒服的。 Continue reading

ศัพท์ภาษาจีน : คำศัพท์เกี่ยวกับการเมือง พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง [政治]

ศัพท์ภาษาจีน การเมือง การเลือกตั้ง
  • 政体 ระบบการปกครอง
  • 帝国主义 จักรวรรดินิยม
  • 寡头政治 คณาธิปไตย
  • 神权政治 เทวาธิปไตย
  • 君主制 ราชาธิปไตย
  • 君主专制政体 สมบูรณาญาสิทธิราชย์
  • 封建制度 ศักดินา
  • 共产主义 คอมมิวนิสต์
  • 民主主义 ประชาธิปไตย
  • 专政 เผด็จการ
  • 军政府 เผด็จการทหาร
  • 专制主义 ระบบใช้อำนาจเบ็ดเด็ดขาด
  • 资本主义 ทุนนิยม
  • 社会主义 สังคมนิยม
  • 自由主义 เสรีนิยม
  • 无政府主义 อนาธิปไตย
  • 贵族制 อภิชนาธิปไตย
  • 威权主义 อำนาจนิยม
  • 保守 อนุรักษ์นิยม
  • 右派 ฝ่ายขวา
  • 左派 ฝ่ายซ้าย
  • 城邦 นครรัฐ
  • 公国 ราชรัฐ
  • 王国 ราชอาณาจักร
  • 联邦 สหพันธรัฐ, สมาพันธรัฐ
  • 联合王国 สหราชอาณาจักร
  • 共和国 สาธารณรัฐ
  • 宪法 รัฐธรรมนูญ
  • 国会、议会 รัฐสภา
  • 首长 ประมุข
  • 领袖 ผู้นำ
  • (国家)元首 ผู้นำประเทศ
  • 统治者 ผู้ปกครอง
  • 独裁者 ผู้นำเผด็จการ
  • 党主席 ประธานพรรค
  • 总统 ประธานาธิบดี
  • 会议主席 ประธานสภา
  • 国会议员 ผู้แทนราษฎร
  • 参议院、上议院 วุฒิสภา, สภาที่ปรึกษา
  • 众议院、民会 สภาผู้แทนราษฎร, สภามวลชน, สภาล่าง
  • (国会)议员 สมาชิก (รัฐ) สภา
  • 上议员、参议员 สมาชิกวุฒิสภา
  • 下议院议员 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • 政府 รัฐบาล
  • 联合政府 รัฐบาลผสม
  • 执政党 พรรครัฐบาล
  • 反对党、在野党 พรรคฝ่ายค้าน
  • 总理 นายกรัฐมนตรี
  • 部长 รัฐมนตรี
  • 内阁 คณะรัฐมนตรี
  • 民会主席 ประธานรัฐสภา
  • 任期 วาระดำรงตำแหน่ง
  • 政府发言人 โฆษกรัฐบาล
  • 政府副发言人、国务院副发言 รองโฆษกรัฐบาล
  • 总理办公室 สำนักนายกรัฐมนตรี
  • 宪庭 ศาลรัฐธรรมนูญ
  • 内阁改组、整阁 การปรับ ครม
  • 散党 ยุบพรรค
  • 预算 งบประมาณ
  • 名单制民代 สส.ระบบบัญชีรายชื่อ
  • 比例制民代 สส.ระบบเลือกตั้ง
  • 政党 พรรคการเมือง
  • 党领袖、党魁 หัวหน้าพรรค
  • 副党魁 รองหัวหน้าพรรค
  • 党管理委员会 คณะกรรมการบริหารพรรค
  • 党员 สมาชิกพรรค
  • 民主党 พรรคเดโมแครต
  • 共和党 พรรครีพับลิกัน
  • 工党 พรรคแรงงาน
  • 保守党 พรรคอนุรักษนิยม
  • 共产党 พรรรคคอมมิวนิสต์
  • 民主党 พรรคประชาธิปัตย์
  • 为泰党 พรรคเพื่อไทย
  • 泰自豪党 พรรคภูมิใจไทย
  • 新政党 พรรคการเมืองใหม่
  • 泰国发展党 พรรคชาติไทยพัฒนา
  • 保王人民党 พรรคประชาราช
  • 爱祖国党 พรรคเพื่อแผ่นดิน
  • 国家开发联盟党 พรรครวมชาติพัฒนา
  • 祖国党 พรรคมาตุภูมิ
  • 111政客 นักการเมืองบ้านเลขที่ 111
  • 选举 (การ) เลือกตั้ง
  • 提名候选 เสนอชื่อลงเลือกตั้ง
  • 普选 การเลือกตั้งทั่วไป
  • 选民 ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  • 选举权 สิทธิเลือกตั้ง
  • 候选人 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
  • 拉选票 หาเสียง
  • 选区 เขตเลือกตั้ง
  • 选票 บัตรเลือกตั้ง
  • 政策 นโยบาย
  • 投票 (การ) ลงคะแนนเสียง
  • 弃权 สละสิทธิ์
  • 当选 ได้รับเลือกตั้ง
  • 落选 สอบตก
  • 违反选举 ฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง
  • 公道、公平 ยุติธรรม
  • 不公平 ไม่ยุติธรรม, อยุติธรรม
  • 公民投票 การออกเสียงประชามติ
  • 民意 ประชามติ
  • 革新 ปฏิรูป
  • 革命 ปฏิวัติ
  • 平等 เสมอภาค
  • 权利 สิทธิ
  • 义务 หน้าที่
  • 政变 รัฐประหาร
  • 人民 ประชาชน
  • 投票者 ผู้ลงคะแนน
  • 抗议 (การชุมนุม) ประท้วง
  • 集会 การรวมตัว, ชุมนุม
  • 抗议集会 การรวมตัว (ชุมนุม) ต่อต้าน, ประท้วง
  • 抗议者 ผู้ชุมนุมประท้วง
  • 暴动 การจลาจล
  • 恐怖主义 การก่อการร้าย
  • 恐怖分子 ผู้ก่อการร้าย
  • 流亡者 ผู้ลี้ภัยทางการเมือง
  • 起义 การลุกฮือ
  • 举事 การกบฎ
  • 内战 สงครามกลางเมือง
  • 10.6事件 เหตุการณ์ 6 ตุลา 19
  • 争取民主 การต่อสู้เรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย
  • 民主运动 การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย
  • 安全法案 พรบ. ความมั่นคง
  • 2550 年洗罪条列 กฎหมายล้างมลทิน
  • 革职 ให้ออกจากตำแหน่ง
  • 逃兵事件 คดีหนีทหาร
  • 动乱分子、动乱者 ผู้ก่อความไม่สงบ
  • 民盟、民盟份子 พธม.
  • 分裂领土分子 ผู้ต้องการแบ่งแยกดินแดน
  • 搞政治 เล่นการเมือง
  • 惠民政策 นโยบายประชานิยม
  • 稻民 ชาวนา, เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
  • 首购车 (นโยบาย) รถคันแรก
  • 首购屋 บ้านหลังแรก
  • 枢密院大臣主席 ประธานองคมนตรี
  • 保卫暹罗组织、维护暹罗组织 องค์กรพิทักษ์สยาม
  • 双重标准 สองมาตรฐาน
  • 呈报的资产表 บัญขีแสดงทรัพย์สิน
  • 个人财产 ทรัพย์สินส่วนบุคคล
  • 配偶 คู่สมรส
  • 中央预算 งบประมาณส่วนกลาง
  • 公共债务 หนี้สาธารณะ
  • 反洗钱法 กฎหมายต่อต้านการฟอกเงิน

เลือก “ตอบคำ” หรือ “ตอบรับ” ด้วยคำไหนดี ระหว่าง “对”、”是”、”行” และ “好”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“对”、”是”、”行” และ “好”  (ที่แปลว่า “ใช่”, “ถูกต้อง”, “ครับ/ค่ะ”, “ได้”, “ตกลง” ฯลฯ)

เราใช้กันบ่อย หรือเป็นประจำ เมื่อต้องการตอบรับคำ (ของคู่สนทนา หรือฝ่ายตรงข้าม)

ทั้ง 4 คำนี้ สามารถใช้เป็นคำตอบรับโดดๆ อย่างเดียวได้

  • “对” ใช้ตอบรับ เมื่อคำตอบ (เนื้อหา หรือความคิดเห็น) นั่น “ถูกต้อง” คือใช้ตอบคำถามว่า “ถูก”, “ใช่” นั่นเอง
  • “是” ใช้ตอบรับ เมื่อเป็นการ “ยืนยัน” คำตอบ และสื่อถึงความเคารพ, ความสุภาพในการตอบรับ
  • “行” ใช้ตอบรับในเชิง “อนุญาต, ยินยอม” ให้กระทำได้ หรือเห็นว่าความคิดเห็น, แผนการนั้น “สามารถกระทำได้” “เป็นไปได้” หรือเห็นว่า “ไม่มีปัญหา”
  • “好” ใช้ตอบรับ เมื่อ “เห็นด้วย” กับคำตอบ หรือความเห็นของคู่สนทนา เหมือนเวลาเราตอบรับว่า “ตกลง”, “โอเค” เป็นต้น

การใช้งาน

โดยทั่วไป คำถามที่ลงท้ายด้วย “…… 对吗?” หรือคำถามที่ต้องการคำตอบว่า “ถูกต้อง/ไม่ถูกต้อง” สามารถใช้ “对” หรือ “不对” ตอบรับได้ ซึ่ง (โดยทั่วไป) คำถามที่ลงท้ายด้วย “…… 对吗?” จะไม่ใช้ “是” ตอบรับ รวมไปถึง “行”、”好” ด้วย เช่น

  • 你看看这个传真号码对吗?——对。

ถ้าใช้กับคำถามที่เป็นการคาดการณ์, ประมาณการ สามารถใช้ “对” และ “是” ตอบรับได้ แต่ใช้ “行”、 “好” ไม่ได้ เช่น

  • 你是新来的学生吧?——对/是。
  • 他在这儿生活两年多了吧?——对/是。

คำถามที่ต้องการคำตอบว่า “ใช่/ไม่ใช่” หรือ Yes/No Question จะใช้ “是” หรือ “不(是)” ตอบรับ โดยทั่วไปจะไม่ใช้ “对” ตอบรับ รวมไปถึง “行”、 “好” เช่น

  • 小明是她的男朋友吗?——是。
  • 你吃不惯这种菜吗?——是,我吃不惯。

ถ้าเป็นคำถามในเชิงขอความเห็น, คำปรึกษา สามารถใช้ “行” หรือ “好” ตอบรับได้ แต่จะไม่ใช้ “是” หรือ “对” ตอบรับ เช่น

  • 我们一起去吧。——行/好。
  • 你去外面时,顺便替我买一件晚报好吗?——好/行。

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี การใช้ “行” และ “好” ก็มีความแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

  • 她心里不太好,你陪她一下儿吧。——行/好。(ใช้ “行” สื่อถึงตอบรับว่า “ไม่มีปัญหา”, ใช้ “好” สื่อถึง “เห็นด้วย, ตอบรับความเห็นของฝ่ายตรงข้าม”)

นอกจากนั้น “是” ยังสื่อถึงความเคารพ, ความสุภาพ ดังนั้น ประโยคที่เป็นคำสั่ง โดยเฉพาะที่เป็น (ประโยค) คำสั่งจากระดับบน (สั่ง) ไปยังระดับล่าง ผู้ใหญ่พูดกับเด็ก ควรใช้ “是” ตอบรับดีที่สุด แต่ก็อาจจะใช้ “好” ตอบรับก็ได้ เช่น

  • 把通知马上传达下去!——是/好!
  • 在这儿休息五分钟!——是/好!

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้ 忽然 และ 突然

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

วันนี้ Love Chinese เอาคำง่ายๆ (แต่บางทีก็ทำเอางงเหมือนกัน) คือ 忽然 และ 突然 มาแนะนำวิธีการใช้ที่ถูกต้อง …

ถ้าเราจะบรรยายเหตุการณ์ หรือการกระทำเกิดขึ้น “อย่างรวดเร็ว และไม่คาดคิดมาก่อน” เราอาจเลือกใช้คำว่า “忽然” หรือ “突然” ก็ได้

2 คำนี้มีความหมายใกล้เคียงกันมาก คือแปลเป็นไทยว่า “ในทันใดนั้นเอง” เป็นต้น ซึ่ง 2 คำนี้ใช้แทนกันได้ในกรณีที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายภาคแสดง (状语)

เมื่อไรควรใช้ “忽然” หรือ “突然” เรามีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  • ถ้าผู้พูดต้องการเน้น “ความรวดเร็ว, ว่องไว” ของการเกิดเหตุการณ์ ก็ให้ใช้ “忽然”
  • แต่ถ้าต้องการเน้นเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่าง “เหนือความคาดหมาย, ไม่คาดคิดมาก่อน” ก็ให้ใช้ “突然”

ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว “突然” จะมีระดับของ “ความรวดเร็ว” และ “เหนือความคาดหมาย” มากกว่า “忽然” เช่น

  • 门忽然/突然开了,走进来一个陌生人。 (เป็น 状语 ใช้ได้ทั้ง 2 คำ แล้วแต่ว่าต้องการเน้นสิ่งใด)
  • 他说着说着,忽然/突然大笑起来。 (เป็น 状语 ใช้ได้ทั้ง 2 คำ เหตุผลเดียวกัน)

ความแตกต่างของ 2 คำนี้ อยู่ตรงประเภทของคำที่แตกต่างกัน กล่าวคือ

  • “忽然” เป็นกริยาวิเศษณ์ (副词)
  • ส่วน “突然” เป็นคุณศัพท์ (形容词)

เมื่อเป็นคำต่างประเภทกัน ในบางกรณีจึงใช้แทนกันไม่ได้ กล่าวคือ

  • เมื่อ “忽然” เป็นกริยาวิเศษณ์จะไม่สามารถมีกริยาวิเศษณ์ที่บ่งบอกระดับ เช่น “很”、”非常” เป็นต้น มาขยายได้อีก
  • ส่วน “突然” เป็นคุณศัพท์ สามารถมีกริยาวิเศษณ์บ่งบอกระดับมาขยายได้ เช่น “很突然”、”非常突然” เป็นต้น

เช่น

  • 这件事发生得太突然了。 (มี 太 ขยายได้)

เมื่อ “突然” เป็นคำคุณศัพท์ นอกจากเป็นบทขยายภาคแสดง (状语) แล้ว ยังเป็นภาคแสดง (谓语), บทขยายนาม (定语) และบทเสริม (补语) ได้อีกด้วย เช่น

  • 他收到的这个消息太突然了。 (เป็น 谓语)
  • 这种突然事件,是很难预料的。 (เป็น 定语)
  • 他走得太突然了。 (เป็น 补语)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ภาษาจีน “等”、”等等” และ “什么的”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

 

หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า “等” หรือ “等等” กันมาบ้าง เวลาอ่าน หรือพูดภาษาจีน เราก็มักจะใช้อยู่บ่อยๆ ใช้ไปใช้มาก็อดจะสับสนว่า เมื่อไรควรจะใช้ “等” เมื่อไรควรจะใช้ “等等”

วันนี้ เราจะมาดูกฎเกณฑ์วิธีการใช้คำ 2 คำนี้ รวมทั้งคำว่า “什么的” ด้วย จะได้หายงงซะที (หรือจะงงยิ่งกว่าเดิม???)

1. “等” และ “等等” ใช้ได้ทั้งในภาษาพูด และภาษาเขียน ส่วน “什么的” ใช้เฉพาะในภาษาพูดเท่านั้น

(ถ้าเปรียบเทียบเฉพาะ “等” กับ “等等” — “等” จะพบ หรือนิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่า ส่วน “等等” มักพบในภาษาพูดมากกว่า อันนี้เป็นรายละเอียดเล็กๆ ให้จำแค่กฎเกณฑ์สำคัญ หลักๆ ก็พอ คือใช้ได้ทั้งในภาษาพูด และภาษาเขียน)

2. หลัง “等” สามารถตามด้วยคำ หรือวลีบอก (หรือสรุปท้าย) สิ่งต่างๆ ที่ยกตัวอย่างมาได้ ส่วน “等等” โดยทั่วไป จะไม่ตามด้วยคำ หรือวลีบอก (หรือสรุปท้าย) สิ่งต่างๆ ที่ยกตัวอย่างมา ส่วน “什么的” จะวางท้ายประโยคเท่านั้น (ข้างหลังจะมีส่วนประกอบอื่นอีกไม่ได้) ตัวอย่างเช่น

  • 水、电、暖气、煤气等设备的检修工作均已完毕。(มี “设备” สรุปท้าย)
  • 青年人积极、热情、有朝气 (zhāo qì)、肯于学习、接受新事物快等等,这些都是难能可贵的优点。(หลัง “等等” ไม่มีคำ หรือวลีสรุปท้าย)

3. เมื่อยกตัวอย่างชื่อเฉพาะ หรือวิสามัญนาม (专有名词) (เช่น ชื่อคน, ชื่อสถานที่ เป็นต้น) ต้องใช้ “等” เท่านั้น จะใช้ “等等” และ “什么的” ไม่ได้ เพราะ (คนจีนถือว่า) สื่อถึงความไม่สุภาพ โดยเฉพาะเมื่อยกตัวอย่างชื่อคน อาทิเช่น

  • 学习结束后,我们将西安、四川等地旅游。(ชื่อสถานที่)
  • 唐代著名的诗人有李白、杜甫、白居易等。(ชื่อคน)

และเมื่อ “什么的” ใช้ในภาษาพูด สิ่งต่างๆ ที่ยกตัวอย่างมากล่าวถึงจึงมักเป็นเรื่องธรรมดาสามัญทั่วๆ ไป เช่น

  • 我刚买了些啤酒、火腿、面包什么的,咱们一起吃吧。

4. ถ้ายกตัวอย่างเพียงสิ่งเดียว เรื่องเดียว ต้องใช้ “等” หรือ “什么的” เท่านั้น จะใช้ “等等” ได้ ต้องยกตัวอย่างอย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป ตัวอย่างเช่น

  • 雅典 (Athens) 等城市输出的精美的手工艺品,都是奴隶血汗的结晶。 (ตัวอย่างเดียว)
  • 妻子在家做饭什么的,丈夫在外打工什么的,日子过得倒也蛮好。 (ตัวอย่างเดียว)
  • 思想、意识等等是主观的东西,做或行动是主观见于客观的东西。 (2 ตัวอย่าง)

5. เราสามารถใช้ “等等” ซ้ำคำ กลายเป็น “等等, 等等” ได้ (อย่าลืมเครื่องหมาย “,” ระหว่างกลางด้วย) ถ้าต้องการสื่อว่า สิ่งที่ยกตัวอย่างยังมีอีกเป็นจำนวนมาก หรือมีนัยสื่อถึงสิ่งที่กล่าวถึงนั้นมีเป็นจำนวนมาก (很多) และในบางกรณี “等等” ยังวางหลัง “如此” ได้ด้วย เช่น

  • 除了这些正在受罪的人以外,长廊两侧还摆着压杠、老虎凳、皮鞭、竹钎、手铐、脚镣,等等,等等。
  • 这个说 “离铁矿太远了”,那个说 “附近没有水源”,还有的说 “交通也很不方便”,如此等等。…… (แปลเป็นไทยก็ประมาณว่า “เช่นนี้เป็นต้น”)

6. “等” ยังสามารถตามด้วยตัวเลขที่เป็นจำนวนรวม (เท่ากับ) สิ่งต่างๆ ที่ยกตัวอย่าง หรือกล่าวถึงได้ด้วย เช่น

  • 我国古代有造纸、印刷术、指南针、火药等四大发明。
  • 中国有北京、上海、天津、重庆等四个中央直辖市。

การใช้ 安静, 宁静, และ 平静

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

เวลาพูดถึงสภาวะ “เงียบสงบ”, “เงียบสงัด”, “ไร้สุ้มเสียง” ฯลฯ เรามักนึกถึงคำว่า “安静” ก่อน … เพราะนักเรียนภาษาจีนส่วนใหญ่มักได้เรียนรู้คำคุณศัพท์คำนี้ก่อนคำอื่น นอกจาก “安静” แล้ว ภาษาจีนยังมีคำศัพท์อื่นที่ใช้บรรยายสภาพ สภาวะนี้ได้อีก … Love Chinese ตอนนี้จะว่าถึงเรื่องนี้โดยเฉพาะ

1. “安静”、”宁静” และ “平静” ทั้ง 3 คำนี้ เป็นคำคุณศัพท์ (形容词) ทั้งหมด มีความหมายว่า “เงียบสงบ”, “สงัด”, “ไร้ซุ่มเสียง”, “ไม่เคลื่อนไหว” (静) ทั้งสิ้น แต่ทั้ง 3 คำมีจุดเน้น และวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน เรามาดูกันเลย

  • “安静” และ “宁静” ใช้บรรยายสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ไม่มีเสียง ถ้าเปรียบเทียบกัน “宁静” จะเงียบสงบกว่า “安静” เล็กน้อย
  • “安静” จะเน้นที่ “ไม่มีเสียงรบกวน”, “ไม่มีเสียงดังอึกทึกคึกโครม” มักใช้กับสภาพแวดล้อมที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน หรือมีขอบเขตชัดเจน สถานที่จำเพาะเจาะจงที่ใดที่หนึ่ง
  • “宁静” จะเน้นที่ “ความเงียบสงบ”, “เงียบสงบเป็นพิเศษ”, “ไม่มีเสียง หรือไม่ได้ยินเสียงใดๆ เลยสักนิดเดียว” มักจะใช้กับสภาพแวดล้อมขนาดใหญ่

ลองเปรียบเทียบตัวอย่างกันดู

  • 安静的屋子里,只有我在看书。(เน้นความเงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวน)
  • 宁静的教室里,只听到考生们唰唰地写字声。(ประโยคนี้ใช้ “宁静” ได้ ถ้าต้องการเน้นถึงความเงียบสงบมากๆ ไม่มีเสียงใดๆ นอกจากเสียงขีดเขียน)
  • 阅览室里很安静,同学们都在认真地读书。(สถานที่, สภาพแวดล้อมมีขอบเขตจำเพาะชัดเจน)
  • 宁静的夜空中,只有三三两两的星星在眨着眼。(สภาพแวดล้อมมีขอบเขตกว้างใหญ่)

“平静” จะเน้นสภาพที่ “ไม่เคลื่อนไหว, (เหตุการณ์, สถานการณ์, สภาพแวดล้อม) คงที่” มักใช้บรรยายสภาพแวดล้อม (เช่น น้ำ, ผิวน้ำ) ที่สงบคงที่ ไม่เคลื่อนไหว เช่น

  • 湖面上平静得很,一只小船浮在上面一动也不动。(บรรยายสภาพน้ำ)
  • 外面很平静,不像有敌人打进来的样子。(สภาพแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว)

--> ดังนั้น ถ้าเราต้องการบรรยายถึงสภาพแวดล้อมที่ “เงียบสงบ ไม่มีเสียง” จะใช้ “平静” ไม่ได้ เพราะ “平静” จะเน้นที่ “ไม่เคลื่อนไหว” เป็นสำคัญ (ไม่เน้นความเงียบสงบ)

2. “安静”、”宁静”、”平静” นอกจากใช้บรรยายสภาพแวดล้อมแล้ว ยังใช้บรรยายสภาพ หรือสภาวะจิตใจของคน และชีวิตความเป็นอยู่ที่ราบรื่น, ราบเรียบ ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ลุ่มๆ ลอนๆ ฯลฯ สื่อถึง “ความมั่นคงปลอดภัย” (安稳) ในชีวิต บางกรณีใช้แทนกันได้ แต่จุดเน้นต่างกัน

  • “安静” เน้นสภาพจิตใจ หรือชีวิตความเป็นอยู่ที่สงบ เป็นปกติ มั่นคง (安定)
  • “平静” เน้นสภาพจิตใจ หรือชีวิตความเป็นอยู่ที่สงบ ราบรื่น ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ลุ่มๆ ดอน (没有不安和动荡)
  • “宁静” เน้นสภาพจิตใจ หรือชีวิตความเป็นอยู่ที่ราบเรียบ สงบสุขอย่างยิ่ง ไม่มีสิ่งรบกวน ทำให้กังวลใจ (特别地平和,没有一点儿骚扰) แต่ “宁静” จะใช้กับชีวิตความเป็นอยู่มากกว่า (ใช้กับสภาพจิตใจน้อย)

*** โดยสรุป ถ้าใช้กับสภาพจิตใจ เราจะใช้ “平静” เป็นหลัก ถัดมา คือ “安静” ส่วน “宁静” จะใช้น้อยที่สุด เช่น

  • 听了他的事迹,我们激动的心情久久不能平静。
  • 大家好不容易有了这样一个环境,可以平平静静/安安静静的生活了。
    • เน้นสภาพชีวิตที่สงบ ราบรื่น ใช้ “平静”  (平 ราบรื่น)
    • เน้นสภาพชีวิตที่มั่นคง เป็นปกติ ใช้ “安静” (安 ความปลอดภัย)
    • จะสังเกตว่า 2 คำนี้ความหมายค่อนข้างใกล้เคียงกัน จึงใช้แทนกันได้ในบางกรณี ขึ้นกับจุดที่ต้องการเน้น
  • 过了好长时间,他的心情才平静/安静/宁静下来。(ประโยคนี้ ใช้ได้ทั้ง 3 คำ)

—> และถ้าต้องการบรรยายสภาพจิตใจที่ไม่สงบ, วุ่นวาย, สับสน เปลี่ยนสภาพกลายเป็น (จิตใจที่) สงบ เป็นปกติ ไม่มีความกังวลใจ ต้องใช้ “平静” เท่านั้น เช่น

  • 读了妈妈的信,她的心怎么也平静不下来了。

นอกจากนั้น ในบางกรณี “安静” และ “宁静” ยังใช้บรรยายบุคลิกของคนได้อีกด้วย เช่น

  • 他是一个那么安静/宁静的男孩儿。

“平静” ยังสามารถใช้กับทัศนคติของคนที่สบายๆ ไม่เคร่งเครียด, ไม่ตื่นเต้น ฯลฯ

  • 他异常平静地说,“我同意离婚”。

3. ในแง่ไวยากรณ์ หรือวิธีการใช้งาน “安静”、”平静” ใช้ได้ทั้งในภาษาพูด และภาษาเขียน ส่วน “宁静” ใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น

“安静”、”平静” ใช้ในรูปการซ้ำคำเป็น “AABB” ได้ แต่ “宁静” ซ้ำคำแบบนี้ไม่ได้ เช่น

  • 安安静静地座。
  • 平平静静地处理问题。

“安静”、”平静” เป็นบทขยายภาคแสดง (状语) และบทเสริม (补语) ได้ ส่วน “宁静” ใช้แบบนี้ไม่ได้ เช่น

  • 孩子总算安静地睡着了。(เป็น 状语)
  • 教室里显得异常安静。(เป็น 补语) (异常安静 เงียบผิดปกติ)
  • 他平静地注视着那几个人。(เป็น 状语)
  • 她表现得很平静。(เป็น 补语)

นอกจากนั้น “安静” ยังเป็นคำกริยา (动词) ได้อีกด้วย เมื่อเป็นคำกริยาจึงสามารถซ้ำคำในรูป “ABAB” ได้ด้วย เช่น

  • 请大家安静一下。
  • 你安静一会儿,好不好?
  • 你们安静安静好吗?我们要休息了?

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : 对、双 – เรื่องของ “คู่” ที่เป็นลักษณะนาม

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

คำว่า “คู่” (สักษณะนาม) ในภาษาจีน มีให้เลือกใช้ 2 คำ คือ “对” และ “双”

2 คำนี้ เมื่อใช้เป็นลักษณะนามจะใช้กับสิ่งของ (รวมทั้งคน) ที่มีอยู่เป็นจำนวน 2 (คน, ชิ้น, อัน ฯลฯ) อาจหมายถึงสิ่งของที่อยู่ด้วยกัน เข้าคู่กัน หรือเป็นคู่กันก็ได้ ปกติจะใช้แทนกันไม่ได้ และมีคำ (หรือสิ่งของ) จำนวนน้อย (มากๆ) ที่ใช้ได้ทั้ง “对” และ “双”

“对” ใช้กับสิ่งของเป็นคู่ (จำนวน 2) โดยสิ่งของนั้น เกิดจากคนทำขึ้น สร้างขึ้น (ให้เป็นคู่กัน) พูดอีกนัยหนึ่ง คือไม่ได้เกิดขึ้น หรืออยู่เป็นคู่กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมตามธรรมชาติ

สิ่งของเป็นคู่ที่ใช้ “对” เป็นลักษณะนาม มักเป็นของที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน หรือเข้าคู่กัน (เช่น เพศชายหญิง, ตัวผู้ตัวเมีย ฯลฯ) จะเป็นคน, สัตว์, สิ่งของก็ได้ บางกรณียังใช้กับคน หรือสิ่งของประเภท หรือชนิดเดียวกันที่นำมาเข้าคู่ หรือจัดให้เป็นคู่กันได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

  • 一对夫妇 (คู่สามีภรรยา)
  • 一对男女 (คู่ชายหนุ่มหญิงสาว)
  • 一对金鱼 (ปลาทอง 1 คู่)
  • 一对鸳鸯 (เป็ดแมนดาริน 1 คู่)
  • 一对花瓶 (แจกันดอกไม้ 1 คู่)
  • 一对矛盾 (ความขัดแย้ง 1 คู่)
  • 一对对联 (โคลงคู่ 1 คู่)
  • 一对电池 (ถ่านไฟฉาย 1 คู่)
  • 两对枕头 (หมอน 2 คู่)

“双” ใช้กับสิ่งของเป็นคู่ (จำนวน 2) ที่อยู่เป็นคู่ (ใช้เป็นคู่, มีเป็นคู่ ฯลฯ ) มาแต่ดั้งเดิมตามธรรมชาติอยู่แล้ว มักเป็นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะร่างกายของคน (รวมทั้งสัตว์) หรืออวัยวะที่แบ่งเป็นด้านซ้าย – ขวา

เพราะฉะนั้น ถ้าเปรียบเทียบระหว่าง “对” กับ “双” — “双” จะเน้นจำนวนเลข 2 มากกว่า “对” ตัวอย่างเช่น

  • 一双眼睛 (ดวงตา 1 คู่)
  • 一双手 (มือ 1 คู่)
  • 一双筷子 (ตะเกียบ 1 คู่)
  • 一双翅膀 (ปีกนก/ปีกแมลง 1 คู่)
  • 一双鞋 (รองเท้า 1 คู่)
  • 五双袜子 (ถุงเท้า 5 คู่)

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า มีคำ (หรือสิ่งของ) จำนวนน้อย (มากๆ) ที่ใช้ได้ทั้ง “对” และ “双” เป็นลักษณะนาม (ดูตัวอย่างข้างล่าง) ข้อแตกต่าง คือ เมื่อใช้ “对” จะเน้นที่ความเป็นคู่ตรงข้าม หรือเข้าคู่กัน (เช่น เพศชายหญิง) แต่ถ้าใช้ “双” จะเน้นที่จำนวนเลข 2 ของสิ่งของนั้นเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น

  • 一对/双眼睛 (ดวงตา 1 คู่)
  • 一对/双翅膀 (ปีกนก/ปีกแมลง 1 คู่)
  • 一对/双儿女 (ลูกชายหญิง 1 คู่)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

เมื่อไร … จึงจะใช้ “看看”、”看(一)看” และ “看了看”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

หลายคนเรียนภาษาจีนมาได้สักระยะหนึ่ง อาจจะงงๆ หรือสับสนเกี่ยวกับการซ้ำคำกริยาในภาษาจีน เช่น 看看、看(一)看 และ 看了看 ว่าควรใช้ยังไง เมื่อไรดี

วันนี้มาดูกันคร่าวๆ พอให้หายงงกันหน่อย

การซ้ำคำกริยา ถ้าเป็นคำกริยาพยางค์เดียว จะซ้ำในรูป AA หรือ A(一)A และ A了A เช่น

  • 看看
  • 看(一)看 (“一”ในวงเล็บ สามารถละไม่พูดได้ หรืออยู่ในรูป AA นั่นเอง)
  • 看了看

ถ้าเป็นคำกริยาพยางค์คู่ จะซ้ำในรูป ABAB และ AB了AB เช่น

  • 介绍介绍
  • 介绍了介绍

การซ้ำคำกริยาจะใช้เมื่อกริยาเกิดขึ้นค่อนข้างรวดเร็ว หรือในเวลาสั้นๆ เราจะใช้ การซ้ำคำกริยาในกรณีใดบ้าง มาดูตัวอย่างการซ้ำคำกริยาคำว่า “看” กัน

1. ถ้าผู้พูด (ตนเอง) ต้องการดู (ทำกริยานั้น) สักครู่ สักหน่อย สักประเดี๋ยว หรือเชิญชวนให้คนอื่นดู (ทำกริยานั้น) สักหน่อย เราจะใช้ 看看 หรือ 看(一)看 และเหตุการณ์ (หรือกริยานั้น) ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อสื่อถึงความสุภาพในการสื่อสาร เช่น

  • 请等一下,让我看(一)看。
  • 老师,这是我的功课,请你看(一)看。

2. ถ้าต้องการสื่อถึงการดู (ทำกริยานั้น) อย่างรวดเร็ว และเหตุการณ์ (กริยานั้น) ได้เกิดขึ้นแล้ว จะใช้ 看了看 เช่น

  • 老师拿过我的作业,看了看,很快发现有个错误。

(จะสังเกตว่า หลังกริยา 看了看 มักจะมีกริยาอีกตัวหนึ่ง เกิดขึ้นต่อเนื่องทันที)

3. ถ้าเป็นการดู (ทำกริยานั้น) เป็นประจำ สม่ำเสมอ จะใช้ 看看 เพื่อสื่อถึงการทำกริยานั้นแบบเรื่อยๆ สบายๆ เป็นประจำ ไม่จริงจัง ไม่เป็นการเป็นงาน เช่น

  • 他退休以后,每天看看书,看看报,散散步,过得很愉快。

แต่ถ้าต้องการสื่อถึงการดู (ทำกริยานั้น) ด้วยอาการยุ่ง, จริงจัง เป็นการเป็นงาน เคร่งเครียด ฯลฯ จะซ้ำกริยาไม่ได้ เช่น

  • 他每天很忙,又要看书,又要写文章。

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้ “只是”、”不过”、”可是”、”但是” และ “然而”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“只是”、”不过”、”可是”、”但是” และ “然而” ทั้งหมด เป็นคำสันธาน (连词)

ใช้เชื่อมข้อความ (ประโยคย่อย, อนุประโยค) ที่มีความสัมพันธ์แบบ 转折 (หมายถึงข้อความ (ประโยค) ส่วนหน้า และส่วนหลัง มีความสัมพันธ์แบบหักมุม, ตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกัน)

ข้อแตกต่าง และวิธีการใช้คำสันธานเหล่านี้ คือ

1. ในแง่น้ำหนัก (ความหนักเบา) ของความหมายของความสัมพันธ์แบบ 转折

  • “只是”、”不过” — สื่อ หรือบอกความหมายของความสัมพันธ์แบบ 转折 น้อย (เบา)
  • ส่วน “可是”、”但是”、”然而” — สื่อ หรือบอกความหมายของความสัมพันธ์แบบ 转折 มาก (หนัก หรือชัดเจน) โดยเฉพาะ “然而” สื่อความหมายของความสัมพันธ์แบบ 转折 มาก (หนัก) ที่สุด

ถ้าเรียงลำดับน้ำหนัก (ความหนักเบา) ของ (ความหมายของ) ความสัมพันธ์แบบ 转折 จากมาก (หนัก) ไปหาน้อย (เบา) จะเป็น ดังนี้

  • 然而 > 但是 > 可是 > 不过 > 只是

2. ในแง่การใช้งาน “只是”、”可是” มักใช้ในภาษาพูด “不过”、”但是” ใช้ทั้งในภาษาพูด และภาษาเขียน ส่วน “然而” เป็นภาษาจีนโบราณ (文言) ใช้ในภาษาเขียนเป็นหลัก

3. “只是” ใช้เสริมความ, ขยายความ หรืออธิบายข้อความ (หรือประโยค) ที่อยู่ข้างหน้า ส่วน “不过” ใช้เสริมความ, ขยายความในบางกรณีได้ด้วยเช่นเดียวกัน เช่น

  • 我早想来你这儿看看,只是没有时间。(เสริมความ)
  • 老师很欣赏你的才干,不过他还是希望你在下面多锻炼锻炼。(เสริมความ)

ส่วน “可是”、”但是”、”然而” สื่อ หรือบอกความขัดแย้ง, ตรงกันข้ามของข้อความ (ประโยค) ส่วนหน้า และส่วนหลัง (ดังนั้น) ความสำคัญ หรือสาระที่ (ผู้พูด) ต้องการสื่อจะอยู่ที่ข้อความ หรือประโยคหลัง เช่น

  • 这菜看上去不怎么样,可是吃起来却挺不错。(บอกความขัดแย้ง, ตรงกันข้าม)
  • 她的声音虽然不大,但是却很坚决。(บอกความขัดแย้ง, ตรงกันข้าม)
  • 试验多次被迫停止,然而他们并不灰心。(บอกความขัดแย้ง, ตรงกันข้าม)

ด้วยเหตุนี้ ถ้าเป็นการเสริมความ, ขยายความ หรืออธิบายข้อความ (หรือประโยค) จะใช้ “可是”、”但是”、”然而” ไม่ได้

และถ้าเป็นการสื่อ หรือบอกความขัดแย้ง หรือตรงกันข้ามกัน (ของข้อความ หรือประโยคส่วนหน้า และส่วนหลัง) จะใช้ “只是” ไม่ได้ (ดูตัวอย่างข้างบน)

4. คำที่ใช้ร่วมกัน (เข้าคู่กัน)

เมื่อใช้ “只是”、”不过” น้ำเสียงที่สื่อออกมาจะเบา, ไม่ชัดเจนตรงไปตรงมา (เป็นการสื่ออย่างอ้อมๆ หรือนุ่มนวล) ดังนั้น จะไม่ใช้ร่วมกับ “虽然” และ “却” (ข้อความ หรือประโยคส่วนหน้าจะไม่ใช้ “虽然” และประโยคส่วนหลังจะไม่ใช้ “却”) เช่น

  • 我其实很想去看看那个展览,只是太忙。
  • 她的脾气一向很大,不过现在好多了。

ส่วน “可是”、”但是” น้ำเสียงที่สื่อออกมาจะหนัก, ชัดเจน, ตรงไปตรงมา ดังนั้น มักจะใช้ร่วมกับ “虽然” และ “却” หรือ “还” เช่น

  • 他虽然很忙,可是还是抽出时间来医院看你。
  • 实验虽然被迫停止,但是他并没有停止研究。

ส่วน “然而” ถึงแม้น้ำเสียงจะสื่อความสัมพันธ์แบบ 转折 ชัดเจน แต่ (โดยทั่วไป) จะไม่ใช้ร่วมกับ “虽然” เช่น

  • 条件确实很差,然而没有一个被它吓倒。

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“点儿” กับ “些” จำนวนไหนมากกว่า จำนวนไหนน้อยกว่า

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“点儿” กับ “些” เป็นคำลักษณนาม (量词) ทั้งคู่ ทั้งสองคำ หมายถึงจำนวนที่ไม่แน่นอน “จำนวนหนึ่ง”

ระหว่าง “点儿” กับ “些” ในแง่จำนวน “点儿” จะมีจำนวนน้อยกว่า “些” เช่น

  • 去商店买了点儿吃的。
  • 去商店买了些吃的。
  • 我还有点儿事要跟你商量呢。
  • 我还有些事要跟你商量呢。

“点儿” กับ “些” เมื่อใช้ร่วมกับ “这/那” หรือ “这么/那么” จะกลายเป็นคำสรรพนามชี้เฉพาะ ความหมายของทั้ง 2 คำนี้จะแตกต่างกัน คือ

1.ในด้านความหมาย

1.1 “这些/那些” หมายถึง “จำนวนหนึ่ง” (มากกว่าหนึ่ง แต่ไม่ระบุจำนวนที่แน่นอน) แต่ไม่ได้สื่อ หรือบอกว่าเป็นจำนวน “มาก” หรือ “น้อย” เช่น

  • 这些礼物是送给谁的?
  • 把那些书发给大家。

1.2 “这点儿/那点儿”นอกจากหมายถึงจำนวนน้อยแล้ว ยังเป็นการเน้นจำนวนที่ “น้อยมาก” อีกด้วย เช่น

  • 这点儿饭够谁吃呀?
  • 那点儿活一会儿就干完了。

1.3 “这么些/那么些” ใช้เมื่อผู้พูดต้องการเน้นจำนวนที่ “มาก” เช่น

  • 这么小的车哪儿能坐下这么些人啊?
  • 今天要洗那么些衣服啊。

1.4 “这么点儿/那么点儿” ใช้เมื่อผู้พูดต้องการเน้นจำนวนที่ “น้อยมากๆ” เช่น

  • 这么点儿作业也嫌多,还想不想学了?
  • 怎么就来了那点儿人啊,不是说有十几个人吗?

2.ในด้านการใช้งาน หรือไวยากรณ์

2.1 “点儿” กับ “些” เมื่อวางหลังคำคุณศัพท์ (形容词) หรือคำกริยา (บางคำ) (动词) จะทำหน้าที่เป็นบทเสริม หรือ 补语 หมายถึงจำนวนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง (แล้วแต่กรณี) กรณีนี้ “点儿” กับ “些” สามารถใช้แทนกันได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกัน “些” จะมีความหมาย “หยาบ” กว่า “点儿” เล็กน้อย (หมายถึง “些” ให้ความรู้สึกไม่ชัดเจนเท่า “点儿”) เช่น

  • 贵了点儿/贵了些
  • 高兴点儿/高兴些
  • 放松点儿/放松些
  • 注意点儿/注意些

2.2 หน้า “点儿” สามารถมี “一”、“半” อยู่ได้ หรืออยู่ในรูป “一点儿”、“半点儿” โดยจะใช้ในรูปปฏิเสธ เป็นการเน้นการปฏิเสธทั้งหมด เช่น

  • 爸爸最近忙不过来,一点儿时间也没有。
  • 你怎么半点儿信心也没有?

2.3 “点儿” สามารถใช้ในรูปซ้อนคำ และข้างหน้ามี “一” หรืออยู่ในรูป “一点点儿” หมายถึงจำนวนน้อยมากๆ ได้ด้วย เช่น

  • 就这么一点点儿东西,够我们吃吗?
  • 我只会一点点儿汉语。

2.4 หน้า “些” สามารถมีคำ เช่น “好”、“老” อยู่ได้ หรืออยู่ในรูป “好些”、“老些” หมายถึงจำนวนมาก หรือ “多” นั่นเอง เช่น

  • 外面来了好些人。
  • 吃了好些东西。

2.5 นอกจากนั้น “些” ยังสามารถวางหลัง “某” โดยทำหน้าที่เป็นบทขยายนาม หรือ 定语 ได้ด้วย หมายถึงจำนวนที่ไม่ระบุชัดแน่นอน เช่น

  • 某些公司 (บริษัทบางแห่ง)
  • 某些地区 (บางพื้นที่, พื้นที่บางแห่ง)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese