ตอน เรื่องความเป็นมาของคำว่ากู 孤

อ.อี้ hsk & patจีน

ตอน เรื่องของกู 孤 [gū]

หลายท่านอาจคิดว่าผมเล่นมุขคำพ้องเสียงจีน-ไทยเฉยๆ ความจริงไม่ได้ต้องการอธิบายคำว่า กู เเต่หมายถึง 孤 ต่างหาก เเต่อันที่จริงของอันที่จริงอีกที ผมหมายถึงคำว่า กู ของกูมึง นั่นเเหล่ะครับ

เรื่องมีอยู่ว่า ความจริงในยุคสมัยก่อนยุคชุนชิว 春秋 [chūnqiū] ภาษาจีนก็ปรากฏสรรพนามบุรุษที่หนึ่งคำว่า กู 孤 เเล้ว มีความหมายว่า “ข้าพเจ้า” เป็นสรรพนามบุรุษที่หนึ่งสำหรับเจ้าเเห่งเเคว้น/อ๋อง นั่นเอง (ก่อนยุคราชวงศ์ฉิน 秦 [qín] ไม่มีฮ่องเต้ มีเเต่่ท่านอ๋อง 王 [Wáng] )

ในภาพยนตร์จีนเเนวพงศาวดาร เรามักจะได้ยินกษัตริย์ใช้สรรพนามเเทนตัวเองด้วยคำ 3 คำอันได้เเก่ 孤 [gū], 寡人 [guǎrén],  朕 [zhèn] เชื่อว่านักเรียนนักศึกษาคงสงสัยว่าคำเหล่านี้ต่างกันอย่างไร

คำตอบก็คือ ประการเเรก เป็นคำที่ใช้ในยุคสมัยที่เเตกต่างกันครับ คำว่า 孤 [gū], 寡人 [guǎrén] เป็นสรรพนามบุรุษที่หนึ่งสำหรับกษัตริย์ ในยุคชุนชิว 春秋(รวมราชวงศ์ฉิน秦) เเต่ต่อมา เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้ 秦始皇帝 [qínshǐhuáng dì]  รวมรวมเเผ่นดินเป็นปึกเเผ่นเเล้ว ได้บัญญัติคำว่า 皇帝 [huángdì] ฮ่องเต้ ขึ้นมา เพื่อเป็นราชันย์ในหมู่ราชันย์ จึงได้มีการกำหนดสรรพนามของฮ่องเต้ขึ้น นั่นคือคำว่า 朕 [zhèn]  นั่นเอง ส่วนคำว่า 孤 [gū], 寡人 [guǎrén] ถูกลดฐานะลงเป็นสรรพนามสำหรับอ๋องเเละศักดินาที่ได้รับการเเต่งตั้ง

เช่นในยุคสามก๊ก(ปลายราชวงศ์ฮั่น) เล่าปี่ ซุนกวน เเละโจโฉไม่เคยเรียกตัวเองว่า 朕 เเต่จะใช้เเค่คำว่า孤 หรือไม่ก็ 寡人เท่านั้น เพราะพวกเขาไม่ได้เป็นฮ่องเต้ มีเเต่พระเจ้าเฮี่ยนเต้ ถึงจะใช้สรรพนามเเทนตัวเองว่า 朕

ส่วน 孤 กับคำว่า 寡人 ต่างกันไหม คำตอบคือ โดยทั่วไป คนทางภาคกลางจนถึงใต้(ใกล้พม่า ไทย เขมร) นิยมใช้ 孤 ส่วนคนทางเหนือใช้คำว่า 寡人

ด้วยเหตุนี้จึงไม่เเปลก หากภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีคำบางคำ เป็นคำพ้องเสียงเเถมยังพ้องความหมายกับภาษาจีน ดังเช่นคำว่า孤 [gū] กับ กู นั่นเอง

ส่วนคราวหน้าจะมี เรื่องของมึง เเล้วก็เรื่องของเเม่งด้วยไหม? โปรดติดตามตอนต่อไป

สวัสดี(- /i\ -)
ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน