สุภาษิตจีน : คนเมืองฉี่กังวลว่าฟ้าจะถล่ม [杞人忧天]

สุภาษิตจึน

杞人忧天 [qǐrényōutiān] : คนเมืองฉี่กังวลว่าฟ้าจะถล่ม

ในสมัยอดีตกาล รัฐฉี่(สมัยโจว ปัจจุบันอยู่ในมณฑลหูหนาน) มีชายผู้หนึ่งเป็นคนขี้ขลาดตาขาว และสติไม่ค่อยสมประกอบ เขามักจะขบคิดอยู่กับปัญหาแปลกประหลาด และเป็นปัญหาที่เมื่อเอาไปถามใครก็ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเป็นคำถามที่ไร้สาระ หาแก่นสารไม่ได้

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเขารับประทานอาหารค่ำเสร็จแล้ว ก็ถือพัดออกไปนั่งอยู่ที่หน้าประตูบ้าน และรำพึงรำพันกับตัวเองว่า

“ถ้าวันใดวันหนึ่ง ฟ้าถล่มลงมา แล้วเราจะทำยังไงดีนะ จะหนีก็คงหนีไม่ทัน ต้องโดนฟ้าทับตายอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่แน่ๆ”

ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เขาก็เอาแต่วิตกกังวลอยู่กับปัญหานี้ เพื่อนฝูงเมื่อเห็นว่าสติเขาเริ่มฟั่นเฟือนลงไปทุกวันๆ หน้าตาก็เศร้าหมองอมทุกข์ ก็ต่างเป็นห่วงเป็นใย และช่วยกันเตือนสติชายผู้นี้ว่า

“เพื่อน ท่านอย่างมานั่งวิตกกังวลกับปัญหาแบบนี้เลย ท้องฟ้าไม่มีทางถล่มลงมาหรอก หรือถ้าสมมติว่าฟ้าถล่มลงมาจริง ก็ไม่ใช่เรื่องที่ท่านเพียงคนเดียวมาขบคิดวิเคราะห์แล้วสามารถแก้ไขได้ เพราะใต้ฟ้าก็ไม่ได้มีท่านเพียงคนเดียว ปล่อยวางเสียเถอะ”

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะตักเตือนหรือปลอบใจอย่างไร ชายชาวเมืองฉี่ผู้นี้ก็ไม่เชื่อ ยังคงวิตกกังวลกับปัญหานี้ต่อไป

ต่อมา คนยุคหลังได้นำเรื่องเล่านี้มาตั้งเป็นสุภาษิต ฉี่เหรินโยวเทียน แปลตรงตัวคือ คนเมืองฉี่กังวลต่อฟ้า โดยในเรื่องคือคนเมืองฉี่กลัวฟ้าถล่ม ใช้เปรียบเทียบผู้ที่มัววิตกกังวลอยู่กับเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ หรือเรื่องที่ไม่มีที่มาที่ไป ไร้สาระ
sugarcane 发表于 2008-5-10 12:24

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : สุนัขจิ้งจอกแอบอ้างบารมีเสือ [狐假虎威]

สุภาษิตจึน

狐假虎威 [hújiǎhǔwēi] สุนัขจิ้งจอกแอบอ้างบารมีเสือ

ในสมัยจั้นกั๋ว(สงครามระหว่างรัฐ) เมื่อครั้งที่รัฐฉู่เข้มแข็งถึงที่สุด อ๋องฉู่เซวียน(楚宣王)เกิดความคลางแคลงใจว่า เหตุใด ทุกรัฐในแดนเหนือจึงได้กลัวเกรงแม่ทัพซีซู่(奚恤)ซึ่งเป็นแม่ทัพใต้บังคับ บัญชาของพระองค์นัก พระองค์จึงได้สอบถามปัญหานี้กับบรรดาขุนนางข้างกายของพระองค์
มีขุนนางนามว่า เจียงอี่ว์ (江乙)มิได้ตอบคำถามอ๋องรัฐฉู่โดยตรง แต่กลับเล่านิทานเรื่องหนึ่งถวายพระองค์ เรื่องมีอยู่ว่า

กาลครั้งหนึ่ง มีเสือตัวใหญ่อาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ด้วยความหิว จึงออกมาหาอาหาร และได้พบกับสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งกำลังเดินอยู่ในป่าลึก จึงได้ตะครุบเพื่อหวังกินเป็นอาหาร แต่ธรรมชาติของสุนัขจิ้งจอกนั้นมีความกลิ้งกลอก เพื่อความอยู่รอดมันจึงชิงกล่าวกับเสือว่า
“แกรู้หรือเปล่าว่าข้าเป็นใคร ข้าได้รับคำสั่งจากสวรรค์ให้มาดูแลควบคุมสัตว์ต่างๆบนโลกนี้ ถ้าแกกินข้าก็เท่ากับขัดคำสั่งสวรรค์ ต้องโดนสวรรค์ทำโทษแน่นอน”

เมื่อเสือได้ยินดังนั้นก็หยุดชะงัก ในใจเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พอเห็นดังนั้นจิ้งจอกได้ทีจึงรียพูดต่อว่า
“ถ้าเจ้าไม่เชื่อ เดี๋ยวเดินตามหลังข้ามา แล้วคอยดูว่าพอสัตว์ต่างๆพบข้า พวกมันต่างก็กลัวจนหัวหดหรือไม่ ” เสือได้ฟังก็เห็นว่าวิธีนี้ไม่เลว จึงเดินตามจิ้งจอกไป

ดังนั้นจิ้งจอกเดินนำ เสือเดินตาม เมื่อไปที่ไหน สัตว์น้อยใหญ่เห็นเข้าก็แตกฮือ หนีกระเจิดกระเจิง จิ้งจอกยิ่งกระหยิ่มยิ้มย่อง ส่วนเสือเห็นดังนั้นก็เริ่มเกรงจิ้งจอกขึ้นมา โดยไม่รู้เลยว่าสัตว์ต่างๆ ไม่ได้กลัวหมาจิ้งจอก แต่วิ่งหนีตนต่างหาก

แม้ว่าแผนการของจิ้งจอกจะสำเร็จ แต่ที่มันสามารถมีชีวิตต่อไปได้ก็ด้วยการหยิบยืมอำนาจของเสือมาใช้ทั้งสิ้น มิใช้ด้วยบารมีของตนเองแต่อย่างใด
เล่าถึงตรงนี้ ขุนนางเจียงอีว์จึงสรุปว่า ที่รัฐแดนเหนือกลัวแม่ทัพซีซู่ ก็เป็นเพราะกำลังทหารทั้งหมดของท่านอ๋องอยู่ในมือเขา หรือกล่าวได้ว่า ที่ผู้คนกลัวคือบารมีของท่านอ๋อง หาใช่ตัวตนของแม่ทัพซีซู่ไม่

นี่คือที่มาของสุภาษิต “狐假虎威”

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : ถอยให้ 90 ลี้ [退避三舍]

สุภาษิตจึน

退避三舍 [tuìbìsānshě] ถอยให้ 90 ลี้

春秋时候,晋献公听信谗言,杀了太子申生,又派人捉拿
申生的弟弟重耳。重耳闻讯,逃出了晋国,在外流忘十几年。
经过千幸万苦,重耳来到楚国。
楚成王认为重耳日后必有大作为,就以国群之礼相迎,待他如上宾。
一天,楚王设宴招待重耳,两人饮洒叙话,气氛十分融洽。
忽然楚王问重耳:“你若有一天回晋国当上国君,该怎么报答
我呢?”重耳略一思索说:“美女待从、珍宝丝绸,大王您有的
是,珍禽羽毛,象牙兽皮,更是楚地的盛产,晋国哪有什么珍
奇物品献给大王呢?”楚王说:“公子过谦了。话虽然这么说,
可总该对我有所表示吧?”重耳笑笑回答道:“要是托您的福。
果真能回国当政的话,我愿与贵国友好。

假如有一天,晋楚国之间发生战争,我一定命
令军队先退避三舍(一舍等于三十里),如果还不能得到您的
原谅,我再与您交战。”
四年后,重耳真的回到晋国当了国君,就是历史上有名的晋文公。
晋国在他的治理下日益强大。
公元前633年,楚国和晋国的军队在作战时相遇。晋文公
为了实现他许下的诺言,下令军队后退九十里,驻扎在城濮。
楚军见晋军后退,以为对方害怕了,马上追击。晋军利用楚军
骄傲轻敌的弱点,集中兵力,大破楚军,取得了城濮之战的胜利。
故事出自《左传•僖公二十二年》。

成语“退避三舍”比喻不与人相争或主动让步。


春秋 [chūnqiū] ยุคชุนชิว
时候 [shíhòu] ช่วงเวลา
听信 [tīngxìn] เชื่อว่า
谗言 [chányán] คำพูดที่ใส่ร้าย
太子 [tàizǐ] เจ้าชาย
捉拿 [zhuōná] จับ, จับกุม
弟弟 [dìdi] น้องชาย
耳闻 [ěrwén] ได้ยินว่า
外流 [wàiliú] ไหลออกนอก
经过 [jīngguò] ผ่าน
来到 [láidào] มาถึง
认为 [rènwéi] เข้าใจว่า
日后 [rìhòu] ในอนาคต
作为 [zuòwéi] การกระทำ
如上 [rúshàng] ดังกล่าวมา
一天 [yītiān] ทั้งวัน
设宴 [shèyàn] จัดงานเลี้ยงรืืนเริง
招待 [zhāodài] ต้อนรับ
气氛 [qìfēn] บรรยากาศ
十分 [shífēn] เต็มไปด้วย
融洽 [róngqià] ซึ่งกลมเกลียวกัน
忽然 [hūrán] ทันใดนั้น
国君 [guójūn] กษัตยิ์
报答 [bàodá] ตอบแทน
思索 [sīsuǒ] คิดหาคำตอบ
珍宝 [zhēnbǎo] เพชรนิลจินดา
丝绸 [sīchóu] ผ้าไหม
大王 [dàwáng] ราชา
有的是 [yǒudéshì] มีจำนวนมาก
羽毛 [yǔmáo] ขนนก
象牙 [xiàngyá] งาช้าง
盛产 [shèngchǎn] ผลิตมากมาย
珍奇 [zhēnqí] แปลกและล้ำค่า
物品 [wùpǐn] สิ่งของ
过谦 [guòqiān] ถ่อมตัวเกินไป
虽然 [suīrán] แม้ว่า
有所 [yǒusuǒ] ค่อนข้าง
表示 [biǎoshì] แสดงให้เห็น
回答 [huídá] ตอบ
果真 [guǒzhēn] จริงๆ
回国 [huíguó] กลับประเทศ
当政 [dāngzhèng] อยู่ในอำนาจ
友好 [yǒuhǎo] เพื่อนสนิท
假如 [jiǎrú] สมมติว่า
之间 [zhījiān] ตรงกลาง
发生 [fāshēng] เกิดขึ้น
战争 [zhànzhēng] สงคราม
一定 [yīdìng] แน่นอน
命令 [mìnglìng] คำสั่ง
军队 [jūnduì] กองกำลังทหาร, กองทัพ
退避三舍 [tuìbìsānshě] ถอย 90 ลี้ (เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา)
等于 [děngyú] เท่ากับ
如果 [rúguǒ] ถ้าหากว่า
不能 [bùnéng] ไม่สามารถ
得到 [dédào] ได้รับ
原谅 [yuánliàng] ให้อภัย
交战 [jiāozhàn] ทำสงครามกัน
真的 [zhēnde] จริงๆ, แท้จริง
历史 [lìshǐ] ประวัติศาสตร์
有名 [yǒumíng] มีชื่อเสียง
治理 [zhìlǐ] ปกครอง, บริหาร
日益 [rìyì] ดียิ่งขึ้นทุกๆวัน
强大 [qiángdà] ยิ่งใหญ่, เกรียงไกร
公元前 [gōngyuánqián] ก่อนคริสต์ศักราช
作战 [zuòzhàn] ทำสงครามกัน
相遇 [xiāngyù] พบ, เผชิญหน้า
为了 [wèile] เพื่อ
实现 [shíxiàn] เป็นจริง
诺言 [nuòyán] สัญญา
下令 [xiàlìng] ออกคำสั่ง
后退 [hòutuì] ถอดกลับ
驻扎 [zhùzhá] ตั้งมั่น
对方 [duìfāng] ฝ่ายตรงข้าม
害怕 [hàipà] กลัว
马上 [mǎshàng] ทันที
追击 [zhuījī] รุกไล่โจมตี
利用 [lìyòng] ประยุกต์ใช้
骄傲 [jiāo’ào] ความภาคภูมิใจ, หยิ่งผยอง
轻敌 [qīngdí] ประมาทข้าศึก
弱点 [ruòdiǎn] จุดอ่อน
集中 [jízhōng] รวมศูนย์
兵力 [bīnglì] กำลังทหาร
取得 [qǔdé] ได้รับ
胜利 [shènglì] ชัยชนะ
故事 [gùshi] เรื่องราว
出自 [chūzì] มาจาก
成语 [chéngyǔ] สุภาษิต
主动 [zhǔdòng] การเริ่มดำเนินการ
让步 [ràngbù] ยอมอ่อนข้อให้

สุภาษิตจีน : ต้นไม้ใบหญ้าล้วนเป็นกองทหารทั้งสิ้น [草木皆兵]

สุภาษิตจึน

草木皆兵 [cǎomùjiēbīng] 草木皆兵 [cǎomùjiēbīng] : ต้นไม้ใบหญ้าล้วนเป็นกองทหารทั้งสิ้น

草 [cǎo] หญ้า
木 [mù] ไม้
皆 [jiē] ทั้งหมด
兵 [bīng] ทหาร

คริสศตวรรษที่ 383 รัฐเฉียนฉิน (ฉินยุคก่อน) ภายใต้การปกครองของอ๋องฝูเจียนซึ่งควบรวมดินแดนทางตอนเหนือเกือบทั้งหมด ได้นำกองทัพทหารและม้าราว 9 แสนลงใต้เพื่อโจมตีรัฐตงจิ้น(จิ้นตะวันออก) อ๋องแห่งตงจิ้น แต่งตั้งเซี่ยสือและเซี่ยเสวียน 2 พี่น้องเป็นแม่ทัพ นำกำลังพลราว 8 หมื่นเข้าต้าน

อ๋องฝูเจียน เชื่อมั่นว่าทัพของตนต้องได้ชัยชนะอน่นอน เนื่องจากกองทัพจิ้นขณะนั้นทั้งอ่อนแอ และมีจำนวนทหารน้อยกว่ารัฐฉินมากนัก อ๋องฝูเจียนตั้งทัพอยู่ที่เมืองโซ่วหยัง (ปัจจุบันคือเมืองโซ่วในมณฑลอันฮุย) และได้ส่งคนผู้หนึ่ง นามว่าจูซี่ว์เดินทางไปยังรัฐจิ้นเพื่อส่งข่าวข่มขวัญแม่ทัพเซี่ยสือ

จูซี่ว์นั้นเดิมเป็นชาวตงจิ้น อดีตมีตำแหน่งถึงเจ้าเมืองนายทัพรักษาการเมืองโซ่วหยังซึ่งเป็นอดีตเชลยศึก ของเฉียนฉิน ปัจจุบันถูกชุบเลี้ยงเป็นขุนนางในพระราชสำนักในตำแหน่งอาลักษณ์ แต่ด้วยความภักดีต่อรัฐตงจิ้น ดังนั้นเมื่อเขาพบกับแม่ทัพเซี่ย และรายงานความตามที่อ๋องรัฐฉินสั่งมาเรียบร้อยแล้ว จึงแนะนำให้กองทัพจิ้น ถือโอกาสตอนที่กำลังหนุนของทัพฉินยังไม่มา เข้าจู่โจมเมืองลั่วเจี้ยนก่อน แม่ทัพเซี่ยเห็นด้วยจึงนำกองกำลังจู่โจม ผลคือได้ชัยชนะกลับมาทำให้กองทหารจิ้นคึกคักอักโข ดังนั้นจึงเดินทัพมาตั้งค่าย ณ อีกฝั่งของริมน้ำเฝยสุ่ย (ปัจจุบันคือแม่น้ำเฝย สาขาแม่น้ำหวยเหอทางภาคกลางของมณฑลอันฮุยในปัจจุบัน)

เมื่อฝูเจียนได้รับข่าวว่าทหารจิ้นชนะและมาตั้งค่าย ณ อีกฝั่งของริมน้ำเฝยสุ่ย ก็ตกใจมากและรีบขึ้นไปมองดูจากบนกำแพงเมือง เมื่อมองไปไกลๆ เห็นกองทหารจิ้น ตั้งค่ายอย่างเป็นระบบระเบียบ มั่มคงยิ่งนัก จนอ๋องฝูเจียนลอบชมเชยเบาๆ

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่ออ๋องรัฐฉินมองขึ้นไปยังยอดเขาปากงซาน คลับคล้ายว่าคลาคล่ำไปด้วยกองทหารจิ้นที่กำลังโบกสะบัดธงแห่งชัยชนะ ซึ่งหากเพ่งดูอย่างละเอียดนั่นเป็นเพียงต้นไม้ใบหญ้าที่กำลังไหวเอนไปมาไม่ มีทหารจิ้นแม้สักผู้เดียว แต่อ๋องฝูเจียนตาฝาด พลันเห็นเป็นกองทัพที่แสนจะเข้มแข็งและทรงพลานุภาพ จึงเกิดความตระหนกอย่างยิ่ง จนต้องกล่าวออกมาว่า
“นี่คือกองทัพอันยิ่งใหญ่ เหตุใดจึงกล่าวว่ากองทัพจิ้นอ่อนแอ?”

หลังจากนั้นไม่นาน อ๋องฝูเจียนก็สั่งกองทหารทำทีเป็นถอยทัพเพื่อให้กองทัพจิ้นข้ามมารบกันที่ ฝั่งน้ำด้านนี้ โดยวางแผนว่าเมื่อทหารจิ้นข้ามมาถึงกลางน้ำ ฝ่ายกองทัพฉินก็จะลงมือโจมตีทันที

แต่เนื่องจากทหารเฉียนฉินบางส่วนได้รับฟังคำกล่าวปากต่อปากว่าทหารจิ้นเข้ม แข็งยิ่งนักจึงเกิดความกลัว พอมีคำสั่งถอยทัพ ก็หันหลังวิ่งหนีไปจริงๆ ประกอบกับเมื่อทัพจิ้นยกข้ามมา จูซี่ว์ ได้ตะโกนว่า “ทัพฉินแพ้แล้วๆ” ทำให้กองทหารฉินที่อยู่เบื้องหลังเห็นเพียงแต่ทหารกองหน้าวิ่งหนีกลับเข้ามา และได้ยินคำกล่าวนั้นต่างปักใจเชื่อว่าเป็นจริงจึงวิ่งหนีเอาตัวรอดด้วย

ผลของการสู้รบรัฐเฉียนฉินจึงพ่ายแพ้ให้กับตงจิ้นอย่างราบคาบ

การศึกครั้งนี้ เป็นการศึกครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์จีน โดยเรียกว่า “เฝยสุ่ยจือจั้น” หรือ “การศึกที่แม่น้ำเฝย” เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นของการศึกที่ใช้คนน้อยชนะคนมาก คนอ่อนแอชนะคนเข้มแข็ง

ภายหลัง “เฉ่ามู่เจียปิง” หรือ เหมาว่าต้นไม้ใบหญ้าต่างเป็นทหารศัตรู ถูกนำมาเป็นสุภาษิต ใช้เปรียบเทียบกับอาการกลัวเกินกว่าเหตุ กลัวจนแทบไม่เป็นผู้เป็นคน

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : ธนูลับทำร้ายคน [暗箭伤人]

สุภาษิตจึน

暗箭伤人[ànjiànshāngrén] อ้านเจี้ยนซางเหริน(暗箭伤人) : ธนูลับทำร้ายคน

暗 [àn] แปลว่า มืด หรือ ไม่เปิดเผย
箭 [jiàn] แปลว่า ธนู
伤 [shān] แปลว่า ทำร้าย
人 [rén] แปลว่า คน

สมัยชุนชิว อ๋องรัฐเจิ้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐฉี และรัฐหลี่ว์ วางแผนที่จะทำสงครามกับรัฐสี่ว์ (รัฐสี่ว์เป็นรัฐเล็กๆ ปัจจุบันคือเมืองสี่ว์ชางในมณฑลเหอหนาน ส่วนรัฐเจิ้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐสี่ว์ )

ปีหนึ่งในช่วงฤดูร้อน เดือนห้า อ๋องเจิ้งทำการทดสอบความเข้มแข็งของกองทหาร โดยการให้มีการแข่งขันชิงรถม้า ระหว่างแม่ทัพเก่าแก่นามว่า หยิ่งซูเข่า กับแม่ทัพวัยหนุ่มนาม กงซุนจื่อตู ฝ่ายหยิ่งซู่เข่า แม้จะสูงวัยกว่า แต่เป็นแม่ทัพแกล้วกล้ามีกำลังเข้มแข็ง เมื่อมือจับรถม้าได้ก็วิ่งลากออกไปด้วยความรวดเร็ว ส่วนกงซุนจื่อตู ซึ่งปกติไม่เห็นผู้อื่นอยู่ในสายตา มีความมั่นใจในตัวเองสูง เห็นดังนั้นจึง รีบไล่ตาม แต่เมื่อไล่ตามมาถึงถนนใหญ่ หยิ่งซูเข่าก็ลับหายไม่ทิ้งร่องรอย ทำให้กงซุนจื่อตูแค้นใจเป็นอันมาก

เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง เดือนเจ็ด อ๋องเจิ้งมีคำสั่งให้ไปโจมตีรัฐสี่ว์ ทหารเจิ้งบุกตีเข้าไปจนถึงเมืองหลวงของรัฐสี่ว์ หยิ่งซูเข่ารบด้วยความกล้าหาญ วิ่งนำกองทัพปีนขึ้นกำแพงเมืองเป็นคนแรก กงซุนจื่อตูเห็นดังนั้นแล้วก็คิดอิจฉาความเข้มแข็งของหยิ่งซูเข่าประกอบกับ ความแค้นเรื่องชิงรถมาที่ผ่านมา เขาจึงอาศัยช่วงชุลมุนลอบยิงธนูใส่แม่ทัพอาวุโสจนถึงแก่ความตาย
เนื่องจากความชุลมุนในสงคราม ทำให้แม่ทัพ และทหารเจิ้งต่างพากันคิดว่าแม่ทัพหยิ่งซูเข่าโดนทหารรัฐสี่ว์ฆ่าตาย จึงเกิดเพลิงแค้นบุกตีเมืองหลวงสี่ว์จนราบคาบ ทำให้อ๋องรัฐสี่ว์หนีตายไปหลบยังรัฐเว่ย

เหตุการณ์ “ใช้ธนูลอบทำร้ายคน” ภายหลังได้มีการนำมาเป็นคำเปรียบเทียบกับแผนการ หรือพฤติกรรมลอบทำร้ายผู้อื่น
sugarcane 发表于 2008-5-10 12:33

五十步笑百步(泰语)
อู่สือปู้เสี้ยวไป่ปู้ (五十步笑百步) : วิ่ง 50 ก้าวหัวเราะเยาะวิ่ง 100 ก้าว

ครั้งหนึ่งในสมัยสงครามระหว่างรัฐ(战国 : จั้นกั๋ว) ปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง เมิ่งจื่อ(孟子) ได้เข้าสนทนากับ อ๋องเหลียงฮุ่ย(梁惠王) แห่งรัฐเว่ย(魏国)

อ๋องเหลียงฮุ่ยมีปัญหาที่คิดไม่ตรง จึงตรัสถามเมิ่งจื่อว่า
“เราทุ่มเทแรงกายแรงใจปกครองแผ่นดิน ดูแลราษฎรเป็นอย่างดี คราวหนึ่งราษฎรด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเกิดอัคคีภัย เราก็สั่งอพยพผู้คนไปอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ แล้วยังแจกข้าวสารอาหารแห้งแก่ผู้ประสบภัย ซึ่งถ้าราษฎรด้านตะวันออกของแม่น้ำเกิดภัย เราก็จะกระทำเยี่ยงนี้เช่นกัน ส่วนรัฐเพื่อนบ้านอื่นๆ ไม่เห็นอ๋องรัฐใดทุ่มเทแรงใจปกครองแผ่นดินเช่นที่เรา แล้วทำไมราษฎรของรัฐอื่นก็ยังมากเท่าเดิมไม่เคยลดน้อยลง ขณะเดียวกับทำไมราษฎรของรัฐเราก็กลับมีจำนวนน้อยเท่าเดิม ไม่เพิ่มขึ้นเลย ทั้งๆที่เราพยายามดูแลอย่างดี นั่นเป็นเพราะเหตุใด”

เมิ่งจื่อกล่าวตอบว่า
“เนื่องด้วยท่านอ๋องชอบทำสงคราม ดังนั้นโปรดให้ข้าพเจ้าเปรียบเปรยเรื่องนี้กับการทำสงครามเถิด…

ในสงคราม ย่อมมีทหารที่รักตัวกลัวตาย หากทหารเหล่านั้นกำลังวิ่งหนีทหารทัพข้าศึก โดยผู้ที่วิ่งหนีบางคนวิ่งเร็ว วิ่งไปได้ 100 ก้าว บางคนวิ่งช้าวิ่งไปได้เพียง 50 ก้าว แต่คนที่วิ่งไปได้เพียง 50 ก้าวกลับหัวเราะเยาะคนวิ่ง 100 ก้าวว่าเป็นคนรักตัวกลัวตายกว่า ทั้งๆ ที่จุดประสงค์ของการวิ่งก็คือหลบหนี เช่นกัน แถมตนเองยังวิ่งช้ากว่าด้วยซ้ำไป เช่นนี้ท่านอ๋องคิดว่าถูกต้องหรือไม่”

อ๋องเหลียงฮุ่ยตรัสตอบทันทีว่า
“นั่นย่อมไม่ถูกต้อง เพราะไม่ว่าจะวิ่งไปได้กี่ก้าวก็ถือว่าจิตใจขลาดเขลา ต้องการหลบหนีเช่นกัน ยอมมีความผิดทั้งคู่”

เมิ่งจื่อได้ยินเช่นนั้นจึงกล่าวว่า
“ในเมื่อท่านอ๋องเข้าในเหตุผลข้อนี้ ก็ย่อมที่จะเข้าใจว่า ทำไมราษฎรของรัฐอื่นก็ยังมากเท่าเดิมไม่เคยลดน้อยลง ขณะเดียวกับทำไมราษฎรของท่านก็กลับมีจำนวนน้อยเท่าเดิม ไม่เพิ่มขึ้นเลย นั่นเพราะ แม้ว่าท่านจะดูแลประชากรดีกว่ารัฐใกล้เคียงอยู่บ้าง แต่ท่านก็ชื่นชมการทำสงครามเช่นเดียวกับอ๋องรัฐอื่นๆ ซึ่งไม่ว่าที่ใด การสงครามย่อมทำให้ผู้คนลำบากยากแค้น ฉะนั้นราษฏรของท่านและราษฏรรัฐอื่นย่อมประสบชะตากรรมเดียวกัน ท่านเองย่อมมีส่วนบกพร่องเช่นเดียวกับอ๋องรัฐเพื่อนบ้าน ” 

ปัจจุบันสุภาษิต “อู่สือปู้เสี้ยวไป่ปู้(五十步笑百步)” หรือ วิ่ง 50 ก้าวหัวเราะเยาะวิ่ง 100 ก้าว หมายถึงผู้ที่มีความผิดหรือข้อบกพร่องเช่นเดียวกับผู้อื่นแม้ว่าจะเบากว่า เล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรหัวเราะเยาะหรือประนามผู้อื่นเพราะถึงอย่างไรตนเองก็ผิดหรือมี ข้อบกพร่องเช่นเดียวกัน

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : สุราเปรี้ยวขายไม่ออก [酒酸不售]

สุภาษิตจึน

酒酸不售 [jiǔsuānbúshòu] จิ่ว ซวน ปู๋ โซ่ว(酒酸不售) : สุราเปรี้ยวขายไม่ออก

จากบันทึกในหนังสือ “หานเฟยจื่อ ไว่ฉู่ซัวโย่วซั่ง”

รัฐซ่ง มีคนผู้หนึ่งขายสุรา ค้าขายอย่างยุติธรรม ทั้งยังต้อนรับขับสู้ลูกค้าด้วยมารยาทอันดียิ่ง หนำซ้ำสุราที่นี่ก็รสชาติยอดเยี่ยม ดีกรีสูง ทว่ากิจการการค้าของเขากลับไม่ดีนัก สุราขายไม่ออก นานวันเข้าสุราเก่าเก็บก็มีรสเปรี้ยวหมดทั้งสิ้น

คนผู้นี้ขบคิดไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะเหตุใดสุราจึงขายไม่ออก จึงได้เชิญ หยังเชี่ยน ซึ่งเป็นผู้อาวุโสในหมู่บ้านมาปรึกษา

ผู้เฒ่าแซ่หยังบอกว่า “สุนัขบ้านเจ้าดุเกินไป” คนขายสุราได้ฟังก็งุนงงมากขึ้น และถามกลับว่า “สุนัขดุ เกี่ยวอะไรกับขายสุราไม่ออกหรือ?” ผู้เฒ่าหยังตอบว่า “สุนัขดุ ลูกค้าย่อมกลัวจนไม่อยากเข้าร้าน เพราะบางคนก็ใช้เด็กน้อยกำเงิน หิ้วไห เพื่อมาซื้อสุรา มาเจอสุนัขดุกระโจนเข้าใส่เช่นนี้ ทุกคนต่างพากันเข็ดขยาด แบบนี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สุราที่นี่ไม่มีคนซื้อจนเปรี้ยวไปหมดแล้ว”

จากเรื่องเล่าข้างต้น ร้านสุราเปรียบได้กับประเทศ มีผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม มีแนวทางในการปกครองประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองพร้อมที่จะกราบทูลฮ่องเต้ แต่น่าเสียดายที่ข้างกายฮ่องเต้รายล้อมไปด้วยขุนนางโฉด ที่เปรียบดังสุนัขดุพร้อมจะขย้ำหากใครแหยมเข้าไป ทำให้บ้านเมืองขาดคนดีมีความสามารถเข้ามาช่วยพัฒนา

สุราขายไม่ออกจนรสชาติเปลี่ยนเป็นเปรี้ยว เดิมทีใช้เปรียบเทียบกับ ขุนนางโฉดที่พยายามเท็จทูลความเท็จต่อฮ่องเต้ เพื่อขัดขวางไม่ให้ผู้มีความรู้มีคุณธรรมมาทำงานให้บ้านเมือง ภายหลังใช้เปรียบเทียบกับการหมดหนทางค้าขาย หรือการทำงานใดๆ ที่ใช้คนไม่เหมาะสมกับงาน

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : สายน้ำไม่หวนคืน [覆水难收]

สุภาษิตจึน

覆水难收 [fùshuǐnánshōu]

Water spilled on the ground can’t be gathered up again.—what is done cannot be undone; it is hard to get it back again

ฟู่สุ่ยหนานโซว (覆水难收):สายน้ำไม่หวนคืน

覆 อ่านว่า [fù] แปลว่า คว่ำ
水 อ่านว่า [shuǐ] แปลว่า น้ำ
难 อ่านว่า [nán] แปลว่า ยาก
收 อ่านว่า [shōu] แปลว่า เก็บ

ปลายราชวงศ์ซาง มีคนผู้หนึ่งที่ฉลาดปราดเปรื่องเป็นอย่างยิ่ง เขาแซ่เจียง นามว่าซั่ง คนทั่วไปเรียกเขาว่า “เจียงไท่กง” หรือ “เจียงจื่อหยา” เป็นบุคคลสำคัญผู้ร่วมมือช่วยเหลืออ๋องโจวเหวิน และอ๋องโจวอู่ล้มล้างราชวงศ์ซาง ภายหลังได้รับแต่งตั้งให้ปกครองรัฐฉี และเป็นอ๋องคนแรกของรัฐฉีในสมัยชุนชิว

เจียงไท่กงเคยรับราชการในราชวงศ์ซาง แต่เนื่องจากไม่พอใจลักษณะการปกครองที่ใช้วิธีโหดเหี้ยมทารุณของอ๋องโจ้ว จึงได้ลาออกจากการเป็นขุนนาง หลบลี้ไปพำนักอยู่ในถิ่นทุรกันดารริมแม่น้ำเว่ยสุ่ยมณฑลส่านซี และเพื่อที่จะได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนเพื่อบ้านเมืองอย่างเต็มที่ เขาจึงต้องการทำงานให้อ๋องโจวเหวิน ดังนั้นเขาจึงมักจะนั่งแช่เบ็ดอยู่ริมน้ำ ทำทีเป็นตกปลาแต่คันเบ็ดกลับไม่ได้แขวนเหยื่อปลาไว้ เพื่อเฝ้ารอให้อ๋องโจวเหวินมาพบ

เจียงไท่กงเอาแต่ทำท่าตกปลาทั้งวัน ทำให้ครอบครัวอดอยากยากแค้น หม่าซื่อภรรยาของเขารังเกียจที่เขายากจนไม่มีอนาคตจึงต้องการหย่าขาดไม่ต้อง การอยู่ร่วมกับเขาอีกต่อไป แม้ว่าเจียงไท่กงจะทัดทานและปลอบใจนางว่าอีกไม่นานเขาก็จะลืมตาอ้าปากได้อีก ครั้ง แต่หม่าซื่อเข้าใจว่าเขาเพียงแต่ใช้คำพูดลมๆ แล้งๆ หลอกลวง นางจึงไม่เชื่อและจากไปในที่สุด

ภายหลัง เจียงไท่กงได้รับความไว้วางใจจางอ๋องโจวเหวิน ทั้งยังช่วยเหลืออ๋องโจวอู่ในการผนึกกำลังจูโหว(เจ้าหัวเมือง)ในแต่ละท้อง ที่ล้มล้างราชวงศ์ซางก่อตั้งราชวงศ์โจวตะวันตก(ซีโจว) ได้สำเร็จ

ด้านหม่าซื่ออดีตภรรยา เมื่อได้ข่าวว่าเจียงไท่กงมีทั้งชื่อเสียงและเงินทอง ก็รู้สึกเสียดายที่ในครั้งก่อนไม่ยอมเชื่อฟังเขา นางจึงตัดสินใจกลับมาหาเจียงไท่กงเพื่อหวังจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในอดีต

ทว่าเจียงไท่กงได้รับรู้แล้วว่าหม่าซื่อเป็นคนเช่นไรจึงไม่อยากได้ภรรยาเช่น นางอีกต่อไป ดังนั้นเมื่อฟังคำขอร้องจากหม่าซื่อจบ เขาจึงคว้าเหยือกน้ำมาเทน้ำลงบนพื้น และบอกให้อดีตภรรยาช่วยเก็บน้ำที่เทออกไปคืนกลับมาให้เขา

หม่าซื่อได้ฟังจึงรีบก้มตัวลงไปกอบน้ำที่พื้น แต่กลับได้มาเพียงดินโคลน ครานี้เจียงไท่กงจึงพูดกับนางว่า “เจ้าได้จากข้าไปแล้ว เราจึงไม่อาจอยู่ร่วมกันอีก เช่นเดียวกับน้ำที่เทลงบนพื้น ย่อมยากที่จะเก็บกลับคืน”

“น้ำที่สาดออกไปแล้วไม่มีทางที่จะเก็บกลับคืนมาได้” ปัจจุบันใช้เปรียบเทียบกับเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วหรือลงมือทำไปแล้ว ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไข

อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.somdom.com/archiver/tid-3487.html

สุภาษิตจีน : สุราดี ย่อมไม่กลัวตรอกลึก [酒好不怕巷子深]

สุภาษิตจึน

酒好不怕巷子深(泰语)
จิ่ว ห่าว ปู๋ ผ้า เซียง จื่อ เซิน(酒好不怕巷子深) : สุราดี ย่อมไม่กลัวตรอกลึก
“สุราดี ย่อมไม่กลัวตรอกลึก” เป็นสำนวนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศจีนมาตั้งแต่โบราณกาล ในเชิงวัฒนธรรมสำนวนดังกล่าวสะท้อนความเป็นชนชาติ ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น และความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตประชากรได้เป็นอย่างดี ใช้เปรียบเทียบกับของที่ดีจริง แม้ว่าจะได้มาด้วยความยากลำบาก แต่ผู้คนก็ยังพยายามดั้นด้นเสาะหาจนพบ “

สำนวนนี้เริ่มใช้กันที่เมืองหลูโจว ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสุราที่โด่งดัง ในสมัยราชวงศ์หมิง และ ราชวงศ์ชิง ในเมืองมีตรอกซึ่งเป็นที่หมักสุราที่ทั้งแคบและลึกอยู่ตรอกหนึ่ง ในตรอกนั้นมีร้านสุราอยู่ 8 ร้าน ซึ่งเป็น 8 ร้านที่ผลิตสุรามีชื่อเสียงที่สุดในเมืองหลูโจว โดยหนึ่งในนั้นคือร้านที่อยู่ด้านในสุดของตรอก ที่มีบ่อหมักสุราเก่าแก่ที่สุด ดังนั้นสุราที่นี่จึงมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดา 8 ร้าน และเพื่อให้ได้ลิ้มรสสุราดี ผู้คนจึงต่างก็ดั้นด้นเข้าไปที่ร้านสุราที่อยู่ลึกที่สุดของตรอก

เล่ากันมาว่า ปีค.ศ. 1873 ผู้นำทางการเมืองผู้หนึ่ง ซึ่งมีบทบาทในการต่อต้านราชวงศ์ชิง นามว่าจางจื่อต้ง ได้รอนแรมทางไกลเพื่อมาร่ำสุราร่ายโคลงกลอน ณ เมืองหลูโจว ขณะก้าวขึ้นเรือ พลันจมูกก็ได้กลิ่นสุราที่หอมหวนลอยมากับสายลม เขาสูดดมด้วยความกำซาบไปถึงจิตใจ และสั่งให้คนไปนำสุรานั้นมาให้เขา

ทว่าคนรับใช้หายไปครึ่งวัน ปล่อยให้จางจื่อต้งเฝ้ารอด้วยความหิวกระหายและโกรธเกรี้ยว จนบ่ายคล้อยจึงมองเห็นคนรับใช้ผู้นั้นแบกไหสุราไหหนึ่งวิ่งมาด้วยความรีบ ร้อน เมื่อมาถึงเขาจึงเปิดไหสุราออกมา และพบว่ากลิ่นหอมพลันลอยตลบอบอวล จางจื่อต้งพูดซ้ำๆ กันเพียงว่า สุราที่ดี สุราที่ดี และเพียงยกดื่มได้ 1 จอกก็รับรู้ได้ถึงรสเลิศของสุรา ทำให้โทสะของจางจื่อต้งคลายลง และถามคนรับใช้ว่า “สุรานี้ท่านได้แต่ใดมา?” คนรับใช้รีบกล่าวว่า “ผู้น้อยได้ฟังว่า ร้านสุราที่ตั้งอยู่ในตรอกลึกตรอกหนึ่งมีสุราที่ดีที่สุด ดังนั้นผู้น้อยจึงลัดเลาะ ดั้นด้นไปตามตรอกที่คดเคี้ยวและแคบลึกจนถึงร้านที่อยู่ในสุดของตรอก และได้ซื้อสุราไหนี้กลับมา” จางจื่อต้งได้ฟังจึงรำพึงว่า “สุราดี ย่อมไม่กลัวตรอกลึก”

ความหมาย ของดีไม่ว่าอยู่ที่ไหนย่อมมีคนพยายามตามไปเสาะหาจนพบ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทองแท้ย่อมเปล่งประกาย

สำนวนดังกล่าวแพร่หลายมากระทั่งถึงปัจจุบัน

พินอินภาษาจีน : พินอิน b p m f [拼音]

pinyin b f m f

ภาษาจีนเป็นภาษารูปภาพ ไม่ใช่ภาษาสะกดผสมอักษรดังเช่นภาษาไทย จึงควรศึกษาวิธีเขียนอ่านตัวสะกดภาษาจีนเอาไว้ เพื่อเวลาพบอักษรตัวใดที่อ่านไม่ออก หรือไม่มั่นใจในการออกเสียง สามารถเปิดค้นหาอ่านในพจนานุกรม และใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ เพื่อพิมพ์ภาษาจีนแบบสะกดคำได้

วิธีเขียนตัวสะกด เพื่อการอ่านออกเสียงได้ถูกต้องที่นิยมใช้มีหลายระบบ เช่น

  1. 注音符号 [zhù​yīn​fú​hào] (注音符號)
  2. 通用拼音 [tōngyòng pīnyīn]
  3. 汉语拼音 [hànyǔ pīnyīn]
  4. IPA (International Phonetic Alphabet)
  5. 威妥瑪拼音 or 韋氏拼音 [wēituǒmǎ pīnyīn]
  6. เป็นต้น

ในการเริ่มต้นศึกษา ควรอ่านท่องเสียงให้ได้แม่นยำในระบบใดระบบหนึ่งก่อนก็ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงระบบ จู้อิน(注音符号) และพินอิน(汉语拼音)

ฟังเสียงจากตารางพินอิน คลิ๊กที่นี่

1.แบบจู้อิน 注音符号 [zhù​yīn​fú​hào]

แบบจู้อิน (注音) เป็นแบบดั้งเดิมของจีนที่ใช้กันมาช้านาน เป็นที่นิยมใช้ในหมู่คนจีนที่ ผ่านการศึกษาในรุ่นก่อนๆ ในประเทศจีนไต้หวันเป็นต้น

แป้นพิมพ์ภาษาจีนแบบ Zhuyin

1.1 พยัญชนะ (Consonants) ในภาษาจีนมี 21 ตัวคือ ㄅ ㄆ ㄇ ㄈ ㄉ ㄊ ㄋ ㄌ ㄍ ㄎ ㄏ ㄐ ㄑ ㄒ ㄓ ㄔ ㄕ ㄖ ㄗ ㄘ ㄙ

注音 通用拼音 汉语拼音 威妥瑪拼音 IPA ตัวอย่าง(Zhuyin, Pinyin)
เปอ b b p p 八 (ㄅㄚ, bā)
เพอ p p p’ 杷 (ㄆㄚˊ, pá)
เมอ m m m m 馬 (ㄇㄚˇ, mǎ)
เฟอ f f f 法 (ㄈㄚˇ, fǎ)
เตอ d d t 地 (ㄉㄧˋ, dì)
เทอ t t t’ 提 (ㄊㄧˊ, tí)
เนอ n n n 你 (ㄋㄧˇ, nǐ)
เลอ l l l 利 (ㄌㄧˋ, lì)
เกอ g g k 告 (ㄍㄠˋ, gào)
เคอ k k k’ 考 (ㄎㄠˇ, kǎo)
เฮอ h h h 好 (ㄏㄠˇ, hǎo)
จี j j ch 叫 (ㄐㄧㄠˋ, jiào)
ชี c q ch’ 巧 (ㄑㄧㄠˇ, qiǎo)
ซี s x hs 小 (ㄒㄧㄠˇ, xiǎo)
จือ jhih 【jh】 zhi 【zh】 chih 【ch】 ʈʂɚ 主 (ㄓㄨˇ, zhǔ)
ชือ chih 【ch】 chi 【ch】 ch’ih 【ch’】 ʈʂʰɚ 出 (ㄔㄨ, chū)
ซือ shih 【sh】 shi 【sh】 shih 【sh】 ʂɚ 束 (ㄕㄨˋ, shù)
ยือ rih 【r】 ri 【r】 jih 【j】 ʐɚ 入 (ㄖㄨˋ, rù)
จือ zih 【z】 zi 【z】 tzû 【ts】 tsɨ 在 (ㄗㄞˋ, zài)
ชือ cih 【c】 ci 【c】 tz’û 【ts’】 tsʰɨ 才 (ㄘㄞˊ, cái)
ซือ sih 【s】 si 【s】 ssû 【s】 ɤŋ 塞 (ㄙㄞ, sāi)

1.2 สระ (Vowels) มี16 ตัวคือ ㄚ ㄛ ㄜ ㄝ ㄞ ㄟ ㄠ ㄡ ㄢ ㄣ ㄤ ㄥ ㄦ 一 ㄨ ㄩ

注音 通用拼音 汉语拼音 威妥瑪拼音 IPA ตัวอย่าง(Zhuyin, Hanyu)
อา a a a a 大 (ㄉㄚˋ, dà)
ออ o o o o 多 (ㄉㄨㄛ, duō)
เออ e e e o/ê 得 (ㄉㄜˊ, dé)
เอ e ê eh 爹 (ㄉㄧㄝ, diē)
ไอ ai ai ai ai 晒 (ㄕㄞˋ, shài)
เอย ei ei ei ei 誰 (ㄕㄟˊ, shéi)
เอา ao ao ao ao 少 (ㄕㄠˇ, shǎo)
โอ ou ou ou ou 收 (ㄕㄡ, shōu)
อาน an an an an 山 (ㄕㄢ, shān)
เอิน en en en ên 申 (ㄕㄣ, shēn)
อาง ang ang ang ang 上 (ㄕㄤˋ, shàng)
เอิง eng eng eng szŭ 生 (ㄕㄥ, shēng)
เอ๋อ er er erh êrh 而 (ㄦˊ, ér)
อี หรือ yi 【i】 yi 【i】 yi 【i】 i 逆 (ㄋㄧˋ, nì)
yin 【in】 yin 【in】 yin 【in】 音 (ㄧㄣ, yīn)
ying 【ing】 ying 【ing】 ying 【ing】 英 (ㄧㄥ, yīng)
อู wu 【u】 wu 【u】 wu 【u】 wu 努 (ㄋㄨˇ, nǔ)
wun 【un】 wen 【un】 wen 【un】 文 (ㄨㄣˊ, wén)
wong 【ong】 weng 【ong】 ng 【ung】 翁 (ㄨㄥ, wēng)
อวี yu 【u, yu】 yu 【u, ü】 yü 【ü】 女 (ㄋㄩˇ, nǚ)
yun 【un, yun】 yun 【un】 yün 【ün】 韻 (ㄩㄣˋ, yūn)
yong yong 【iong】 yung 【iung】 永 (ㄩㄥˇ, yǒng)

1.3 วรรณยุกต์ (Tones ) มีดังนี้ ╴ ˊ ˇ ˋ ˙

注音 เทียบเสียง
วรรณยุกต์ไทย
汉语拼音 通用
拼音
威妥瑪拼音 Zhuyin IPA ตัวอย่าง
(ตัวเต็ม/ตัวย่อ)
1 ปกติ อิน ma ma1 ㄇㄚ ma˥˥ 媽/妈
2 ˊ จัตวา หยัง maˊ ma2 ㄇㄚˊ ma˧˥ 麻/麻
3 ˇ เอก ชั้ง maˇ ma3 ㄇㄚˇ ma˨˩˦ 馬/马
4 ˋ โท ชี้ maˋ ma4 ㄇㄚˋ ma˥˩ 罵/骂
5 ˙ เสียงสั้น ˙ma ma˙ ma5 ㄇㄚ˙

1.4 การผสมเสียงระหว่างสระ

Zhuyin Pinyin คำอ่าน 注音
一﹍
Pinyin
i﹍
คำอ่าน 注音
ㄨ﹍
Pinyin
u﹍
คำอ่าน 注音
ㄩ﹍
Pinyin
ű﹍
คำอ่าน
a อา ﹍一ㄚ -ia เอีย ﹍ㄨㄚ -ua อวา
o ออ ﹍ㄨㄛ -uo อวอ
e เออ
ê เอ ﹍一ㄝ -ie อีเอ ﹍ㄩㄝ -űe
ai ไอ ﹍ㄨㄞ -uai อวาย
ei เอย ﹍ㄨㄟ -ui อุย
ao เอา ﹍一ㄠ -iao เอียว
ou โอ ﹍一ㄡ -iu อิว
an อาน ﹍一ㄢ -ian เอียน ﹍ㄨㄢ -uan อวน ﹍ㄩㄢ -űan เอวียน
en เอิน ﹍一ㄣ -in อิน ﹍ㄨㄣ -un อวุน ﹍ㄩㄣ -űn อวีน
ang อาง ﹍一ㄤ -iang เอียง ﹍ㄨㄤ -uang อวง
eng เอิง ﹍一ㄥ -ing อิง ﹍ㄨㄥ -ong อง ﹍ㄩㄥ -iong อีอง

2. พินอิน (Pinyin) หรือ 汉语拼音 [hànyǔ pīnyīn]

แบบพินอิน (拼音) เป็นใหม่ที่ใช้ในระบบการศึกษาของสาธารณะประชาชนจีน และจะพบเห็นได้ในเอกสารที่ตีพิมพ์ในยุคหลังๆ และกำลังเป็นที่นิยม

ความหมายตามตัวอักษร คือ การถอดเสียงภาษาจีน) เป็น แบบใหม่ที่ใช้ในระบบการศึกษาของสาธารณะประชาชนจีน และจะพบเห็นได้ในเอกสารที่ตีพิมพ์ในยุคหลังๆ หรือมักจะย่อว่า พินอิน คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ “การรวมเสียงเข้าด้วยกัน” (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)

พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถ่ายถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบเปอเพอเมอเฟอ (จู้ยิน ฝูฮ่าว) นอก จากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่างๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย

นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098)ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)

สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่งๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง “ป” และ “ต” ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้น มีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้วยังสามารถ ใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย

2.1 การถอดเสียงพยัญชนะแบบพินอิน

พินอิน สัทอักษรสากล (IPA) อักษรไทย
p [pʰ] ผ, พ
t [tʰ] ถ, ท
k [kʰ] ข, ค
b [p]
d [t]
g [k]
s [s] ซ, ส
c [tsʰ] ฉ, ช
z [ts]
x [ɕ] ซ, ส
q [tɕʰ] ฉ, ช
j [tɕ]
sh [ʂ] ซ, ส
ch [tʂʰ] ฉ, ช
zh [tʂ]
f [f] ฝ, ฟ
h [x] ห, ฮ
l [l]
r [ʐ] หรือ [ɻ] ร หรือ ย
w [w] ว, อ (เมื่ออยู่หน้า u)
y [j] ย, อ (เมื่อตามด้วย i
และไม่มีตัวสะกด)
m [m]
n [n]
ng [ŋ]


หมายเหตุ: เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ-ช, ฝ-ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น ฉา, ชือ, เฝิน, ฟั่น ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งในการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านได้สะดวก เช่น yún = ยฺหวิน

2.2 การถอดเสียงสระ

พินอิน อักษรสากล (IPA) อักษรไทย
a [ɑ] อะ / อา
ai [aɪ] ไอ / อาย
an [an], [ɛn] อัน / อาน
ang [ɑŋ] อัง / อาง
ar, anr, air [aɻ] อาร์
ao [ɑʊ] เอา / อาว
e [ɤ], [ə] เออ, เอ (เมื่อตามหลัง y)
ê [ɛ] เอ
ei [ei] เอย์
en [ən] เอิน
eng [ɤŋ] เอิง
er [aɻ], [ɤɻ] เออร์
i [i] อี, อึ / อือ
(เมื่ออยู่หลัง c, ch, r, s, sh, z, zh)
ia [iɑ] เอีย (ออกเสียงเหมือนคำว่า “อี + อา” แต่ลากเสียงสระท้าย)
ie [iɛ] เอีย (ออกเสียงเหมือนคำว่า “อี + เอ” แต่ลากเสียงสระท้าย)
iu [iou̯] อิว
o [u̯ɔ] โอ, อัว (เมื่ออยู่หลัง
b, f, m, p, w)
ong [ʊŋ] อง
ou [ou̯] โอว
u [u], [y] อู, อวี (เมื่ออยู่หลัง
j, q, x, y)
ue, uer [] เอว , เอวร์ (เสียงควบ
อว)
ui [ueɪ] อุย
un [uən] อุน, อวิน
(เมื่ออยู่หลัง j, q, x, y)
uo [u̯ɔ] อัว
ü [y] อวี (เสียงควบ อว)
üe [yɛ] เอว (เสียงควบ อว)
ün [yn] อวิน (เสียงควบ อว)

หมายเหตุ: พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ให้ออกเสียงด้วย เช่น érzi = เอ๋อร์จึ fēi = เฟย์

2.3 การถอดเสียงวรรณยุกต์

ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้
1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (ˉ) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย:
ā ē ī ō ū ǖ
2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา (ˊ) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย:
á é í ó ú ǘ
3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (ˇ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง”เอก”):
ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (ˋ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย:
à è ì ò ù ǜ
5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย:
a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)

ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)

2.4 การใส่วรรณยุกต์

โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน(e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u
ตัวอย่าง

อักษรจีน พินอิน อักษรไทย ความหมาย
มา หรือ ม้า แม่
หมา ป่าน
หม่า ม้า
ม่า ดุด่า
·ma มะ หรือ, ไหม

รวมมาจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไทย และ en.wikipedia.org/wiki/Zhuyin

2.5 วิธีการอ่านออกเสียง

a (1) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อา” เวลาออกเสียงให้อ้าปากออกกว้างมากที่สุด และตำแหน่งของลิ้นก็จะอยู่ต่ำสุด รูปริมฝีปากจะไม่เป็นรูปวงกลม
o (2) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “โอ” เวลาออกเสียงให้อ้าปากกว้างในระดับปานกลาง ตำแหน่งลิ้นอยู่ในระดับสูงปานกลางค่อนไปข้างหลัง ริมฝีปากมีรูปลักษณะกลม
e (3) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “เออ” เวลา ออกเสียงให้อ้าปากอยู่ในระดับปานกลาง และตำแหน่งของลิ้นก็จะอยู่ในระดับสูงปานกลางค่อนไปข้างหลัง รูปริมฝีปากจะไม่เป็นรูปวงกลม
ê (4) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “เอ” เวลาออกเสียงให้อ้าปากแบะออกด้านข้างกว้างกว่าการออกเสียงตัว “e” และ ” นี้ จะสามารถไปผสมกับอักษรแทนเสียงสระตัว “i” กับ ” เป็น “ie” กับ ” ได้เท่านั้น
-i (5) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบ “ยี + อี” เวลาออกเสียงให้อ้าปากอยู่ในระดับน้อยที่สุด และให้ริมฝีปากแบนราบ ตำแหน่งของลิ้นให้อยุ่ในระดับสูงค่อนมาข้างหน้า (แต่อย่าเคลื่อนไหวในขณะที่เปล่งเสียงออกมาและให้ริมฝีปากกางออกไปทางด้าน ข้างทั้งสองด้าน)
-u (6) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อู” เวลา ออกเสียงให้อ้าปากออกน้อยที่สุด และให้รูปริมฝีปากเป็นรูปวงกลมมากที่สุดตำแหน่งของลิ้นให้ลอยอยู่ในระดับสูง และค่อนไปข้างหลัง (แต่อย่าเคลื่อนไหวในขณะเปล่งเสียงออกมา และให้ย่นริมฝีปากเข้าหากัน)
ü (7) ก่อนที่จะเปล่งเสียงออกมา จะต้องย่นริมฝีปากเข้าหากันเป็นรูเล็กๆ (เหมือนกับรูปปากท่าในขณะเป่านกหวีด) และให้รูปริมฝีปากมีรูปวงกลมเล็กแต่จะไม่ยื่นริมฝีปากออกมาเหมือนกับรูปปาก ที่เปล่งเสียงตัว “u” ตำแหน่งของลิ้นค่อนมาข้างหน้ามีลักษณะนูนสูงขึ้น และรูปริมฝีปากจะมีรูปตรงกันข้ามกับรูปปากของการเปล่งเสียงตัว”i” เสร็จแล้วจึงเปล่งเสียง “ยี” โดยให้ริมฝีปากยังคงย่นอยู่จนกว่าเสียงจะสิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้ว แล้วจึงเลิกย่นริมฝีปาก ฉะนั้น เสียงของตัว ” นี้จะไม่ใช่เป็นเสียง “ยู” หรือ “วี” หรือ “ยิว” อย่าง ที่หลายคนมักเข้าใจผิดข้อควรระวังคือ อย่าเลิกย่นริมฝีปากออกเสียก่อนที่เสียงซึ่งเปล่งออกมานั้นยังไม่จบสิ้นลง เพราะว่าไม่เช่นนั้นแล้วละก็เสียงที่เปล่งออกมานั้น จะถูกริมฝีปากบิดให้ผิดเพี้ยนไปเป็นเสียงที่ไม่ถูกต้อง เสียงนี้เวลาออกเสียงค่อนข้างยาก เพระว่าในภาษาไทยไม่มีเสียงเช่นนี้ คนไทยจึงไม่คุ้นเคย หรือรู้สึกว่ายากแก่การที่จะต้องย่นริมฝีปากเอาไว้ในขณะที่กำลังเปล่ง เสียงออกมาจนกว่าเสียงจะสิ้นสุด แต่ว่าถ้านักศึกษาพยายามฝึกหัดมากหน่อย ก็สามารถออกเสียงตัวนี้ได้ถูกต้อง และจะไม่ยากเมื่อฝึกหัดจนคุ้นเคยแล้วและเวลา ” ไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j” “q”, “x” และ “y” แล้วละก็ให้ละจุดสองจุดบนตัว “u” เป็น “ju” “qu”, “xu” และ “yu” ส่วน ” ไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “n” กับ “l” แล้วละก็ ยังต้องคงจุดสองจุดไว้บน ” เช่น “n กับ ” เพราะมิเช่นนั้นแล้วละก็จะไปซ้ำกับพยางค์เสียง “nu” กับ “lu” (เนื่องจาก “n” กับ “l” สามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงสระตัว “u” ได้ด้วย
-i (8) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อือ” โดยให้ปลายลิ้นกระดกขึ้นบน และอักษรแทนเสียงสระตัวนี้จะสามารถสะกดได้กับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “zh”, “ch” , “sh” กับ “r” เป็น zhi
er (9) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อือ” ก่อน ออกเสียงให้ยื่นปลายลิ้นออกไปในแนวราบ แล้วใช้ปลายลิ้นยันไว้ตรงบริเวณด้านหลังฟันบนแล้วจึงเปล่งเสียงออกไปพร้อม กับเลื่อนปลายลิ้นห่างออกเล็กน้อย เสียงนี้จะเป็นเสียงที่เกิดจากการเบียด และเสียดสีกันออกมาอักษรแทนเสียงสระตัวนี้ จะสามารถสะกดได้กับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “z”, “c” กับ “s” เป็น “zi กับ เท่านั้น
ai (10) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อาร์+กระดกลิ้นขึ้นบน+เออ” เน้นเสียงหนักที่ “อาร์ (กระดกลิ้น)” แล้วจึงลงด้วย “เออ” เบาๆ
-ei (11) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง “อา+อี” ให้เป็นเสียงเดียวกัน ฟังดูเผินๆ ก็จะเป็น “อาย+อี” (ควบให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว)
ao (12) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง “เอ+อี” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว
ou (13) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง”อาว+โอ” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว
-ia (14) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง “โอว+อู” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว
-ie (15) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบเป็น “อี+ยา” เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “ya” อ่านว่า “อี+ยา” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน)
-ua (16) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบเป็น “อี+เย” ให้เป็นเสียงเดียวและเร็ว ให้เน้นเสียงหนักที่ “เย” เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “ye” อ่านว่า “เย”
-uo (17) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบ “อู+วา” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wa” อ่านว่า “อู+วา” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน)
-üe (18) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบ “อู+โว” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wo” อ่านว่า “อู+โว” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน)
-iao (19) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบที่ต้องย่นริมฝีปากก่อนแล้วจึงเปล่งเสียง “ยี+เอ” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน) เขียนเป็นพยางค์ได้ว่า “yue” ละจุดสองจุดบนตัว “u”
-iou (20) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+ยาว” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yao” อ่านว่า “ยาว” (ให้เป็นเสียงสูงแนวราบตลอด)
-uai (21) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+ยิว” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว และเมื่อ “iou” ไปสะกดกับตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งแล้วละก็ให้ตัดตัวอักษรเหลือ เพียง “iu และมีเสียงเทียบเคียงเป็นเสียงควบ “อี+อิว” เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “you” อ่านว่า “ยิว”
-uai (22) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+วาย” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์ เสียงได้ว่า “wai” อ่านว่า “อู+วาย” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน)
-uei (23) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+เวย” ให้เป็นเสียงเดียวกัน และเมื่อ “uei”ไปสะกดกับตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งแล้วละก็ให้ตัดตัวอักษร เหลือเพียง “ui และมีเสียงเทียบเคียงเป็นเสียงควบได้กับเสียง “อุย+อี” เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “wei” อ่านว่า “เวย+อี” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน)
an (24) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อาน” ปลายเสียงขึ้นจมูก ไม่ใช่เสียง “อัน”
en (25) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “เอิน” ปลายเสียงขึ้นจมูก
ang (26) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อาง” ปลายเสียงขึ้นจมูก ไม่ใช่เสียง “อัง”
eng (27) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “เอิง” ปลายเสียงขึ้นจมูก
-ian (28) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+เยียน” เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yan” อ่านว่า “เยียน”
-in (29) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “ยิน+อิน” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yin” อ่านว่า “ยิน+อิน”
-iang (30) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+ยาง” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yang” อ่านว่า “ยาง” ให้ปลายเสียงขึ้นจมูก
-ing (31) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “ยิง+อิง” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “ying” อ่านว่า “ยิง+อิง” ให้ปลายเสียงขึ้นจมูก
-iong (32) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+ยง” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yong” อ่านออกเสียงว่า “ยง”
-uan (33) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+วาน” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wan อ่านออกเสียงว่า “อู+วาน” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็วเช่นกัน)
-uen (34) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+เวิน” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “wen อ่านออกเสียงว่า “เวิน” แต่เมื่อ “-uen” ไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัวอื่นๆ แล้วละก็ ให้เหลือเพียง “un
-uang (35) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+วาง” (ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว) เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “wang” อ่านออกเสียงว่า “อู+วาง” เหมือนเดิมให้ปลายเสียงขึ้นจมูกและเน้นเสียงหนัก “วาง” มากกว่า
-ueng (36) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+เวิง” (ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว) เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “weng” อ่านออกเสียงว่า “อู+เวิง” เหมือนเดิมให้เน้นเสียงหนัก “เวิง” มากกว่า
-üan (37) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “ย่นริมฝีปากก่อน+ยี+อาน” (อ่านให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว) เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yuan” อ่านออกเสียงว่า “ย่นริมฝีปากก่อน+ยี+อาน” เหมือนเดิมแล้วละจุดสองจุดบนตัว “u” ไว้ในฐานที่เข้าใจ “- นี้จะสามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j” , “q”, “x” และ “y” เป็น “juan”, “quan”, “xuan” และ “yuan” ได้เท่านั้น
-ün (38) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “ย่นริมฝีปากก่อน+ยิน” (จะต้อยย่นริมฝีปากตลอดเวลาในณะที่เปล่งเสียงออกมา จนกว่าเสียงจะสิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้ว จึงจะเลิกย่นริมฝีปากได้) เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yun” แล้วละจุดสองจุดบนตัว “u” ไว้ในฐานที่เข้าใจ ” นี้ จะสามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j”, “q”, “x” และ “y” เป็น “jun”, “qun”, “xun” และ “yun” ได้เท่านั้น