ภาษาจีนเป็นภาษารูปภาพ ไม่ใช่ภาษาสะกดผสมอักษรดังเช่นภาษาไทย จึงควรศึกษาวิธีเขียนอ่านตัวสะกดภาษาจีนเอาไว้ เพื่อเวลาพบอักษรตัวใดที่อ่านไม่ออก หรือไม่มั่นใจในการออกเสียง สามารถเปิดค้นหาอ่านในพจนานุกรม และใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ เพื่อพิมพ์ภาษาจีนแบบสะกดคำได้
วิธีเขียนตัวสะกด เพื่อการอ่านออกเสียงได้ถูกต้องที่นิยมใช้มีหลายระบบ เช่น
- 注音符号 [zhùyīnfúhào] (注音符號)
- 通用拼音 [tōngyòng pīnyīn]
- 汉语拼音 [hànyǔ pīnyīn]
- IPA (International Phonetic Alphabet)
- 威妥瑪拼音 or 韋氏拼音 [wēituǒmǎ pīnyīn]
- เป็นต้น
ในการเริ่มต้นศึกษา ควรอ่านท่องเสียงให้ได้แม่นยำในระบบใดระบบหนึ่งก่อนก็ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงระบบ จู้อิน(注音符号) และพินอิน(汉语拼音)
ฟังเสียงจากตารางพินอิน คลิ๊กที่นี่
1.แบบจู้อิน 注音符号 [zhùyīnfúhào]
แบบจู้อิน (注音) เป็นแบบดั้งเดิมของจีนที่ใช้กันมาช้านาน เป็นที่นิยมใช้ในหมู่คนจีนที่ ผ่านการศึกษาในรุ่นก่อนๆ ในประเทศจีนไต้หวันเป็นต้น
แป้นพิมพ์ภาษาจีนแบบ Zhuyin
1.1 พยัญชนะ (Consonants) ในภาษาจีนมี 21 ตัวคือ ㄅ ㄆ ㄇ ㄈ ㄉ ㄊ ㄋ ㄌ ㄍ ㄎ ㄏ ㄐ ㄑ ㄒ ㄓ ㄔ ㄕ ㄖ ㄗ ㄘ ㄙ
注音 | 通用拼音 | 汉语拼音 | 威妥瑪拼音 | IPA | ตัวอย่าง(Zhuyin, Pinyin) | |
---|---|---|---|---|---|---|
เปอ | ㄅ | b | b | p | p | 八 (ㄅㄚ, bā) |
เพอ | ㄆ | p | p | p’ | pʰ | 杷 (ㄆㄚˊ, pá) |
เมอ | ㄇ | m | m | m | m | 馬 (ㄇㄚˇ, mǎ) |
เฟอ | ㄈ | f | f | f | 法 (ㄈㄚˇ, fǎ) | |
เตอ | ㄉ | d | d | t | 地 (ㄉㄧˋ, dì) | |
เทอ | ㄊ | t | t | t’ | tʰ | 提 (ㄊㄧˊ, tí) |
เนอ | ㄋ | n | n | n | 你 (ㄋㄧˇ, nǐ) | |
เลอ | ㄌ | l | l | l | 利 (ㄌㄧˋ, lì) | |
เกอ | ㄍ | g | g | k | 告 (ㄍㄠˋ, gào) | |
เคอ | ㄎ | k | k | k’ | kʰ | 考 (ㄎㄠˇ, kǎo) |
เฮอ | ㄏ | h | h | h | 好 (ㄏㄠˇ, hǎo) | |
จี | ㄐ | j | j | ch | 叫 (ㄐㄧㄠˋ, jiào) | |
ชี | ㄑ | c | q | ch’ | 巧 (ㄑㄧㄠˇ, qiǎo) | |
ซี | ㄒ | s | x | hs | 小 (ㄒㄧㄠˇ, xiǎo) | |
จือ | ㄓ | jhih 【jh】 | zhi 【zh】 | chih 【ch】 | ʈʂɚ | 主 (ㄓㄨˇ, zhǔ) |
ชือ | ㄔ | chih 【ch】 | chi 【ch】 | ch’ih 【ch’】 | ʈʂʰɚ | 出 (ㄔㄨ, chū) |
ซือ | ㄕ | shih 【sh】 | shi 【sh】 | shih 【sh】 | ʂɚ | 束 (ㄕㄨˋ, shù) |
ยือ | ㄖ | rih 【r】 | ri 【r】 | jih 【j】 | ʐɚ | 入 (ㄖㄨˋ, rù) |
จือ | ㄗ | zih 【z】 | zi 【z】 | tzû 【ts】 | tsɨ | 在 (ㄗㄞˋ, zài) |
ชือ | ㄘ | cih 【c】 | ci 【c】 | tz’û 【ts’】 | tsʰɨ | 才 (ㄘㄞˊ, cái) |
ซือ | ㄙ | sih 【s】 | si 【s】 | ssû 【s】 | ɤŋ | 塞 (ㄙㄞ, sāi) |
1.2 สระ (Vowels) มี16 ตัวคือ ㄚ ㄛ ㄜ ㄝ ㄞ ㄟ ㄠ ㄡ ㄢ ㄣ ㄤ ㄥ ㄦ 一 ㄨ ㄩ
注音 | 通用拼音 | 汉语拼音 | 威妥瑪拼音 | IPA | ตัวอย่าง(Zhuyin, Hanyu) | |
---|---|---|---|---|---|---|
อา | ㄚ | a | a | a | a | 大 (ㄉㄚˋ, dà) |
ออ | ㄛ | o | o | o | o | 多 (ㄉㄨㄛ, duō) |
เออ | ㄜ | e | e | e | o/ê | 得 (ㄉㄜˊ, dé) |
เอ | ㄝ | e | ê | eh | 爹 (ㄉㄧㄝ, diē) | |
ไอ | ㄞ | ai | ai | ai | ai | 晒 (ㄕㄞˋ, shài) |
เอย | ㄟ | ei | ei | ei | ei | 誰 (ㄕㄟˊ, shéi) |
เอา | ㄠ | ao | ao | ao | ao | 少 (ㄕㄠˇ, shǎo) |
โอ | ㄡ | ou | ou | ou | ou | 收 (ㄕㄡ, shōu) |
อาน | ㄢ | an | an | an | an | 山 (ㄕㄢ, shān) |
เอิน | ㄣ | en | en | en | ên | 申 (ㄕㄣ, shēn) |
อาง | ㄤ | ang | ang | ang | ang | 上 (ㄕㄤˋ, shàng) |
เอิง | ㄥ | eng | eng | eng | szŭ | 生 (ㄕㄥ, shēng) |
เอ๋อ | ㄦ | er | er | erh | êrh | 而 (ㄦˊ, ér) |
อี | 一 หรือㄧ | yi 【i】 | yi 【i】 | yi 【i】 | i | 逆 (ㄋㄧˋ, nì) |
yin 【in】 | yin 【in】 | yin 【in】 | 音 (ㄧㄣ, yīn) | |||
ying 【ing】 | ying 【ing】 | ying 【ing】 | 英 (ㄧㄥ, yīng) | |||
อู | ㄨ | wu 【u】 | wu 【u】 | wu 【u】 | wu | 努 (ㄋㄨˇ, nǔ) |
wun 【un】 | wen 【un】 | wen 【un】 | 文 (ㄨㄣˊ, wén) | |||
wong 【ong】 | weng 【ong】 | ng 【ung】 | 翁 (ㄨㄥ, wēng) | |||
อวี | ㄩ | yu 【u, yu】 | yu 【u, ü】 | yü 【ü】 | yü | 女 (ㄋㄩˇ, nǚ) |
yun 【un, yun】 | yun 【un】 | yün 【ün】 | 韻 (ㄩㄣˋ, yūn) | |||
yong | yong 【iong】 | yung 【iung】 | 永 (ㄩㄥˇ, yǒng) |
1.3 วรรณยุกต์ (Tones ) มีดังนี้ ╴ ˊ ˇ ˋ ˙
注音 | เทียบเสียง วรรณยุกต์ไทย |
汉语拼音 | 通用 拼音 |
威妥瑪拼音 | Zhuyin | IPA | ตัวอย่าง (ตัวเต็ม/ตัวย่อ) |
||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ╴ | ปกติ | อิน | mā | ma | ma1 | ㄇㄚ | ma˥˥ | 媽/妈 |
2 | ˊ | จัตวา | หยัง | má | maˊ | ma2 | ㄇㄚˊ | ma˧˥ | 麻/麻 |
3 | ˇ | เอก | ชั้ง | mǎ | maˇ | ma3 | ㄇㄚˇ | ma˨˩˦ | 馬/马 |
4 | ˋ | โท | ชี้ | mà | maˋ | ma4 | ㄇㄚˋ | ma˥˩ | 罵/骂 |
5 | ˙ | เสียงสั้น | ˙ma | ma˙ | ma5 | ㄇㄚ˙ |
1.4 การผสมเสียงระหว่างสระ
Zhuyin | Pinyin | คำอ่าน | 注音 一﹍ |
Pinyin i﹍ |
คำอ่าน | 注音 ㄨ﹍ |
Pinyin u﹍ |
คำอ่าน | 注音 ㄩ﹍ |
Pinyin ű﹍ |
คำอ่าน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ㄚ | a | อา | ﹍一ㄚ | -ia | เอีย | ﹍ㄨㄚ | -ua | อวา | |||
ㄛ | o | ออ | ﹍ㄨㄛ | -uo | อวอ | ||||||
ㄜ | e | เออ | |||||||||
ㄝ | ê | เอ | ﹍一ㄝ | -ie | อีเอ | ﹍ㄩㄝ | -űe | ||||
ㄞ | ai | ไอ | ﹍ㄨㄞ | -uai | อวาย | ||||||
ㄟ | ei | เอย | ﹍ㄨㄟ | -ui | อุย | ||||||
ㄠ | ao | เอา | ﹍一ㄠ | -iao | เอียว | ||||||
ㄡ | ou | โอ | ﹍一ㄡ | -iu | อิว | ||||||
ㄢ | an | อาน | ﹍一ㄢ | -ian | เอียน | ﹍ㄨㄢ | -uan | อวน | ﹍ㄩㄢ | -űan | เอวียน |
ㄣ | en | เอิน | ﹍一ㄣ | -in | อิน | ﹍ㄨㄣ | -un | อวุน | ﹍ㄩㄣ | -űn | อวีน |
ㄤ | ang | อาง | ﹍一ㄤ | -iang | เอียง | ﹍ㄨㄤ | -uang | อวง | |||
ㄥ | eng | เอิง | ﹍一ㄥ | -ing | อิง | ﹍ㄨㄥ | -ong | อง | ﹍ㄩㄥ | -iong | อีอง |
2. พินอิน (Pinyin) หรือ 汉语拼音 [hànyǔ pīnyīn]
แบบพินอิน (拼音) เป็นใหม่ที่ใช้ในระบบการศึกษาของสาธารณะประชาชนจีน และจะพบเห็นได้ในเอกสารที่ตีพิมพ์ในยุคหลังๆ และกำลังเป็นที่นิยม
ความหมายตามตัวอักษร คือ การถอดเสียงภาษาจีน) เป็น แบบใหม่ที่ใช้ในระบบการศึกษาของสาธารณะประชาชนจีน และจะพบเห็นได้ในเอกสารที่ตีพิมพ์ในยุคหลังๆ หรือมักจะย่อว่า พินอิน คือระบบในการถ่ายถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรโรมัน ความหมายของพินอินคือ “การรวมเสียงเข้าด้วยกัน” (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถ่ายถอดเสียง หรือการทับศัพท์)
พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถ่ายถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบเปอเพอเมอเฟอ (จู้ยิน ฝูฮ่าว) นอก จากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่างๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย
นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถ่ายถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098)ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)
สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถ่ายถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่งๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง “ป” และ “ต” ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้น มีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้วยังสามารถ ใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย
2.1 การถอดเสียงพยัญชนะแบบพินอิน
พินอิน | สัทอักษรสากล (IPA) | อักษรไทย |
p | [pʰ] | ผ, พ |
t | [tʰ] | ถ, ท |
k | [kʰ] | ข, ค |
b | [p] | ป |
d | [t] | ต |
g | [k] | ก |
s | [s] | ซ, ส |
c | [tsʰ] | ฉ, ช |
z | [ts] | จ |
x | [ɕ] | ซ, ส |
q | [tɕʰ] | ฉ, ช |
j | [tɕ] | จ |
sh | [ʂ] | ซ, ส |
ch | [tʂʰ] | ฉ, ช |
zh | [tʂ] | จ |
f | [f] | ฝ, ฟ |
h | [x] | ห, ฮ |
l | [l] | ล |
r | [ʐ] หรือ [ɻ] | ร หรือ ย |
w | [w] | ว, อ (เมื่ออยู่หน้า u) |
y | [j] | ย, อ (เมื่อตามด้วย i และไม่มีตัวสะกด) |
m | [m] | ม |
n | [n] | น |
ng | [ŋ] | ง |
หมายเหตุ: เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ-ช, ฝ-ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น ฉา, ชือ, เฝิน, ฟั่น ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งในการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านได้สะดวก เช่น yún = ยฺหวิน
2.2 การถอดเสียงสระ
พินอิน | อักษรสากล (IPA) | อักษรไทย |
a | [ɑ] | อะ / อา |
ai | [aɪ] | ไอ / อาย |
an | [an], [ɛn] | อัน / อาน |
ang | [ɑŋ] | อัง / อาง |
ar, anr, air | [aɻ] | อาร์ |
ao | [ɑʊ] | เอา / อาว |
e | [ɤ], [ə] | เออ, เอ (เมื่อตามหลัง y) |
ê | [ɛ] | เอ |
ei | [ei] | เอย์ |
en | [ən] | เอิน |
eng | [ɤŋ] | เอิง |
er | [aɻ], [ɤɻ] | เออร์ |
i | [i] | อี, อึ / อือ (เมื่ออยู่หลัง c, ch, r, s, sh, z, zh) |
ia | [iɑ] | เอีย (ออกเสียงเหมือนคำว่า “อี + อา” แต่ลากเสียงสระท้าย) |
ie | [iɛ] | เอีย (ออกเสียงเหมือนคำว่า “อี + เอ” แต่ลากเสียงสระท้าย) |
iu | [iou̯] | อิว |
o | [u̯ɔ] | โอ, อัว (เมื่ออยู่หลัง b, f, m, p, w) |
ong | [ʊŋ] | อง |
ou | [ou̯] | โอว |
u | [u], [y] | อู, อวี (เมื่ออยู่หลัง j, q, x, y) |
ue, uer | [] | เอว , เอวร์ (เสียงควบ อว) |
ui | [ueɪ] | อุย |
un | [uən] | อุน, อวิน (เมื่ออยู่หลัง j, q, x, y) |
uo | [u̯ɔ] | อัว |
ü | [y] | อวี (เสียงควบ อว) |
üe | [yɛ] | เอว (เสียงควบ อว) |
ün | [yn] | อวิน (เสียงควบ อว) |
หมายเหตุ: พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ให้ออกเสียงด้วย เช่น érzi = เอ๋อร์จึ fēi = เฟย์
2.3 การถอดเสียงวรรณยุกต์
ระบบพินอินมีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ 4 เครื่องหมายด้วยกัน ดังนี้
1. วรรณยุกต์เสียงที่หนึ่ง แทนด้วยขีดระนาบสั้น ๆ (ˉ) เทียบเท่าเสียง สามัญหรือตรี ในภาษาไทย:
ā ē ī ō ū ǖ
2. วรรณยุกต์เสียงที่สอง แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงขวา (ˊ) เทียบเท่าเสียง จัตวา ในภาษาไทย:
á é í ó ú ǘ
3. วรรณยุกต์เสียงที่สาม แทนด้วยขีดรูปลิ่ม (ˇ) คล้ายเสียง เอก ในภาษาไทย (แต่ไม่ใช่เสียง”เอก”):
ǎ ě ǐ ǒ ǔ ǚ
4. วรรณยุกต์เสียงที่สี่ แทนด้วยขีดสั้น ๆ เอียงซ้าย (ˋ) เทียบเท่าเสียง โท ในภาษาไทย:
à è ì ò ù ǜ
5. วรรณยุกต์เสียงที่ห้า ไม่มีเครื่องหมาย:
a e i o u ü (แต่บางครั้งเขียนจุดหน้าพยางค์นั้น ๆ เช่น ·yo เยาะ)
ในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขแทนเครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ (1 2 3 4 5 ตามลำดับ)
2.4 การใส่วรรณยุกต์
โดยดูที่สระ a o e i u ü ตัวอย่างสระ ie ให้ใส่ที่ e เพราะ e มาก่อน(e i) ยกเว้นถ้า iu ใส่ที่ u
ตัวอย่าง
อักษรจีน | พินอิน | อักษรไทย | ความหมาย |
---|---|---|---|
妈 | mā | มา หรือ ม้า | แม่ |
麻 | má | หมา | ป่าน |
马 | mǎ | หม่า | ม้า |
骂 | mà | ม่า | ดุด่า |
吗 | ·ma | มะ | หรือ, ไหม |
รวมมาจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไทย และ en.wikipedia.org/wiki/Zhuyin
2.5 วิธีการอ่านออกเสียง
a | (1) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อา” เวลาออกเสียงให้อ้าปากออกกว้างมากที่สุด และตำแหน่งของลิ้นก็จะอยู่ต่ำสุด รูปริมฝีปากจะไม่เป็นรูปวงกลม |
o | (2) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “โอ” เวลาออกเสียงให้อ้าปากกว้างในระดับปานกลาง ตำแหน่งลิ้นอยู่ในระดับสูงปานกลางค่อนไปข้างหลัง ริมฝีปากมีรูปลักษณะกลม |
e | (3) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “เออ” เวลา ออกเสียงให้อ้าปากอยู่ในระดับปานกลาง และตำแหน่งของลิ้นก็จะอยู่ในระดับสูงปานกลางค่อนไปข้างหลัง รูปริมฝีปากจะไม่เป็นรูปวงกลม |
ê | (4) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “เอ” เวลาออกเสียงให้อ้าปากแบะออกด้านข้างกว้างกว่าการออกเสียงตัว “e” และ ” นี้ จะสามารถไปผสมกับอักษรแทนเสียงสระตัว “i” กับ ” เป็น “ie” กับ ” ได้เท่านั้น |
-i | (5) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบ “ยี + อี” เวลาออกเสียงให้อ้าปากอยู่ในระดับน้อยที่สุด และให้ริมฝีปากแบนราบ ตำแหน่งของลิ้นให้อยุ่ในระดับสูงค่อนมาข้างหน้า (แต่อย่าเคลื่อนไหวในขณะที่เปล่งเสียงออกมาและให้ริมฝีปากกางออกไปทางด้าน ข้างทั้งสองด้าน) |
-u | (6) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อู” เวลา ออกเสียงให้อ้าปากออกน้อยที่สุด และให้รูปริมฝีปากเป็นรูปวงกลมมากที่สุดตำแหน่งของลิ้นให้ลอยอยู่ในระดับสูง และค่อนไปข้างหลัง (แต่อย่าเคลื่อนไหวในขณะเปล่งเสียงออกมา และให้ย่นริมฝีปากเข้าหากัน) |
ü | (7) ก่อนที่จะเปล่งเสียงออกมา จะต้องย่นริมฝีปากเข้าหากันเป็นรูเล็กๆ (เหมือนกับรูปปากท่าในขณะเป่านกหวีด) และให้รูปริมฝีปากมีรูปวงกลมเล็กแต่จะไม่ยื่นริมฝีปากออกมาเหมือนกับรูปปาก ที่เปล่งเสียงตัว “u” ตำแหน่งของลิ้นค่อนมาข้างหน้ามีลักษณะนูนสูงขึ้น และรูปริมฝีปากจะมีรูปตรงกันข้ามกับรูปปากของการเปล่งเสียงตัว”i” เสร็จแล้วจึงเปล่งเสียง “ยี” โดยให้ริมฝีปากยังคงย่นอยู่จนกว่าเสียงจะสิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้ว แล้วจึงเลิกย่นริมฝีปาก ฉะนั้น เสียงของตัว ” นี้จะไม่ใช่เป็นเสียง “ยู” หรือ “วี” หรือ “ยิว” อย่าง ที่หลายคนมักเข้าใจผิดข้อควรระวังคือ อย่าเลิกย่นริมฝีปากออกเสียก่อนที่เสียงซึ่งเปล่งออกมานั้นยังไม่จบสิ้นลง เพราะว่าไม่เช่นนั้นแล้วละก็เสียงที่เปล่งออกมานั้น จะถูกริมฝีปากบิดให้ผิดเพี้ยนไปเป็นเสียงที่ไม่ถูกต้อง เสียงนี้เวลาออกเสียงค่อนข้างยาก เพระว่าในภาษาไทยไม่มีเสียงเช่นนี้ คนไทยจึงไม่คุ้นเคย หรือรู้สึกว่ายากแก่การที่จะต้องย่นริมฝีปากเอาไว้ในขณะที่กำลังเปล่ง เสียงออกมาจนกว่าเสียงจะสิ้นสุด แต่ว่าถ้านักศึกษาพยายามฝึกหัดมากหน่อย ก็สามารถออกเสียงตัวนี้ได้ถูกต้อง และจะไม่ยากเมื่อฝึกหัดจนคุ้นเคยแล้วและเวลา ” ไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j” “q”, “x” และ “y” แล้วละก็ให้ละจุดสองจุดบนตัว “u” เป็น “ju” “qu”, “xu” และ “yu” ส่วน ” ไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “n” กับ “l” แล้วละก็ ยังต้องคงจุดสองจุดไว้บน ” เช่น “n กับ ” เพราะมิเช่นนั้นแล้วละก็จะไปซ้ำกับพยางค์เสียง “nu” กับ “lu” (เนื่องจาก “n” กับ “l” สามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงสระตัว “u” ได้ด้วย |
-i | (8) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อือ” โดยให้ปลายลิ้นกระดกขึ้นบน และอักษรแทนเสียงสระตัวนี้จะสามารถสะกดได้กับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “zh”, “ch” , “sh” กับ “r” เป็น zhi |
er | (9) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อือ” ก่อน ออกเสียงให้ยื่นปลายลิ้นออกไปในแนวราบ แล้วใช้ปลายลิ้นยันไว้ตรงบริเวณด้านหลังฟันบนแล้วจึงเปล่งเสียงออกไปพร้อม กับเลื่อนปลายลิ้นห่างออกเล็กน้อย เสียงนี้จะเป็นเสียงที่เกิดจากการเบียด และเสียดสีกันออกมาอักษรแทนเสียงสระตัวนี้ จะสามารถสะกดได้กับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “z”, “c” กับ “s” เป็น “zi กับ เท่านั้น |
ai | (10) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อาร์+กระดกลิ้นขึ้นบน+เออ” เน้นเสียงหนักที่ “อาร์ (กระดกลิ้น)” แล้วจึงลงด้วย “เออ” เบาๆ |
-ei | (11) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง “อา+อี” ให้เป็นเสียงเดียวกัน ฟังดูเผินๆ ก็จะเป็น “อาย+อี” (ควบให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว) |
ao | (12) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง “เอ+อี” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว |
ou | (13) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง”อาว+โอ” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว |
-ia | (14) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่าง “โอว+อู” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว |
-ie | (15) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบเป็น “อี+ยา” เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “ya” อ่านว่า “อี+ยา” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน) |
-ua | (16) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบเป็น “อี+เย” ให้เป็นเสียงเดียวและเร็ว ให้เน้นเสียงหนักที่ “เย” เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “ye” อ่านว่า “เย” |
-uo | (17) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบ “อู+วา” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wa” อ่านว่า “อู+วา” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน) |
-üe | (18) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบ “อู+โว” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wo” อ่านว่า “อู+โว” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน) |
-iao | (19) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบที่ต้องย่นริมฝีปากก่อนแล้วจึงเปล่งเสียง “ยี+เอ” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน) เขียนเป็นพยางค์ได้ว่า “yue” ละจุดสองจุดบนตัว “u” |
-iou | (20) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+ยาว” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yao” อ่านว่า “ยาว” (ให้เป็นเสียงสูงแนวราบตลอด) |
-uai | (21) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+ยิว” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว และเมื่อ “iou” ไปสะกดกับตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งแล้วละก็ให้ตัดตัวอักษรเหลือ เพียง “iu และมีเสียงเทียบเคียงเป็นเสียงควบ “อี+อิว” เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “you” อ่านว่า “ยิว” |
-uai | (22) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+วาย” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์ เสียงได้ว่า “wai” อ่านว่า “อู+วาย” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน) |
-uei | (23) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+เวย” ให้เป็นเสียงเดียวกัน และเมื่อ “uei”ไปสะกดกับตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัวใดตัวหนึ่งแล้วละก็ให้ตัดตัวอักษร เหลือเพียง “ui และมีเสียงเทียบเคียงเป็นเสียงควบได้กับเสียง “อุย+อี” เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “wei” อ่านว่า “เวย+อี” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกัน) |
an | (24) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อาน” ปลายเสียงขึ้นจมูก ไม่ใช่เสียง “อัน” |
en | (25) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “เอิน” ปลายเสียงขึ้นจมูก |
ang | (26) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “อาง” ปลายเสียงขึ้นจมูก ไม่ใช่เสียง “อัง” |
eng | (27) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียง “เอิง” ปลายเสียงขึ้นจมูก |
-ian | (28) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+เยียน” เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “yan” อ่านว่า “เยียน” |
-in | (29) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “ยิน+อิน” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yin” อ่านว่า “ยิน+อิน” |
-iang | (30) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+ยาง” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yang” อ่านว่า “ยาง” ให้ปลายเสียงขึ้นจมูก |
-ing | (31) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “ยิง+อิง” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “ying” อ่านว่า “ยิง+อิง” ให้ปลายเสียงขึ้นจมูก |
-iong | (32) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อี+ยง” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yong” อ่านออกเสียงว่า “ยง” |
-uan | (33) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+วาน” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงว่า “wan อ่านออกเสียงว่า “อู+วาน” (อ่านควบให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็วเช่นกัน) |
-uen | (34) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+เวิน” ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “wen อ่านออกเสียงว่า “เวิน” แต่เมื่อ “-uen” ไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัวอื่นๆ แล้วละก็ ให้เหลือเพียง “un |
-uang | (35) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+วาง” (ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว) เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “wang” อ่านออกเสียงว่า “อู+วาง” เหมือนเดิมให้ปลายเสียงขึ้นจมูกและเน้นเสียงหนัก “วาง” มากกว่า |
-ueng | (36) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “อู+เวิง” (ให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว) เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “weng” อ่านออกเสียงว่า “อู+เวิง” เหมือนเดิมให้เน้นเสียงหนัก “เวิง” มากกว่า |
-üan | (37) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “ย่นริมฝีปากก่อน+ยี+อาน” (อ่านให้เป็นเสียงเดียวกันและเร็ว) เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yuan” อ่านออกเสียงว่า “ย่นริมฝีปากก่อน+ยี+อาน” เหมือนเดิมแล้วละจุดสองจุดบนตัว “u” ไว้ในฐานที่เข้าใจ “- นี้จะสามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j” , “q”, “x” และ “y” เป็น “juan”, “quan”, “xuan” และ “yuan” ได้เท่านั้น |
-ün | (38) มีเสียงเทียบเคียงได้กับเสียงควบระหว่างเสียง “ย่นริมฝีปากก่อน+ยิน” (จะต้อยย่นริมฝีปากตลอดเวลาในณะที่เปล่งเสียงออกมา จนกว่าเสียงจะสิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้ว จึงจะเลิกย่นริมฝีปากได้) เขียนเป็นพยางค์เสียงได้ว่า “yun” แล้วละจุดสองจุดบนตัว “u” ไว้ในฐานที่เข้าใจ ” นี้ จะสามารถไปสะกดกับอักษรแทนเสียงพยัญชนะตัว “j”, “q”, “x” และ “y” เป็น “jun”, “qun”, “xun” และ “yun” ได้เท่านั้น |
คำ ว่า กฤตติยา ทองต้นวงค์ ภาษาจีน เขียนยังงัยหรอครับ
คำอักษรไทยหลายๆเสียง จะไม่มีเสียงเหมือนในภาษาจีนครับ
วรรณยุกต์เสียงที่ 1 ของภาษาจีนกลางออกเสียงสูงเทียบเท่าเสียง ล้า ที้ ดด๊ ของโน้ดเพลง หรือออกเสียงเรียบ สูง ไม่ใช้เสียงสามัญแบบภาษาไทยแน่นอน
เสียงที่ 1 ภาษาจีนกลางมีความถี่ อยู่ที่ 350เฮร์ทโดยประมาณ ส่วเสียงสามัญชองภาษาไทยมีความถี่อยู่ที่ 150 เฮิร์ทเท่านั้น เอาเปรียบเทียบกันไม่ได้เด็ดขาด ๆๆๆ ถ้าไม่เข้าใจ โทรปรึกษาได้ 089-1544263 ศูนย์วิจัยวรรณยุกต์ภาษาจีนกลางแห่งประเทศไทย
ถ้าคิดอยากจะไปเรียนต่อที่ประเทศจีน ขอแนะนำว่าไม่ควรเรียนล่วงหน้าที่เมืองไทยเลย เพราะว่าเมืองไทยหาที่เรียนที่มีมาตรฐานยาก ร้อยละเก้าสิบถึงเก้าสิบห้า สอนเพี้ยนหมด แม้แต่สถาบันขงจื้อที่ตั้งขึ้นเต็มบ้านเต็มเมืองในขณะนี้ก็ผลิตลูกศิษย์ลูกหาที่ออกเสียงเพี้ยน ๆๆ กันเกือบทุกคน ครูที่มาจากเมืองจีนแท้ ๆ พออยูไปนานๆๆหลายๆ ปีเข้าก็ยังเพี้ยนเลย เพราเราเคยสัมผัสมาแล้วหลายคน ตอนแรกๆใช้ได้เลยละ แต่พออยู่ไปนานๆ พูดภาษาไทยได้ อ่านเขียนหนังสือไทยได้ ชักเริ่มเพี้ยนแล้ว ใช้ไวยก่รเพี้ยน แยกแยะเสียง 1 จีนกลางกับเสียงสามัญไทยไม่ออก เลยสร้างนักเรียนไทยที่ออกเสียงสามัญกันเต็มบ้านเต็มเมืองเกือบทั่วประเทศไทย น่าเสียดายจริงๆๆๆๆๆๆๆ อนาคตจะเป็นอย่างไร นึกภาพแล้วน่ากลัวจริงๆๆๆๆๆๆๆ
คนที่ไม่มีพื้นฐานภาษาจีนกลางเลยจะดีที่สุด ถ้าคิดจะไปเรียนที่เมืองจีน เปรียบเหมือนผ้าขาวบริสุทธ์ ย่อมรับรู้ได้ง่าย มหาฺ”ลัยที่เมืองจีน อาจารย์เขาไม่มีเวลามาคอยดัด คอยแก้ข้อผิดเพี้ยนให้เราคนเดียวหรอก เพราะว่าไม้แก่มันดัดยาก ๆๆๆ คุณเรียนเพี้ยนมาแต่ต้น เกิดความเคยชินไปแล้ว เหมือนต้นไม้แก่ไปแล้ว จะมาหาใครช่วยดัด ช่วยเกานั้น ยากมาก ๆๆๆ เหมือนเข็นครกขึ้นภูเขายังไงยังงั้นแหละ ยากแสนยาก ๆๆๆๆๆ