Tag Archives: ไวยากรณ์จีน

การใช้ 了 ในภาษาจีน

การใช้ 了

 

1.  “了”ส่วนแสดงกาลและแสดงการจบสมบูรณ์ของการกระทำ (วาง 了ไว้หลังกริยาหรือคุณศัพท์ แสดงถึงการกระทำได้สิ้นสุดลงแล้ว)

1.1 我已经准备了你的饭,我们一起吃吧?
1.2 中国人的热情给了我深刻的印象。
1.3 明天我吃了早饭就去呢家。
1.4 我买了一个本子。
1.5 他送了我很多礼物。
1.6 今天我没(有)吃早饭。
1.7 日本同学都去了大使馆,他们没有上课。
1.8 妹妹不会骑自行车,爸爸也没(有)给她买。

“了” แสดงกาล (ความสมบูรณ์ของการกระทำ) วางไว้หลังคำกริยาก็จะเป็นการแสดงการสิ้นสุด (จบสิ้น) ของกริยา (การกระทำนั้น) การแสดงความสมบูรณ์ของการกระทำอาจใช้กับอดีต (ประโยค1.1,1.2) หรือเหตุการณ์ในอนาคตก็ได้ (ประโยค 1.3)

***คำกริยาที่จะมี 了 นั้นหากมีกรรมตามหลังมา กรรมนั้น ๆ มักจะมีส่วนขยายตามมาด้วยเสมอ (ประโยค 1.4,1.5)

ในรูปประโยคปฏิเสธ (หมายถึงยังไม่ได้กระทำ) จะตัด 了 ทิ้งไปแล้วเติม 没(有)หน้าคำกริยา (ประโยค 1.6,1.7) ถ้าหากประโยคบอกเล่ามีบุพวลี (Prepositional-object construction) อยู่หน้าภาคแสดง (คำกริยา) เวลาทำให้เป็นประโยคปฏิเสธให้วาง 没(有)ไว้หน้าบุพบทวลี (ประโยคที่ 1.8 )

2. การใช้ 了 ในประโยคคำถามแบบบอกเล่าซ้อนปฏิเสธ (Alternative Question)

2.1 你准备了没有?(你准备了。)
2.2 她走没走?(他走(了)。
2.3 他吃(了)饭没有?(他吃了饭。)
2.4 他吃没吃饭?(他吃了饭。)

** O = object กรรม, V = verb กริยา ประโยคที่ไม่มีกรรมจะมี 2 รูปแบบ

(1) ……….V. 了没有 (ประโยคที่ 2.1)
(2) ……….V. 没 V. (ประโยคที่ 2.2)

ประโยคที่มีกรรมก็มี 2 รูปแบบเช่นกัน

(1) V…. 了 ….O…. 没有 (ประโยคที่ 2.3)
(2) V…. 没 …. V. ….O (ประโยคที่ 2.4)

没有 ที่วางอยู่ท้ายประโยคจะตัด 有 เหลือเป็น 没 ไม่ได้ ถ้าหากคำกริยาเป็นกริยาสองพยางค์  (เช่น 介绍) และมีกรรมด้วยให้ใช้แบบที่ (1)

  • V…. 了 …O……. 没有
  • 他介绍了日本的情况没有。 (เขาแนะนำสภาพของญี่ปุ่นแล้วหรือยัง)

3. “了”กับการซ้ำคำกริยาพยางค์เดียว

3.1 山本谈了谈日本的情况。(谈谈) (คุยคุย)
ซานเปิ่นพูดคุยเกี่ยวกับสภาพของประเทศญี่ปุ่น

3.2 我看了看画报。(看看)
ฉันอ่านอ่านหนังสือภาพ (ดูดู)

ประโยคที่มีการใช้คำซ้ำกริยา ถ้าหากใช้ 了เพื่อแสดงความสมบูรณ์ของการกระทำให้เติม 了ระหว่างคำกริยาที่ซ้อนสองตัวนั้น (ประโยค 3.1, 3.2)

4. “了” บ่งชี้ความสมบูรณ์ของการกระทำ

4.1 四点钟我们就下山了。
4.2 昨天我看见他了。
4.3 他走了。

“了” ที่อยู่ท้ายประโยค โดยเฉพาะ 了 ที่อยู่ท้ายคำนามหรือสรรพนาม ไม่ได้เป็นคำไวยากรณ์ที่แสดงกาลของการกระทำ แต่เป็นคำบอกความสมบูรณ์ของการกระทำ หน้าที่ของ 了 อย่างนี้จะเป็นตัวเน้นให้เห็นว่าการกระทำนั้น ๆ ได้จบสมบูรณ์แล้วโดยสิ้นเชิง (ประโยค 4.1, 4.2)

ในประโยคที่มีภาคแสดงเป็นคำกริยาแบบไม่มีกรรมและส่วนขยายอื่นใด 了 ที่จบประโยคนั้นจะเป็นทั้งคำช่วยที่แสดงหน้าที่สองอย่าง คือแสดงกาลของการกระทำ และบ่งบอกความสมบูรณ์ของการกระทำด้วย (ประโยค 4.3) เช่น

อ้างอิงข้อมูลจาก :  https://www.human.nu.ac.th/206111/Grammar/cindex.htm

ไวยากรณ์จีน : ชนิดของคำในภาษาจีน (汉语词汇的分类)

การแยกชนิดของคำในภาษาจีน ก็เหมือนกับภาษาอื่นๆ คือ คำนาม, คำสรรพนาม, คำกริยา, คำคุณศัพท์, …

การที่เราสามารถแยกชนิดคำเป็น จะมีส่วนช่วยให้เราสามารถจัดเรียงคำในประโยคได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ และช่วยในเรื่องของการทำข้อสอบต่างๆ แม้ว่าเราจะแปลความหมายของประโยคนั้นไม่ออกก็ตาม เช่น การเติมคำ การเรียงประโยค เป็นต้น

ชนิดของคำในภาษาจีน

1. คำนาม (Noun) 名词 (míng cí) เช่น 飞机(เครื่องบิน), 汉语(ภาษาจีน)
2. คำสรรพนาม (Pronoun) 代词 (dài cí) เช่น 我, 你, 他
3. คำกริยา (Verb) 动词 (dòng cí) เช่น 吃, 想, 爱, 要求
4. คำกริยานุเคราะห์ 助动词 (zhù dòng cí) เช่น 会, 能, 可以, 应该, 得(děi), 要
5. คำคุณศัพท์ (Adjective) 形容词 (xíng róng cí) เช่น 好, 白(สีขาว), 快, 认真(จริงจัง)
6. คำบอกจำนวน (Number) 数词 (shù cí) เช่น 一, 二, 几
7. คำลักษณะนาม 量词 (liàng cí) เช่น 个(อัน), 对(คู่), 次(ครั้ง), 遍(รอบ)
8. คำวิเศษณ์ (Adverb) 副词 (fù cí) เช่น 不, 才, 一般, 全, 都, 只, 太, 可能, 正好
9. คำบุพบท (Preposition) 介词 (jiè cí) เช่น 从, 跟, 在, 对
10. คำสันธาน (Conjunction) 连词 (lián cí) เช่น 不但, 因为, 如果
11. คำเสริม 助词 (zhù cí) เช่น 的, 得, 地, 所, 了, 着, 过, 呢, 吧
12. คำอุทาน 叹词 (tàn cí) เช่น 阿(ā ประหลาดใจ ทึ่ง), 哎哟(āi yō อูย เจ็บปวด)
13. คำเลียนเสียง 象声词 (xiàng shēng cí) เช่น 哈哈(hā hā เสียงหัวเราะ), 咕咕(gū gū เสียงไก่นกร้อง หรือท้องร้อง)


1. คำนาม(Noun) 名词 (míngcí) เช่น 飞机(เครื่องบิน), 汉语(ภาษาจีน)

名词 míng cí หรือคำนาม นั่นเอง ลักษณะไม่แตกต่างจากภาษาไทยเลยครับ คือมีทั้งรูปธรรมและนามธรรม หน้าที่หลักของคำนามนั้นคือทำหน้าที่เป็นภาคแสดง และกรรม

ตัวอย่างของคำนาม

  • 同学 tóng xué นักเรียน
  • 老师 lǎo shī อาจารย์
  • 家 jiā บ้าน
  • 鸟 niǎo นก
  • 无情 wú qíng ความว่างเปล่า
  • 爱情 ài qíng ความรัก

2. คำสรรพนาม(Pronoun) 代词 (dàicí) เช่น 我, 你, 他

3. คำกริยา(Verb) 动词 (dòngcí) เช่น 吃, 想, 爱, 要求 ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยเช่นกัน โดยมีลักษณะดังนี้

ทำหน้าที่เป็นภาคแสดง ในภาษาจีนนั้นรูปประโยคบอกเล่ามีลักษณะเหมือนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ คือมีโครงสร้าง ประธาน-กริยา-กรรม (Subject-Verb-Object)

ตัวอย่างประโยค

  • 同学学习中文 tóngxué xuéxí zhōngwén นักเรียนเรียนภาษาจีน  --> ในที่นี้คำ 学习 xuéxí – เรียน เป็นคำกริยาครับ

ทำให้เป็นรูปปฏิเสธได้โดยใช้คำ 不 bù – ไม่ นำหน้า

  • 我不明白 wǒ bù míngbái – ผมไม่เข้าใจ -->ในที่นี้คำ 明白 míngbái – เข้าใจเป็นคำกริยา

ใช้ปัจจัย 了 le เพื่อทำให้เป็นรูปอดีตได้

  • 孩子起来了 háizǐ qǐlái le – เด็กน้อยตื่นแล้ว -->ในที่นี้คำ 起来 qǐlái – ตื่นนอน เป็นคำกริยา

โดยส่วนใหญ่สามารถมีกรรมตามหลัง

  • 我读课文 wǒ dú kè wén – ผมอ่านบทเรียน  -->ในที่นี้ำคำ 读 dú อ่าน เป็นคำกริยา

4. คำกริยาช่วย 助动词 (zhùdòngcí) เช่น 会, 能, 可以, 应该, 得(děi), 要  ใช้เพื่อขยายกริยาแท้หรือคุณศัพท์(ที่ทำหน้าที่เป็นภาคแสดง)ของประโยค

4.1 คำกริยาแสดงความเป็นไปได้

  • 能 néng   สามารถ
  • 能够 nénggòu สามารถ, อาจจะ
  • 会 huì สามารถ
  • 可以 kěyǐ สามารถ
  • 可能 kěnèng เป็นไปได้

ตัวอย่างประโยค

  • 我能写汉语文 wǒ néng xiě hàn yǔ wén ฉันเขียนคำจีนได้

ตัวอย่างประโยค

  • 他可能喜欢你 tā kě néng xǐhuan nǐ เขาอาจชอบเธอ

4.2 คำกริยาแสดงความจำเป็น

  • 应该 yīnggāi ควร
  • 应当 yīngdāng ควรจะ
  • 该 gāi ควร
  • 要 yào ต้อง

ตัวอย่างประโยค

  • 现在, 你应该走吃饭了xiànzài, nǐ yīnggāi zǒu chī fàn lē ตอนนี้เธอน่าจะไปกินข้าวได้แล้วนะ

4.3 คำกริยาแสดงความแน่ใจหรือบังคับ ด้วยเหตุผล

  • 必须 bìxu จำเป็นต้อง
  • 得 děi  จะต้อง

ตัวอย่างประโยค

  • 我必须回家了 wǒ bǐxu huí jiǎ le ฉันต้องกลับบ้านแล้วละ

4.4 คำกริยาแสดงความต้องการ

  • 要 yào
  • 想 xiǎng
  • 愿意 yuànyì
  • 敢 gǎn
  • 肯 kěn
  • 准 zhǔn

ตัวอย่างประโยค

  • 你要永远在我的心中 nǐ yào yǒngyuǎn zài wǒ dē xīn zhōng เธอจะสถิตอยู่กลางใจฉันตลอดกาล

--> กลุ่มคำกริยาช่วยที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีคุณสมบัติที่เหมือนกันคือ

  1. สามารถใช้ 不 bù วางไว้ข้างหน้าเพื่อทำให้เป็นรูปปฏิเสธได้ เช่น 我不能够用它 wǒ bù nénggōu yòng tā ผมใช้มันไม่เป็น
  2. ใช้รูปประโยค บอกเล่า-ปฏิเสธ เพื่อใช้เป็นประโยคคำถามได้ เช่น 你要不要走? nǐ yào bù yào zǒu เธอจะไปหรือไม่?
  3. ใช้คำเหล่านี้ตอบคำถามข้อ 2 ได้โดยไม่ต้องพูดประโยคเต็ม เช่น 你要不要走? nǐ yào bù yào zǒu ; 要 yào เธอจะไปหรือไม่ไป? ไปสิ
  4. ไม่สามารถใช้คำปัจจัย 了, 着, 过 ขยายคำกริยาวิเศษเหล่านี้ได้
  5. ไม่สามารถซ้ำคำได้
  6. ไม่สามารถมีคำนามตามหลังได้(ถ้ากลุ่มคำเหล่านี้ปรากฎอยู่ในลักษณะดังกล่าว คำคำนั้นไม่ใช่คำกริยาช่วย)
  7. สามารถใช้ร่วมกันหลายๆ คำในประโยคเดียวได้เช่น 我可能要走你家

อย่างไรก็ดีคำกริยาช่วยแต่ละคำก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับบริบทของประโยค โดยรายละเอียดดังกล่าว ผมจะค่อยนำมาเล่าให้ฟังกันนะครับ

5. คำคุณศัพท์ (Adjective) 形容词 (xíngróngcí) เช่น 好, 白(สีขาว), 快, 认真(จริงจัง)

คำคุณศัพท์ (形容词) ก็คือ คำที่ใช้แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กล่าวถึงนั้น ว่ามีลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างไร เช่น ใหญ่ เล็ก ขาว สูง อ่อนแอ แข็งแรง เรียบร้อย นุ่ม สวย ดี เหงา ง่าย ยาก ซับซ้อน ฯลฯ วิธีสังเกตุคำคุณศัพท์อย่างง่ายๆก็คือ จะเป็นคำที่มีความหมายแบบจับต้องไม่ได้

คำคุณศัพท์บางคำฟังดูแล้วจะมีความหมายคล้ายๆคำกริยา (คล้ายๆกับกริยานั้นมองไม่เห็น) ซึ่งการจะแยกว่าคำอะไรเป็นคำประเภทไหนคิดว่าตรงนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะธรรมชาติของทุกภาษา เวลาเราพูด (ยกตัวอย่างภาษาไทยเราเอง) เรายังไม่มานั่งนึกเลยใช่ไหมครับว่า คำไหนเป็นคุณศัพท์ คำไหนเป็นกริยา เวลาที่เราพูดออกไป แต่ที่สำคัญก็คือเราต้องหัดอ่านและหัดแปลเยอะๆครับ แล้วจำเป็นรูปๆประโยคๆไป จากนั้นเราจะแยกออกเองว่าคำนี้ควรวางตำแหน่งไหน และเป็นคำอะไร

สำหรับ 形容词 ให้ดูว่าคำไหนสามารถใส่ 很 ข้างหน้าได้ สามารถเข้าใจโดยปริยายเลยครับว่า คำนั้นคือ 形容词 เช่น 早 สามารถเติม 很ข้างหน้าได้ คือ 很早 ดังนั้น 早เป็นคำคุณศัพท์ครับ คำว่า 对 สามารถเขียนเป็น 很对 ได้เหมือนกัน แต่ค่อนข้างจะเป็นภาษาพูด (口语)แต่ 很 ก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่าคำนั้นๆเป็นคำคุณศัพท์ได้ร้อยเปอร์เซนต์ เพราะปัจจุบันนี้คนจีนเองก็เอาคำว่า 很 ไปใช้อธิบายคำนามได้เหมือนกัน เช่น 很中国 หมายถึง จีนมากๆ classical ,很男人 หมายถึง สุภาพบุรุษมากๆ ผู้ช๊ายผู้ชาย วิธีที่ดีที่สุดที่จะเข้าใจความหมายของมันคือ ใช้ความรู้สึกครับ 很中国,很男人,很女人,很爸爸,很妈妈 ปัจจุบันนี้คนจีนพูดกันครับ แต่ไม่ถูกตามหลักไวยกรณ์นะครับ ใช้ได้ในภาษาพูด ทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองเห็นภาพได้ชัดขึ้นครับ

6. คำบอกจำนวน (Number) 数词 (shùcí) เช่น 一, 二, 几

7. คำลักษณะนาม 量词 (liàngcí)เช่น 个(อัน), 对(คู่), 次(ครั้ง), 遍(รอบ) …อ่านคำลักษณะนามเพิ่มเติม

8. คำวิเศษณ์ (Adverb) 副词 (fùcí) เช่น 不, 才, 一般, 全, 都, 只, 太, 可能, 正好

คำวิเศษณ์ (副词) ก็คือคำที่ต้องวางอยู่ระหว่างภาคประธานและภาคแสดงในประโยคเสมอ เพื่อช่วยบอกขอบเขตของภาคแสดง (ที่ต่อภาคประธาน) ว่าควรจะเป็นไปอย่างไร เช่น

  • 我们都是好朋友。 -->我们(ภาคประธาน)都(คำวิเศษณ์)是好朋友(ภาคแสดง)
  • 不认真看书的那些学生果然不会有好成绩。 -->不认真看书的那些学生(ภาคประธาน,ประธานคือ 那些学生) 果然(คำวิเศษณ์) 不会有好成绩 (ภาคแสดง)

คำวิเศษณ์นี้จะพบได้น้อยว่าคำคุณศัพท์ แล้วก็จะจำได้ง่ายกว่า สังเกตุได้ง่ายๆว่าคำวิเศษณ์จะอยู่ต้นๆของประโยค อันนี้ก็เช่นกันต้องหัดอ่านหัดแปลบ่อยๆ จะทำให้เราได้คำศัพท์ด้วย แล้วก็รูปประโยคด้วย โดยไม่ต้องไปเคร่งครัดกับไวยากรณ์มาก

คำวิเศษณ์ที่แสดงน้ำหนักหรืออารมณ์ของประโยคที่พบบ่อยได้แก่:

  • 可… สักนิด  --> 我可不愿意跟你一起去。ฉันไม่ยอมไปกับคุณแน่
  • 幸亏โชคดีที่… --> 我幸亏没有真的爱上你。โชคดีที่ฉันไม่ได้หลงรักคุณเข้าจริงๆ
  • 难道 นี่…เลยเรอะ? --> 难道你没有爱过我吗?นี่คุณไม่เคยรักผมเลยหรือ?
  • 究竟/到底… กันแน่? --> 你究竟爱谁? คุณรักใครกันแน่?
  • 偏偏 ฝืนจะ…ให้ได้ --> 为什么你偏偏不爱我?ทำไมคุณ ฝืน/ดื้อดึง ที่จะไม่รักผม?
  • 反正 ยังไงซะ… --> 我反正不爱你,你放弃吧。ยังไงซะฉันก็ไม่รักคุณ คุณปล่อยวางเถอะ
  • 简直 แทบจะ… --> 我简直无法相信。 ผมแทบไม่อยากจะเชื่อเลย
  • 差点儿 เกือบจะ… --> 我差点儿爱上你了,可是我没有。ฉันเกือบรักคุณเข้าแล้ว แต่ฉันเปล่า
  • 几乎 เกือบจะ --> 我几乎疯了。ผมแทบจะบ้าตาย
  • 果然… จริงๆด้วย --> 你果然骗我。คุณหลอกผมจริงๆด้วย
  • 明明… ชัดๆ --> 你明明是个魔鬼!我却爱上了你! คุณนี่มันมารร้ายชัดๆ แต่ผมกลับหลงรักคุณ

* 反正 幸亏 果然 难道 สามารถใช้ขึ้นต้นประโยคได้(วางไว้ด้านหน้าของประธาน เช่น

  • 我幸亏没有真的爱上你。 เป็น幸亏我没有真的爱上你。
  • 我反正不爱你。 เป็น 反正我不爱你

คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงสถานการณ์หรือสภาพของการกระทำที่มักพบเห็นบ่อยมีดังนี้:

  • 依然 ยังคง… --> 十年了,我依然想念着他。สิบปีแล้ว ฉันยังคงคิดถึงเขาอยู่
  • 仍然 ยังคง… --> 我抛弃了他,他自然恨我。ฉันทอดทิ้งเขา เขาย่อมเกลียดฉันอยู่แล้ว
  • 自然… แน่อยู่แล้ว --> 我抛弃了他, 他自然恨我。 ฉันทอดทิ้งเขา เขาย่อมเกลียดฉันอยู่แล้ว
  • 显然… อย่างเห็นได้ชัด --> 他显然还在生气。เห็นได้ชัดว่าเขายังโกรธฉันอยู่
  • 亲自… ด้วยตนเอง --> 这次我该亲自去跟他解释。คราวนี้ฉันควรจะไปอธิบายกับเขาด้วยตัวเอง
  • 互相… ซึ่งกัน -->  希望我们能互相原谅。หวังว่าเราสามารถให้อภัยซึ่งกันและกัน
  • 特地… โดยเฉพาะ -->我特地为他织了一件毛衣。ฉันทักเสื้อไหมพรมตัวหนึ่งเพื่อเขาโดยเฉพาะ
  • 专门… โดยเฉพาะ
  • 存心/故意จงใจ --> 他知道我不是存心伤害他的。เขารู้ว่าฉันไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเขา

*** อ้างอิงจากคัมภีร์เตรียมสอบจีน ฉบับตงฟางอี้

9. คำบุพบท(Preposition) 介词 (jiècí)เช่น 从, 跟, 在, 对

10. คำสันธาน(Conjunction) 连词 (liáncí) เช่น 不但, 因为, 如果

11. คำเสริม 助词(zhùcí)เช่น 的, 得, 地, 所, 了, 着, 过, 呢, 吧

12. คำอุทาน 叹词 (tàncí) เช่น 阿(ā ประหลาดใจ ทึ่ง), 哎哟(āi yō อูย เจ็บปวด)

13. คำเลียนเสียง 象声词 (xiàngshēngcí) เช่น 哈哈(hā hā เสียงหัวเราะ), 咕咕(gū gū เสียงไก่นกร้อง หรือท้องร้อง)

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://enjoychinese.net/, https://www.oknation.net/blog/pranithan/2010/01/31/entry-1