Tag Archives: ไวยากรณ์จีน

ไวยากรณ์จีน : “的”、”地” และ “得” — 3 คำนี้ (บางที) ก็ชวนปวดหัวเหมือนกัน

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“的”、”地” และ “得”  ทั้ง 3 คำนี้ ล้วนเป็นคำเสริมโครงสร้าง (结构助词) และออกเสียงเหมือนกันหมด คือ “de” ต่างกันตรงวิธีการใช้งาน

1. “的” เป็นคำเสริมโครงสร้าง หรือเครื่องหมายของบทขยายนาม (定语) โดย “的” จะวางอยู่หลังบทขยายนาม เพื่อบอกให้รู้ว่า คำ หรือวลีที่อยู่ข้างหน้า “的” คือบทขยายนาม (定语) หรือขยายคำนาม (รวมถึงคำที่มีคุณสมบัติเหมือนคำนาม) หรือจะเรียกว่า “中心语” ที่อยู่ข้างหลัง (ก็ได้)  โดยมีโครงสร้างการเรียงลำดับคำ ดังนี้

  • “บทขยายนาม (定语) + 的 + คำที่ถูกขยาย หรือ 中心语”

ตัวอย่างเช่น

  • 老师的书。
  • 学生的本子。
  • 我的朋友。
  • 明天的会议。
  • 谁的钥匙。

2. “地” เป็นคำเสริมโครงสร้าง หรือเครื่องหมายของบทขยายภาคแสดง (状语) โดย “地” จะวางอยู่หลังบทขยายภาคแสดง (谓语) (เช่น คำกริยา หรือคำคุณศัพท์) เพื่อบอกให้รู้ว่า คำ หรือวลีที่อยู่ข้างหน้า “地” คือบทขยายภาคแสดง (状语) หรือคำที่มีคุณสมบัติเหมือนภาคแสดง (谓语) หรือจะเรียกว่า 中心语 (ก็ได้เหมือนกัน) ที่อยู่ข้างหลัง โดยมีโครงสร้างการเรียงลำดับคำ ดังนี้

  • “บทขยายภาคแสดง (状语) + 地 + คำที่ถูกขยาย หรือ 中心语”

ตัวอย่างเช่น

  • 满满地站起来。
  • 认真地想。

3. “得” เป็นคำเสริมโครงสร้าง หรือเครื่องหมายของบทเสริม (补语) โดย “得” จะวางอยู่หน้าบทเสริม เพื่อบอกให้รู้ว่า คำ หรือวลีที่อยู่หลัง “得” คือบทเสริม (补语) ทั้งนี้ คำที่อยู่หน้า “得” มักจะเป็นภาคแสดง หรือคำที่มีคุณสมบัติเหมือนภาคแสดง (谓语) โดยมีโครงสร้างการเรียงลำดับคำ ดังนี้

  • “ภาคแสดง (谓语) + 得 + คำเสริม (补语)”

ตัวอย่างเช่น

  • 做得好。
  • 做得不(太)好。
  • 好得很。
  • 打得不错。
  • 打扫得干干净净。
  • 忙得连饭都顾不上吃了。
  • 他气得浑身直发抖。

*** นอกจากนั้น “得” ยังสามารถวางอยู่หลังคำกริยา หรือระหว่างคำกริยา (谓语) กับบทเสริม (补语) เพื่อแสดงถึงความเป็นไปได้ (可能) ได้อีกด้วย เช่น 听得懂、听不懂 (รูปปฏิเสธ)

4. ที่กล่าวมา (3. ข้อ) ข้างต้น เป็นวิธีการใช้งานพื้นฐาน หรือทั่วไป นอกจากนั้น ยังอาจมีบางกรณีที่มีการใช้งาน “的”、”地”และ “得” ที่ซับซ้อน หรือปนกันได้ ดังนี้

4.1

  • “คำคุณศัพท์ (形容词) + 的/地 + คำกริยา (动词)”

โครงสร้างนี้ อาจใช้ “的” หรือ “地” ก็ได้ ขึ้นกับว่า คำ หรือวลีนั้น ทำหน้าที่อะไรในประโยค กล่าวคือถ้าทำหน้าที่เป็นภาคประธาน (主语) หรือบทกรรม (宾语) ก็ต้องใช้ “的” แต่ถ้าทำหน้าที่เป็นภาคแสดง (谓语) ก็ต้องใช้ “地” ตัวอย่างเช่น

  • 他科学地论证了这一原理。(”论证” เป็นภาคแสดง)
  • 他对这一原理进行了科学的论证。(”论证” เป็นบทกรรม)

4.2

  • “คำกริยา (动词) + 的/得 + คำ หรือวลีที่มีคุณสมบัติ หรือทำหน้าที่เหมือนภาคแสดง (谓词性词或词语)”

โครงสร้างนี้ อาจใช้ “的” หรือ “得” ก็ได้ ขึ้นกับว่า คำ หรือวลีนั้น ทำหน้าที่อะไรในประโยค กล่าวคือถ้า คำกริยา (动词) + de ทำหน้าที่เป็นภาคประธาน (主语) ก็ต้องใช้ “的” แต่ทำหน้าที่เป็นภาคแสดง (谓语) ก็ต้องใช้ “得”

  • 她唱的很动听。(”唱的” เป็นภาคประธาน)
  • 她唱得很动听。(”唱得很动听” เป็นส่วนหนึ่งของภาคแสดง)
  • 老师说的很有道理。(”说的” เป็นภาคประธาน)
  • 老师说得很有道理。(”说得很有道理” เป็นส่วนหนึ่งของภาคแสดง)

*** นอกจากนั้น “的” ยังสามารถวางหลังคำนาม, คำสรรพนาม, คำคุณศัพท์ หรือวลี ฯลฯ โดยละ หรือไม่จำเป็นต้องมีคำที่ถูกขยาย หรือ 中心语 โครงสร้างคำแบบนี้มีคุณสมบัติ หรือทำหน้าที่เหมือนคำนามคำหนึ่ง เช่น

  • 马路上骑自行车的特别多。
  • 这些东西,好的放在这儿,怀的,把它扔掉。

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “越 …… 越 ……”และ“越来越 ……”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“越 …… 越 ……” และ “越来越 ……” เป็นรูปแบบวลี หรือประโยคที่ใช้บ่งบอกการเพิ่มขึ้นของระดับ (degree หรือ level) ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ในแง่ความหมาย “越 ……越 ……” และ “越来越 ……” มีความหมายคล้ายกัน กล่าวคือ

  • “越 … A … 越 … B …” หมายถึงระดับหรือ degree ของ B เปลี่ยนแปลงตาม A (ขึ้นอยู่กับ A)
  • “越来越 ……” หมายถึงระดับหรือ degree ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงตาม “เวลา” ที่เปลี่ยนแปลง

เช่น

  • 雨越下越大。(ฝนยิ่งตกยิ่งหนัก) (雨——下,雨——大)
  • 雨越来越大。(ฝนยิ่งมา (ยิ่งตก) ยิ่งหนัก) (雨——大)

ในแง่ไวยากรณ์ หรือการใช้งาน “越 …… 越 ……” และ “越来越 ……” มีความแตกต่างกัน คือ

1. ประธาน (主语) ของ “越 …… 越 ……” อาจจะเป็นสิ่งเดียวกัน หรือต่างกันก็ได้ กล่าวอีกอย่างคือจะมีประธานตัวเดียว หรือสองตัวก็ได้ แต่ “越来越 ……” จะมีประธานได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น เช่น

  • 雨越下越大。(ประธาน คือ 雨)
  • 声音越大,我越听不清楚。(ประธาน คือ 声音 และ 我)
  • 他在学习上越来越有进步了。(ประธาน คือ 他)
  • 天越来越爽了。(ประธาน คือ 天)

2. “越 …… 越 ……” โดยทั่วไปจะมีโครงสร้าง หรือรูปแบบเป็น

  • “越 ( + 动/形) + 越 ( +动/形)”

และถ้าประธาน (主语) เป็นคนละสิ่งกัน ยังสามารถใช้ในรูปแบบ “越 ( + 形) + 越 ( + 形)” ได้ด้วย เช่น

  • 他的足球越打越好。(越 + 动, 越 + 形)
  • 大家越听越觉得有意思。(越 + 动, 越 + 动)
  • 生活水平越好,生活费用越高。(ประธานคนละตัว, 越 +形, 越 + 形)

ส่วน “越来越 ……” จะอยู่ในรูปแบบ

  • “越来越 + 形 (คุณศัพท์)/心里动词 (คำกริยาเกี่ยวกับอารมณ์, ความรู้สึก, ความนึกคิด)” เท่านั้น

หมายความว่า โดยทั่วไป “越来越 ……” จะไม่ใช้กับกริยาทั่วไป เช่น

  • 物价越来越贵了。(贵 — 形)
  • 百姓的生活水平越来越高了。(高 — 形)
  • 妈妈越来越担心。(担心 — 心里动词)
  • 他越来越喜欢汉语了。(喜欢 — 心里动词)

*** ประโยคต่อไปนี้ เราจะไม่พูด หรือใช้กัน เพราะ “越来越 ……” จะไม่ใช้กับกริยาทั่วไป

  • 风越来越刮大了。(刮 — กริยาทั่วไป)
  • 雨越来越下。(下 — กริยาทั่วไป)
  • 越来越学习。(学习 — กริยาทั่วไป)

3. เมื่อใช้ “越来越 ……” หมายถึงว่าผู้พูดต้องการเน้นการเปลี่ยนแปลง (เพิ่มขึ้น/ลดลง) ตามเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ความหมาย (หรือนัยยะ) ของประโยคที่ต้องการเน้นค่อนข้างชัดเจน และท้ายประโยคมักจะมีคำเสริมน้ำเสียง “了”

ส่วน “越 …… 越 ……” จะเน้นการการเปลี่ยนแปลงของระดับ หรือ degree เท่านั้น ท้ายประโยคโดยทั่วไปจะไม่มี “了” เช่น

  • 他越来越不理解我了。
  • 这个人越看越面熟。

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “起来” กับ “出来” — การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่6

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

เรื่องสุดท้ายของ “趋向补语” ที่นำมาฝากกันคราวนี้ คือ “起来” กับ “出来”

1.“起来” (ขึ้นมา) หมายถึงทิศทางของกริยา/การกระทำขึ้นข้างบน (จากล่างสู่บน, จากที่ต่ำสู่ที่สูง)

“出来”(ออกมา) หมายถึงทิศทางของกริยา/การกระทำจาก (ข้าง) ในสู่ (ข้าง) นอก, กริยาเข้าใกล้ตัวผู้พูด เช่น

  • 太阳升起来了 (พระอาทิตย์ขึ้นมาแล้ว)
  • 站起身来 (ยืนขึ้นมา)
  • 从教室里出来 ( ออกจากห้องเรียนมา)
  • 拿出一本书来 (หยิบสมุดออกมาหนึ่งเล่ม)

2. นอกจากความหมายพื้นฐานในข้อ 1. แล้ว “起来” กับ “出来”ยังใช้ในความหมายอื่น หรือความหมายเพิ่มเติม (ที่ขยายจากความหมายพื้นฐาน) อีก คือ

“起来”มักใช้ในความหมายว่า “กริยาได้เริ่มต้น และดำเนินต่อไป” เช่น

  • 干起来了 (ลงมือทำกันแล้ว)
  • 下起雨来 (ฝนตกแล้ว)
  • 天亮了起来 (ฟ้าสว่างแล้ว)

“出来”มักมีความหมายว่า “กริยาได้ปรากฏขึ้นมาเท่านั้น ”

  • 认出他来了 (จำเขาได้แล้ว)
  • 猜不出来 (เดาไม่ออก)

3. ถ้าต้องการบอกว่า “จำได้”, “นึกได้” (ในสิ่งที่เคยรู้, เคยจำได้ (ความจำในสมอง) แต่ได้ลืมไป ต่อมาจำขึ้นมาได้) ต้องใช้ว่า“想起来”(จำได้, นึกได้) เช่น

  • 我想起来了,她叫王欣。 (ฉันจำได้แล้ว เธอชื่อหวังซิน)
  • 对不起,实在想不起来了。 (ขอโทษครับ นึกไม่ออกไม่ออกจริงๆ)

แต่ถ้าต้องการบอกว่า “คิดออก” หรือเดิมสิ่ง (ที่คิดออก) นั้น ไม่มีอยู่ในสมอง แต่ได้คิดออกมาจนได้สิ่ง (ความคิด, วิธีการ ฯลฯ) นั้น ต้องใช้ว่า“想出来”(คิดออก) เช่น

  • 这是他想出来的好办法。(นี่คือวิธีการที่ดีที่เขาคิดออกมา)

4. อีกคู่หนึ่งที่ใช้บ่อย คือ“看起来” และ “看得出来”

“看起来”หมายถึงการคาดการณ์, คาดเดา, คำนวณ หรือประเมินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, เรื่องใดเรื่องหนึ่ง “看起来” มักใช้เป็นคำ (ข้อความ) แทรก (插入语) ไว้ในประโยค (ส่วนใหญ่ไม่ต้องแปล) เช่น

  • 看起来,她不会来了。 (ดูไปแล้ว เธอไม่น่าจะมาแล้ว)
  • 看起来,这件事还挺复杂的。(ดูไปแล้ว เรื่องนี้ซับซ้อนทีเดียว)

“看得出来”หมายถึงสภาพ, สภาวะที่เกิดจากความรู้สึก หรือการตรวจสอบสังเกต (ของผู้พูด) “看得出来”มักทำหน้าที่เป็นภาคแสดง (谓语) ในประโยค (ส่วนใหญ่ไม่ต้องแปล) เช่น

  • 看得出来,你很富于同情心。 (ดูคุณเป็นคนเห็นอกเห็นใจคนอื่นมาก)
  • 看得出来,她心里并不痛快。(ดู (เหมือน) เธอไม่มีความสุข)

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese (Files)

ไวยากรณ์จีน : “起” กับ “上” — การบอก/แสดงทิศทางของกริยาการกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่5

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“起” กับ “上”  สองคำนี้จะหมายถึงทิศทางของกริยา/การกระทำขึ้นไปด้านบนเหมือนกัน แต่ใช้แทนกันไม่ได้

ข้อแตกต่าง คือ

1.   “起” (ตามที่เคยอธิบายไปแล้ว) จะมีความหมายเพียงแค่ว่ากริยา/การกระทำเริ่มจากล่างขึ้นบน, จากที่ต่ำขี้นสู่ที่สูงเท่านั้น ไม่ได้บอกว่ากริยา/การกระทำขึ้นไปถึง (ขึ้นไปสู่) สถานที่ใด กรรมของคำกริยามักเป็นสิ่งของ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ เช่น

  • 升起五星红旗 (ธงแดง 5 ดาว (ถูกชักลอย) ขึ้นมา)
  • 飘起雪花 (เกล็ด (ละออง) หิมะลอยขึ้นมา)
  • 抬起头 (เงยหน้า (ศรีษะ) ขึ้น)
  • 举起胳膊 (ยกแขนขึ้น)

2.  “上” จะต้องบอกว่ากริยา/การกระทำนั้นไปถึง (ไปสู่) สถานที่ใด กรรมจึงมักเป็นสถานที่ (แต่สถานที่อาจจะละได้ ถ้าเป็นที่เข้าใจกัน) เช่น

  • 爬上树 (ปีนขึ้นต้นไม้)
  • 登上山顶 (ปีนขึ้นยอดเขา)
  • 骑上单车 ((ขึ้น) ขี่จักรยาน)

นอกจากนั้น “起” กับ “上” ยังมีความหมายว่ากริยา/การกระทำเริ่มต้นขึ้น และดำเนินต่อไป ข้อแตกต่าง คือ

เมื่อใช้ “起” จะเน้นที่ความต่อเนื่องของกริยา/การกระทำเริ่มต้นขึ้น และดำเนินอยู่ เช่น

  • 他们愉快地唱起了歌。 (พวกเขาเริ่มร้องเพลงอย่างมีความสูงขึ้นมา)

ส่วน “上” จะเน้นที่กริยา/การกระทำเข้าสู่สภาพ หรือสถานการณ์นั้น ดังนั้น จึงมักมีคำว่า “已经” อยู่ในประโยคเสมอ เช่น

  • 他们已经干上了,我们也开始吧。 (พวกเขาลงมือกันแล้ว พวกเขาก็เริ่มต้นกันเถอะ)

(คราวหน้าจะมาดูระหว่าง “起来” กับ “出来” กัน)

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “起” กับ “起来” การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่4

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

วันนี้มาต่อกันด้วยเรื่องเดิม คือ 趋向补语 (4) อีก 2 ตัว คือ “起” กับ “起来”

1. “起” กับ “起来” 2 คำนี้มีความหมาย 3 อย่าง คือ

  • กริยา/การกระทำขึ้นสู่บน (ขี้นสู่ที่สูง)
  • กริยาเริ่มต้นขึ้น และดำเนินต่อไป
  • และ รวบรวม หรือเก็บรวมเข้าไว้ด้วยกัน (聚拢、集中)

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • 他站起身来,头也不回走出门去。(เขาลุกขึ้นยืน ไม่แม้แต่หันหัว (กลับมา) ก็เดินออกจากประตูไป — กริยาขึ้นสู่บน)
  • 大家热烈地讨论了起来。(ทุกคนถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน/กระตือรือล้นขึ้นมา — กริยาเริ่มต้นขึ้น และดำเนินต่อไป)
  • 把这些筷子一把一把抽起来。(เอาตะเกียบพวกนี้เก็บรวมขึ้นมาทีละ กำทีละกำ — กริยารวบรวมเข้าไว้ด้วยกัน)

2. ข้อแตกต่างระหว่าง “起” กับ “起来” คือ

เมื่อใช้ “起来” ความต่อเนื่อง (หรือการดำเนินไป) ของกริยา/การกระทำจะชัดเจนกว่าการใช้ “起” และการเสร็จสิ้นของเป้าหมาย หรือผลลัพธ์ (目的、结果) ของกริยา/การกระทำจะชัดเจนกว่าการใช้ “起”

ลองเปรียบเทียบความแตกต่างดู เช่น

  • 他把包提了起来。 (เขาถือกระเป๋าขึ้นมา — ความต่อเนื่อง/ผลลัพธ์ของกริยาชัดเจนกว่า)
  • 他提起包就走。 (เขาถือกระเป๋าขึ้นแล้วก็เดินไป)
  • 把你的东西收起来! (เก็บของของแกขึ้นมา — ความต่อเนื่อง/ผลลัพธ์ของกริยาชัดเจนกว่า)
  • 收起你的东西! (เก็บของของแกซะ)

3. ข้อแตกต่างอีกประการ คือ

“起” จะวางอยู่กลางประโยค หรือกลางประโยคของกริยาที่แสดงความต่อเนื่องติดกัน (紧凑) ของกริยา/การกระทำอีกตัวหนึ่ง (หมายถึงกริยาตัวหลังจะเกิดต่อเนื่องกับกริยาตัวแรกทันที) และหลังคำกริยาต้องตามด้วยกรรม (宾语) เช่น

  • 他抬不起胳膊了。 (เขายกแขนไม่ขึ้นแล้ว — 起 วางอยู่กลางประโยค, มี 胳膊 เป็นกรรม)
  • 市中心建起一座立交桥。 (ใจกลางเมืองสร้างสะพานลอยขึ้นมาหนึ่งแห่ง — 起 วางอยู่กลางประโยค, มี 立交桥 เป็นกรรม)
  • 他捡起一块石头扔了过去。 (เขาหยิบหินขึ้นมาหนึ่งก้อนแล้วเขวี้ยงข้ามไป — 起 วางอยู่กลางประโยค, มี 石头 เป็นกรรม)

“起来” มักวางไว้ท้ายประโยค หรือใช้ในประโยคที่กริยาไม่แสดงความต่อเนื่องติดกัน (非紧凑) ของกริยา/การกระทำ (อีกตัวหนึ่ง) เช่น

  • 他站起来了。 (เขายืนขึ้นมา)
  • 他接过钱来,一张一张点了起来。 (เขารับเงินมา เริ่มนับทีละใบ ทีละใบ)
  • 老王点起烟,慢慢地抽了起来。 (เหล่าหวังจุดบุหรี่ เริ่มสูบอย่างช้าๆ — ประโยคแรกใช้ 起 วางไว้กลางประโยค ต่อเนื่องไปกริยาประโยคหลังที่ใช้ 起来)

4. นอกจากนั้น “起来” ยังมีความหมายถึงสภาวะหนึ่งสภาวะใดเริ่มต้นขึ้น และดำเนินต่อไป ซึ่ง (การบอก หรือแสดงสภาวะนั้น) มักจะเป็นคำคุณศัพท์ (形容词) ดังนั้น จึงไม่ต้องมีกรรม (คำคุณศัพท์ตามด้วยกรรมไม่ได้) เช่น

  • 看到他,我不由得紧张起来。 (พอเห็นเขา ฉันก็อดที่จะตื่นเต้นขึ้นมาไม่ได้ — 紧张 เป็นคำคุณศัพท์)
  • 天渐渐地冷了起来。 (อากาศค่อยๆ หนาวขึ้นมา — 冷 เป็นคำคุณศัพท์)

เดี๋ยวมาต่อเรื่องของ “起” กับ “上” เป็นเรื่องสุดท้ายของวันนี้กัน

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “起来” กับ “下去” — การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่3

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ความหมายของ “起来” กับ “下去”

สองคำนี้จะวางหลังคำกริยา (ทำหน้าที่เป็นบทเสริมบอกทิศทาง หรือ 趋向补语) เพื่อบอกสภาวะของเวลาที่แน่นอน

ข้อแตกต่าง คือ

1. “起来” จะหมายถึงกริยา/การกระทำเริ่มต้นขึ้น หรือสภาวะใดสภาวะหนึ่งเริ่มปรากฏขึ้น และดำเนินต่อไป เช่น

  • 孩子大哭起来。(เด็กร้องขึ้นมา)
  • 他又忙起来了。(เขาเริ่มยุ่งอีกแล้ว)

2. ส่วน “下去” จะบอกแค่ว่ากริยา/การกระทำ หรือสภาวะใดสภาวะหนึ่งกำลังดำเนินอยู่เท่านั้น (ไม่มีความหมายของการเริ่มต้นขึ้น) เช่น

  • 你接着说下去。(คุณพูดต่อไปเลย)

 

“起来” กับ “下去” มีข้อแตกต่างอีกประการ คือเมื่อใช้กับคำคุณศัพท์ (形容词) โดย  “起来” มักใช้กับคำคุณศัพท์ที่เป็นบวก ส่วน “下去” มักใช้กับคำคุณศัพท์ที่เป็นลบ เช่น

  • 好起来 (ดีขึ้น)
  • 亮起来 (สว่างขึ้น)
  • 富裕起来 (ร่ำรวยขึ้น)
  • 暗下去 (มืดลง)
  • 坏下去 (แย่ลง)
  • 软弱下去 (อ่อนแอปวกเปียกลง)

คราวหน้าเราจะดูกันต่อระหว่าง “起来” กับ “出来” และ “上” กับ “起”

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 ตอนที่1

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำด้วย 趋向补语 (1)

1. คำกริยา “来” และ “去” ถ้านำมาวางหลังคำกริยา (บางคำ) ก็จะกลายเป็นบทเสริมคำกริยา (补语) เพื่อบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำ บทเสริมแบบนี้เรียกว่า 简单趋向补语 ซึ่งจะอยู่ในรูป

1.1 动词 (คำกริยา) + 来 ==> ใช้เมื่อทิศทางของกริยา/การกระทำ เข้าหา (เข้าใกล้) ตัวผู้พูด เช่น

  • 下来 (ลงมา)
  • 进来 (เข้ามา)
  • 上来 (ขึ้นมา)

1.2 动词 (คำกริยา) + 去 ==> ใช้เมื่อทิศทางของกริยา/การกระทำ ออกจาก (ออกห่าง) ตัวผู้พูด เช่น

  • 下去 (ลงไป)
  • 进去 (เข้าไป)
  • 上去 (ขึ้นไป)

ถ้าคำกริยามีกรรมเป็นสถานที่ (处所) จะต้องวางกรรมไว้หลังคำกริยา (动词) หน้า 来/去 เช่น

  • 我们进屋去吧。(พวกเราเข้าห้องกันเถอะ)

ถ้าคำกริยามีกรรมเป็นสิ่งของ (事物) จะวางกรรมไว้หน้า หรือหลัง 来/去 ก็ได้ เช่น

  • 我买来了一本书。 หรือ 我买了一本书来。 (ฉันซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่ง)

2. บทเสริมแสดงทิศทางของกริยา หรือการกระทำอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า 复合趋向补语 จะอยู่ในรูป

2.1 คำกริยา (动词) + (คำกริยาแสดงทิศทาง + 来) ==> ใช้เมื่อทิศทางของกริยา/การกระทำ เข้าหา (เข้าใกล้) ตัวผู้พูด เช่น

  • 上来 (ขึ้นมา)
  • 下来 (ลงมา)
  • 进来 (เข้ามา)
  • 出来 (ออกมา)
  • 回来 (กลับมา)
  • 过来 (ข้ามมา)
  • 起来 (ขึ้นมา)

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • 他跑回家来了。 (เขาวิ่งกลับบ้านมาแล้่ว)
  • 我买回来一本书。 (ฉันซื้อหนังสือกลับมาเล่มหนึ่ง)

2.2 คำกริยา (动词) + (คำกริยาแสดงทิศทาง + 去) ==> ใช้เมื่อทิศทางของกริยา/การกระทำ ออกจาก (ออกห่าง) ตัวผู้พูด เช่น

  • 上去 (ขึ้นไป)
  • 下去 (ลงไป)
  • 进去 (เข้าไป)
  • 出去 (ออกไป)
  • 回去 (กลับไป)
  • 过去 (ข้ามไป)

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • 他走出公园去了。 (เขาเดินออกจากสวนสาธารณะไปแล้ว)

และถ้ากรรมเป็นสถานที่ (处所) จะต้องวางกรรมไว้หน้า 来/去 เช่น

  • 他走进图书馆去了。 (เขาเดินเข้าห้องสมุดไปแล้ว)

ถ้ากรรมเป็นสิ่งของ (事物) จะวางกรรมไว้หน้า หรือหลัง 来/去 ก็ได้ เช่น

  • 他带回来一只箱子。 หรือ 他带回一只箱子来。 (เขานำกล่องกลับมา)

นอกจากนั้น ถ้าคำกริยาไม่มีกรรม “了” จะวางไว้หลังคำกริยา หน้าบทเสริม หรือวางไว้ท้ายประโยคก็ได้ เช่น

  • 一下课,同学们就跑了出去。
  • หรือ 一下课,同学们就跑出去了。(พอเลิกเรียน พวกนักเรียนก็วิ่งออกไป)

แต่ถ้ากรรมเป็นสถานที่ (处所) “了” ควรวางไว้ท้ายประโยค เช่น

  • 他走下楼去了。 (เขาเดินลงจากตึกไปแล้ว)

ถ้ากรรมเป็นสิ่งของ (事物) “了” ควรวางไว้หลังบทเสริม หน้ากรรม (กรรมอยู่หลังสุด) เช่น

  • 我给你买回来了一件衣服。 (ฉันซื้อเสื้อกลับมาให้เธอหนึ่งตัว)

ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นไวยากรณ์พื้นฐานเกี่ยวกับการบอก/แสดงทิศทางของกริยา/การกระทำ จะสังเกตว่าเมื่อแปลความหมายก็เป็นการแปลตรงตัวง่ายๆ

(บทความถัดไป) เราจะมาดู 趋向补语 (简单趋向补语 และ 复合趋向补语 มักนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า 趋向补语) ที่มีความหมาย และวิธีการใช้จริงที่ซับซ้อนขึ้นมาอีกขั้น โดยจะเปรียบเทียบวิธีใช้ และความแตกต่างของ 趋向补语 กันเป็นคู่ๆ ดู

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

วิธีใช้ 不 กับ 没(有)

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

不, 没有

วันนี้มาอย่างยาวววว (อีกแล้ว) และหนักไปทางวิชาการสักหน่อย
“不” กับ “没(有)” มีความหมายของการ “ปฏิเสธ” และเป็นคำกริยาวิเศษณ์ (副词) ทั้งคู่ จะวางไว้หน้าภาคแสดง (谓语) (เช่น คำกริยา หรือคำคุณศัพท์ ฯลฯ)

--> ข้อแตกต่างสำคัญของ “不” กับ “没(有)” คือ

1. “不” มักใช้ “ปฏิเสธ” ความปรารถนา, ความต้องการ, ความสมัครใจ, ความคิดเห็น ฯลฯ ของผู้พูด (ผู้กระทำ) ในเชิงอัตวิสัย (主观意愿) คือบอก หรือแสดงความคิดเห็น, ความรู้สึก, ความต้องการ ฯลฯ ของผู้พูด (ผู้กระทำ) เช่น ไม่อยาก, ไม่ชอบ, ไม่ไป เป็นต้น

ส่วน “没(有)” มักใช้ “ปฏิเสธ” กริยา (การกระทำ), เหตุการณ์, สภาพ, สภาวะต่างๆ ในเชิงภาวะวิสัย (客观叙述) คือเป็นเพียงการเล่าเหตุการณ์ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกความคิดเห็น, ความรู้สึก, ความต้องการ ฯลฯ ของผู้พูด (ผู้กระทำ)

ในแง่เวลา “不” จะใช้ “ปฏิเสธ” กริยา (การกระทำ) หรือเหตุการณ์ในอดีต, ปัจจุบัน และอนาคตได้หมด
ส่วน “没(有)” จะใช้ “ปฏิเสธ” กริยา (การกระทำ) หรือเหตุการณ์ในอดีต และปัจจุบันเท่านั้น ใช้กับอนาคตไม่ได้ เช่น

  • 我不吃早饭了。(อัตวิสัย ผู้พูดไม่อยาก ไม่ต้องการกิน, เหตุการณ์ปัจจุบัน)
  • 我没吃早饭呢。(ภาวะวิสัย ผู้พูดบอกข้อเท็จจริงให้ทราบเท่านั้น ต่อไป (อีกสักครู่) อาจจะกิน หรือไม่กินก็ได้, เหตุการณ์ปัจจุบัน)
  • 昨天他没来,*今天又没来,听说明天还不想来。(เหตุการณ์เมื่อวาน (อดีต) และวันนี้ (ปัจจุบัน), เป็นภาวะวิสัย ผู้พูดเล่าตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น, ส่วนเหตุการณ์พรุ่งนี้ (อนาคต) เป็นไปตามอัตวิสัย หรือการคาดการณ์ (การได้ยินมา) ของผู้พูด)

* ประโยคย่อย “今天又没来” ถ้าเปลี่ยนเป็น “今天又不来” จะกลายเป็นอัตวิสัยของผู้พูด

2. การ “ปฏิเสธ” กริยา (การกระทำ) ที่มีลักษณะเป็นนิสัย, ความเคยขิน หรือพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ หรือการ “ปฏิเสธ” กริยาที่ไม่ปรากฎรูปธรรมชัดเจน (เป็นนามธรรม) เช่น 是 (เป็น), 认识 (รู้จัก), 知道(ทราบ), 像 (เหมือน) เป็นต้น ต้องใช้ “不” เท่านั้น เช่น

  • 她从来不迟到。(พฤติกรรม นิสัยที่ทำเป็นประจำ)
  • 他这个人真好即不抽烟,又不喝酒。(พฤติกรรม นิสัยที่ทำเป็นประจำ)
  • 这不是我的。(กริยานามธรรม)
  • 我们不认识。(กริยานามธรรม)

3. การ “ปฏิเสธ” ลักษณะ, คุณสมบัติ หรือคุณภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือคน (มักเป็นคำคุณศัพท์) ต้องใช้ “不” เช่น

  •  这些天爸爸身体不好,该多休息。

4. ถ้าเป็นการ “ปฏิเสธ” การเปลี่ยนแปลงของสภาพ, สภาวะต่างๆ สามารถใช้ “没(有)”ได้ เช่น

  • 天还没亮,你再睡一会儿吧。

5. “不” สามารถใช้กับ (วางหน้า) กริยาแสดงความปรารถนา ความต้องการ หรือความเป็นไปได้ ฯลฯ (能源动词) ได้ทุกตัว ส่วน “没(有)”ใช้กับกริยาประเภทนี้ได้เป็นส่วนน้อย (บางตัว)เท่านั้น เช่น

  •  能说
  • 不会写
  • 不该走不愿来
  • 不要告诉他
  • 没能听懂
  • 没能够说服他
  • 没敢做

6. “不” สามารถวางไว้ระหว่างคำกริยา (动词) กับบทเสริมแสดงผลลัพธ์ (结果补语) หมายถึง “不可能” เช่น

  • 听不懂
  • 看不完
  • 来不及
  • 记不住

7. “不” เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (副词) วางไว้หน้าภาคแสดง (谓语) เท่านั้น แต่ “没(有)” นอกจากเป็นคำกริยาวิเศษณ์ ยังเป็นคำกริยา (แท้) ได้ด้วย “没(有)”จึงใช้ปฏิเสธตัวเลข, จำนวน, การเปรียบเทียบ, การมีอยู่ ฯลฯ ได้ เช่น

  •  这件包裹没有二十公斤重。
  • 我英语说得没有你好。
  • 教室里没(有)人呢?

8. “没(有)”เมื่อเป็นคำกริยา (แท้) เป็นคำปฏิเสธของคำว่า “领有” และ “具有” เมื่อใช้เป็นคำกริยา (แท้) มีกรรมเป็นคำนามได้ และโดยปกติ ไม่สามารถมีคำเสริมท้าย 了、着、过 ได้ (เพราะเป็นการปฏิเสธกริยา หรือการกระทำนั้น) และไม่สามารถซ้ำคำ และมีบทเสริมท้าย (补语) ไม่ได้

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ศัพท์ภาษาจีน : ตัดๆ หั่นๆ ในภาษาจีน

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

คำกริยาเกี่ยวกับการตัด, ฟัน, หั่น, ผ่า ฯลฯ ที่น่าสนใจในภาษาจีน เป็นคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ เช่น มีด, ขวาน หรือของมีคม ทำให้สิ่งของแยกออกจากกัน หรือขาดออกจากกัน แต่วิธีการไม่เหมือนกัน

1.“砍” กับ“剁” 2 คำนี้ เป็นการใช้มีด หรือขวานทั้งคู่, ต่างกันที่ “砍” แปลว่า “ฟัน” หรือ “ตัด” เป็นกริยาการถือมีด หรือขวานออกแรงตัด หรือฟันจากด้านข้าง (เฉียง) หรือแนวนอน ทำให้สิ่งของแยกออก, ขาดออกจากกัน เช่น 砍树 (ตัดต้นไม้)、砍木头 (ตัดไม้)、砍树枝 (ตัดกิ่งไม้)、砍柴 (ตัดฟืน)、砍头 (ตัดศีรษะ) เป็นต้น

  •  “砍”ในภาษาจีนท้องถิ่น หมายถึงกริยา “ขว้าง” หรือ “เหวี่ยง” สิ่งของด้วย คำที่น่าสนใจ เช่น 砍刀(มีดตัดฟืน)、砍伐 (โค่น (ต้นไม้))
  •  ส่วน “剁”แปลว่า “สับ” เป็นการใช้แรงกระแทกขึ้นลง (บนแผ่นกระดาน เช่น เขียง เป็นต้น) เพื่อทำให้สิ่งของนั้นแยกออกจากกัน หรือแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น 剁白菜 (สับผักกาดขาว)、剁饺子馅儿 (สับไส้ทำเกี๊ยว)

2.“割”、”切”、”片”、”拉”(lá)เป็นกริยาที่ใช้มีด (เป็นส่วนใหญ่)

  • “割”ใช้มีด “ตัด” สิ่งของ (คมมีดจะตัดเข้าไปในเนื้อสิ่งของ) ให้ขาดออกจากกัน เช่น 割稻 (เกี่ยวข้าว) คำที่น่าสนใจ เช่น 割胶;割漆 (กรีดยาง, กรีดเปลือกยางให้น้ำยางไหลออกมา)、割礼 (พิธีสุหนัตของอิสลาม)
  •  “切” ใช้มีด “หั่น” หรือ “ตัด” สิ่งของจากแนวตั้ง ให้เป็นชิ้น หรือเป็นก้อน (块), เป็นแผ่นบางๆ (片)หรือเป็นเส้น (条)ก็ได้ เช่น 切西瓜 (หั่นแตงโม)、切成块 (หั่นเป็นชิ้น)  คำที่น่าสนใจ เช่น 切面 (หมี่ที่ตัดเป็นเส้น)、切片 (หั่นเป็นแผ่นบางๆ)
  •  “片” ใช้มีด “หั่น” หรือ “ตัด” สิ่งของ (ในแนวขึ้นลง) ให้เป็นแผ่นบางๆ เช่น 片肉片儿 (ตัดเนื้อเป็นแผ่นบางๆ)、把萝卜片一片 (หั่นหัวไชเท้าเป็นชิ้น เป็นแผ่น (ภาษาไทยมักใช้ว่า “เป็นแว่น”))
  •  “拉” (lá)ใช้มีด “กรีด” หรือ “ตัด” ลงบนพื้นผิวของสิ่งของเป็นเส้น หรือแนวตรง เพื่อให้สิ่งของนั้น แตกออก, แยกออก หรือขาดออกจากกัน เช่น 皮子拉开了(แผ่นหนังถูกกรีด (ตัด) ออกแล้ว)  “拉” จะแปลว่า “แตก” หรือ “ปริ” ออกจากกันก็ได้

3.”剪” ใช้กรรไกร “ตัด” สิ่งของที่เป็นแผ่น หรือเป็นเส้นให้ขาดออกจากกัน เช่น 剪纸 (ตัดกระดาษ)、剪报 (ตัดข่าวหนังสือพิมพ์)

4.“锯” ใช้เลื่อย “ตัด” หรือ “เลื่อย” สิ่งของให้ขาดออกเป็นท่อน, เป็นชิ้น, เป็นแผ่น ฯลฯ เช่น 锯树 (เลื่อยต้นไม้)、锯木头 (เลื่อยไม้)

ถ้าสังเกตให้ดี คำกริยาเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีมีด (刀) หรือของมีคม (刂,立刀旁) เป็นส่วนประกอบ ยกเว้น “拉”(ความหมายเดิม แปลว่า “ลาก” หรือ “ดึง”),“锯”(คำนาม คือ “锯子”(เลื่อย))

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : “一向” VS.”一直”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“一向”、”一直” เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (副词) ทั้งคู่ หมายถึง “(เป็นเช่นนี้/ทำเช่นนี้) มาโดยตลอด, แต่ไหนแต่ไร” (从来如此) โดยทั่วไป 2 คำนี้จะไม่ใช้แทนกัน

เมื่อไรควรใช้ “一向” หรือ “一直” มีหลักเกณฑ์ คือให้ดูว่า เรา (ผู้พูด) ต้องการเน้นอะไร และดูว่า ภาคแสดง (谓语) ของประโยคเป็นคำประเภทไหน (เป็นคำกริยาอะไร หรือคำคุณศัพท์) และมีบทขยายภาคแสดง (状语) เป็นคำบอกเวลาหรือไม่

--> ถ้าต้องการเน้น “ความคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” ของ “คุณลักษณะ, คุณสมบัติ, สภาพ, สภาวะ หรือธรรมชาติของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ที่คงอยู่ในสภาพ, สภาวะนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง)” เราจะใช้ “一向” และ 谓语 (ภาคแสดง) ของประโยคที่ใช้ “一向” จึงมักเป็นคำคุณศัพท์ (形容词) หรือคำกริยาที่เป็นนามธรรม (抽象动词)

  • 这里的商贸一向很发达。(เน้นสภาพ, สภาวะของประธาน คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง, 发达 เป็นกริยานามธรรม)
  • 这个人态度一向很好。(เน้นคุณสมบัติของประธาน คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง, 好 เป็นคำคุณศัพท์)
  • 她的表现一向很好。(เน้นคุณสมบัติของประธาน คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง, 好 เป็นคำคุณศัพท์)
  • 他一向热情好客。(เน้นคุณสมบัติของประธานคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง, 热情好客 เป็นคำคุณศัพท์)

--> ถ้าต้องการเน้น “ความต่อเนื่อง”, “ไม่ขาดตอน” หรือ “ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มี “ความต่อเนื่อง” ของการทำกริยา, การกระทำ หรือเหตุการณ์” เราจะใช้ “一直” โดยส่วนใหญ่ “一直” จะใช้กับคำกริยาที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน (具体动词) และมักจะมีคำบอกเวลาเริ่มต้นสิ้นสุด (จะเป็นเวลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน หรือจากปัจจุบันถึงอนาคตก็ได้) อยู่ด้วย เพื่อแสดงช่วงเวลาของการกระทำ หรือเกิดกริยานั้น (ส่วนประโยคที่ใช้ “一向” ไม่จำเป็นต้องมีคำบอกเวลาเริ่มต้นสิ้นสุด) ตัวอย่างเช่น

  • 放假以来,他一直在写论文。(เน้นความต่อเนื่องของการกระทำ, 写 เป็นกริยารูปธรรม, มีคำบอกช่วงเวลา)
  • 雨一直下了三天三夜。(เน้นความต่อเนื่องของกริยา, 下 เป็นกริยารูปธรรม, มีคำบอกช่วงเวลา)
  • 明天晚上六点见不到你,我会一直等下去的。(เน้นความต่อเนื่องของการกระทำ, 等 กริยาเป็นรูปธรรม, เวลาในอนาคต)

แต่ในบางกรณี ถ้าเราต้องการเน้น “ความต่อเนื่อง” ก็สามารถใช้ “一直” ในประโยคที่คำกริยาเป็นนามธรรม และไม่มีคำบอกเวลาเริ่มต้นสิ้นสุดก็ได้ ตัวอย่างเช่น

  • 这里的商贸一直很发达。(เน้นความต่อเนื่อง)
  • 她的态度一直很好。(เน้นความต่อเนื่อง)

นอกจากนั้น “一向” ยังใช้เป็นคำนาม (名词) ได้ด้วย กรณีนี้ “一向” จะหมายถึงช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต หรือช่วงเวลาใกล้ๆ ที่ผ่านมาไม่นาน (ช่วงนี้, ระยะนี้, หมู่นี้) โดยมักจะมีคำว่า “这”、”那” หรือ “前” วางอยู่ข้างหน้า เป็น “那一向”、”前一向” สองคำนี้หมายถึง ช่วงเวลาในอดีต (ผ่านมาค่อนข้างนานแล้ว) ส่วน “这一向” หมายถึงช่วงเวลาในอดีตที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน คำเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นบทขยายภาคแสดง (状语) ในประโยค ตัวอย่างเช่น

  • 前一向工作很顺利。
  • 你,这一向身体好吗?

คำตรงข้ามของ “一直” คือ 有时(有时候、有的时候)เพราะฉะนั้น ประโยคที่มีคำเหล่านี้ จะใช้ “一直” ร่วมด้วยไม่ได้ (เพราะทำให้ความหมายขัดแย้งกัน)

นอกจากนั้น “一直” ยังสามารถใช้เน้นขอบเขตของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น 从老人一直到小孩 (“一向” ไม่มีวิธีใช้แบบนี้)

ประการสุดท้าย “一直” ยังใช้ในความหมาย “(ไป) ตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง (ไม่เปลี่ยนแปลง)” กรณีนี้ หลัง “一直” มักจะมีคำบอกทิศทาง เช่น 一直往前走、一直往东走 หรือ (一)直走 เป็นต้น

***(ถ้ามีเวลาว่าง) ลองเปรียบเทียบความแตกต่างกับคำว่า “从来” ที่มีความหมายคล้ายๆ กับ “一直”、”一向” แต่มีวิธีใช้ต่างกันดู

 

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese