คุยหนังดูเพลง เสนอ โฮโมน วัยว้าวุ่น 荷尔蒙(héěrméng)
*มีศัพท์น่ารู้พร้อมpinyinตอนท้ายบทจ้ะ
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์ไทยเเละ ละครไทยถือได้ว่าเป็นละครระดับคุณภาพคับเเก้วในสายตาของคนจีน โดยเฉพาะเเนวFeel-good 舒畅影片 เเนวเขย่าขวัญ恐怖影片 แล้วก็ 偶像剧ละครหลังข่าว/น้ำเน่า หลายคนอาจจะงงๆว่า ไอ้ละครหลังข่าวที่มีนางร้ายตบตีเเย่งผัวชาวบ้านกันเเทบทุกตอนมันมีคุณภาพตรงไหน??? อ่ะฮ่า นี่คือมุมหนึ่งที่คนบ้านเราอาจมองไม่ออก เพราะเราดูกันตั้งเเต่เด็กจนโต ดูกันจนเอียนเเละพบว่ามันไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นเลย “แต่” เราอาจลืมไปว่า บางครั้งการหยุดอยู่กับที่ อาจเป็น “ความเสถียร” สำหรับคนบางคนก็ได้ ละครไทยในสายตาของกองเซ็นเซอร์ของจีนทีว่ากันว่าเขี้ยวที่สุดในโลก(เป็นรองเเค่คิวบากับเกาหลีเหนือกระมัง) กลับรู้สึกดีกับละครไทย เพราะคาดเดาง่าย ไม่มีเนื้อหาทางการเมืองเเอบเเผงอย่างละครจากตะวันตก ที่สำคัญนำเสนอ “ความร้ายกาจของคน” เเบบผิดคือผิด ถูกคือถูก ไม่ใช่ละครประเภทเสี้ยมให้เด็กวัยรุ่นเป็นมาเฟียหรือเสี้ยมให้คนเป็นขบฎ จะตบตีกันกี่ตลบเเต่สุดท้าย นางร้ายพวกนี้จะกรรมตามทัน นางเอกสบายเฮ อันนี้กองเซ็นเซอร์จีนชอบครับ ถือว่าเร้าใจเเต่ไม่ปลุกระดม เเถมจะกี่เรื่องโครงเรื่องก็เหมือนเดิม เป็นสไตล์ละครที่มีความเสถียรสูงมาก ^^”
ผมจำได้ดี ตอนเด็กๆ ละครต่างประเทศที่จีนยอมนำเข้าฉายในโทรทัศน์ ส่วนมากจะเป็นละครจาก บราซิล สเปน เเละ อิตาลี่ เพราะเนื้อหาง่ายๆ วนเวียนกับการชิงรักหักสวาท ตบตีกันให้ครื้นเครง เเล้วจบด้วยคนเลวรับผลกรรมไป โดยที่คนดีก็ไม่ต้องไปจองเวรอะไรให้มาก เข้าใจง่าย อย่างอิตาลีนี่ถือว่าเป็นเจ้าพ่อละครฟิวกู๊ดก็ว่าได้ เป็นเเนวเจ็บๆคันๆขำๆ ตัวละครจะเเนวเยอะ จู้จี้จุกจิ๊ก เเต่ไม่ได้มีพิษภัยอะไร เข้าใจง่าย ส่วนละครกลุ่มบราซิล อาเจนติน่า จะมาเเนวบ้านทรายทองเลย นางเอกโดนรังเเก พระเอกเป็นคุณชาย/นายทหารหน้าตาหล่อเหลา จบด้วยการเเพ้ภัยตัวเองของนางร้ายเกือบทุกเรื่อง ดูเเล้วคนจิตใจดีก็มีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป อะไรเเนวๆนี้ ส่วนละครญี่ปุ่นจะโดดเด่นในเรื่องความรันทดสู้ชีวิตหรือไม่ก็สู้กับโรคร้าย เเต่การนำเข้าละครญี่ปุ่นจะไม่เยอะ เพราะมันไม่ได้คาดเดาง่ายเหมือนละครอิตาลี/บราซิล (ส่วนละครไทย สมัยนั้นโทรทัศน์จีนยังไม่รู้จักละครไทยหรอก ตอนเด็กผมเคยดูหนังไทยเเค่สองสามเรื่อง คือ วัลลี ฉุยฉาย เเละคนเลี้ยงช้าง) Continue reading →