Category Archives: บทความอื่นๆ

ประโยคสนทนาเกี่ยวกับ TikTok ในภาษาจีน

TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างและแชร์วิดีโอสั้น ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงเวลาสมัยสมัยหลังจากนี้ ผู้ใช้สามารถสร้างวิดีโอที่มีความสนุกสนาน ความคิดสร้างสรรค์ หรือเกี่ยวกับชีวิตประจำวันและแชร์กับชุมชนผู้ใช้ TikTok ได้ แพลตฟอร์มนี้มีคุณสมบัติการแก้ไขวิดีโอได้อย่างง่ายดาย การเพิ่มเสียงพื้นหลัง และการใช้ตัวกรองเพื่อสร้างเอฟเฟกต์พิเศษให้กับวิดีโอ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติการเพิ่มเพลงประกอบ และสามารถกดไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์ไปยังช่องโซเชียลมีเดียอื่น ๆ

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

  • 抖音 (dǒuyīn) – TikTok
  • 短视频 (duǎn shìpín) – คลิปวิดีโอสั้น
  • 视频平台 (shìpín píngtái) – แพลตฟอร์มวิดีโอ
  • 网络直播 (wǎngluò zhíbō) – การถ่ายทอดสดออนไลน์
  • 创作者 (chuàngzuòzhě) – ผู้สร้างเนื้อหา
  • 粉丝 (fěnsī) – แฟนคลับ
  • 视频内容 (shìpín nèiróng) – เนื้อหาวิดีโอ
  • 用户 (yònghù) – ผู้ใช้
  • 点赞 (diǎn zàn) – กดไลค์
  • 分享 (fēnxiǎng) – แชร์
  • 评论 (pínglùn) – คอมเมนต์
  • 发布 / 发帖 (fābù / fātiē)  โพสต์
  • 社交媒体 (shèjiāo méitǐ) – โซเชียลมีเดีย
  • 热门 (rèmen) – ยอดนิยม
  • 话题 (huàtí) – หัวข้อ
  • 特效 (tèxiào) – เอฟเฟกต์

ตัวอย่างบทสนทนา

Person A: 你有在抖音上看过有趣的视频吗?
Nǐ yǒu zài dǒuyīn shàng kànguò yǒuqù de shìpín ma?
คุณเคยดูวิดีโอสนุกๆ ใน TikTok มั้ย?

Person B: 当然有啊,我每天都会在抖音上看视频。
Dāngrán yǒu a, wǒ měitiān dūhuì zài dǒuyīn shàng kàn shìpín.
แน่นอนค่ะ ฉันดูวิดีโอใน TikTok เสมอทุกวันค่ะ

Person A: 有什么好看的视频推荐给我吗?
Yǒu shénme hǎokàn de shìpín tuījiàn gěi wǒ ma?
มีวิดีโอสนุกๆ อะไรแนะนำให้ดูบ้างไหม?

Person B: 我觉得这个视频很有趣,你可以试试看。
Wǒ juédé zhège shìpín hěn yǒuqù, nǐ kěyǐ shì shì kàn.
ฉันว่าวิดีโอนี้น่าสนุกมาก คุณลองดูสิคะ

Person A: 好的,我会去看看。谢谢你的推荐!
Hǎo de, wǒ huì qù kàn kàn. Xièxiè nǐ de tuījiàn!
โอเค ฉันจะไปดูกันค่ะ ขอบคุณสำหรับการแนะนำ!

คำศัพท์ภาษาจีน เกี่ยวกับ TikTok พร้อมคำแปลไทย และ pinyin

คำศัพท์ คำแปล พินอิน ตัวอย่างประโยค
抖音 (dǒuyīn) ติ๊กต็อก Douyin 我喜欢刷抖音。(wǒ xǐhuan shuā dǒuyīn) – ฉันชอบเล่น TikTok
短视频 (duǎn shìpín) วิดีโอสั้น Duǎn shìpín 抖音是一个短视频平台。(dǒuyīn shì yīgè duǎn shìpín píngtái) – TikTok เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น
直播 (zhíbō) ถ่ายทอดสด Zhíbō 很多网红在抖音上直播。(hěn duō wǎnghóng zài dǒuyīn shàng zhíbō) – มีเน็ตไอดอลหลายคนถ่ายทอดสดบน TikTok
粉丝 (fěnsī) แฟนคลับ Fěnsī 我有很多抖音粉丝。(wǒ yǒu hěn duō dǒuyīn fěnsī) – ฉันมีแฟนคลับ TikTok หลายคน
点赞 (diǎnzàn) กดไลค์ Diǎnzàn 我喜欢这个视频,我点了赞。(wǒ xǐhuan zhège shìpín, wǒ diǎnle zàn) – ฉันชอบวิดีโอนี้ ฉันกดไลค์แล้ว
评论 (pínglùn) แสดงความคิดเห็น Pínglùn 我在视频下评论了。(wǒ zài shìpín xià pínglùnle) – ฉันแสดงความคิดเห็นใต้วิดีโอแล้ว
关注 (guānzhù) ติดตาม Guānzhù 我关注了许多抖音用户。(wǒ guānzhùle hěn duō dǒuyīn yònghù) – ฉันติดตามผู้ใช้ TikTok หลายคน
分享 (fēnxiǎng) แชร์ Fēnxiǎng 我把这个视频分享给了朋友。(wǒ bǎ zhège shìpín fēnxiǎnggěi le péngyou) – ฉันแชร์วิดีโอนี้ให้เพื่อนแล้ว
私信 (sīxìn) ข้อความส่วนตัว Sīxìn 我给我的粉丝发了一条私信。(wǒ gěi wǒ de fěnsī fāle yītiáo sīxìn) – ฉันส่งข้อความส่วนตัวให้แฟนคลับของฉัน
礼物 (lǐwù) ของขวัญ Lǐwù 我送了一个礼物给主播。(wǒ sòngle yīgè lǐwù gěi zhǔbò) – ฉันส่งของขวัญให้ผู้ถ่ายทอดสด
音乐 (yīnyuè) เพลง Yīnyuè 这个视频的音乐很好听。(zhège shìpín de yīnyuè hěn hǎotīng) – เพลงของวิดีโอนี้เพราะมาก

บทความทั่วไป : คัมภีร์จีนว่าไว้

คำสอนของจีน

คัมภีร์จีน..ว่าไว้
การวางเฉยเป็นมารยาทที่ดี แต่มากนักมักเป็นคนลับลมคมใน

คัมภีร์จีน..ว่าไว้
ผู้ที่สามารถควบคุมความโกรธไว้ได้ เป็นผู้มีปัญญายอดเยี่ยม

คัมภีร์จีน..ว่าไว้
การทำงานอย่าเอาแต่ทิฐิของตน ต้องเข้าใจเหตุผลของงาน

คัมภีร์จีน..ว่าไว้
อารมณ์โกรธเข้าประตูหน้า สติปัญญาก็โผออกประตูหลัง

Continue reading

บทความทั่วไป : “อาโปว์” เด็กเก่งเมืองน้ำดำ เผยเคล็ดภาษาจีนเรียนไม่ยาก

ภาษาจีนเรียนไม่ยาก

“อาโปว์” เด็กเก่งเมืองน้ำดำ เผยเคล็ดภาษาจีนเรียนไม่ยาก เน้นการอ่านท่องจำ  ฟัง พูด เขียน ฝึกทุกวันเมื่อวันที่  18  มิ.ย.น.ส.พราวพร  เกียรติดำเนินงาม  หรือน้องอาโปว์  อายุ 18 ปีเด็กไทยชาวกาฬสินธุ์ที่เรียนเก่งจนสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย China Foreign Affairs University   หรือ (CFAU) อันดับที่ 5 ใน 20 คนท่ามกลางการแข่งขันจากนักเรียนทั้งหมดนับหมื่นคนทั้งชาวจีนและนานาชาติ สุดยอดความเป็นอัจฉริยะ ทั้งๆ ที่เพิ่งเดินทางไปศึกษาเพียง 9 เดือน เผยเป็นคนไทย เพียง 1 เดียวเท่านั้น ที่มีโอกาสทองได้เรียนที่มหาวิทยาลัยดังของจีนแห่งนี้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน  ระดับปริญญาตรี คณะการทูต  ปีการศึกษา 2011 ได้  เปิดเผยเคล็ดลับการเรียนภาษาจีนให้ประสบผลสำเร็จว่า ตอนแรกที่ทางคุณพ่อและคุณย่าอนุญาตให้เข้าไปเรียนในโครงการ เอ็นวายซี  ก็เริ่มเตรียมตัวทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การเตรียมตัวสอบเข้าไปในโครงการที่จะต้องแข่งขันกับคนจำนวนมากแต่ก็สอบติด และบินไปเรียนที่มณฑลเหอเป่ย  ประเทศจีน  ถือว่าเป็นคนที่โชคดีที่ได้แม่บุญธรรม (โฮสต์) หวางหงเม่ย  ที่เข้าใจมีความเมตตาและยังเป็นครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนมัธยมด้วย  แต่ยังไม่เพียงพอเพราะจากที่เราเรียนหนัก  ฝึกหนักตอนอยู่เมืองไทยแต่พอมาที่ปักกิ่งช่วงแรก ๆ ฟังภาษาก็ไม่ทันจะว่าไม่รู้เรื่องก็ว่าได้  จนต้องโทรกลับมาขอเงินทางบ้านเพื่อซื้อเครื่องเล่นซีดีและซีดีสอนภาษาจีนฟังเพิ่มเติมฟังแทบจะตลอดเวลา

Continue reading

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร [般若波罗蜜多心经]

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

观自在菩萨 (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร)
行深般若波罗蜜多时 (เมื่อกาลที่พิจารณาด้วยพระปัญญาบารมีอยู่นั้น)
照见五蕴皆空 (รู้แจ้งชัดว่าปัญจขันธ์ล้วนว่างเปล่า)
度一切苦厄 (ข้ามพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง)。

舍利子(สารีบุตร)
色不异空 (รูปไม่ต่างจากความว่าง)
空不异色 (ความว่างไม่ต่างจากรูป)
色即是空 (รูปคือความว่าง)
空即是色 (ความว่างก็คือรูป)
受想行识 (เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ)
亦复如是(ก็เฉกเช่นเดียวกัน)。

舍利子 (สารีบุตร)
是诸法空相 (ธรรมทั้งปวงล้วนว่างเปล่า)
不生不灭 (ไม่เกิด,ไม่ดับ)
不垢不净 (ไม่สกปรก, ไม่สะอาด)
不增不减 (ไม่เพิ่ม,ไม่ลด)

是故空中无色 (ในความว่างนั้นไม่มีรูป)
无受想行识 (ไม่มีเวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ)
无眼耳鼻舌身意 (ไม่มีตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ)
无色声香味触法 (ไม่มีรูป, เสียงกลิ่น, รส, สัมผัส และธรรมารมณ์)
无眼界 (ไม่มีจักขุทวาร)
乃至无意识界 (จนกระทั่งถึงไม่มีมโนทวาร)。

无无明 (ไม่มีอวิชชา)
亦无无明尽 (เมื่อไม่มีอวิชชา)
乃至无老死 (ย่อมไม่มีความแก่, ความตาย)
亦无老死尽 (เมื่อไม่มีความแก่, ความตาย)。

无苦集灭道 (จึงไม่มี ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค)
无智亦无得 (ย่อมไม่มีซึ่งการรู้แจ้งและไม่รู้แจ้ง)。

以无所得故 (ด้วยเหตุนี้)
菩提萨埵 (โพธิสัตว์)
依般若波罗蜜多故 (อาศัยปัญญาบารมีนี้)
心无挂碍 (ใจจึงพ้นแล้วจากความกังวล)
无挂碍故 (ด้วยเหตุที่พ้นจากความกังวลนี้)
无有恐怖 (จึงไม่มีความกลัว)
远离颠倒梦想 (พ้นแล้วจากอุปาทาน)
究竟涅盘 (เข้าถึงพระนิพพาน)。

三世诸佛 (พระพุทธเจ้าในตรีกาล)
依般若波罗蜜多故 (อาศัยปัญญาบารมีนี้)
得阿耨多罗三藐三菩提 (บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ)。

故知般若波罗蜜多 (เหตุเพื่อให้แจ้งในปัญญาบารมี)
是大神咒 (มีมหามนต์)
是大明咒 (เป็นมนต์แห่งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่)
是无上咒 (ไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า)
是无等等咒 (ไม่มีมนต์อื่นใดอีก)
能除一切苦 (ที่จะสามารถขจัดเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง)
真实不虚 (จริงแท้มิแปรผัน)。

故说般若波罗蜜多咒 (จักแสดงมนต์แห่งปัญญาบารมี)
即说咒曰 (ดังนี้)
揭谛揭谛波罗揭谛波罗僧揭谛菩提萨婆诃 (jiē dì jiē dì bō luó jiē dì bō luó sēng jiē dì pú tí sà pó hē)。

อ้างอิงจาก : ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

สี่สาวงามแห่งแผ่นดินจีน [四大美人]

สี่สาวงามแห่งแผ่นดินจีน

สี่สาวงามแห่งแผ่นดินจีน 四大美人(Four Beauties)เป็นคำเรียกสตรี 4 คนที่ได้ชื่อว่ามีความงดงามที่สุดในประวัติศาสตร์จีนโบราณ โดยทั้ง 4 คนนี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองพลิกผันถึงขั้นอาณาจักรล่มสลาย หรือเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์คำโคลงจีนที่ใช้เรียกสตรีทั้งสี่นี้ได้แก่ “沉鱼落雁,闭月羞花”

沉鱼落雁 [chényúluòyàn] มัจฉาจมวารี ปักษีตกนภา
闭月羞花 [bìyuèxiūhuā] จันทร์หลบโฉมสุดา มวลผกาละอายนาง

ในพากย์ภาษาไทยอาจารย์ถาวร สิกขโกศล ได้แปลไว้เป็นบทกลอนว่า

  1. 西施沉鱼 [XīShī chényú] มัจฉา จมวารี (ไซซี)
  2. 昭君落雁 [ZhāoJūn luòyàn] ปักษี ตกนภา (หวังเจาจวิน)
  3. 貂婵闭月 [DiāoChán bìyuè] จันทร์หลบ โฉมสุดา (เตียวเสี้ยน)
  4. 贵妃羞花 [GuìFēi xiūhuā] มวลผกา ละอายนาง (หยางกุ้ยเฟย)

ความไม่งามในสุดยอดความงาม

คนจีนส่วนมากรู้ว่าในบรรดาหญิงงามนับสิบนับร้อยของจีนนั้นที่เป็นชั้นเยี่ยมสุดยอดมีสี่คน ยอดพธูทั้งสี่คนนี้งามถึงขั้น “มัจฉาจมวารี ปักษีตกนภา จันทร์หลบโฉมสุดา มวลผกาละอายนาง” ทว่าความไม่งามซึ่งแฝงอยู่ในสุดยอดความงามของยอดพธูแต่ละคนเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีคนรู้

1. มัจฉาจมวารี (西施沉鱼 [XīShī chényú]) เป็นความงามสุดยอดของไซซี เมื่อสมัยยังอยู่บ้านเดิม ทุกครั้งที่เธอไปซักผ้าฟอกด้าย หรือเล่นน้ำในแม่น้ำผูหยางเจียง(浦阳江 [pǔyángjiāng]) เชิงเขาจู้หลัวซาน หมู่มัจฉาต่างก็เพลินชมโฉมอันเลอเลิศจนลืมแหวกว่ายจมสู่ก้นธารา
แม้จะงามเลิศถึงเพียงนี้ ไซซีก็ยังมีความไม่งามอยู่ประการหนึ่ง คือ เธอมีเท้าที่ใหญ่กว่าหญิงทั้งหลายเป็น “สาวตีนโต” ดังนั้นเธอจึงต้องสวมกระโปรงยาวใส่เกี๊ยะไม้ กระโปรงยาวช่วยคลุมมิให้เห็นเท้า เกี๊ยะช่วยให้ชายกระโปรงสูงพ้นพื้น และยามเดินมีท่วงท่าดุจอัปสร เมื่อใช้ศิลปะการแต่งกายเข้าช่วยเช่นนี้ ไซซีก็งามดุจเทพธิดาในแดนมนุษย์

2. ปักษีตกนภา (昭君落雁 [ZhāoJūn luòyàn]) เป็นความงามสุดยอดของหวางเจาจวิน เมื่อปักษา(雁 [yàn] ห่านป่า)ตะลึงชมความงามของนางยามขี่ม้าเดินทางสู่ซงหนู(匈奴 [xiōngnú]) จนลืมขยับปีกร่วงจากนภา หวางเจาจวินก็มีความไม่งามอย่างหนึ่ง คือ ไหล่ของเธอลาดตกกว่าหญิงทั่วไป เธอจึงสวมผ้าคลุมไหล่ที่มีการหนุนเสริมให้ไหล่งามปกติ ซึ่งทำให้หวางเจาจวินงามเด่นไร้ราคี

3. จันทร์หลบโฉมสุดา (貂婵闭月 [DiāoChán bìyuè]) สุดยอดความงามของเตียวเสียนที่แม้แต่จันทรเทวีฉางเอ๋อร์(嫦娥 [cháng’é]) ยังละอายนาง แต่เตียวเสียนก็มีความไม่งามอยู่ คือ ปลายใบหูเธอสั้นเล็ก เธอจึงใส่ตุ้มหูหยกถ่วงเสริมให้เตียวเสียนมีเสน่ห์ยิ่งขึ้น

4. มวลผกาละอายนาง (贵妃羞花 [GuìFēi xiūhuā]) เป็นสุดยอดความงามของหยางกุ้ยเฟยที่กระทั่งดอกโบตั๋น(牡丹 [mǔdān]) ยังหุบดอกซบลงไม่กล้าประชันความงามด้วย แต่เธอก็มีกลิ่นตัวเป็นโทษสมบัติ หยางกุ้ยเฟยจึงแก้ไขด้วยลงสรงในธารหอมหัวชิง อบร่ำเสื้อผ้าและใช้แป้งหอมกลบกลิ่นกาย

เรื่องความไม่งามในสุดยอดความงามนี้เป็นเพียงความเชื่อของชาวบ้านที่สันนิษฐานมาจากภาพวาดและประวัติของยอดพธูทั้งสี่คนเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการสะท้อนให่เห็นความคิดเชิงเหตุผลของคนจีนซึ่งเชื่อกันว่า สิ่งที่ดีพร้อมหรืองามละม่อมพร้อมสิ้นทั้งอินทรีย์นั้นยากที่จะมีได้จริง ต่อให้งามเลิศปานใดก็ต้องมีส่วนที่ไม่งามแอบแฝงอยู่

รายชื่อนามสตรีทั้งสี่ เรียงตามช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ดังนี้

  1. ไซซี (Xi Shi, 沉鱼, 西施) มีชีวิตอยู่ช่วง ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ในสมัยชุนชิว ได้ฉายาว่า “มัจฉาจมวารี” (沉鱼) อ่านเพิ่มเติม
  2. หวังเจาจวิน (Wang Zhaojun) มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ได้ฉายาว่า “ปักษีตกนภา” (落雁) อ่านเพิ่มเติม
  3. เตียวเสี้ยน (Diao Chan) มีชีวิตอยู่ในยุคสามก๊ก ได้ฉายาว่า “จันทร์หลบโฉมสุดา” (闭月) อ่านเพิ่มเติม
  4. หยางกุ้ยเฟย (Yang Guifei) มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ถัง ได้ฉายาว่า “มวลผกาละอายนาง” (羞花) อ่านเพิ่มเติม

อ้างอิงจาก : https://th.wikipedia.org/wik , ถาวร สิกขโกศล,สี่ยอดหญิงงาม ผู้พลิกประวัติศาสตร์จีน,สร้างสรรค์บุ๊ค,กรุงเทพ,2551

牡丹
[mǔdān]

บทความทั่วไป : พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการใช้ทรัพย์ไว้ 4 ข้อ [佛陀告诉我们四大理财]

คำสอนพระพุทธเจ้า ภาษาจีน

“人为财死,鸟为食亡”

“คนตายเพราะความร่ำรวย นกตายเพราะความตระกระ”

สกุลเงิน

这是众所周知的俗语。世间人为了财物,造作了多少罪业,招惹了多少烦恼?

此时我们再拥有多少的钱财,未必是件好事;相反花钱花得有意义,有价值,这又未必是件坏事!虽说”物欲就是祸水”,但凡事都没有绝对性的,有好坏之分,是非之辩。我们学佛人要能做到慈悲的心,欢喜的心,勇猛的心来为善而喜舍!当然我们要认清世间的财物,充其量不也就是给予人们资生而以!

 

นี้เป็นภาษิตเก่าแก่ดั้งเดิม คนในโลกต้องการความร่ำรวย พากันขวนขวายประกอบอาชีพธุรกิจ ซึ่งนำความทุกข์มาให้มากเพียงใด

จนถึงเวลานี้พวกเราหาเงินทองมาได้เท่าใด ไม่ได้เป็นเรื่องดีเลยตรงกันข้ามเงินเดือนกลายเป็นสิ่งมีค่ามีความหมาย อย่างนี้ยิ่งเป็นเรื่องที่เลวร้ายลงไปอีก แม้กล่าวว่า ความต้องการทางวัตถุเหมือนน้ำบ่าที่กั้นไม่ได้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง มีทั้งดีและไม่ดี ถูกผิดขัดแย้งกัน. พวกเรานักศึกษาธรรมะ จึงต้องทำจิตให้มีเมตตา มีจิตยินดี จิตกล้าหาญที่จะทำความดี เสียสละ ให้ทรัพย์สินเงินทอง ของมีค่าที่สุดก็สามารถให้แก่คนอื่นเพื่อความอยู่รอดของเขาได้

佛陀告诉我们四大理财要件:

  1. 四分之一供养父母
  2. 四分之一教育子女
  3. 四分之一用于家庭
  4. 四分之一投入社会公益事业。

钱会害人,但是钱也能救人,我们要好好利用钱去做有意义的事情,去帮助别人之所需,而不能让钱利用了。

当人们有钱而舍不得用,存在银行做守财奴,只在心里告诉自己安慰自己是上百万富翁,或者成天手摸着那些存单上的几个阿拉伯数字,与其如此又与穷人有何区分呢?这样不就失去有钱的意义!而钱财用得不当,则有害身心,甚至会影响社会的安定与团结。世间财世间用,用得有意义,这岂不是修福的大好机会!

我们的富贵就是从布施中修来的!大家要明白,福是修来的,而不是求来的喔!

人们不会忘了积金积银,更不能忘了积功积德。金银如山也会坐食山空,而福德是永无止境,绵延不断的!

พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการใช้ทรัพย์ไว้ 4 ข้อ คือ

  1. เลี้ยงดูบิดามารดา
  2. ให้การศึกษาแก่บุตรธิดา
  3. ใช้จ่ายในครัวเรือน
  4. ช่วยเหลือสังคม

เงินทำร้ายคนได้ และสามารถช่วยคนได้เช่นกัน พวกเราต้องระมัดระวังในการใช้เงินให้เกิดประโยชน์ ช่วยเหลือคนอื่นที่ขาดแคลน อย่าให้กลายเป็นเงินใช้เรา

เมื่อเรามีเงินเหลือใช้ ฝากไว้ในธนาคารอย่างตระหนี่ขี้เหนียว เพียงเพื่อจะได้บอกตนเองว่าตนเองเป็นเศรษฐีเงินล้าน หรือทั้งวันใช้มือสัมผัสแต่ตัวเลขในบัญชี แบบนี้ก็ไม่แตกต่างอย่างไรกับคนจนคนหนึ่ง จะมีเงินมากมายก็ไม่มีความหมาย ไม่ได้ใช้เงินให้เกิดประโยชน์ ทั้งทำร้ายร่างกายจิตใจ แม้ว่าจะมีฐานะมั่นคงในสังคม ทรัพย์สมบัติในโลกใช้ได้เพียงแค่อยู่ในโลกเท่านั้น การนำมาใช้ให้สร้างสิ่งที่มีความหมาย จึงเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างบุญสร้างกุศล

ที่เราร่ำรวยก็เพราะเราเคยบริจาคทานในอดีตชาติมาก่อน พวกท่านโปรดจงเข้าใจ บุญกุศลคือสิ่งที่ได้ทำสะสมมา ไม่ใช่เสาะหาเอามา

คนเราไม่ลืมที่จะสะสมเงินทอง ก็ต้องไม่ลืมที่จะต้องสะสมบุญกุศลด้วย เงินทองกองเป็นภูเขา ใช้ไปก็หมดได้ แต่บุญกุศลนั้นไม่มีขอบเขตกำหนด ยิ่งทำยิ่งพอกพูนต่อเนื่องไม่มีที่สุด

ศัพท์ภาษาจีน คัมภีร์เต๋า

เต๋า ภาษาจีน

คัมภีร์ “ไท่สั้งเหล่าจฺวินซฺวอฉางชิงจิ้งจิง” 《太上老君说常清静经》

เป็นคัมภีร์ที่สำคัญคัมภีร์หนึ่งของศาสนาเต๋า เป็นคัมภีร์ที่อธิบายถึงสภาวะของเต๋าและสรรพสิ่ง คัมภีร์นี้เป็นคัมภีร์ของศาสนาเต๋านิกาย “เจิ้งอี” 《正一》เป็นคำสอนของไท่สั้งเหล่าจฺวิน 《太上老君说常清静经》

ไท้เสียงเหล่ากุง   ไท้ซังเหล่าจวิน :จีนกลาง   เจ้าสำนักศาสดาเต๋า อาจารย์ของเหล่าโป๊ยเซียนนั้น เดิมแซ่ลี้   李   ชื่อยื้อ   耳   มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์โจว   周朝     เมื่อประมาณ 4 พันกว่าปีก่อน   เกิดที่หมู่บ้านล่าย   瀨鄉   อำเภอขู่   苦縣   แคว้นฉู่   楚國  หรือ เล่าจื้อ   Lao tze   เป็นศาสดาของศาสนาเต๋า ซึ่งได้หล่อหลอมวิถีแห่งชีวิตและอัธยาศัยชาวจีนกว่า 2000 ปีมาแล้ว

  • 道 [dào]  เต๋า (ทาง)
  • 悟 [wù] รู้แจ้ง
  • 无 [wú] ไร้
  • 生 [shēng] เกิด
  • 寂 [jì] สงบ
  • 空 [kōng] ว่าง
  • 欲 [yù] ตัณหา
  • 静 [jìng] สงบ
  • 真 [zhēn] จริง
  • 性 [xìng] จิตแท้
  • 自性 [zì xìng] จิตเดิมแท้
  • 悟性 [wùxìng] การบรรลุธรรม หรือรู้แจ้งสภาวะความจริงสูงสุด
  • 空性 [kōng xìng] หลักสุญญตา, ความว่างปล่า
  • 得道 [dédào] บรรลุเต๋า (วิถีที่แท้จริง)
  • 清 [qīng] สะอาด
  • 清静 [qīng​jìng] สะอาดและสงบ
  • 传 [chuán] ถ่ายทอด
  • 圣道   [shèngdào] อริยมรรค (ทางศักดิ์สิทธิ์)
  • 圣   [shèng] ศักดิ์สิทธิ์
  • 众圣 [zhòngshèng] ทวยเทพ
  • 爭 [zhēng] วิวาท
  • 上士 [shàngshì] บุคคลระดับสูง, บัณฑิต, เบื้องบน
  • 下士 [xiàshì] บุคคลระดับล่าง, คนพาล, เบื้องล่าง
  • 德 [dé] คุณธรรม
  • 道德 [dào​dé] คุณธรรม
  • 明 [míng] แจ้งกระจ่าง
  • 无形 [wúxíng] ไร้รูป
  • 众生 [zhòngshēng] สรรพชีวิต
  • 观空亦空   [guānkōng yìkōng] มนสิการความว่างคือว่าง
  • 空无所空   [kōngwú suǒkōng] ความว่างหามีไม่
  • 所空既无   [suǒkōng jìwú] ความว่างก็คือไร้
  • 无无亦无   [wúwú yìwú] ไร้ไร้ก็คือไร้
  • 无无既无   [wúwú jìwú] ไร้ไร้ที่สุดแล้วก็คือไร้
  • 湛然常寂   [zhànrán chángjì] ย่อมเข้าถึงความสงบ
  • 寂无所寂   [jìwú suǒjì] สงบไร้สงบ
  • 欲豈能生   [yùqǐ néngshēng] ตัณหาจะเกิดได้ไฉน
  • 欲既不生   [yùjì bùshēng] เมื่อตัณหาไม่เกิด
  • 即是真静   [jíshì zhēnjìng] จึงเป็นความนิ่งที่แท้จริง
  • 真常应物   [zhēncháng yìngwù] จึงควรแก่การงาน
  • 真常得性   [zhēncháng déxìng] เข้าถึงจิตแท้
  • 常应常静   [chángyīng chángjìng] ควรแก่การงานและสงบมาก
  • 常清静矣   [chángqīng jìngyǐ] สะอาดและสงบแล้ว
  • 如此清静   เมื่อสะอาดและสงบเช่นนี้
  • 渐入真道   [jiànrù zhēndào] ย่อมเข้าถึงเต๋าที่แท้จริง
  • 既入真道   เหตุที่เข้าถึงเต๋า
  • 名为得道   จึงได้ชื่อว่าบรรลุเต๋า
  • 虽名得道   ที่ชื่อว่าบรรลุเต๋า
  • 实无所得   แท้จริงจะมีการบรรลุก็หาไม่
  • 为化众生   [wèihuà zhòngshēng] เพื่อสั่งสอนสรรพชีวิต
  • 名为得道   [míngwéi dédào] จึงได้บัญญติว่า “บรรลุเต๋า”
  • 能悟之者   ชนผู้รู้แจ้ง
  • 可传圣道   [kěchuán shèngdào] จักสามารถถ่ายทอดอริยมรรค
  • 上士无爭   [shàngshì wúzhēng] บัณฑิตไร้วิวาท
  • 下士好爭   [xiàshì hǎozhēng] คนพาลมักวิวาท
  • 上德不德   [shàngdé bùdé] ผู้ทรงคุณธรรมไร้คุณธรรม
  • 下德执德   ผู้ไร้คุณธรรมยึดถือธรรม
  • 执著之者   ผู้ยึดมั่นนั้น
  • 不明道德  [bùmíng dàodé] ไม่แจ้งในคุณธรรม
  • 众生所以不得真道者   สรรพชีวิตไม่แจ้งในเต๋าที่แท้จริง
  • 仙人葛翁曰   เซียนผู้เฒ่าแซ่ “เก๋อ”กล่าวว่า
  • 吾得真道   ข้าบรรลุเต๋า
  • 曾诵此经万遍   เหตุเพราะสวดสาธยายคัมภีร์นี้หมื่นจบ
  • 此经是天人所習   คัมภีร์นี้เป็นคัมภีร์ของเทพ
  • 不传下士   ไม่ถ่ายทอดสู่เบื้องล่าง
  • 吾昔受之于东华帝君   ข้าได้รับถ่ายทอดมาจาก “ตงหัวตี้จฺวิน”
  • 东华帝君受之于金阙帝君   “ตงหัวตี้จฺวิน”ได้รับมาจาก “จินเชฺว่ตี้จฺวิน”
  • 金阙帝君受之于西王母   “จินเชฺว่ตี้จฺวิน”ได้รับมากจาก “ซีหวางหมู่”
  • 西王一线乃口口相传   ถ่ายทอดกันปากต่อปาก
  • 不记文字   ไม่มีการจดบันทึก
  • 吾今于世   บัดนี้ข้า
  • 书而录之   ได้บันทึกไว้
  • 上士悟之   บุคคลระดับสูง
  • 升为天仙   จักบรรลุเป็นเซียน
  • 中士修之  บุคคลระดับกลาง
  • 南宮列官   จักได้เป็นขุนนางที่ตำหนักใต้
  • 下士得之   บุคคลระดับล่าง
  • 在世长年   เมื่อสิ้นชาตินี้
  • 遊行三界   จักท่องเที่ยวสามภพ
  • 升入金门   จึงเข้าสู่ประตูทอง
  • 左玄真人曰   “จฺว้อเสฺวียนเจินเหริน”กล่าวว่า
  • 学道之士   บัณฑิตผู้ศึกษาเต๋า
  • 持诵此经者   หมั่นสวดสาธยายคัมภีร์นี้
  • 即得十天善神   จักมีเทพทั้งสิบชั้นฟ้า
  • 拥护其身   คอยปกปักษ์อารักษ์
  • 然后玉符保神   จากนั้นยันต์หยกคุ้มจิต
  • 金液炼形   ฝึกขั้น จินเย่
  • 形神俱妙   ดวงจิตบรรลุ
  • 与道合真   เป็นหนึ่งกับเต๋า
  • 正乙真人曰   “เจิ้งอี่เจินเหริน”กล่าวว่า   :
  • 人家有此经   ชนใดมีคัมภีร์นี้
  • 悟解之者   จักเป็นผู้รู้แจ้ง
  • 灾障不干   ภยันตรายไม่อาจแผ้วพาน
  • 众圣护门   [zhòngshèng hùmén] ทวยเทพคุ้มครอง
  • 神升上界   จิตสู่เบื้องบน
  • 朝拜高真   กราบไหว้เป็นจริง
  • 功滿德就   กุศลบริบูรณ์
  • 相感帝君   ได้พบ “ตี้จฺวิน”
  • 诵持不退   สวดสาธยายมิรู้คลาย
  • 身腾紫云   กายขี่เมฆม่วง
  • 大道无形   เต๋าไร้รูป
  • 生育天地   กำเนิดฟ้าดิน
  • 大道无情   เต๋าไร้จิต
  • 运行曰月   ขับเคลื่อนสุริยันจันทรา
  • 大道无名   เต๋าไร้นาม
  • 长养万物   หล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง
  • 吾不知其名強名曰道   ข้าไม่รู้จะเรียกสิ่งใด จึงขนานนามว่า “เต๋า”
  • 夫 道者   อันเต๋านั้น   :
  • 有清有浊   มีสะอาด, มีสกปรก
  • 有动有静   มีเคลื่อน, มีนิ่ง
  • 天清地浊   ฟ้าสะอาด, ดินสกปรก
  • 天动地静   ฟ้าเคลื่อน, ดินนิ่ง
  • 男清女浊   ชายสะอาด, หญิงสกปรก
  • 男动女静   ชายเคลื่อน, หญิงนิ่ง
  • 降本流末   ไหลเวียนเปลี่ยนผัน
  • 而生万物   ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง
  • 清者浊之源   สะอาดมีสกปรกเป็นราก
  • 动者静之基   เคลื่อนมีนิ่งเป็นฐาน
  • 人能常清静   มนุษย์สามารถสะอาดและนิ่ง
  • 天地悉皆歸   ฟ้าดินรวมกลับคืน

วรรคนี้นั้นท่านอธิบายของสภาวะธาตุทั้ง 2 คือ “หยาง” 《阳》 และ “อิน” 《阴》 ธาตุทั้ง 2 นี้ ไม่ใช่เต๋า หาก แต่เต๋าได้ให้กำเนิดธาตุทั้ง 2 ขึ้นโดยแยกออกมาจากเต๋า โดยธรรมชาติของธาตุทั้ง 2 นั้น ธาตุหยางมีลักษณะเคลื่อนไหว, แข็งกร้าว, หยาบ, ร้อน, ลอย, สะอาด ฯลฯ ส่วนธาตุอินมีลักษณะนิ่ง, อ่อน, ละเอียด,เย็น,จม, สกปรก ฯลฯ ธาตุทั้ง 2 นี้มีลักษณะตรงกันข้าม   ปฏิปักขธรรม   แม้จะอยู่ตรงกันข้ามแต่ไม่อาจแยกออกจากกัน เมื่อธาตุทั้ง 2 ทำปฏิกิริยา เชิงสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ต่อกันและก่อให้เกิดสรรพสิ่ง โดยภาวะเชิงสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวนี้มีความหลายนัยยะต่างๆ จึงก่อให้เกิดความหลากหลายในสรรพสิ่ง   ทั้งที่มีและไม่มีชีวิต   ทั้งนี้ที่กล่าวว่าชายสะอาดหญิงสกปรกนั้น ไม่ใช่การเหยียดหยามทางเพศ หากแต่เป็นการอธิบายถึงลักษณะของธาตุทั้ง 2 โดยคำว่า “ชาย”นั้นหมายถึงลักษณะแข็งกร้าวของธาตุหยางซึ่งมีลักษณะเหมือนเพศชาย และคำว่า “หญิง”นั้นหมายถึงลักษณะอ่อนโยนของธาตุอินซึ่งมีลักษณะเหมือนเพศหญิง ต่อมาท่านอธิบายว่า หากจิตของมนุษย์สะอาด   หยาง   และนิ่ง   อิน   โดยวลีที่ว่า “ฟ้า   หยาง   ดิน   อิน   รวมกลับคืน” หมายถึง เมื่อหยางและอินรวมเป็นหนึ่ง ก็จะคืนสู่สภาวะเดิมคือ “เต๋า”ซึ่งก็หมายถึงการหลุดพ้นออกจากวัฏฏะสงสารนั่นเอง

  • 夫人神好清   ใจมนุษย์นั้นสะอาด
  • 而心扰之   แต่กลับวุ่นวาย
  • 人心好静   ใจมนุษย์สงบ
  • 而欲牵之   แต่ตัณหาชักพา
  • 常能遣其欲   สามารถกำจัดตัณหาทั้งปวงได้
  • 而心自静   ใจย่อมสงบ
  • 澄其心   เมื่อใจสะอาด
  • 而神自清   จิตย่อมสะอาด
  • 自然六欲不生   เมื่อนั้นตัณหาย่อมไม่เกิด
  • 三毒消灭   พิษทั้ง 3 ย่อมสูญสลาย
  • 所以不能者   ชนผู้ไม่สามารถ
  • 为心未澄   ชำระจิตให้สะอาด
  • 欲未遣也   แสดงว่าตัณหายังไม่ถูกกำจัด
    วรรคนี้ท่านอธิบายว่าแต่เดิมจิต มนุษย์นั้นเป็นหนึ่งเดียวกับเต๋า กล่าวคือสะอาด   หยาง   และ สงบ   นิ่ง   รวมเป็นหนึ่ง แต่ ถูกตัณหาชักพาให้วุ่นวาย และไม่สงบ กล่าวคือ แยกเป็นเป็นหยางและอิน   แต่ไม่แยกออกจากกันเพราะแยกออกจากกันไม่ได้   การพ้นจากวัฏฏะนั้นไม่ใช่การที่เราจะทำให้ใจสะอาดและสงบ หากแต่อยู่ที่การกำจัดตัณหา เมื่อสิ้นตัณหา ธรรมชาติของจิต ย่อมจักหวนคืนสู่สภาพเดิมคือสะอาดและสงบโดยธรรมชาติโดยที่ไม่ต้องทำอะไร และเมื่อนั้นพิษทั้ง 3 ย่อมสูญสลายไปเอง   พิษทั้ง 3 หมายถึงอกุศลเหตุ 3 คือ โลภะ, โทสะ และโมหะ
  • 能遣之者   ชนผู้สามารถกำจัดตัณหาได้
  • 內观其心   เมื่อมนสิการภายใน
  • 心无其心   ย่อมแจ้งว่าไร้จิต
  • 外观其形   เมื่อมนสิการภายนอก
  • 形无其形   ย่อมแจ้งว่าไร้รูป
  • 远观其物   เมื่อมนสิการสรรพสิ่ง
  • 物无其物   ย่อมแจ้งว่าไร้ซึ่งสรรพสิ่ง
  • 三者既无   เมื่อแจ้งว่าสรรพสิ่งไร้
  • 唯见于空   ดังนี้แล ชื่อว่าแจ้งในสุญญตา
    บทว่า “ชนผู้สามารถกำจัดตัณหาได้ เมื่อมนสิการภายใน ย่อมแจ้งว่าไร้จิต เมื่อมนสิการภายนอก ย่อมแจ้งว่าไร้รูป เมื่อมนสิการสรรพสิ่ง ย่อมแจ้งว่าไร้ซึ่งสรรพสิ่ง เมื่อแจ้งว่าสรรพสิ่งไร้ดังนี้แล ชื่อว่าแจ้งในสุญญตา” ท่านหมายเอา เมื่อประหารแล้วซึ่งตัณหาได้ เมื่อพิจารณาลงในสภาวธรรม ย่อมรู้ชัดว่า รูปและนาม   จิต   ไม่มีอยู่จริง   ไร้   เป็นเพียงมายาภาพที่คนที่มีอุปาทานสำคัญผิดไปว่ามีอยู่จริง เมื่อว่ารูปและนามไม่มีอยู่จริงแล้วย่อมไม่มีซึ่งสรรพสิ่ง เหตุใดถึงกล่าวว่ารูปและนามไม่มีอยู่จริง ดังที่กล่าวแล้วว่าไม่มีในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าสิ่งไรๆก็ไม่มี หรือขาดสูญ หากแต่ไม่มีจากอัตตาที่จะดำรงอยู่ได้ เป็นเพียงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมกันแล้วบังเกิดขึ้น เมื่อสิ้นปัจจัยแล้วย่อมแตกดับไป หาได้มีสิ่งใดเป็นเที่ยงแท้ยั่งยืน และยิ่งไม่มีสิ่งใดที่เป็นเกิดขึ้นตั้งอยู่เป็นอิสระธรรม คือความเป็นใหญ่โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย และเหตุปัจจัยทั้งปวงต่างก็เกิดขึ้น, ตั้งอยู่,ดับไป หมุนเวียนเปลี่ยนผันไป เมื่อรู้ชัดดังนี้จึงชื่อว่า “สุญญตา”   ความว่าง   ในส่วนนี้ท่านอธิบายแบบเหตุไปหาผล และผลไปหาเหตุ กล่าวคือ เมื่อกำจัดสิ้นซึ่งตัณหา   เหตุ   ย่อมแจ้งในสุญญตา   ผล   และ ที่แจ้งในสุญญตา   ผล   เพราะ กำจัดแล้วซึ่งตัณหา   เหตุ
  • 观空亦空   มนสิการความว่างคือว่าง
  • 空无所空   ความว่างหามีไม่
  • 所空既无   ความว่างก็คือไร้
  • 无无亦无   ไร้ไร้ก็คือไร้
  • 无无既无   ไร้ไร้ที่สุดแล้วก็คือไร้
  • 湛然常寂   ย่อมเข้าถึงความสงบ
  • 寂无所寂   สงบไร้สงบ
  • 欲豈能生   ตัณหาจะเกิดได้ไฉน
  • 欲既不生   เมื่อตัณหาไม่เกิด
  • 即是真静   จึงเป็นความนิ่งที่แท้จริง
  • 真常應物   จึงควรแก่การงาน
  • 真常得性   เข้าถึงจิตแท้
  • 常應常静   ควรแก่การงานและสงบมาก
  • 常清静矣   สะอาดและสงบแล้ว
  • 如此清静   เมื่อสะอาดและสงบเช่นนี้
  • 渐入真道   ย่อมเข้าถึงเต๋าที่แท้จริง
  • 既入真道   เหตุที่เข้าถึงเต๋า
  • 名为得道   จึงได้ชื่อว่าบรรลุเต๋า
  • 虽名得道   ที่ชื่อว่าบรรลุเต๋า
  • 实无所得   แท้จริงจะมีการบรรลุก็หาไม่
  • 为化众生   เพื่อสั่งสอนสรรพชีวิต
  • 名为得道   จึงได้บัญญัติว่า “บรรลุเต๋า”
  • 能悟之者   ชนผู้รู้แจ้ง
  • 可传圣道   จักสามารถถ่ายทอดอริยมรรค  。

บทว่า “มนสิการว่าความว่างคือว่าง” ท่านอธิบายว่า ภาวะที่มนสิการแจ้งว่าสรรพสิ่งล้วนเป็นความว่างนั้น ก็เป็นความว่าง กล่าวคือจะได้มีอัตตา   ตัวตน   ที่จะพิจารณาก็หาไม่ ทั้งนี้เพราะมีบางคนคิดว่า เมื่อมีการแจ้งภาวะสุญญตา ย่อมมีตัวตนที่รู้แจ้งในสุญญตา ซึ่งแท้ที่จริง สุญญตาคือความว่าง เมื่อว่างจากตัวตนย่อมไม่มีการดำรงอยู่ ท่านจึงแสดงว่า “ความว่าง   สุญญตา   คือความไร้   ไม่มี  ” เมื่อไม่มีแล้วจึงไม่มีความว่างให้รู้แจ้ง, ไม่มีผู้รู้แจ้ง, ไม่มีภาวะแห่งการรู้แจ้ง ด้วยนัยยะดังกล่าวนี้จึงไม่มีซึ่งความสงบ ไม่มีทั้งรูปและจิต   นาม   ย่อมไม่มีตัณหาให้เกิด จึงเป็นความนิ่งและสงบที่แท้จริง เป็นความนิ่งและสงบ ที่ไม่ได้นิ่งและสงบจากอุปาทาน, อัตตา และสิ่งสมมุติ เป็นความสงบที่แท้จริงพ้นแล้วจากเหตุปัจจัยทั้งปวง ต่อมาท่านแสดงว่า “เหตุที่เข้าถึงเต๋า จึงได้ชื่อว่าบรรลุเต๋า แท้จริงจะมีการมีบรรลุก็หาไม่ เพื่อสั่งสอนสรรพชีวิต จึงได้บัญญัติว่าบรรลุเต๋า” ดังที่กล่าวเบื้องต้นว่า ธรรมทั้งปวง   ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม   คือความว่าง   สุญญตา   ดังนี้แล้วย่อมไร้แล้วซึ่งความว่างให้รู้แจ้ง, ไร้แล้วซึ่งผู้รู้แจ้ง, ไร้แล้วซึ่งภาวะแห่งการรู้แจ้ง แต่เพื่อสั่งสอนสรรพชีวิตจึงได้บัญญัติคำว่า “บรรลุเต๋า”   บรรลุธรรม   ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจต่อผู้ศึกษาธรรมด้วยเหตุผลทางด้านการสื่อสารและทำความ เข้าใจ

  • 上士无爭   บัณฑิตไร้วิวาท
  • 下士好爭   คนพาลมักวิวาท
  • 上德不德   ผู้ทรงคุณธรรมไร้คุณธรรม
  • 下德执德   ผู้ไร้คุณธรรมยึดถือธรรม
  • 执著之者   ผู้ยึดมั่นนั้น
  • 不明道德   ไม่แจ้งในคุณธรรม
    ธรรมชาติของบัณฑิต ย่อมเป็นผู้ให้ประโยชน์และเป็นมิตรต่อคนทุกฝ่าย ซึ่งตรงข้ามกับคนพาลที่เอาความคิด, ความเห็น, ความต้องการเป็นหลักจนนำไปสู่การวิวาท และความขัดแย้งนานาประการ ในกรณีที่รุนแรงอาจนำไปสู่การประหัตประหารทำลายซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงแสดงว่า “บัณฑิตไร้วิวาท คนพาลมักวิวาท” ต่อมาท่านแสดงว่า “ผู้ทรงคุณธรรมไร้คุณธรรม ผู้ไร้คุณธรรมยึดถือธรรม ผู้ยึดมั่นนั้น ไม่แจ้งในคุณธรรม” ทังนี้เพราะเมื่อบัณฑิตพิจารณาธรรมทั้งปวงว่าเป็นสุญญตา ย่อมแจ้งชัดว่าไร้ซึ่งแก่นสารแห่งการยึดถือ ย่อมคลายความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง อุปมาดังชนผู้ข้ามทะเลแห่งทุกข์ ย่อมจักต้องอาศัยพาหนะหรือเรือแห่งธรรม และเมื่อถึงฝั่งแล้วย่อมจักต้องละทิ้งซึ่งเรือหรือธรรม ว่าหากยังยึดมั่นในธรรมย่อมจักไม่อาจขึ้นฝั่งคือการพ้นจากทะเลแห่งทุกข์ อนึ่งชนผู้ทรงคุณธรรมนั้น มีคุณธรรมเป็นปกติวิสัย จะยึดมั่นว่าตนเป็นผู้ทรงธรรม ตนจักประพฤติคุณธรรมก็หาไม่ ตรงกันข้ามกับบุคคลที่ไร้คุณธรรม จะทำการไรไรก็อ้างคุณธรรม เน้นที่รูปแบบวิธีการปฏิบัติมากกว่าเนื้อหาสาระ มักคิดว่าตนเป็นคนดี ตนจักทำความดี และมักตั้งคำถามว่า เหตุใดทำดีแล้วไม่ได้ดี ซึ่งการตั้งคำถามลักษณะนี้ เป็นการทำดีเพื่อหวังผล เป็นการทำดีเพียงแค่เปลือก    ซึ่งต่างกับผู้ทรงคุณธรรม ที่ทำความดีโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน และทำดีต่อไปแม้จะถูกทำร้าย และเอารัดเอาเปรียบ เพราะความดีคือการให้ ไม่ใช่การได้   เขาเหล่านั้นไม่รู้ว่าคุณธรรมที่แท้จริงเป็นอย่างไร จึงเป็นผู้ไร้คุณธรรมที่แท้จริง ดังที่ท่านแสดงว่า “ผู้ทรงคุณธรรมไร้คุณธรรม ผู้ไร้คุณธรรมยึดถือธรรม ผู้ยึดมั่นนั้น ไม่แจ้งในคุณธรรม”

 

  • 众生所以不得真道者   สรรพชีวิตไม่แจ้งในเต๋าที่แท้จริง
  • 为有妄心   จึงมีอุปาทาน
  • 既有妄心   เพราะมีอุปาทาน
  • 即惊其神   จึงมีความกลัว
  • 既惊其神   เมื่อมีความกลัว
  • 即著万物   จึงมีสรรพสิ่ง
  • 既著万物   เมื่อมีสรรพสิ่ง
  • 即生贪求   จึงมีความโลภ
  • 既生贪求   เมื่อมีความโลภ
  • 即是烦恼   ก็คือความทุกข์
  • 烦恼妄想   ความทุกข์, อุปาทาน
  • 忧苦身心   ทุกข์กายและใจ
  • 便遭浊辱   พบกับความสกปรกแลเหยียดหยาม
  • 流浪生死   เวียนว่ายเกิดตาย
  • 常沉苦海   จมอยู่ในทะเลทุกข์
  • 永失真道   สูญเสียเต๋าที่แท้จริง
  • 真常之道   เต๋าที่แท้จริงนั้น
  • 悟者自得   ผู้รู้แจ้งจักบรรลุได้เอง
  • 得悟道者   ผู้บรรลุเต๋านั้น
  • 常清静矣   บริสุทธิ์และสงบยิ่งนัก  !
    วรรคนี้ท่านอธิบายว่า สรรพชีวิตไม่แจ้งในเต๋าจึงเกิดอุปาทาน, ความกลัว ตลอดจนถึงการมีอยู่ของสรรพสิ่ง และการเวียนว่ายตายเกิดตามลำดับ ซึ่งคำว่า “จึงมีสรรพสิ่ง” นั้น ท่านหมายว่า เมื่อไม่แจ้งเต๋าจึงมีอุปาทาน เมื่อมีอุปาทานคือความสำคัญผิดว่ามีตัวตน จึงทำให้สำคัญผิดว่ามีสรรพสิ่ง   ตลอดจนถึงการมีอยู่ของสรรพชีวิต   ซึ่งแท้จริงแล้วหามีอยู่ไม่ เมื่อสำคัญผิดว่ามีจึงยึดมั่นถือมั่น, เกิดโลภ, โกรธ และหลง ด้วยเหตุนี้จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดมิรู้สิ้น จนต่อเมื่อรู้แจ้งในเต๋า   คือสภาวธรรมว่าว่างเปล่าหาอัตตาตัวตนมิได้   ก็จะพ้นจากอุปาทานทั้งปวง หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เป็นความบริสุทธิ์   วิสุทธิ   และ สงบ   สันติ   ที่แท้จริง

ใน อวสานแห่งคัมภีร์ “ไท่สั้งเหล่าจฺวินซฺวอฉางชิงจิ้งจิง” 《太上老君说常清静经》 ได้ปรากฏซึ่งคำกล่าวของเทพปรมาจารย์ทั้ง 3 โดยหนึ่งในนั้นคือ “เก๋อเทียนซือ” 《葛天师》 ผู้รจนาคัมภีร์นี้ คำกล่าวของเทพปรมาจารย์ทั้ง 3 นั้น แสดงถึงผลานิสงส์แห่งการสวดสาธยายคัมภีร์นี้ ทั้งนี้ด้วยเหตุ 2 ประการคือ เพื่อให้คัมภีร์นี้ได้รับการเผยแพร่สืบทอดต่อไป และเมื่อผู้สวดสาธยายสวดไปมากๆก็จะมีการตรึกในอรรถและพยัญชนะ เมื่อนานเวลาผ่านไปนานขึ้นการสาธยายบ่อยก็ได้ความคิดและมุมมองที่ชัดเจนมาก ขึ้น และในบัณฑิตที่มีปัญญาย่อมจักบรรลุธรรมได้ในที่สุด โดย ในคำกล่าวของเทพปรมาจารย์ทั้ง 3 มีบางคำที่เป็นศัพท์เฉพาะทางในการปฏิบัติสมาธิของศาสนาเต๋าซึ่งคนที่ไม่เคย ศึกษาในด้านนี้อาจจะไม่ค่อยเข้าใจเท่าใดนัก
คัมภีร์ “ไท่สั้งเหล่าจฺวินซฺวอฉางชิงจิ้งจิง” 《太上老君说常清静经》 พร้อมทั้งอรรถาธิบายก็อวสานลงแต่เพียงนี้ ที่สุดนี้ขอสรรพชีวิตทั้งปวงจงเป็นผู้นิรทุกข์ พบกับสุขอันเกิดจากวิสุทธิและสันติภาวะ ตามนัยคัมภีร์ “ไท่สั้งเหล่าจฺวินซฺวอฉางชิงจิ้งจิง” 《太上老君说常清静经》นี้ด้วยกันทุกท่านเทอญ……….

อ้างอิงจาก : https://daosanqing.spaces.live.com

 

หมู่บ้านจีนในไทย “ดอยวาวี” เรียนจีนบนดอย แต่คุณภาพระดับพื้นราบ

ดอยกาดผี เชียงราย

คลิปวีดีโอท่องเที่ยว ดอยกากผี (แหล่งท่องเที่ยวใกล้ดอยวาวี)

เรียนจีนบนดอย แต่คุณภาพระดับพื้นราบ

โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ เอกรัตน์ บรรเลง
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( ตุลาคม 2552)

“เหล่าซือห่าว…”

เสียงเจื้อยแจ้วลอยคละเคล้ากับสายหมอกยามเช้าบนยอดดอยวาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นเหมือนเสียงนาฬิกาปลุก ที่คนพื้นถิ่นคุ้นเคยมานานกว่า 50 ปี

โดยเฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ที่ลูกหลานสมาชิกกองพล 93 แห่งก๊กมินตั๋งในอดีต จะตื่นกันตั้งแต่เช้าตรู่ก่อน 05.30 น. เพื่อเข้าเรียนภาษาจีนที่โรงเรียนกวงฟูวิทยาคม โรงเรียนสอนภาษาจีนที่ก่อตั้งมานานเกือบ 60 ปี บนพื้นที่เชิงเขาสูงของดอยวาวีแห่งนี้

พวกเขาและเธอเหล่านี้สมัครใจที่จะเข้ามาเรียนภาษาจีนที่นี่จนถึง 6.50 น. ก่อนจะกลับไปเปลี่ยนชุดนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนสามัญตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการในเวลา 08.00-16.00 น. และกลับมาที่โรงเรียนกวงฟูอีกรอบในเวลา 17.30-20.30 น.

ส่วนวันเสาร์ เด็กๆ เหล่านี้จะงดกิจกรรมเที่ยวเล่นเพื่อเข้าห้องเรียนภาษาจีน ตั้งแต่ 08.00-15.00 น.

ทำให้รอบสัปดาห์ เด็กนักเรียนบนดอยวาวีจะมีเวลาเที่ยวเล่น-ทำกิจกรรมเหมือนเด็กทั่วไป เฉพาะวันอาทิตย์วันเดียวเท่านั้น

อำนวย ภักดีไพศาล หรือเหยิน เซียะ ชิง อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกวงฟูวิทยาคม ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย บอกกับผู้จัดการ 360 ํ ว่าลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนบนดอยวาวี จะถูกส่งมาเรียนภาษาจีนที่นี่ บางส่วนก็จะมีชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่เริ่มเห็นความสำคัญของภาษาจีนมาร่วมเรียนด้วย

โรงเรียนกวงฟูวิทยาคมเป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวง ศึกษาธิการ อยู่ในกำกับของ สพท.เขต 2 เชียงราย เปิดสอนภาษาจีนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของไต้หวันทั้งหมด

เป็น 1 ใน 100 กว่าโรงเรียนสอนภาษาจีนในภาคเหนือตอนบน ที่เครือข่ายกองพล 93 ในอดีตก่อตั้งขึ้นตามถิ่นฐานที่อยู่ และได้รับอนุญาตจากทางการไทย โดยในเขตเชียงรายมีอยู่ 62 โรง, เชียงใหม่ 36 โรง และแม่ฮ่องสอน อีก 5-6 โรงเรียน

แต่ละปีกระทรวงศึกษาธิการของไต้หวันจะให้การสนับสนุนเรื่องหนังสือ-ตำรา เรียนภาษาจีนให้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีเงินทุนจากองค์กรการกุศลต่างๆ อีกไม่น้อยกว่าปีละ 100 ล้านบาท เข้ามาช่วยอีกทางหนึ่ง เนื่องจากโรงเรียนสอนภาษาจีนเหล่านี้ไม่ได้รับงบประมาณรายหัวจากกระทรวง ศึกษาธิการของไทย ทำให้โรงเรียนเหล่านี้ต้องอาศัยเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ เพื่อให้สามารถจัดเก็บค่าเล่าเรียนได้ในราคาต่ำ เฉลี่ยปีละประมาณ 1-3 พันบาทต่อคน

โดยโรงเรียนสอนภาษาจีนในเครือข่ายกองพล 93 ที่รับการสนับสนุนจากไต้หวันเหล่านี้ ก็จะใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของไต้หวัน ที่เรียนภาษาจีนกลางตามแบบอักษรเต็ม

ที่มีมากกว่า 30,000 ตัว แตกต่างจากการเรียนภาษาจีนตามแบบแผ่นดินใหญ่ หรือปักกิ่ง ที่ปัจจุบันจะใช้ตัวย่อประมาณ 2,300 กว่าตัวเข้ามาใช้

เหยิน เซียะซิง ย้ำว่าการเรียนภาษาจีนตามแบบอักษรดั้งเดิม หรือเต็มรูปแบบจะทำให้สามารถอ่านตัวย่อของจีนแผ่นดินใหญ่ได้ด้วย นอกจากนี้อักษรตัวเต็มยังมีพลัง และถ่ายทอดศิลปะที่สืบทอดกันมานานหลายพันปีได้ดีกว่าด้วย

เฉพาะสำหรับโรงเรียนกวงฟูฯ ดูเหมือนจะพัฒนาไปได้เร็วกว่าโรงเรียนสอนภาษาจีนในเครือข่ายกองพล 93 อื่นๆ เมื่อได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณเพิ่มเติมจากมูลนิธิมหาโพธิ์ ที่มีพระอาจารย์ปัญญาแห่งสภาสงฆ์จีนโลก ซึ่งได้รับสัญชาติไทยแล้ว

ทำให้กวงฟูฯ สามารถขยับขยายจากอาคารที่เป็นกระต๊อบ มุงจาก จนซื้อกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองได้ สร้างอาคารถาวรเต็มพื้นที่เชิงเขาติดชุมชนวาวี และเข้าเงื่อนไขขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนที่จะยื่นขอ Work Permit ให้กับครูอาสาจากไต้หวัน มาสอนที่โรงเรียนได้โดยตรง เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนในสังกัดได้

จนถึงปัจจุบันโรงเรียนกวงฟูวิทยาคมมีนักเรียนมากกว่า 2 พันคน มีครูทั้งที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน-ครูอาสาจากไต้หวัน รวม 40 กว่าคน

ไม่เพียงเท่านั้นกวงฟูวิทยาคม ยังเปิดหลักสูตรเรียนภาษาจีนภาคฤดูร้อน รองรับกระแสความต้องการเรียนภาษาจีนในไทยที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1-30 เมษายนของทุกปี โดยเปิดสอนภาษาให้กับคนทั่วไป ในราคาคนละ 8,000 บาท (รวมค่าที่พัก-อาหาร)

อำนวยรับรองว่า 1 เดือนเต็มนี้ โรงเรียนสามารถสอนให้ผู้เรียนพูด อ่าน เขียนภาษาจีนได้อย่างแน่นอน โดยตลอดทั้งวันทั้งคืนของวันจันทร์-เสาร์ จะพูดกันแต่ภาษาจีน ส่วนวันอาทิตย์ โรงเรียนจะจัดโปรแกรมทัศนศึกษานอกสถานที่ให้

“6 ปีที่เปิดคอร์สภาคฤดูร้อน มีผู้สนใจมาเรียนจากทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากภูเก็ต กรุงเทพฯ ขอนแก่น ฯลฯ บางคนมีอายุ 70 กว่าปีก็เข้ามาเรียน เพื่อนำกลับไปใช้ติดต่อค้าขายกับชาวจีนที่มีอยู่ทั่วโลก”

แตกต่างจากโรงเรียนสอนภาษาจีนเครือข่ายกองพล 93 อื่นๆ เช่น โรงเรียนซิงหัว ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง ที่มีหยาง เผิงเสี้ยว หรือสมพงษ์ ชีวินวนตระกูล เป็นอาจารย์ใหญ่

หยาง เผิงเสี้ยว บอกกับผู้จัดการ 360 ํ ผ่านชิง เหวินฉุ่ย (วรรณา แซ่จัง) ที่มาทำหน้าที่ล่าม ว่าซิงหัวก่อตั้งมาแล้ว 45 ปี โดยนายพลต้วน ซีเหวิน บนที่ดินส่วนหนึ่งของสุสานชาวจีนบนดอยแม่สลอง เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนเรียนรู้ภาษาบรรพบุรุษ จะได้ติดต่อสื่อสารกันได้

ซึ่งยุคแรกก็เป็นเหมือนโรงเรียนสอนภาษาจีนทุกแห่งในไทยที่ถูกกดดันจาก เจ้าหน้าที่รัฐ จนหลายครั้งต้องหลบไปสอนกันในศาลเจ้า วัด หรือมัสยิด ฯลฯ

แต่หลังจากลูกหลานกองพล 93 ได้รับการช่วยเหลือจากเครือข่ายก๊กมินตั๋งในต้หวัน ทั้งด้านการศึกษาต่อในไต้หวัน และงบประมาณสนับสนุนอื่นๆ รวมถึงความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อปี 2521 (ค.ศ.1978) ทำให้โรงเรียนสอนภาษาจีนพลิกฟื้นสถานะขึ้นมาได้มากขึ้น

นอกจากนี้บรรดาศิษย์เก่าที่เข้าไปมีบทบาททางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ต่างก็กลับมาให้การสนับสนุน ทั้งนายกสมาคมหยุนหนัน-ไทย และอดีตนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ ที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนซิงหัวกับเขา เป็นต้น ทำให้แต่ละโรงเรียนเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาจีนให้ดียิ่งขึ้น โดยในปี 2525 เคยมีนักเรียนมากที่สุดถึง 1,500 คน

ส่วนวรรณาที่เป็นล่าม เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนซิงหัวคนหนึ่ง ที่ได้แสดงความสามารถด้านภาษาจีนจนเรียนจบมหาวิทยาลัยรามคำแหง เอกภาษาจีนได้ภายใน 2 ปีครึ่ง

ปัจจุบันโรงเรียนซิงหัว มีนักเรียน 550 คน เรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีครูเพียง 12 คน ทั้งที่จริงต้องมีไม่น้อยกว่า 18 คน แถมปีที่แล้วโรงเรียนซิงหัวยังต้องเสียครูสอนภาษาจีนจากพม่าและอื่นๆ ถึง 4 คน ด้วยปัจจัยหลายอย่างทั้งเรื่องที่พัก-ใบอนุญาตทำงาน รวมถึงแหล่งจ้างงานที่อื่นที่ดีกว่า

อำนวย ภักดีไพศาล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกวงฟูวิทยาคม และสมพงษ์ ชีวินวนตระกูล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนซิงหัว บอกในทำนองเดียวกันว่า จีนแผ่นดินใหญ่เคยส่งเจ้าหน้าที่มาหารือหลายครั้ง พร้อมกับยื่นข้อเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งเรื่องทุน-อุปกรณ์การเรียน การสอน-หนังสือ แก่โรงเรียนในเครือข่าย 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน จำนวน 100 กว่าโรง ภายใต้เงื่อนไขให้ใช้หลักสูตรของจีนแผ่นดินใหญ่

“เราปฏิเสธไป เพราะใช้หลักสูตรไต้หวันสอนมานานแล้ว”

อย่างไรก็ตาม อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสอนภาษาจีนทั้ง 2 แห่งสะท้อนความเป็นไปของการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ขณะนี้ ถือว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มีโรงเรียนสอนภาษาจีนมากกว่า 2,000 โรง รวมถึงบราซิล กลุ่มประเทศแอฟริกาใต้ และเกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ ที่นิยมเรียนภาษาจีนกันมากขึ้น ขณะที่ไทยทั้งประเทศขณะนี้มีอยู่ 500 กว่าโรงเท่านั้น

“ตอนประชุมตัวแทนโรงเรียนจีนทั่วโลกที่ไทเปไม่กี่ปีก่อน ผมต้องยกมือหลายครั้งกว่าจะได้สิทธิ์แสดงความเห็น เพราะไม่ทันตัวแทนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่เดินทางมาร่วมประชุมกันหลายพันคน” เหยิน เซียะซิง หรืออำนวย แห่งโรงเรียนกวงฟูฯ กล่าว

เหยิน เซียะ ซิง ย้ำว่า ตอนนี้รัฐบาลไทยต้องการสนับสนุนให้มีการเรียนภาษาจีนมากขึ้น แต่ดูเหมือนจะช้าไป เมื่อเทียบกับกระแสความตื่นตัวเรื่องนี้ในหลายประเทศทั่วโลก


การเรียนพิเศษภาษาจีนกลางภาคฤดูร้อน-หนาว
เนื่องจากทางโรงเรียนได้เห็นความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญกับภาษาจีน
จึง ได้จัดการสอนพิเศษภาคฤดูร้อน-หนาวขึ้น หลักสูตรที่ทำการสอนเป็นหลักสูตรจีนกลางไต้หวัน(ภาษาจีนตัวเต็ม) ในวันที่ ๑ เมษายน ถึง ๓๐ เมษายน ของทุกปี และ
ภาคฤดูหนาว ในวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ ตุลาคม ของทุกปี
รับสมัครนักเรียนที่มีอายุ ๑๐ ปีขึ้นไป และจัดสอนตามความตามระดับของแต่ละบุคคล
ทั้งบุคคลที่ไม่มีพื้นฐาน บุคคลที่มีพื้นฐาน บุคคลที่เคยเรียนมาก่อน

วิชาที่เปิดสอนในภาคฤดูร้อน-หนาวมีดังนี้ :
1.สนทนาภาษาจีนกลาง การออกเสียงภาษาจีนกลาง
2.สุภาษิตจีน
3.กลอนสุภาพจีน
4.การเขียนภาษาจีน
5.การร้องเพลงภาษาจีน
เนื่องจากนักเรียน นักศึกษาที่เข้าเรียนมีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน
ทางโรงเรียนจึงได้เปิดสอนเป็นระดับที่ต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ดังนี้

高級班 ระดับสูง

1、 五百字說華語 สนทนาภาษาจีนกลาง๕๐๐คำ
2、 注音(拼音)จู้ยิน(พินยิน)
3、 成語(謎語、諺語)สุภาษิตจีน
4、 唐詩 กลอนสุภาพจีน
5、 華語(閱讀、造句、日記)ภาษาจีนกลาง(การอ่าน แต่งประโยค บันทึกประจำวัน)
6、 歌唱 ร้องเพลงจีน
7、 戶外教學 กิจกรรมการเรียนนอกห้องเรียน

中級班 ระดับกลาง

1、五百字說華語 สนทนาภาษาจีนกลาง๕๐๐คำ
2、 注音(拼音)จู้ยิน(พินยิน)
3、 成語(謎語、諺語)สุภาษิตจีน
4、 唐詩 กลอนสุภาพจีน
5、 華語(閱讀、筆順、造句)ภาษาจีนกลาง(การอ่าน แต่งประโยค บันทึกประจำวัน)
6、 歌唱 ร้องเพลงจีน
7、 戶外教學 กิจกรรมการเรียนนอกห้องเรียน

初級班 ระดับต้น

1、五百字說華語 สนทนาภาษาจีนกลาง๕๐๐คำ
2、 注音(拼音)จู้ยิน(พินยิน)
3、 日常用語 สุภาษิตจีน
4、 華語(閱讀、筆順、造句)ภาษาจีนกลาง(การอ่าน แต่งประโยค บันทึกประจำวัน)
5、 歌唱 ร้องเพลงจีน
6、 戶外教學 กิจกรรมการเรียนนอกห้องเรียน
7、 唐詩 กลอนสุภาพจีน

เวลาเรียน
จันทร์-เสาร์ 9.00 น. – 16.00 น.
วันเสาร์ 19.00 น. มีกิจกรรมให้นักเรียนสรุปและนำเสนอผลการเรียนรู้
วันอาทิตย์ กิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน ทางโรงเรียนจะนำนักเรียนไป
ทัศนศึกษาตามสถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวจ.เชียงราย

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 8,000 บาท
– หอพักพิเศษรวม 2 คน 3 คน 4 คน มีห้องน้ำในตัวพร้อมเครื่องทำน้ำอู่น
– มีอาหาร 3 มื้อ

สนใจติดต่อ :
ที่อยู่:No 53 Moo1 BanWawee Maesuey Chiangrai Thailand
หมายเลขโทรศัพท์:084-8052137 , 089-6361236
(อาจารย์อำนวย ภักดีไพศาล ผู้อำนวนการโรงเรียนกวงฟูวิทยาคม)
Fax:053-760124

https://khung-fu.blogspot.com/2009/11/blog-post_24.html