Monthly Archives: March 2013

ความแตกต่างระหว่างส่ง 送 ,寄,交,递 และรับ 接, 收, 取, 领 ในภาษาจีน

อ.อี้ hsk & patจีน

จีบน้องเเพท ซอย7.4 ตอน ไปรับไปส่ง (คำศัพท์ระดับ PAT7.4 และ HSKระดับ3ขึ้นไป)

วันนี้พี่อี้มาไขข้อสงสัย เกี่ยวกับคำศัพท์ 送(sòng) 寄(jì) 交(jiāo) 递(dì) ซึ่งล้วนมีความหมายว่า “ส่ง” และ 接(jiē) 收(shōu) 取(qǔ) 领(lǐng) ซึ่งก็ล้วนเเปลว่า “รับ” การรับการส่งก็เลยกลายเป็นปัญหาชีวิตของคนจีบน้องเเพททุกปีการศึกษาไป เรามาดูกันว่า จริงๆเเล้ว คำที่คล้ายกันเหล่านี้ต่างกันอย่างไร

  • 送 หมายถึงการ ส่งด้วยตัวเอง เช่น เเม่ส่งลูกไปโรงเรียน เช่น 送孩子上学(sòngháizishàngxué) / การส่งมอบจากมือถึงมือ เช่น ส่งของขวัญ送礼物 (sònglǐwù)
  • 寄 หมายถึง การส่งผ่านตัวกลาง/ฝากส่ง เช่น ส่งจดหมาย 寄信(jìxìn) หรือการส่งเงินให้ลูก/ญาติ/คนที่อยู่ทางไกลเราก็ใช้คำว่า 寄钱 (jìqián)
  • 交 หมายถึง ส่งมอบ ใช้ในกรณีส่งตามหน้าที่ เช่น ส่งการบ้าน 交功课 (jiāogōngkè) ส่งงาน 交工 (jiāogōng) นำส่งภาษี 交税 (jiāoshuì)
  • 递 หมายถึง ยื่น (ส่งของโดยยื่นเเขนออกไปข้างหน้า)

ทีนี้มาดูคำว่า “รับ”บ้าง:

  • 接 หมายถึงรับด้วยมือ รับของขวัญ 接礼物(jiēlǐwù) รับลูกกลับบ้าน接孩子回家 เป็นต้น
  • 收 เก็บ/เรียกเก็บ หมายถึงการเก็บตามหน้าที่ เช่น เก็บเงิน/รับชำระเงิน 收钱(shōuqián) เก็บการบ้าน收功课(shōugōngkè)
  • 取 หมายถึง การรับคืน ใช้เมื่อ เรารับของๆเราคืนมา เช่น รับเสื้อผ้าที่ร้านซักรีด 取衣服(qǔyīfu) รับเงิน/ถอนเงินจากธนาคาร 取钱(qǔqián)
  • 领 หมายถึงการรับรางวัลหรือเงินเดือน เช่น 领工资 (lǐnggōngzī) รับเงินเดือน, 领(lǐng)奖(jiǎng) รับรางวัล

ฉะนั้น จะรับจะส่ง ก็ต้องเดาใจน้องPAT7.4ว่า เธอต้องการให้เรา “รับ-ส่ง” เเบบไหน……เอย
ไปล่ะ

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

PAT7.4 忽然 กับ 突然 ต่างกันอย่างไร?

อ.อี้ hsk & patจีน
ภาษาจีน
ภาษาจีน

忽然 กับ 突然 ต่างกันอย่างไร? เป็นคำถามที่มากับทั้งข้อสอบPAT7.4 เเละ HSK ระดับ3ขึ้นไปอยู่เสมอๆ มาทำความเข้าใจความต่างของสองคำนี้กันเลย ข้อนี้ตอบข้อ2 突然 túrán ครับ คลิกดูคำอธิบายในภาพเลยครับ! น้องเเพทจะรักคุณหรือทิ้งคุณ อาจวัดกันเเค่คะเเนนเดียว อย่าประมาทครับ!

จากข้อสอบฉบับเตือนกรกฎาคม พ.ศ.2553 *จงเติมคำที่เหมาะสมลงในช่องว่าง

6.这件事发生得太______ 了, 我一点儿心理准备都没有。

(โจทย์บอกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้น______ เหลือเกิน ฉันไม่ได้เตรียมใจไว้แม้แต่นิดเดียว)

1.忽然 (hūrán) 2.突然 (túrán)

3. 马上 (mǎshàng) 4.显然 (xiǎnrán)

คำศัพท์จากโจทย์

  • 心理准备 (xīnlǐ zhǔnbèi) การเตรียมใจ / ความพร้อมในการรับมือ
  • 发生 (fāshēng) เกิดขึ้น / เกิดเหต
  • 马上 (mǎshàng) …ทันที
  • 显然 (xiǎnrán)…อย่างเห็นได้ชัด

เฉลย: ข้อนี้วัดความเข้าใจระหว่างคำว่า 忽然 กับ 突然 ซึ่งนักเรียนมักเข้าใจผิดว่า สองคำนี้เหมือนกัน

คิดว่าแปลว่า ทันใดนั้น…/ กระทันหันทั้งคู่ แต่ความจริงแล้ว สองค่นี้เป็นคำคล้ายเท่านั้น

คำคล้ายหมายถึง คำที่แม้ความหมายอาจใกล้เคียงกันมาก แต่ขอบเขตในการใช้ และหน้าที่ของคำมักจะ

ต่างกันครับ ส่วนคำเหมือน หมายถึงคำที่เหมือนกันทั้งความหมายและหน้าที่ของคำ ใช้แทนกันได้ทุกกรณี

忽然 (hūrán) ใช้เป็นคำวิเศษณ์เท่านั้น (ไว้หน้า/หลังประธาน) ใช้เป็นคำคุณศัพท์ไม่ได้

ส่วน 突然 (túrán) ใช้ป็นคำวิเศษณ์ (ไว้หน้า/หลังประธาน) หรือใช้เป็นคำคุณศัพท์ใส่ตามหลังคำบรรยาย

ระดับความรู้สึกอย่างคำประเภท 很 / 非常 / 太 / 比较 ได้

อีกประการหนึ่ง 忽然(hūrán) ถ้าแปลให้ถูกต้อง ควรจะเป็นว่า จู่ๆ/ชั่วขณะนั้น…

ติดตามได้ใน…อ.อี้hsk&patจีน

คำศัพท์ภาษาจีน รถไฟ [火车]

อ.อี้ hsk & patจีน
รถไฟ 火车
รถไฟ 火车

ประกาศจากคณะผู้ก่อการฯ เรื่อง บัญญัติ(ศัพท์) 10 ประการ เกี่ยวกับรถไฟ 火车 / 列车 / 铁路 *(รวมคำศัพท์ภาษาจีนเกี่ยวกับรถไฟ)
โปรดทราบ ๆ คณะผู้ก่อการHSK วันนี้ขอแจ้งให้ทราบ คำศัพท์ที่เกี่ยวกับรถไฟชนิดต่างรวมไปถึงคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องซึ่งเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน คำหลายคำเคยเป็นศัพท์เฉพาะทางสำหรับคนสมัยก่อน แต่ทุกวันนี้กลายเป็นคำฮิตติดหู มีสรรพคุณบรรเทาอาการเชย และรักษาแผลจากอาการหน้าแตกได้ ที่สำคัญปรากฏในข้อสอบ HSK เเละ PAT7.4 อีกด้วย จึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วถึงกันดังต่อไปนี้:

1.หมวดคำนาม :

  • 火车 (huǒchē) รถไฟ (เป็นคำสามัญที่ชาวบ้านเรียกกัน)
  • 列车 (lièchē) รถไฟ/รถขบวน (เป็นคำสุภาพ ใช้เป็นภาษาเขียน ถ้าเราอยู่ในสถานี เราจะเห็นคำนี้มากกว่า อย่าไปมองหาคำว่า 火车 (huǒchē) ให้เสียเวลา เพราะจะหาไม่ค่อยเจอ^^” อายเค้า)

2.หมวดเวลา:

  • 列车时刻表 (lièchēshíkèbiǎo) ตารางเวลาเดินรถ/ตารางเวลารถไฟ อย่ามองหาคำว่า 时间表ในสถานีรถไฟครับ อายเค้า… ^^”
  • 时刻表查询 (shíkèbiǎocháxún) สอบถาม/ค้นหาตารางเวลา

ส่วนจะหาตารางของรถไฟหรือรถทัวร์หรือเครื่องบิน หรือยานอวกาศก็ เอาคำนามคำนั้นวางข้างหน้า
时刻表 (shí​kè​biǎo) คำนี้ครับ แล้วแปะหน้าพี่กูเกิ้ล เดี๋ยวพี่เขาจะบอกเราเองครับ

Continue reading

อาเซียนภาษาจีน : อาเซียน 10 ประเทศ[AEC]

AEC ภาษาจีน

AEC คืออะไร?

AEC หรือ Asean Economics Community เรียกเป็นภาษาจีนว่า 东盟经济共同体 [Dōngméng jīngjì gòngtóngtǐ]  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือการรวมตัวของชาติในอาเซียน(东盟) 10 ประเทศ(东盟成员国)  คือ

  1. 文莱 [Wénlái] บรูไน
  2. 缅甸 [Miǎndiàn] พม่า
  3. 菲律宾 [Fēilǜbīn] ฟิลิปปินส์
  4. 新加坡 [Xīnjiāpō] สิงคโปร์
  5. 泰国 [Tàiguó] ไทย
  6. 越南 [Yuènán] เวียดนาม
  7. 柬埔寨 [Jiǎnpǔzhài] กัมพูชา
  8. 印度尼西亚 [Yìndùníxīyà] อินโดนีเซีย
  9. 马来西亚 [Mǎláixīyà] มาเลเซีย)  และ
  10. 老挝人民民主共和国 [Lǎowō rénmín mínzhǔ gònghéguó] สาธารณะรัฐประชาชนลาว

อาเซียน(东盟/Asean)จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว Continue reading

รู้จักกับ ปฏิทินจีน (Chinese calendar)

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

“ปฏิทินจีน” หรือที่เรามักจะกันทั่วไปว่าเรียกว่า “ปฏิทินจันทรคติ” จริงๆ มีเรียกอยู่ด้วยกันหลายชื่อ คือ

  • “夏历” หรือ “ปฏิทินราชวงศ์เซี่ย” ที่เรียกแบบนี้ เพราะเป็นปฏิทินที่คิดค้นพัฒนาขึ้น และเริ่มมีใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ย (2,100 – 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ถ้านับถึงปัจจุบัน ปฏิทินนี้ก็มีอายุเก่าแก่ตกทอดกันมาถึงเกือบ 4,000 ปีทีเดียว เราจึงเรียกปฏิทินนี้ได้อีกอย่างว่า
  • “旧历” หรือ “ปฏิทินเก่า” เพราะอายุอานามอันเก่าแก่ (มาก) ของมันนั่นเอง และเรายังเรียกปฏิทินนี้ว่า
  • “农历” หรือ “ปฏิทินการเกษตร” เพราะเป็นปฏิทินที่คิดขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเป็นหลัก

“农历” หรือ “ปฏิทินการเกษตร”  จัดเป็น “阴阳历” แบบหนึ่ง คือใช้ทั้งการหมุนรอบโลกของดวงจันทร์ (จันทรคติ) และการหมุนรอบดวงอาทิตย์ของโลก (สุริยคติ) มานับคำนวณเป็นจำนวนวันของเดือน และปี

  • “ปฏิทินจีน” หรือ “ปฏิทินการเกษตร” นี้ ในส่วนของปฏิทินจันทรคติ (“阴历” หรือ “太阴历”) ถ้าเป็นปีธรรมดา (“平年”) จะมี 12 เดือน*** เดือนใหญ่ (“大月”) มี 30 วัน เดือนเล็ก (เดือนน้อย)  (“小月”) มี 29 วัน (เดือนไหนเป็นเดือนใหญ่ หรือเดือนเล็กจะไม่เหมือนกันในแต่ละปี) โดยทั้งปีจะมีจำนวนวันเท่ากับ 354 หรือ 355 วัน ซึ่งจำนวนวันในแต่ละปีโดยเฉลี่ยจะน้อยกว่าในส่วนของปฏิทินสุริยคติ (“阳历”,“太阳历” หรือ “太阳年”) ประมาณ 11 วัน ทำให้ทุกๆ 19 ปี จะมี (การจัด) เดือนอธิกมาส (“闰月”) 7 เดือน ปีที่มีเดือนอธิกมาสนี้จะมีจำนวนวัน (ในหนึ่งปี) ทั้งหมด 383 หรือ 384 วัน Continue reading

การใช้คำกริยา “使”、”令”、”让” และ “叫”

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

การใช้คำกริยา “使”、”令”、”让” และ “叫”

(สำหรับเนื้อหาตอนนี้ ขอตอบแบบสั้นๆ พอได้ความรู้เบื้องต้นไว้ก่อน ทั้งนี้ เนื้อหาบางเรื่องที่ถาม อย่างเช่นเรื่องนี้ จริงๆ ต้องใช้เวลาอธิบายเยอะพอสมควร และถ้ามีหนังสือเรียนประกอบ และเป็นการอธิบายในห้องเรียน (น่า) จะทำความเข้าใจได้ง่ายกว่า … สำหรับตรงนี้ก็เอาพอทำความเข้าใจเบื้องต้นไว้ก่อนแล้วกัน)

1. “使” หมายถึง “ใช้” (使用) เช่น

  • 使了两千块钱。
  • 他跟我使了一个眼色。

2. “使” มีความหมายเหมือน “让” กับ “叫” ในกรณีที่หมายถึง”ทำให้” (致使) สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น หรือเป็นอย่างไร เช่น

  • 这首歌使我想起了童年时代的生活。

ซึ่งถ้าประธานเป็น “คน” จะใช้ “让” หรือ “叫” แต่ถ้าประธานเป็น “วัตถุสิ่งของ” จะใช้ “使” เช่น

  • (我)让你久等了。
  • 大热天使我出了一身汗。

ในกรณีที่หมายถึง “ทำให้” (致使) ก็สามารถใช้ “令” ได้เช่นเดียวกัน แต่กรรม (หรือ兼语 – ดูความหมายของ 兼语 ส่วนถัดไป) ของ “令” จะต้องเป็น “คน”เท่านั้น ซึ่งการใช้ “令” ในความหมายนี้ จะสื่อถึงการเป็นผู้ “ถูกกระทำ” หรือ passive voice ค่อนข้างชัดเจน โดยมีความหมายถึงสาเหตุ หรือเงื่อนไขหนึ่งทำให้ (令) เกิดอารมณ์ ความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น เช่น

  • 这个消息令人激动。
  • 令人惊讶。
  • 令人失望。

ทั้งนี้จะสังเกตเห็นว่า ส่วนประกอบหลัง “令人” (ซึ่งมักเป็นคำกริยา) จะมีกริยาวิเศษณ์ เช่น “很” ขยายอีกไม่ได้

3. ถ้าหมายถึง “ขอร้อง” (祈求) หรือ “สั่ง” (命令;使令) ให้ใครทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องใช้ “让” หรือ “叫” จะใช้ “使” ไม่ได้ เช่น

  • 老师让/叫大家发表意见。
  • 你去叫她快点儿来。(ประโยคนี้ “叫” ไม่ได้แปลว่า “เรียก”แต่แปลว่า “สั่ง”)

ในกรณีที่หมายถึง”สั่ง” (命令;使令) ถ้าใช้ “令” ส่วนใหญ่จะใช้ได้ในกรณีที่หมายถึงผู้บังคับบัญชา หรือเจ้านาย “สั่ง” ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น

  • 学校令他退学。

ประโยคตามตัวอย่างต่างๆ ด้านบน เรียกว่า 兼语句 คือประโยคที่มีโครงสร้างดังนี้

  • 主语 + 使令动词(叫、让、请等)+ 兼语(宾语/主语) + 动词 + 宾语

兼语 หมายถึงคำที่ทำหน้าที่เป็นทั้งกรรม (宾语) และประธาน (主语) ในขณะเดียวกัน หมายถึงเป็นกรรมของกริยาตัวแรก (使令动词) ในขณะเดียวกัน ก็เป็นประธานของกริยา (动词) ตัวหลัง ดูตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น

  • 老师叫我回答问题。
  • 我请一位老师教我汉语。

เอาพอเข้าใจก่อน จริงๆ “使”、”叫”、”让” รวมทั้ง “被” ยังมีวิธีการใช้ในกรณีที่เป็นบุพบทอีกด้วย (มีโอกาสค่อยมาว่ากัน)

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ไวยากรณ์จีน : 冷, 凉, 寒冷, 暖和, 温暖, 凉爽 และ 凉快

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

ต่อเนื่องจาก “冰凉” และ “冰冷” คราวนี้เราจะมาดูคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิ หรืออากาศอีกหลายๆ คำ

เริ่มจาก “冷” และ “凉”

1.  “冷” (หนาว) และ “凉” (เย็น) เป็นคำคุณศัพท์ และหมายถึงอุณหภูมิต่ำทั้งคู่ ซึ่งถึงแม้ 2 คำนี้จะใช้บรรยายสภาพ (อากาศที่มี) อุณหภูมิต่ำเหมือนกัน แต่ 2 คำนี้ ก็ใช้แทนกันไม่ได้

“冷” มักใช้กับการบรรยายสภาพอากาศเป็นหลัก เป็นความรู้สึก หรือรับรู้ (ความหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำ) โดยไม่จำเป็นต้องแตะต้อง หรือสัมผัสโดยตรง (ก็รับรู้ได้) เช่น

  • 冷空气。
  • 今天真冷。
  • 冷得浑身发抖。

ส่วน “凉” ก็หมายถึงอุณหภูมิต่ำเช่นเดียวกัน แต่ (มักจะ) เป็นการรับรู้ หรือสัมผัสกับสิ่งของนั้นโดยตรง จึงจะรับรู้ถึงความเย็น อุณหภูมิต่ำของสิ่งของนั้นๆ เช่น

  • 他的脸真凉。
  • 茶凉了。
  • 游泳池的水太凉了。

นอกจากนั้น “凉” ยังใช้บรรยายสภาพอากาศได้เช่นเดียวกับ “冷” แต่อุณหภูมิของ “凉” (เย็น) จะสูงกว่า “冷” (หนาว) ลองเปรียบเทียบประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ Continue reading

การใช้ “做” กับ “作” ทำ, กระทำ (กริยาหรือสิ่งของเรื่องราวต่างๆ) ฯลฯ

Gunth Lpnm ใน Love Chinese

คำว่า “做” และ “作” — 2 คำนี้ เป็นคำกริยาทั้งคู่ ออกเสียงเหมือนกัน คือ zuò บางครั้งก็ใช้แทนกัน (โดยความหมายไม่เปลี่ยน) ได้อีกด้วย เช่น

  • 叫做、做文章、做诗 จะใช้ว่า
  • 叫作、作文章、作诗 ก็ได้

แต่ 2 คำนี้ก็ยังมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน คือ

  • “做” หมายถึง ทำ (กริยา หรือสิ่งของ) มักใช้กับสิ่งของที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ (เช่น ตัดเย็บเสื้อผ้า,ทำอาหาร, ทำผม, ทำเฟอร์นิเจอร์), เขียน หรือแต่งบทความ (หรืองานเขียนต่างๆ), ผลิต, ทำงาน, เป็น (บทบาท, อาชีพ), กลายเป็น, จัดงาน หรือจัดกิจกรรม, ใช้เป็น, เป็น (มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน) เป็นต้น
  • “作” หมายถึง สร้าง (ทำให้เกิด,ก่อให้เกิด), เขียน หรือแต่ง (บทความ, งานเขียน ฯลฯ), แสร้งทำ, เป็น หรือใช้เป็น, รู้สึก เป็นต้น โดย “作” มักใช้กับสิ่งที่เป็นนามธรรมมากกว่า

ข้อแตกต่างอีกประการ คือ “作” เป็นคำโบราณ มีความเป็นภาษาเขียนมากกว่า ส่วน “做” มีความเป็นภาษาพูดมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ถ้าเป็นสำนวนซึ่งมีการใช้คำที่ใช้ (หรือเข้า) คู่กันอย่างเจาะจงชัดเจนแน่นอน มักจะใช้ “作” เช่น 装模作样

และนอกจาก “作” จะเป็นคำกริยาแล้ว ยังใช้เป็นคำนามได้อีกด้วย เช่น 大作、成名之作、稀世杰作

--> ในแง่ไวยากรณ์ โดยทั่วไป กรรมของ “做/作” มักเป็นคำนาม(名词) หรือคำกริยา(动词)กล่าวอีกอย่าง “做/作” จะวางอยู่หน้าคำนาม หรืออยู่ในรูป

  • “做/作 + 名词宾语” (มีกรรม(宾语)เป็นคำนาม)  (ดูตัวอย่างคำ ส่วนท้าย)
  • “做/作 + 动词宾语”  เช่น 做宣传、做解释、作废

นอกจากนั้น หลัง “做/作” ยังอาจจะมีบทเสริม(补语)ได้ด้วย เช่น 做一下、做不了、做完了、做不完、做好了、做出来了、作得不错、作过、作着、作了半个月 เป็นต้น

ตัวอย่างคำเช่น

  • 做菜
  • 做饭
  • 做头发
  • 做衣裳
  • 做家具
  • 做材料
  • 做作业
  • 做事
  • 做工
  • 做工作
  • 做活儿
  • 做买卖
  • 做生意
  • 做翻译
  • 做戏
  • 做梦
  • 做作
  • 做法
  • 做到
  • 做人
  • 做主
  • 作主 (ใช้ได้ทั้งสองคำแต่นิยมเขียนว่า 作主 มากกว่า)
  • 做伴(儿)
  • 做东
  • 做客
  • 作客 (ใช้ได้ทั้งสองคำ แต่นิยมเขียนว่า 作客 มากกว่า)
  • 做官
  • 做媒
  • 做美
  • 作美 (ใช้ได้ทั้งสองคำแต่นิยมเขียนว่า 作美 มากกว่า)
  • 做朋友
  • 做父亲
  • 做生日
  • 做寿
  • 做礼拜
  • 当做
  • 当作 (ใช้ได้ทั้งสองคำ แต่นิยมเขียนว่า 当作 มากกว่า)
  • 小题大做
  • 做贼心虚
  • 一鼓作气
  • 作画
  • 作文
  • 作文章
  • 作曲
  • 作废
  • 作弊
  • 作罢
  • 作者
  • 作家
  • 作风
  • 作怪
  • 作对
  • 作恶
  • 作为
  • 作用
  • 认贼作父
  • 装模作样
  • 装腔作势

โดย Gunth Lpnm ใน Love Chinese

เรียนภาษาจีนกับอาจารย์อี้ : ตอนที่3 商纣暴政?

อ.อี้ hsk & patจีน

ราชวงศ์ซางตอนปลาย晚商 จุดจบของทรราชย์เเละจุดเริ่มต้นของสูตรล้มราชวงศ์
เกร็ด มังกร ต่อยอดShot Noteประวัติศาสตร์จีน ตอนที่3 ตอน商纣(shāng zhòu)暴政(bàozhèng)?

ข้อหาทรราชจริงหรือเท็จ? 正义还是阴谋?สูตรล้มเจ้า ชอบธรรมหรือเล่เหลี่ยม? วันนี้มายาวหน่อยครับ เพราะมีทั้งข้อมูลและดราม่า 3 หน้าA4พอดี^^”

เมื่อตอนที่แล้วเกริ่นทิ้งท้ายไว้ว่า เจ้าแผ่นดินคนสุดท้ายในราชวงศ์ซาง商 มีนามว่า “ซางโจ้ว商纣(shāng zhòu)” และเหตุการณ์โค่นล้มทรราช ถือเป็นสงครามปฏิวัติที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์จีน และเป็นที่มาของ “สูตรล้มราชวงศ์” ในยุคต่อๆมา ในแง่ของวรรณกรรม ซางโจ้ว商纣(shāng zhòu)เป็นทรราชที่ถูกประนามราวกับปีศาจชั่วร้าย มีนิสัยโหดเหี้ยมอำมหิต ฆ่าคนเป็นว่าเล่นขนาดแค่อาหารจืดชืดไม่ได้อย่างใจก็สั่งประหารพ่อครัวทั้งโรงครัวได้ และต่อมายังลุ่มหลงนารีชื่อ ต๋าจี่妲己 Dájǐ  ถึงขนาดสร้างสระหยก เสพสุราเคล้านารีในสระหยกจนไม่สนใจการบริหารประเทศ บวกกับนิสัยโหดเหี้ยมอำมหิต สร้างความทุกข์ยากแก่ประชาชนมหาศาล นำไปสู่การปฏิวัติล้มราชวงศ์商โดยฝีมือของเจ้าชายจีฟา姬发 Jīfā แห่งแคว้นโจว และก่อตั้งราชวงศ์โจว周สำเร็จ ซางโจ้ว商纣(shāng zhòu)ปกครองประเทศเยี่ยงทรราช暴政(bàozhèng) เป็นความเชื่อตามตำราเรียนและวรรณกรรมที่ฝังลึกมาช้านาน ตอนที่ผมเรียนวิชาประวัติศาสตร์ระดับประถมจนถึงม.ต้นที่ประเทศจีน ตำราส่วนใหญ่ก็ยืนยันเช่นนั้น แต่ประโยคที่นักประวัติศาสตร์และอักษรศาสตร์ชื่อกัวม่อยั่ว郭沫若กล่าวไว้ว่า “ประวัติศาสตร์คือตุ๊กตาที่คนรุ่นหลังจับแต่งตัวได้ตามใจ历史是任人打扮的小姑娘” ก็เป็นความจริงอีกข้อที่น่าคิด การกล่าวถึงบุคคลในประวัติศาสตร์จึงจำเป็นต้องอาศัยมุมมองที่เป็นกลาง ว่ากันด้วยหลักฐาน ถ้าไม่มีหลักฐานก็ควรจะถือว่าเป็นแค่เรื่องเล่า

*ซางโจ้วเป็นทรราช จริงหรือเท็จ?
ข้อหาทรราชของซางโจ้วค่อยๆเพิ่มมาขึ้นจากหกข้อในยุคปลายราชวงศ์ซาง商 กลายเป็นสิบกว่าข้อในราชวงศ์ต่อมา คือโจว周 และนานวันเข้า เมื่อถึงราชวงศ์ฮั่น汉 ทั้งพงศาวดารฉบับหลวง正史(zhèngshǐ)กับฉบับราษฎร์野史(yěshǐ)รวบรวมมากถึงเจ็ดสิบข้อ การทรมานนักโทษด้วยตะขอเหล็กร้อน การประหารพ่อครัวเพราะอาหารจืดชืด การเริงรักกับสนมต๋าจี่ในสระหยก ล้วนเป็นบันทึกที่เกิดขึ้นในภายหลังทั้งสิ้น บางบันทึกไปไกลถึงขนาดจากเริงรักกับต๋าจี่เพียงลำพังกลายเป็น เรียกสนมทั้งหมดมาลงสระหยก และชวนขุนนางคนสนิทมาร่วมด้วยอีก เรียกได้ว่าเป็นเจ้าพ่ออ่างสุกี้คนแรกของโลกก็ว่าได้ ^^” ยิ่งในยุคราชวงศ์หมิงและชิงที่นิยายเฟื่องฟู บางครั้งนิยายอิงประวัติศาสตร์ก็เกินเลยถึงขั้นแฟนตาซี ต๋าจีกลายเป็นจิ้งจอกเก้าหางที่รับคำบัญชาจากสวรรค์เพื่อลงมาทำให้ราชวงศ์ซางที่ปกครองด้วยระบอบทรราชย์ล้มสลาย และเพื่อให้ราชวงศ์โจวที่ปกครองด้วยระบอบธรรมราชย์ถือกำเนิดขึ้น พูดง่ายๆคือเขียนให้คนเลวดูเลวสุดๆเพื่อสร้างตัวละครฝ่ายคนดีที่ดีสุดๆเท่านั้นเอง

*ใครควรจะเกลียดชังซางโจ้วมากที่สุด?
เมื่อย้อนดูบันทึกเกี่ยวกับซางโจ้ว商纣ในยุคที่เขายังมีชีวิตอยู่ และยุคต้นราชวงศ์โจว周 ปรากฏว่า ไม่ได้บันทึกสิ่งชั่วร้ายและความวิตถารเหล่านั้นเลย แม้แต่จีฟา姬发ผู้โค่นล้มซางโจ้ว商纣 ก็ไม่ได้กล่าวให้ร้ายซางโจ้วขนาดนั้น ลองคิดง่ายๆ ถ้าโลกนี้จะมีคนเกลียดชังซางโจ้ว商纣 คนๆนั้นควรจะเป็นจีฟาอย่างไม่ต้องสงสัย เหตุเพราะพี่ชายของจีฟาถูกซางโจวประหาร พ่อของจีฟาก็ถูกซางโจ้วขังคุกอยู่หลายปี และในบันทึกของจีฟา ซางโจ้วเคยบังคับให้พ่อของตนกินเนื้อของลูกตนเอง(พี่ชายของจีฟาที่ถูกประหาร) จึงกลายเป็นปมความแค้นระหว่างสองตระกูลใหญ่นั่นเอง

*ซางโจ้วปกครองระบอบทรราชย์ จริงหรือ?
ความจริงอย่างที่เคยกล่าวไว้ในตอนที่1-2แล้วว่า ตั้งแต่ยุคใต้หล้าของส่วนรวม公天下จนถึงยุคใต้หล้าของตระกูล家天下 ราชวงศ์夏จนถึงซาง商 ล้วนปกครองด้วยระบบสืบสันตติวงศ์ ปกครองระบบศักดินาเป็นหลัก แต่ก็เป็นสังคมเกษตรด้วย การค้าทาสจึงเป็นสิ่งจำเป็นในสมัยนั้น แต่ทาสก็ไม่ได้เกิดจากระบบการแบ่งวรรณะใดๆทั้งสิ้น แต่เกิดจากการยอมเสนอขายตัวเอง ทำกันเป็นการค้า และในช่วงที่มีสงครามก็เป็นไปได้ที่พ่อค้าทาสรับซื้อเชลยสงครามมาเป็นทาส เพื่อแบ่งเบาภาระการใช้จ่ายของกองทัพ เข้าใจว่าในยุคนั้น อย่างน้อยเป็นทาสดีกว่าเป็นเชลยศึก เพราะเชลยศึกอาจถูกนำไปประหาร ถ้ากองทัพเลี้ยงไม่ไหว ลองคิดดูว่า ถ้าต้องเลี้ยงเชลยศึกทีละเป็นพันคน รายจ่ายของประเทศจะมากมายขนาดไหน ฉะนั้น การโอนไปเป็นทาสถือเป็นวิธีหมุนเวียนเศรษฐกิจที่ได้ผลในยุคนั้น และดีกว่าการประหารทิ้ง เพราะจะโดนประชาชนเกลียดชังเสียเปล่าๆ

ปรากฏว่า ภาพลักษณ์ของซางโจ้วที่ชั่วร้ายกลับขัดแย้งกับบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบหลายๆเรื่อง เช่น ซางโจ้วเป็นนักการทหารที่ปรีชาสามารถและกล้าหาญชาญชัย มักจะนำทัพด้วยตัวเอง ไม่ใช่การเสพสุขอยู่ในวังอย่างที่คนเชื่อกัน และซางโจ้วเป็นหนึ่งในเจ้าแห่งแค้วนที่ยึดถือประเพณีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเคร่งครัด ปรากฏตัวในพิธีสำคัญทุกครั้ง(ก็ดูไม่ขี้เมาเท่าไหร่) แต่ในขณะเดียวกัน ซางโจ้วไม่ใช่คนงมงายจนหน้ามืดตามัว เขาเคยปฏิวัติความเชื่อโดยการลงโทษขั้นรุนแรงต่อพ่อมดหมอผีที่หาประโยชน์จากพิธีกรรมและความเชื่อ และปฏิรูปการปกครองโดยการลงโทษศักดินาที่ทำตัวเหลวแหลกสร้างความเดือนร้อนให้ชาวบ้าน และมีการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างจริงจัง ส่งผลให้เศรษฐกิจของซางในช่วงการปกครองของซางโจ้วเฟื่องฟู จนเหลืองบประมาณมหาศาลสำหรับการแผ่ขยายอาณาจักร แต่การเป็นผู้นำที่นิสัยเด็ดเดี่ยว บางครั้งก็ลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาเกินกว่าเหตุ ซึ่งจุดนี้ ฮ่องเต้ในยุคต่อๆมาก็เป็นกันหมดแถมเป็นหนักกว่าซางโจ้วก็มีถมไป

กรณีหลงนารีจนหัวปักหัวปำไม่สนใจทุกข์สุขของประเทศก็ยังน่าสงสัย เพราะในประวัติศาสตร์พูดถึงต๋าจี่ สนมเอกของซางโจ้วน้อยมาก ประมาณว่ามีอยู่ 1 บรรทัด คือ “ต๋าจีเป็นลูกทาส คนส่วนมากมองว่าทาสชั้นต่ำเท่ากับสัตว์เลี้ยง แต่ซางโจ้วกลับไม่คิดเช่นนั้น จึงรับต๋าจีมาเป็นสนม” ซึ่งถ้ามีการบันทึกแค่นี้ คนรุ่นหลังจะนำมาปรุงแต่งเป็นนิยายรัก หรือนิยายทรราชก็ได้ทั้งนั้น เช่นอยู่ดีๆจะเขียนว่า เป็นรักต่างชนชั้นแบบเดียวกับ ฮ่องเต้เฉียนหลงกับหญิงชาวใต้ ก็ได้นะ ฉะนั้นเขียนให้ดูดี หรือเขียนให้ดูเลว มันขึ้นอยู่กับ”จุดประสงค์” แน่นอน ถ้าเป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับการปฏิวัติล้มเจ้า คงไม่เขียนความรักแหวกม่านประเพณีของซางโจ้ว商纣แน่ๆ

*สงครามปฏิวัติที่ทุ่งมู่เหย่牧野之战
สิ่งที่นักประวัติศาสตร์สรุปอย่างเป็นกลางมีดังนี้ครับ ในปลายราชวงศ์ซาง ซางโจ้วมีอำนาจทางการทหารที่แข็งแกร่ง แผ่ขยายอำนาจอย่างรวดเร็ว แต่จุดเปลี่ยนของสงครามเกิดขึ้นที่หลังบ้าน เริ่มจากเหตุการณ์พี่ชายของจีฟาแห่งตระกูลโจว เกิดหลงรักนางสนมของซางโจ้ว(คนรุ่นหลังก็โยงเรื่องนี้เข้ากับต๋าจี่妲己ซึ่งจริงเท็จอย่าง ไรก็ไม่มีข้อยืนยัน) ทำให้ซางโจ้วบันดาลโทสะ สั่งประหารเสีย และจับพ่อของจีฟาขังคุก ซึ่งมองในแง่ของหลักสงคราม การจับผู้นำประเทศราชขังคุกในกรณีนี้อาจเป็นสิ่งจำเป็น เพราะซางโจ้วต้องนำทัพออกรบบ่อยครั้ง จึงไม่อาจไม่ระวังหลัง เมื่อประหารบุตรชายเขาไปด้วยความโมโห ย่อมสร้างความเจ็บแค้นให้ผู้เป็นพ่อ เพื่อป้องกันกบฎ จึงต้องจับพ่อไปขังไว้ก่อน ซึ่งต่อมาเมื่อเสร็จจากศึกสงครามซางโจ้วก็ปล่อยตัวพ่อของจีฟาออกมา นำไปสู่การซ่องสุมกำลังของฝ่ายตระกูลโจว (ฝ่ายจีฟาและพ่อที่เพิ่งถูกปล่อยตัว) ซึ่งถ้ามองในแง่นี้ ถือเป็นการตัดสินใจผิดครั้งใหญ่หลวงของซางโจ้วถึงขั้นสิ้นชาติ เพราะความใจอ่อนไม่เข้าเรื่อง โจโฉในยุคสามก๊กปลายราชวงศ์ฮั่น汉ก็เคยกล่าววิจารณ์ซางโจ้วในแง่นี้ เขาบอกว่า คนเป็นผู้นำสงครามในเมื่อรู้ตัวว่าฆ่าคนผิดไป ก็ต้องฆ่าให้หมดอย่าให้เหลือ ส่วนการปรับปรุงตัวเองให้ใจเย็น ต้องเป็นเรื่องที่แก้ไขภายหลัง ไม่ใช่ฆ่าบ้างปล่อยบ้างแบบนี้ เมื่อจีฟาและพ่อซ่องสุมกำลังได้เต็มที่แล้ว จึงเริ่มประกาศปฏิญามู่เหย่ ณ ทุ่งมู่เหย่ โดยมีเนื้อหาประนามวิสัยทรราชย์ของซางโจ้วทั้งหมด 6 ข้อ (ไม่ใช่70กว่าข้ออย่างที่คนรุ่นหลังปรุงแต่ง) กองทัพธรรมของจีฟานอกจากกองทัพของตัวเองแล้วยังประกอบด้วยเหล่าขุนศึกจากหลายตระกูใหญ่ที่เคยถูกซางโจ้วลงโทษและยังมีประเทศราชที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในตอนนั้น ยกทัพประชิดนครเฉาเกอที่ซางโจ้วพำนับอยู่ทันที

*จุดเปลี่ยนของสงคราม
เมื่อสืบค้นจากทั้งบันทึกและร่องรอยสถานที่ทางประวัติศาสตร์ก็พบว่า นครเฉาเกอซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของซางโจ้วไม่ใช่นครหลวง แต่เป็นหัวเมืองอันเป็นฐานที่มั่นของกองทัพราชวงศ์ซาง ซึ่งใช้ในยามออกศึกพิชิตตงอี๋ ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้(ฮกเกี้ยนในปัจจุบัน) เป็นหัวเมืองที่ใช้ทำสงครามและพักรักษาทหารบาดเจ็บเป็นหลัก ค่อนข้างไกลปืนเที่ยง ฉะนั้น จะเกิดอะไรขึ้นในเมืองนั้น คนที่เมืองหลวงและเมืองใหญ่อื่นๆยากที่จะรู้ได้ และในช่วงเวลานั้น(บั้นปลายของซางโจ้ว อายุ60แล้ว) ซางโจ้วเพิ่งจะเสร็จจะศึกหนักที่ตงอี๋ เท่าที่มีในบันทึกยุคเดียวกัน ต๋าจี่妲己ก็เป็นลูกสาวเชลยศึกที่ได้มาจากสงครามตงอี๋นี้เอง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ ซางโจ้วจะหลงต๋าจี่จนทิ้งการบ้านการเมือง สร้างสระหยกและทำเรื่องบ้าบอคอแตกมากมาย ถ้าจะทำคงต้องทำทั้งหมดที่ว่านี้ให้ครบระหว่างทางเดินทัพกลับเมืองหลวงเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ ข้อหาหลงนารี ปลิ้นสุรา ฆ่าล้างโรงครัว รวมไปถึงการผ่าท้องหญิงมีครรภ์เพื่อเอาใจต๋าจี่妲己จึงไม่น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง Continue reading

ความหมายอักษรจีน และศัพท์ภาษาจีนพื้นฐาน ตอนที่1 [a-e]

เรียนรู้ภาษาจีนพื้นฐานเบื้องต้นจากอักษรจีน พร้อมคำศัพท์ และคำอ่านพินอิน

อักษรจีนพร้อมคำอ่านพินอิน ความหมาย และคำแปล ตอนที่ 1 หมวดหมู่ A ถึง E

เรามาเริ่มเรียนรู้ภาษาจีน จากอักษรจีนร่วมกันนะครับ(มีทั้งหมด 8 ตอน) อักษรจีนบางตัวอาจใช้ได้ในหลากหลายความหมาย ในที่นี้จะให้ความหมายหรือคำแปลเพียงบางความหมายเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและนำไปต่อยอดในความหมายอื่นๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้อักษรจีนบางตัวอาจจะเขียนซ้ำกันแต่จะมีความหมายและเสียงที่ต่างกันออกไป ตัวที่มีได้หลายเสียง จะใช้เครื่องหมาย * แสดงไว้หลังพินอิน ส่วนวิธีการเขียนนั้นให้ดูในหัวข้อ วิธีการเขียนอักษรจีนเรียนรู้วิธีเขียนอักษร และอย่าลืมอ่านหัวข้อ กฎในการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์พินอิน และการออกเสียง

ในส่วนของการออกเสียงให้เน้นพินอินเป็นหลักครับ มีตัวอย่างจากหลายเว็บด้วยกันเช่น Pinyin – Chinese Pinyin Table (horizontal) หรือ http://chinese.yabla.com/chinese-pinyin-chart.php แล้วแต่ชอบ นอกจากนี้ยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จาก อักษรจีนใช้บ่อย 3000 คำ ด้วยครับ

และอย่าลืมติดตั้ง พจนานุกรมภาษาจีนอังกฤษป๊อปอัพ แค่ใช้เมาท์ชี้ก็แปลให้

เด็กหญิงกำลังฝึกพูด

หมวดหมู่ A-E | F-H | J-L | M-O | P-R | S-W | X-Y | Z

สารบัญ :
อักษรจีนหมวดหมู่ A
อักษรจีนหมวดหมู่ B
อักษรจีนหมวดหมู่ C
อักษรจีนหมวดหมู่ D
อักษรจีนหมวดหมู่ E

อักษรจีนหมวดหมู่ A

  • 阿 [ā] คำเสิรมน้ำเสียง อา… ⟶ 阿爸 [ābà] พ่อ, 阿姨 [āyí] น้าสาว, 阿弥陀佛 [ēmítuófó] อมิตพุทธ
  • 哎 (嗳) [āi] คำอุทาน ⟶ 哎呀 [āiyā] ไอ้หยะ , 哎哟 [āiyō] ไอ้โย
  • 哀 [āi] เศร้าโศก,เสียใจ ⟶ 节哀 [jié’āi] ระงับความเศร้าโศก, 哀伤 [āishāng] เศร้าโศก, 哀悼 [āidào] อาลัย(กล่าวถึงผู้เสียชีวิตแล้ว) , 哀辞 [āicí] คำไว้อาลัย
  • 挨 [āi]* ⟶ 挨骂 [áimà] ถูกด่า เช่น 谁进去谁挨骂。 ใครเข้าไปคนนั้นก็ถูกด่า, 挨次 [āicì] ตามลำดับ
  • 埃 [āi] ⟶ 埃及 [āijí] อียิปต์(Egypt)
  • 癌 [ái] มะเร็ง(Cancer) ⟶ 癌症 [áizhèng] มะเร็ง, 食管癌 [shíguǎnái] มะเร็งหลอดอาหาร, 肺泡癌 [fèipào’ái] มะเร็งปอด, 淋巴癌 [línbā’ái] มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, 血癌 [xuè’ái] มะเร็งโลหิต, 子宫颈癌 [zǐgōngjǐngái] มะเร็งปากมดลูก, 前列腺癌 [qiánlièxiànái] มะเร็งต่อมลูกหมาก, 大肠癌 [dàchángái] มะเร็งลำไส้ใหญ่
  • 矮 [ǎi] เตี้ย ⟶ 低矮 [dī’ǎi] เตี้ย, 矮小 [ǎixiǎo] เตี้ยและเล็ก, 矮矮的 [ǎi’ǎide] เตี้ย
  • 艾 [ài] ⟶ 合艾 [Héài] หาดใหญ่
  • 爱 [ài] รัก,ชอบ ⟶ เช่น 1.我爱你! ฉันรักคุณ 2.我真的很爱她 。 ผมรักเขามากจริงๆ 3.我就爱听摇滚乐。 ฉันชอบฟังดนตรีร๊อกแอนด์โรล, 可爱 [kě’ài] น่ารัก,爱情 [àiqíng] ความรัก, 爱情片 [àiqíngpiān] หนังโรแมนติก, 爱好 [àihào] ชื่นชอบเป็นพิเศษ, 真爱 [zhēn’ài] รักแท้, 爱好 [àihào] งานอดิเรก เช่น 你有什么爱好? เธอมีงานอดิเรกอะไร, 谈爱好 [tánàihào] การสนทนาเรื่องงานอดิเรก, 爱疯 [àifēng] ไอโฟน/iPhone
  • 碍 (礙) [ài] อุปสรรค ขัดขวาง ⟶ 碍眼 [àiyǎn] ขวางหูขวางตา, 阻碍 [zǔ’ài] อุปสรรค

Continue reading